“ความยินยอม” ตามร่างกฎหมายลำดับรอง PDPA | สุมาพร (ศรีสุนทร) มานะสันต์

Loading

สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ (ทำหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล) เปิดรับฟังความคิดเห็นร่างกฎหมายลำดับรองภายใต้ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ซึ่งจะมีผลใช้บังคับในวันที่ 1 มิ.ย. 2565 นี้ ผู้เขียนจึงขอหยิบยกบางประเด็นเรื่อง “การขอความยินยอม” (Consent) ตามร่างกฎหมายลำดับรองมาอธิบายให้ฟัง โดยสังเขป รับฟังร่างกฎหมายอะไรบ้าง? ในครั้งนี้ ได้มีการเปิดรับฟังร่างกฎหมายลำดับรองจำนวน 5 ฉบับ โดย 3 ฉบับ ได้ปิดรับฟังไปแล้วตั้งแต่วันที่ 19 พ.ค.65 ได้แก่ 1) ร่างประกาศ เรื่อง มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของผู้ควบคุมข้อมูล 2) ร่างประกาศ เรื่อง การยกเว้นการบันทึกรายการของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเป็นกิจการขนาดเล็ก และ3) ร่างประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทำและเก็บรักษาบันทึกรายการของกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับผู้ประมวลผลข้อมูล ทั้งนี้ อีกสองฉบับที่ยังคงเปิดรับฟังถึงวันที่ 25 พ.ค.65 ได้แก่ 1) ร่างแนวทาง เรื่อง แนวทางและวิธีการขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และ 2) ร่างแนวทาง เรื่อง การแจ้งวัตถุประสงค์และรายละเอียดในการเก็บรวบรวม ใช้…

“กลลวงยุคไซเบอร์” ที่เราควรรู้ทันทุกขณะ | ปริญญา หอมเอนก

Loading

การหลอกลวงมนุษย์ ตั้งแต่การตกทองแบบปกติที่ไม่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต จนมาถึง การตกทองผ่านทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่แชร์แม่ชม้อยที่มีการนำกลยุทธตกทองกลับมาใช้อย่างแยบยล มาถึงวันนี้การหลอกลวงด้วยกลยุทธแบบเดิมๆก็ยังไม่ล้มหายตายจากไป แต่ดูเหมือนจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นและมีรูปแบบที่ซับซ้อนขึ้นด้วย ไม่ว่าจะเป็น Romance Scam Sextortion แก๊ง Call Center แก๊งหลอกโอน รวมไปถึงการหลอกลวงบนสื่อโซเชียล การหลอกลวงผ่านแชตที่เกิดขึ้นทั้งทาง LINE , Facebook , IG และ Twitter (ซึ่งแพลตฟอร์มต่างๆ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับการหลอกลวงดังกล่าว) ล่าสุดที่กำลังร้อนแรงคือ การหลอกลวงเด็กนักเรียนนักศึกษาให้หารายได้พิเศษ มิจฉาชีพจะใช้ช่องทาง Twitter ตั้งข้อความติดแฮชแท็กที่ดึงดูด เช่น #งานออนไลน์ได้เงินจริง #งานออนไลน์ไม่จำกัดอายุ เมื่อเหยื่อหลงเชื่อเข้าไปคลิกเข้าไปคุยด้วย ก็จะบอกให้เพิ่มเพื่อนทาง LINE จากนั้นปฏิบัติการหลอกลวงต้มตุ๋นก็จะเริ่มต้นขึ้น ด้วยการชักชวนให้ลงทุนในเกมส์ออนไลน์ที่มีลักษณะคล้ายบ่อนพนันออนไลน์ บอกให้เหยื่อเข้าไปที่ Web Application ที่สร้างเอาไว้ซึ่งมีหน้าตาคล้ายคลึงกับ Mobile App ใน App มีให้เล่นเกม เสี่ยงโชคคล้ายกับไฮโล มีสูงต่ำ และ มีระบบโอนเงินเข้าออก หน้า App…

วิธีจัดการบัญชีเฟซบุ๊ก หลังเสียชีวิต มีข้อดีอย่างไร

Loading

  จากการเสียชีวิตของดาราสาวแตงโม นิดา พัชรวีระพงษ์ ที่จากไปราว 3 เดือน แล้วอยู่ดีๆ ก็มีการเคลื่อนไหวบนบัญชีเฟซบุ๊กของเธอจนกลายเป็นที่จับตามองของสังคม ขณะเดียวกันก็เกิดคำถามว่า หลังจากที่เราเสียชีวิตไปแล้วนั้น จะเกิดอะไรขึ้นกับบัญชีเฟซบุ๊กของเราบ้าง การจัดการของเฟซบุ๊ก ในกรณีที่เราเสียชีวิตนั้น ทางเฟซบุ๊กได้มี 2 แนวทางให้เลือกสำหรับการจัดการบัญชีเฟซบุ๊กของเรา นั่นคือ 1.เราสามารถเลือกที่จะแต่งตั้งผู้สืบทอดบัญชีเพื่อดูแลบัญชีที่เก็บไว้เป็นอนุสรณ์หรือลบบัญชีของเราออกจากเฟซบุ๊กอย่างถาวรได้ 2.หากเราไม่ได้เลือกที่จะลบบัญชีแบบถาวร เมื่อทางเฟซบุ๊กทราบว่าเราเสียชีวิตไปแล้ว ทางระบบจะเก็บบัญชีเฟซบุ๊กของเราไว้เป็นอนุสรณ์ ผู้สืบทอดบัญชี หากก่อนเสียชีวิตเราได้เลือก “ผู้สืบทอดบัญชี” เพื่อทำหน้าที่ดูแลบัญชีเฟซบุ๊กของเราหลังจากที่เสียชีวิตไปแล้วเพื่อเป็นอนุสรณ์ให้เพื่อนและคนใกล้ชิดได้ระลึกถึง โดยหน้าที่ของผู้สืบทอดบัญชีมีดังต่อไปนี้ – ตอบรับคำขอเป็นเพื่อนในนามของบัญชีที่เก็บไว้เป็นอนุสรณ์ – ปักหมุดโพสต์รำลึกไว้บนโปรไฟล์ – เปลี่ยนรูปโปรไฟล์และรูปภาพหน้าปกได้ – หากบัญชีที่เก็บไว้เป็นอนุสรณ์มีพื้นที่สำหรับการแสดงความอาลัย ผู้สืบทอดบัญชีจะสามารถตัดสินใจได้ว่าใครจะสามารถเห็นและโพสต์การแสดงความอาลัยได้บ้าง – ส่งคำขอลบบัญชีของเรา – ดาวน์โหลดสำเนาของสิ่งที่เราแชร์บนเฟซบุ๊ก หากเรายังไม่ได้เปิดฟีเจอร์ดังกล่าว ทางเฟซบุ๊กอาจจะเพิ่มเติมความสามารถให้แก่ผู้สืบทอดบัญชีในอนาคต อย่างไรก็ตาม ผู้สืบทอดบัญชีของเราจะไม่สามารถทำสิ่งต่อไปนี้ได้ – เข้าสู่ระบบบัญชีผู้ใช้ของเรา – อ่านข้อความของเรา – ลบเพื่อนของเราหรือสร้างคำขอเป็นเพื่อน – ไม่สามารถแก้ไขโพสต์ของเราก่อนที่จะเสียชีวิตได้ – ไม่สามารถใช้งานระบบแชตได้ ด้วยเหตุนี้…

ตั้ง “พาสเวิร์ด” แบบไหน? ช่วยป้องกันภัยไซเบอร์!!

Loading

ทุกวันนี้ภัยคุกคามทางไซเบอร์มีความรุนแรงมากขึ้น!?! ปัจจัยส่วนหนึ่งมาจาก “ตัวเรา” หรือ “ผู้ใช้งาน” ที่มีการตั้ง “รหัสผ่าน” หรือ “พาสเวิร์ด” ในการใช้งาน ปัจจัยส่วนหนึ่งมาจาก “ตัวเรา” หรือ “ผู้ใช้งาน” ที่มีการตั้ง “รหัสผ่าน” หรือ “พาสเวิร์ด” ในการใช้งานบัญชีออนไลน์ และเครื่องมือต่างๆ ไม่ปลอดภัย!! อาจเพราะคนจำนวนไม่น้อยอาจนึกถึง “ความสบาย” เน้นเอา “ความสะดวก” ที่ตัวเราสามารถจดจำได้ง่าย ไม่ได้ให้ความสำคัญ ในการตั้งค่ารหัสผ่านที่มากพอ ก็จะทำให้ เหล่ามิจฉาชีพออนไลน์ที่ไม่หวังดี สามารถเดารหัสผ่าน ทำการแฮกข้อมูล จนสามารถเข้าถึงข้อมูลในบัญชีต่างๆของเราได้ เรื่อง “รหัสผ่าน” จึงถือเป็นเรื่องพื้นฐานสำคัญ หากเรามีการตั้งรหัสที่รัดกุมยากที่ตะคาดเดา ก็จะทำให้โอกาสเสี่ยง ที่จะทำให้เกิดการบุกรุกบัญชี ลดน้อยลงได้!! วันนี้จึงมีเคล็ดลับ จากทาง “กูเกิล” ในการรักษารหัสผ่านและบัญชีออนไลน์ของเราให้ปลอดภัย มาแนะนำกัน ถือเป็น 10 ข้อปฏิบัติง่ายๆที่เราสามารถทำได้ง่ายๆ   ภาพ pixabay.com โดย 1.ต้องสร้างรหัสผ่านที่ไม่ซ้ำกันและอย่าใช้รหัสผ่านซ้ำๆในการล็อกอินเข้าเว็บไซต์ต่างๆ เนื่องจากการใช้รหัสผ่านซ้ำกัน สำหรับบัญชีที่สำคัญมีความเสี่ยง หากมีคนรู้รหัสผ่านสำหรับบัญชีหนึ่ง ของเรา เขาก็จะสามารถเข้าถึงอีเมล ที่อยู่ หรือแม้แต่เงินในบัญชีของเราได้ด้วย จากรหัสผ่านเดียวกัน  2. เมื่อต้องตั้งรหัสผ่านในการใช้งาน เราควรตั้งรหัสผ่านให้มีความยาวอย่างน้อย 12 อักขระ หรือตัวอักษร เพราะรหัสผ่านที่ยาวจะมีความรัดกุมกว่า ทำให้คาดเดาได้ยากกว่า 3. เราควรเลือกใช้อักขระประเภทต่างๆ ผสมกัน ซึ่ง รหัสผ่านที่รัดกุมจะต้องประกอบด้วยตัวอักษร ทั้งตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวเลข และสัญลักษณ์ อาทิ ฿, *, #, & ซึ่งจะช่วยให้การสุ่มหรือคาดเดาให้ถูกยากยิ่งขึ้น!! 4. เราต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการตั้งรหัสผ่าน บางคน ไม่รู้จะตั้งว่าอะไร ก็อาศัยความง่าย ใช้ข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด เลขบัตรประจำตัวต่างๆ  และเบอร์โทรศัพท์ ฯลฯ หรือข้อมูลที่ผู้อื่นอาจรู้หรือหาได้ง่าย จึงเป็นเรื่องที่ต้องเลี่ยงไม่เอามาใช้ตั้งเด็ดขาด!?!  5. หลังจากเราได้สร้างรหัสผ่านที่รัดกุมแล้ว ให้เก็บไว้เป็นความลับและอย่าบอกรหัสผ่านกับใคร 6. ใช้เครื่องมือจัดการรหัสผ่านเพื่อช่วยสร้าง จดจำ และจัดการรหัสผ่านที่บันทึกไว้ 7. เราจำเป็นต้องอัพเดต หรือเปลี่ยนรหัสผ่านที่ใช้งานอยู่เป็นประจำ …

ความเกลียดกลัวทำให้สังหารกันทั่วอเมริกา | ไสว บุญมา

Loading

  ชาวอเมริกันยังใช้อาวุธปืนสังหารกันอย่างต่อเนื่องสมกับเป็นที่ตั้งของเมือง “คาวบอย” ในภาพยนตร์ยอดนิยมในสมัยก่อน   เหตุการณ์สังหารที่ได้รับการวิพากษ์มากที่สุดในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ เกิดขึ้นที่เมืองบัฟฟาโลซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกของรัฐนิวยอร์ก กล่าวคือ หนุ่มผิวขาววัย 18 ปีใช้ปืนยิงเร็วจำพวกที่ใช้อยู่ในกองทัพอเมริกันยิงผู้คนทั้งข้างนอกและข้างในตลาดสดขนาดใหญ่   ยังผลให้มีผู้เสียชีวิต 10 คนและบาดเจ็บ 3 คน ในจำนวนนี้ 11 คนมีผิวดำและ 2 คนมีผิวขาวเนื่องจากตลาดดังกล่าวตั้งอยู่ในย่านที่มีประชาชนเป็นคนผิวดำส่วนใหญ่   ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการวิพากษ์มากที่สุด ได้แก่ มันเป็นการสังหารหมู่ที่ผู้กระทำตั้งใจและตระเตรียมไว้เป็นอย่างดีโดยไปตรวจดูสถานที่ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านตัวเองเกิน 300 กม. ล่วงหน้า   เขาจงใจจะให้ตายกันมาก ๆ โดยไม่รู้จักว่าผู้ตายเป็นใครจึงไม่เว้นแม้แต่หญิงชราอายุ 86 ปีซึ่งมีผิวดำ เขาทำอย่างเลือดเย็น และแรงจูงใจได้แก่ความเกลียดและความกลัวเกี่ยวกับคนที่มีสีผิว ชาติพันธุ์และศาสนาต่างกับของชนผิวขาวซึ่งเป็นชาวอเมริกันส่วนใหญ่   เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า สหรัฐมีประวัติอันยาวนานในด้านการรังเกียจผิวมาตั้งแต่ครั้งก่อตั้งประเทศ ซึ่งนับเฉพาะคนผิวขาวเท่านั้นเป็นประชาชน ส่วนคนผิวอื่นไม่มีสถานะเท่าเทียมพวกเขาโดยเฉพาะคนผิวดำ ซึ่งเป็นทาสและมีสถานะเท่ากับทรัพย์สินโดยทั่วไปที่ซื้อขายกันในหมู่คนผิวขาว   แม้เวลาจะผ่านไปกว่า 200 ปีและมีกฎหมายหลายฉบับที่ปรับแก้ให้คนทุกผิวสีมีสถานะเท่าเทียมกับคนผิวขาว แต่การรังเกียจ หรือเกลียดผู้ที่มีผิวอื่นยังมีฝังอยู่ในจิตใจของคนผิวขาว   ร้ายยิ่งกว่านั้น การกระทำของชายหนุ่มดังกล่าวดูจะเป็นส่วนหนึ่งของแนวโน้มใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วง 20 ปีมานี้หลังเกิดเหตุการณ์วันที่…

เดี่ยวไมโครโฟน

Loading

  วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม 2565 เป็นวันเลือกตั้งผู้ว่า กทม.และสมาชิกสภา กทม. สัปดาห์นี้เป็นช่วงสุดท้ายของการหาเสียง ผู้สมัครแต่ละคนต่างงัดไม้เด็ดออกมาใช้กันเต็มที่ รวมทั้งยุทธวิธีการเตะตัดขาคู่แข่ง ใครที่มีคะแนนนำก็โดนหนักหน่อย หากเป็นมวยบนเวที ถือว่าเป็นยกสุดท้ายที่แต่ละฝ่ายต่างงัดกลยุทธ์ที่เก็บซ่อนไว้ออกมาซัดกันเต็มที่ เพราะมีเพียงคนเดียวเท่านั้นที่ชนะ ที่เหลือม้วนเสื่อกลับบ้านหมด   ขอเชิญชวนชาว กทม.ที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งไปใช้สิทธินี้ ไม่ให้คนต่างจังหวัดดูถูกว่าคนกทม.นอนหลับทับสิทธิ์ สู้คนต่างจังหวัดไม่ได้ รักใครชอบใคร หรือคิดว่าผู้สมัครคนไหนจะทำประโยชน์ให้คน กทม.ได้ดีกว่า แต่คงไม่ดีที่สุด ก็ไปเลือกคนนั้น รวมทั้งเลือกสมาชิก กทม.ที่จะไปทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติและตรวจสอบผู้ว่า กทม.ที่เป็นฝ่ายบริหาร   อย่างไรก็ตาม เรื่องที่จะเขียนวันนี้ไม่ใช่เรื่องการเลือกตั้ง กทม. แต่ไปตรวจสอบสถานการณ์ล่าสุดในสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่นอกจากจะรบกันทางภาคพื้นดินแล้ว ยังต้องระวังสงครามไซเบอร์ด้วย นอกจากการทำสงครามไซเบอร์ด้วยการขัดขวางการทำงานด้านการจ่ายกระแสไฟฟ้า ประปา การคมนาคม การสื่อสาร สาธารณะประโยชน์อื่นๆ แล้ว ยังเน้นเรื่องการโฆษณาชวนเชื่อต่อโลกภายนอก หากเรารับข่าวอย่างไม่ระมัดระวังก็อาจตกเป็นเหยื่อของการโฆษณาชวนเชื่อทางไซเบอร์ด้วยเช่นกัน   ล่าสุด รัสเซียยึดเมืองมาริอูปอล ซึ่งเป็นเมืองยุทธศาสตร์ทางใต้ของยูเครนได้แล้ว โดยใช้ยุทธวีธีปิดล้อมตามที่ประธานาธิบดีปูตินมีคำสั่งต่อ ผบ.สูงสุดของรัสเซียว่า หลังจากที่พลเรือนคนสุดท้ายออกจากโรงงานเหล็กแล้ว ทหารรัสเซียไม่ต้องบุกเข้าไปเพื่อไม่ต้องเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและบาดเจ็บ แต่ให้ปิดล้อมชนิดที่แมลงวันแม้แต่ตัวเดียวก็บินเล็ดลอดออกมาไม่ได้   ทหารรับจ้างที่ยอมแพ้มีทั้งอดีตทหารอเมริกัน…