รัสเซีย ยูเครน : ทำไมชาติตะวันตกไม่ยอมประกาศเขตห้ามบินในยูเครน

Loading

“ชาวยูเครนวิงวอนอย่างสิ้นหวังให้ชาติตะวันตกปกป้องน่านฟ้าของเรา พวกเราร้องขอเขตห้ามบิน” นี่คือคำร้องขอด้วยความสะเทือนใจของดาเรีย คาเรนยุก นักกิจกรรมและนักข่าวชาวยูเครนที่มีต่อนายกรัฐมนตรี บอริส จอห์นสัน ในระหว่างการแถลงข่าวเมื่อ 1 มี.ค. เธอกล่าวพร้อมน้ำตาว่า “ผู้หญิงและเด็กชาวยูเครนต่างอยู่ในความหวาดกลัวอย่างหนัก เพราะระเบิดและขีปนาวุธกำลังตกลงมาจากฟ้า” แม้ว่ารัสเซียเดินหน้าโจมตีพื้นที่ในเขตที่พักอาศัยของยูเครน และทำให้มีพลเรือนเสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่กลับมีสัญญาณเพียงน้อยนิดว่าชาติตะวันตกจะประกาศเขตห้ามบินในน่านฟ้ายูเครน เพื่อสกัดกั้นการโจมตีทางอากาศของรัสเซีย เขตห้ามบินคืออะไร เขตห้ามบิน (no-fly zone) หมายถึง บริเวณน่านฟ้าที่มีข้อกำหนดว่าห้ามอากาศยานบางชนิดบินผ่าน การกำหนดเขตห้ามบินอาจใช้เพื่อปกป้องพื้นที่ที่มีความเปราะบาง เช่น เขตพระราชฐาน หรือมีการประกาศใช้เป็นการชั่วคราวสำหรับการแข่งขันกีฬา หรือการชุมนุมขนาดใหญ่ ในด้านการทหาร เขตห้ามบินจะมีขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้อากาศยานบินเข้าไปในน่านฟ้าหวงห้าม โดยทั่วไปเพื่อป้องกันการโจมตี หรือการสอดแนม และจะต้องมีการบังคับใช้โดยกองกำลังทหาร ซึ่งจะส่งผลให้จะมีการลาดตระเวน รวมทั้งการโจมตีระบบป้องกัน หรือยิงเครื่องบินที่ล่วงล้ำเข้าไปในเขตหวงห้าม การประกาศเขตห้ามบินเหนือยูเครนจึงอาจหมายถึงการที่กองกำลังทางทหาร โดยเฉพาะองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือ นาโต จะเข้าดูแล และจัดการโดยตรงกับเครื่องบินรัสเซียที่ล่วงล้ำเข้าไปในน่านฟ้ายูเครน และยิงเครื่องบินเหล่านี้หากจำเป็น   ซากเครื่องบินทหารที่ถูกยิงตกในเมืองหลวงยูเครน ทำไมชาติตะวันตกไม่ประกาศเขตห้ามบินในยูเครน การที่กองกำลังของนาโตจะเข้าจัดการกับเครื่องบิน หรือยุทโธปกรณ์ของรัสเซียอาจมีความเสี่ยงที่จะทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งลุกลามขึ้นอย่างรวดเร็วได้ พลอากาศเอกฟิลิป บรีดเลิฟ อดีตผู้บัญชาการทหารสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นยุโรป กล่าวกับนิตยสาร Foreign Policy…

เปิด ‘Lab X’ โรงงานผลิตยาพิษของสายลับปูติน

Loading

การใช้สารพิษอยู่คู่กับสหภาพโซเวียตและรัสเซียมายาวนานในฐานะวิธีปิดปากและกำจัดฝ่ายตรงข้ามที่ได้ผลที่สุด ตลอดศตวรรษที่ผ่านมา ฝ่ายตรงข้ามสหภาพโซเวียตและรัสเซียเสียชีวิตหรือล้มป่วยหนักจากสารพิษร้ายแรงไปแล้วหลายคน จุดเริ่มต้นของการใช้สารพิษเกิดขึ้นในปี 1921 ซึ่งห้องทดลองวิจัยสารพิษของหน่วยปฏิบัติการลับของสหภาพโซเวียตถูกก่อตั้งขึ้นที่ชานกรุงมอสโกภายใต้ชื่อ “สำนักงานพิเศษ” หรือ สถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ 2 (NII-2) หรือแลบ 12 ภายใต้คำสั่งของ วลาดิมีร์ เลนิน อดีตนายกรัฐมนตรีสหภาพโซเวียต โยมีจุดประสงค์เพื่อผสมสารพิษที่เป็นที่รู้จักอยู่แล้วให้เป็นสารพิศชนิดใหม่ที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ โรงงานผลิตสารพิษนี้ถูกเก็บเป็นความลับขั้นสุดยอด แม้กระทั่งชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียงยังเชื่อว่า “สถาบันทางวิทยาศาสตร์” แห่งนี้ เป็นสถานที่รักษาทหารที่บาดเจ็บจากสงครามโซเวียตในอัฟกานิสถาน ทว่าหลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลาย รายอะเอียดเกี่ยวกับปฏิบัติการของห้องทดลองวิจัยสารพิษนี้ก็ถูกเปิดเผยสู่สาธารณะ รายละเอียดที่ครอบคลุมมากที่สุดของสิ่งที่ถูกระบุในเอกสารอย่างเป็นทางการของสหภาพโซเวียตว่า “Lab X” มาจาก ปาเวล ซูดอปลาตอฟ (Pavel Sudoplatov) อดีตหัวหน้าสายลับของ โจเซฟ สตาลิน อดีตนายกรัฐมนตรีสหภาพโซเวียต โดยเขาเขียนไว้ในหนังสือบันทึกความทรงจำชื่อ Special Tasks ในปี 1994 จากหนังสือของซูดอปลาตอฟ กริกอรี ไมรานอฟสกี ผู้อำนวยการ Lab X จะให้สารพิษบุคคลเป้าหมายโดยใช้การตรวจเช็คสุขภาพบังหน้า หนึ่งในเหยื่อของการสังหารคือ ราอูล วอลเลนเบิร์ก นักการทูตสวีเดน ที่เสียชีวิตอย่างเป็นปริศนาขณะถูกโซเวียตควบคุมตัว ซึ่งภายหลังซูดอปลาตอฟต้องตามเก็บกวาดไม่ให้มีคนรู้…

Storm-333 ปฏิบัติการเด็ดหัวประธานาธิบดีของหน่วยรบรัสเซีย

Loading

ย้อนเหตุการณ์โซเวียตโค่นรัฐบาล-สังหารประธานาธิบดีอัฟกานิสถาน วันที่ 24 ธ.ค.1979 ถือเป็นวันที่โหดร้ายที่สุดวันหนึ่งสำหรับชาวอัฟกัน เมื่อเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต เลโอนิด เบรจเนฟ (Leonid Brezhnev) ส่งกองทัพเข้าไปกำจัดฮาฟิซูลเลาะห์ อามิน (Hafizullah Amin) ประธานาธิบดีอัฟกานิสถาน เพราะโซเวียตกลัวว่าอามินจะเปลี่ยนข้างและเข้าใกล้สหรัฐฯ มากขึ้น ในพระราชวังทัจเบก (Tajbeg) บนยอดเขาสูงที่ปกคลุมด้วยหิมะและป้อมปราการแน่นหนาในกรุงคาบูล เมืองหลวงของอัฟกานิสถาน ในวันนั้นทำเนียบประธานาธิบดีจัดงานเลี้ยงพร้อมเชิญแขกคนสำคัญมาที่นี่ นาจิบะ ไลมา กัสรี (Najiba Laima Kasraee) ผู้สื่อข่าว BBC ผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์วันนั้นมาได้ เผยว่าในตอนนั้นเธออายุ 11 ปีและได้เข้าร่วมงานเลี้ยงนี้ด้วย เพราะพ่อและแม่ของเธอได้รับเชิญให้ไปงาน กัสรีเล่าวว่าในวันนั้นทำเนียบประธานาธิบดีตกแต่งด้วยสไตล์ยุโรปหรูหรา โคมไฟระย้าสวยงาม สายลับ KGB ของโซเวียตซึ่งแฝงตัวเข้าไปเป็นพนักงานในพระราชวังในฐานะพ่อครัว แอบผสมยาพิษลงในเครื่องดื่มของประธานาธิบดีอามิน และรัฐมนตรีระหว่างกำลังรับประทานอาหารกลางวันที่ทำเนียบ เคราะห์ดีที่เครื่องดื่มแก้วโปรดของผู้นำอัฟกันคือน้ำอัดลม ทำให้สารพิษถูกกัดกร่อน และไม่ได้รับอันตรายมากแต่ต้องล้างท้อง ส่วนรัฐมนตรีถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล หลังผ่านไป 4 ชั่วโมง ประธานาธิบดีค่อยๆ ฟื้นคืนสติและนอนพักอยู่ที่ห้องพักในพระราชวัง นี่คือความพยายามครั้งที่ 2 แล้วในการปลิดชีวิตผู้นำอัฟกานิสถาน โดยเมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า…

สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ

Loading

พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 เป็นกฎหมายที่กำหนดถึงหลักเกณฑ์ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หน้าที่ของผู้ประกอบการและหน่วยงานของรัฐซึ่งมีฐานะเป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงกำหนดสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ มีการบัญญัติถึงสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไว้ 8 ประการ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. สิทธิในการถอนความยินยอม (Right to withdraw consent) เจ้าของข้อมูลจะใช้สิทธิในการถอนความยินยอมได้เมื่อมีการประมวลผลข้อมูลโดยใช้ฐานความยินยอมเท่านั้น โดยเจ้าของข้อมูลจะถอนความยินยอมเมื่อใดก็ได้หากไม่มีข้อจำกัดสิทธิ และวิธีการถอนความยินยอมต้องง่ายในระดับเดียวกับวิธีการขอความยินยอม เมื่อเจ้าของข้อมูลถอนความยินยอมแล้ว ผู้ควบคุมข้อมูลจะต้องแจ้งถึงผลกระทบจากการถอนความยินยอมและต้องยุติการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว 2. สิทธิในการได้รับแจ้งข้อมูล (Right to be informed) เจ้าของข้อมูลมีสิทธิได้รับแจ้งเกี่ยวกับรายละเอียดการเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยผู้ควบคุมข้อมูลมีหน้าที่แจ้งถึงวัตถุประสงค์ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บรวบรวม ระยะเวลาในการเก็บรวบรวม ช่องทางในการติดต่อผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น และในกรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูลจะทำการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ในการประมวลผลภายหลัง ผู้ควบคุมข้อมูลต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบถึงวัตถุประสงค์ใหม่ด้วย 3. สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (Right of access) เจ้าของข้อมูลมีสิทธิที่จะเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนเอง ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ควบคุมข้อมูล เช่น หนังสือรับรองการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น รวมทั้งมีสิทธิขอให้เปิดเผยถึงการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่เจ้าของข้อมูลไม่ได้เป็นผู้ให้ความยินยอม เมื่อเจ้าของข้อมูลใช้สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ควบคุมข้อมูลจะต้องดำเนินการตามคำขอและผู้ควบคุมข้อมูลสามารถปฏิเสธคำขอได้ในกรณีที่กฎหมายอื่นกำหนดถึงเหตุปฏิเสธการใช้สิทธินั้น หรือการเข้าถึงและรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลนั้นจะส่งผลกระทบที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น 4. สิทธิในการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง (Right to rectification)…

แนวทางจัดทำบันทึกรายการกิจกรรม การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

Loading

  พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กำหนดให้องค์กรมีหน้าที่ตามมาตรา 39 ในการจัดให้มีบันทึกรายการกิจกรรมอย่างน้อยดังต่อไปนี้ เพื่อให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถตรวจสอบได้ (1) ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีการเก็บรวบรวม ซึ่งได้แก่คำอธิบายเกี่ยวกับประเภทของบุคคล (categories of individual) หรือประเภทของข้อมูลส่วนบุคคล (categories of personal data) ที่องค์กรทำการประมวลผล (2) วัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลแต่ละประเภท (3) ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ ชื่อ และรายละเอียดการติดต่อขององค์กร รวมถึงเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (4) ระยะเวลาการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล (5) สิทธิและวิธีการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งเงื่อนไขเกี่ยวกับบุคคลที่มีสิทธิเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลและเงื่อนไขในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลนั้น (6) การใช้หรือเปิดเผยตามมาตรา 27 วรรคสาม กล่าวคือ หากองค์กรใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยได้รับยกเว้นไม่ต้องขอความยินยอมตามมาตรา 24 หรือมาตรา 26 องค์กรต้องบันทึกการใช้หรือเปิดเผยนั้นไว้ในรายการตามมาตรา 39 ด้วย ซึ่งในทางปฏิบัติหมายความถึง (1) ให้ระบุฐานทางกฎหมายในการประมวลผล (2) ให้ระบุการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลไปยังบุคคลภายนอก และ (3) ให้ระบุการโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศ…

วิเคราะห์คำสั่งยกระดับนิวเคลียร์ของปูติน ทำให้เพิ่มความเสี่ยงจะเกิด ‘สงครามนุก’ หรือไม่

Loading

(ภาพจากแฟ้ม) ยานเครื่องยิงขีปนาวุธทิ้งตัวพิสัยข้ามทวีป (ICBM) ของรัสเซีย ขณะออกมาร่วมสวนสนามของกองทัพ ในวาระครบรอบ 71 ปีชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่จตุรัสแดงในกรุงมอสโก เมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2016 “ปูติน” ขู่เป็นนัยจะทำให้สงครามยูเครนกลายเป็นสงครามนิวเคลียร์ เป็นการบีบให้ “ไบเดน”ต้องชั่งใจกับทางเลือกต่างๆ ซึ่งรวมถึงควรที่จะยกระดับการเตรียมพร้อมของกองกำลังนิวเคลียร์ของอเมริกาบ้างหรือไม่ จุดเปลี่ยนของเรื่องนี้เกิดขึ้นทั้งที่เมื่อไม่ถึงปีที่แล้ โจ ไบเดน และวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีอเมริกาและรัสเซียตามลำดับ เพิ่งออกคำแถลงในการประชุมสุดยอดที่เจนีวาที่ดูเหมือนตีความได้ว่า ทั้งคู่เห็นตรงกันว่า สงครามนิวเคลียร์คืออนุสรณ์ของสงครามเย็นเท่านั้น เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อวันอาทิตย์ (27 ก.พ.) ปูตินสั่งให้เจ้าหน้าที่ทหารระดับสูงดำเนินการเพื่อให้กองกำลังด้านนิวเคลียร์ของรัสเซีย เข้าสู่ “กฎเกณฑ์พิเศษของการปฏิบัติหน้าที่สู้รบ (special regime of combat duty) อย่างไรก็ดี ไม่มีความชัดเจนว่า คำสั่งนี้ทำให้สถานะกองกำลังนิวเคลียร์ของรัสเซียต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง ปัจจุบัน ขีปนาวุธข้ามทวีป (ไอซีบีเอ็ม) ของรัสเซียอยู่ในโหมดเตรียมพร้อมระดับสูงตลอดเวลาเช่นเดียวกับอเมริกา อีกทั้งยังเชื่อว่า ขีปนาวุธนิวเคลียร์ที่ติดตั้งในเรือดำน้ำทั้งของมอสโกและวอชิงตันอยู่ในโหมดเตรียมพร้อมระดับสูงตลอดเวลาเช่นเดียวกัน ปูตินบ่งชี้ว่า การสั่งเตรียมพร้อมครั้งนี้ ก็เพื่อตอบโต้มาตรการแซงก์ชันทางเศรษฐกิจของอเมริกาและชาติตะวันตกอื่นๆ ที่ประกาศออกมาในช่วงวันสองวันนี้เพื่อลงโทษรัสเซียสำหรับการบุกยูเครน รวมทั้งถ้อยแถลงก้าวร้าวต่อรัสเซียที่ปูตินไม่ได้อธิบายเพิ่มเติม คำประกาศของปูตินคล้ายๆ…