อียูเสนอร่างกฎหมาย “ข้อมูล” มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจข้อมูลดิจิทัล | EU Watch

Loading

  ในยุคดิจิทัลที่ “ข้อมูล” มีบทบาทมากขึ้น และกลายเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยปลดล็อกประตู สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ   จึงนับเป็นโอกาสของภาคธุรกิจในการเข้าถึงข้อมูลจำนวนมาก เพื่อนำไปใช้ต่อยอดให้เกิดประโยชน์ เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ตลอดจนส่งเสริมไอเดียธุรกิจใหม่ ๆ สำหรับการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจดิจิทัลที่ยั่งยืนต่อไป   ข้อมูลดิจิทัลจัดอยู่ในกลุ่มสินค้าที่ไม่มีคู่แข่งในการบริโภค (non-rival good) ที่ผู้คนจำนวนมากสามารถเข้าถึงได้พร้อม ๆ กันและสามารถนำไปใช้ซ้ำได้หลายครั้ง โดยไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพและไม่ต้องกังวลว่าปริมาณสินค้าจะลดน้อยลง   ในชีวิตประจำวันมีการผลิตและจัดเก็บข้อมูลดิจิทัลเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องตามไลฟ์สไตล์ร่วมสมัยที่มีพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น จึงคาดการณ์ได้ว่าภายในปี ค.ศ. 2025 จะมีปริมาณข้อมูลกว่า 175 เซตตะไบต์ (ล้านล้านกิกาไบต์) ในเศรษฐกิจสหภาพยุโรป   อย่างไรก็ดี ปัจจุบันข้อมูลเหล่านี้ยังไม่ถูกนำไปใช้อย่างเต็มศักยภาพ โดยเฉพาะข้อมูลอุตสาหกรรมที่ปัจจุบันถูกนำไปใช้ประโยชน์เพียงร้อยละ 20 เท่านั้น     มาตรการส่งเสริมเศรษฐกิจข้อมูลของอียู   เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 คณะกรรมาธิการยุโรปจึงได้เสนอร่างกฎหมายเกี่ยวกับการเข้าถึงและใช้ข้อมูล (Data Act) เพื่อปลดล็อกให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น เพื่อเปิดโอกาสด้านนวัตกรรมที่เน้นการใช้ข้อมูล (date-driven innovation) และนำไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล  …

ดีป้า เดินหน้าสร้างความเชื่อมั่นผู้บริโภคด้วยตราสัญลักษณ์ dSURE ตัวช่วยคัดกรองผลิตภัณฑ์-บริการดิจิทัล ได้มาตรฐานสากล ตรงปกไม่โดนหลอก

Loading

  ดีป้า เดินหน้าปั้นตราสัญลักษณ์แห่งความปลอดภัย ได้คุณภาพตามมาตรฐานระดับสากลสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัลในชื่อ “dSURE” เพื่อสร้างความมั่นใจในการเลือกซื้อและใช้งานแก่ผู้บริโภค พร้อมเปิดให้ผู้ประกอบการไทยขอรับตราลักษณ์ได้แล้ววันนี้     ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกบริบทของการดำรงชีวิต ซึ่งปัจจัยดังกล่าวกระตุ้นให้เทคโนโลยีต่าง ๆ พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการมีการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการด้านดิจิทัลออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นทางเลือกแก่ผู้บริโภคที่มีความเฉพาะทางและหลากหลายยิ่งขึ้น แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ายังสามารถพบผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัล ทั้งที่ได้มาตรฐานและต่ำกว่ามาตรฐานวางขายปะปนตามท้องตลาด นั่นจึงเป็นที่มาของการจัดทำตราสัญลักษณ์ “dSURE” (ดีชัวร์)     “ดีป้า ได้ดำเนินการกำหนดขอบเขตมาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัล ก่อนออกตราสัญลักษณ์ dSURE ให้กับผู้ประกอบการ ทั้งผู้ผลิตและผู้นำเข้า ซึ่งจะช่วยบ่งชี้ว่า ผลิตภัณฑ์หรือบริการดิจิทัลที่ได้รับตราสัญลักษณ์ดังกล่าวผ่านการวิเคราะห์ ตรวจสอบ และคัดกรองแล้วว่าได้คุณภาพตามมาตรฐานสากล ช่วยให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในการเลือกซื้อและใช้งาน ลดความเสี่ยงที่ต้องพบ โดยเฉพาะปัญหาด้านความปลอดภัย และการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล อีกทั้งเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัลที่มีคุณภาพ ต่อยอดสู่การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในตลาดสากล” ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว   ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวต่อว่า ระยะแรก ดีป้า…

วิธีแจ้ง Google ลบข้อมูลส่วนตัวที่ปรากฎบนผลค้นหาของ Google Search ออก

Loading

  วิธีแจ้ง Google ลบข้อมูลส่วนตัวที่ปรากฎบนผลค้นหาของ Google Search โดย Google ได้แสดงตัวเลือกใหม่ ที่ช่วยให้คุณสามารถลบข้อมูลส่วนบุคคลของคุณออกจากผลการค้นหาเช่น รหัสผ่าน หมายเลขโทรศัพท์ ชื่อ นามสกุล และที่อยู่จริงได้โดยการส่งร้องเรียนมายัง Google ได้ โดยมีรายละเอียดขั้นตอนดังนี้   วิธีแจ้ง Google ลบข้อมูลส่วนตัวที่ปรากฎบนผลค้นหาของ Google Search ออก สามารถเข้าในหน้า Google Support คลิกที่นี่ แล้วคลิกที่ปุ่ม เริ่มส่งคําขอนําออก แล้วทำตามขั้นตอน ซึ่งขั้นตอนนั้นอธิบายเป็นภาษาไทยหมดเลย   เงื่อนไขข้อกําหนดในการนำข้อมูลส่วนบุคคลออกจาก Google Search เนื้อหานั้นต้องเป็นข้อมูลประเภทต่อไปนี้ –  หมายเลขประจำตัวประชาชนที่เป็นความลับ เช่น หมายเลขประกันสังคมของสหรัฐอเมริกา, หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีส่วนบุคคลของอาร์เจนตินา, Cadastro de pessoas Físicas ของบราซิล, หมายเลขทะเบียนผู้พำนักในเกาหลี, บัตร –  ประจำตัวผู้พำนักในจีน เป็นต้น –  หมายเลขบัญชีธนาคาร…

4 หน่วยงานภาคการเงินลงนามคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

Loading

  ธปท.เอ็มโอยูร่วมหน่วยงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ก่อนกฎหมายมีผลบังคับใช้ 1 มิ.ย.นี้ “เศรษฐพุฒิ”ระบุ ปี 64 ทั่วโลกพบข้อมูลรั่วไหล 24.7 พันล้านรายการ เป็นการรั่วไหลข้อมูลส่วนบุคคลถึง 65% ชี้ถือเป็นอุปสรรคการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัลของประเทศ   วานนี้ (28 เม.ย.) หน่วยงานกำกับดูแลภาคธุรกิจการเงิน ทั้ง 3 องค์กร ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) ด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของภาคธุรกิจการเงิน   นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า การคุ้มครองสิทธิของประชาชนในเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล เป็นสิ่งที่รัฐบาลและกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมให้ความสำคัญควบคู่ไปกับการผลักดันเรื่องการสร้างสรรค์นวัตกรรม และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเต็มศักยภาพ กฎหมายฉบับนี้เป็นหนึ่งในชุดกฎหมายดิจิทัลเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยให้มีความเข้มแข็ง รวมทั้ง เสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับสังคมในการใช้บริการออนไลน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างปลอดภัยและเป็นธรรม   ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมและสร้างความเข้มแข็งด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศให้มีประสิทธิภาพมากเพิ่มขึ้น เป็นประโยชน์ต่อภาคประชาชนในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และในขณะเดียวกันเพื่อไม่ให้เป็นการสร้างภาระเกินสมควรแก่ผู้ประกอบธุรกิจที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานกำกับดูแลภาคธุรกิจการเงิน จึงได้จัดให้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของภาคธุรกิจการเงินขึ้น   นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการ…

สรุปเหตุป่วน 20 วันแรกรอมฎอน พบพูโลขยับ – มั่นใจ 2 ฝ่ายเอาอยู่

Loading

  กลุ่มอิสระติดตามผลประกาศหยุดยิงฯ โพสต์สรุป 20 วันรอมฎอน พบเหตุป่วนจากพูโล แต่ไม่มีปฏิบัติการทางทหารทั้งฝ่ายรัฐบาลไทยและบีอาร์เอ็น คาดหยุดยิงช่วงถือศีลอดจบสวย ด้านแม่ทัพน้อยที่ 4 เผยคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขฯ เตรียมสรุปภาพรวม 3 พ.ค.นี้   หลังจากมีข้อตกลงร่วมกันระหว่างคณะพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ฝ่ายรัฐบาลไทย กับฝ่ายบีอาร์เอ็น ให้หยุดปฏิบัติการทางทหารในช่วงเดือนรอมฎอน เพื่อสร้าง “รอมฎอนสันติ” เริ่มตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย.65 เป็นต้นมา จนสิ้นสุดเดือนรอมฎอน และเทศกาลฮารีรายอ รวมถึงรายอ 6 นั้น   ล่าสุดทางเพจเฟซบุ๊ก “กลุ่มอิสระติดตามผลประกาศหยุดยิง Independent Monitoring team” ได้โพสต์รายงานการติดตามกระบวนการการลดปฎิบัติการทางทหารระหว่างรัฐบาลไทยและ BRN โดย Independent Monitoring Team (IMT) ระหว่างวันที่ 3-22 เม.ย.65 จากผลการติดตามพบว่า เหตุการณ์ในรอบ 20 วัน มีข้อที่น่าสังเกตดังนี้   – มีเหตุการณ์ความรุนแรงและเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อบรรยากาศการสร้างรอมฎอนสันติที่บันทึกได้รวม 38 เหตุการณ์…

ปุ่ม Mute ไม่ได้ Mute จริงหรือ? หลังพบแอปประชุมกด Mute แล้ว แต่ยังคงเก็บข้อมูลเสียงอยู่

Loading

VCA clients tested – circle is web app ( Image: wiscprivacy)   ปุ่ม Mute ไม่ได้ Mute จริงหรือ?   หลังมีผลการศึกษาล่าสุด จากทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน และมหาวิทยาลัยโลโยลาในชิคาโก้ เผยว่า แอปประชุมชื่อดังหลายแอป ปรากฎว่ามีบางแอป แตะปุ่ม mute แล้ว ไม่ได้ Mute แอปยังคงฟังเสียงผ่านไมโครโฟนอยู่   เป็นไปได้ว่าแอปยังมีการเก็บข้อมูลแม้จะเข้าโหมด Mute ก็ตาม ส่งผลต่อความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ที่ผู้พัฒนาแอปผิดเงื่อนไขนี้ได้ โดยมีการเผยแพร่รายงานผลออกมาเป็นทางการ   โดยนักวิจัยได้วิเคราะห์โค้ดไบนารี่รันไทม์ทั้งหมดของแต่ละแอป ว่าเก็บข้อมูลอะไรบ้าง ประเด็นไหนที่เข้าข่ายที่เสี่ยงละเมิดความเป็นส่วนตัว ทดสอบกับแอปชื่อดังหลายแอปเช่น Zoom, Slack, MS Teams/Skype , Google Meet, Cisco Webex, BlueJeans, WhereBy, GoToMeeting, Jitsi Meet,…