ความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องมี พ.ร.บ.ไซเบอร์ | ปริญญา หอมเอนก

Loading

ประเทศไทยมีการประกาศบังคับ ใช้ พ.ร.บ.ไซเบอร์ ซึ่งชื่อเต็มคือ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ.2562 ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ขณะนี้ได้จัดตั้ง สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) และแต่งตั้งคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) เพื่อปฏิบัติภารกิจตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ทำไมต้องมี พ.ร.บ.ไซเบอร์? ปัจจุบันภัยคุกคามทางไซเบอร์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น สร้างความเสียหายให้แก่ ประชาชน สังคม ตลอดจนประเทศชาติ โดยไม่เว้นแม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือ ประเทศที่กำลังพัฒนา ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นกับหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐาน (critical infrastructures) ของประเทศ ยกตัวอย่าง เหตุการณ์ช่วงวันที่ 6-12 พฤษภาคม 2564 มีการโจมตีทางไซเบอร์ครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นกับบริษัทท่อส่งน้ำมันรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา “Colonial Pipeline” ถูกโจมตีด้วย Ransomware หรือมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ทำให้ต้องหยุดการขนส่งน้ำมันบางส่วนลงชั่วคราวเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว สร้างความเสียหายเป็นอย่างมากต่อบริษัทและลูกค้า เหตุการณ์ในครั้งนั้น ทีมงานทำเนียบขาวของประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ ได้ประสานงานและติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิดกับบริษัทดังกล่าวโดยตรง เนื่องจากเป็นปัญหาในระดับประเทศ การโจมตีโดย Ransomware ที่เกิดขึ้นกับบริษัทท่อส่งน้ำมันดังกล่าวนั้น เป็นการปฏิบัติการของอาชญากรรมข้ามชาติที่จู่โจมเป้าหมาย ที่เป็นองค์กรหรือหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญยิ่งยวด…

ไขประเด็นวิเคราะห์ Faked Data “รู้-แก้” ให้ตรงจุด

Loading

  เวลาที่เราค้นข้อมูล เราจะทราบได้อย่างไรว่า ข้อมูลผิด หรือเป็น Faked Data” บางความคิด บอกว่า ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของทักษะด้านข้อมูล (Data Literacy) ที่จะต้องใช้ตรรกะและองค์ความรู้แยกให้ได้ว่าข้อมูลใดเป็นข้อมูลจริงหรือเท็จ ข้อมูลมาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือหรือไม่ บ่อยครั้งที่มักจะพบว่าข้อมูลจากการวิเคราะห์ ที่แสดงเป็นรายงานอย่างสวยงามนั้น เมื่อนำเสนอต่อผู้บริหาร หรือผู้เชี่ยวชาญแล้วบุคคลเหล่านั้นบอกว่า “ข้อมูลผิด” และสิ่งหนึ่งที่มักได้ยินบ่อยๆ ในหลายองค์กรก็คือว่า ข้อมูลจำนวนมากที่เก็บอยู่ในองค์กรเป็นขยะ กล่าวคือ ข้อมูลไม่ถูกต้อง ทำให้การนำไปวิเคราะห์ย่อมได้ผลลัพธ์ที่ผิดพลาดตามมา ดังนั้นหลายคนอาจสงสัยว่า เราจะทราบได้อย่างไรว่า ข้อมูลผิด หรือเป็น Faked Data” บางความคิด บอกว่า ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของทักษะด้านข้อมูล (Data Literacy) ที่จะต้องใช้ตรรกะและองค์ความรู้แยกให้ได้ว่าข้อมูลใดเป็นข้อมูลจริงหรือเท็จ ข้อมูลมาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือหรือไม่ แต่บังเอิญคำถามนี้กลายเป็นว่า ข้อมูลดังกล่าวมาจากแหล่งต้นทางที่เราคิดว่าน่าจะถูกต้อง มีความน่าเชื่อถือ แต่กลับกลายเป็นว่ามีข้อมูลดิบบางส่วนที่ผิดอยู่ด้วย ที่ผ่านมา ผมทำงานกับข้อมูลดิบมาอย่างยาวนาน และบ่อยครั้งก็จะพบว่า ข้อมูลจากแหล่งต้นทางผิดจริง แต่ก็ใช่ว่าจะผิดมากมาย ส่วนใหญ่อาจผิดพลาดเพราะการใส่ตัวเลขผิดพลาด หรือมีการเก็บข้อมูลคาดเคลื่อน เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องปกติของการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) ยิ่งข้อมูลมีขนาดใหญ่ (Big Data)…

นำป้ายแดงปลอมไปใช้ผิดกฎหมายอาญา จำคุก 6 เดือน – 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท

Loading

  กรมการขนส่งทางบก เตือน นำป้ายแดงปลอมไปใช้ถือว่าผิดกฎหมายอาญา มีโทษถึงขั้นจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน – 5 ปี และมีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 – 100,000 บาท นายเสกสม อัครพันธุ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก และโฆษกกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า กรมการขนส่งทางบกตรวจพบการประกาศขายป้ายแดง พร้อมสมุดคู่มือประจำรถ และประกาศการรับทำป้ายแดงในสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าเป็น “ป้ายแดงปลอม” ที่มิได้ออกโดยกรมการขนส่งทางบก โดยป้ายแดงที่ถูกกฎหมาย กรมการขนส่งทางบกจะออกให้กับบริษัทตัวแทนจำหน่ายรถที่ได้รับใบอนุญาต เพื่อใช้ติดรถและนำรถไปส่งให้ลูกค้า หรือนำรถไปซ่อมแซมเท่านั้น ไม่ใช่ป้ายทะเบียนส่วนบุคคลที่ผู้ใดจะนำไปจำหน่ายต่อหรือผลิตขึ้นเองได้ ดังนั้น จึงขอย้ำเตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อซื้อป้ายแดงที่มีการประกาศขายในสื่อสังคมออนไลน์ดังกล่าว เนื่องจากการนำป้ายแดงปลอมไปติดรถ เจ้าของรถจะมีความผิดฐานใช้เอกสารทางราชการปลอม ตามกฎหมายอาญา มีโทษถึงขั้นจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน – 5 ปี และมีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 – 100,000 บาท ทั้งนี้ เจ้าของรถสามารถสังเกตป้ายแดงที่ออกให้โดยกรมการขนส่งทางบก โดยตัวแผ่นป้ายต้องมีตัวอักษร ขส ลักษณะนูนที่มุมด้านล่างขวา และลายน้ำ ปรากฏในแผ่นป้ายทะเบียนรถ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก…

M-Flow กับรถสวมทะเบียน

Loading

    ปัญหารถสวมทะเบียน มีข่าวมานานแล้วกับใบสั่งจราจร กรณีขับรถเร็วเกินกำหนด มาคราวนี้เริ่มเกิดขึ้นกับระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น (M-Flow) ที่เพิ่งเปิดใช้เมื่อไม่นานมานี้ เมื่อวันก่อนเห็น เฟซบุ๊กของสมาร์ทแท็กซี่ โพสต์ภาพหนังสือเรียกให้มาชำระค่าธรรมเนียมผ่านทางของระบบ M-Flow พบว่า มีการใช้รถยนต์ที่ไม่ได้ลงทะเบียน M-Flow ผ่านในช่องทาง ทั้งที่รถแท็กซี่คันดังกล่าวจอดเสียในอู่นานเป็นปี หนังสือลงวันที่ 9 เมษายน 2565 ส่งไปที่ถึงสหกรณ์แท็กซี่ เจ้าของหรือผู้ครอบครองรถยนต์ทางทะเบียน แล้วทางอู่เพิ่งได้รับเมื่อไม่นานมานี้ ระบุค่าผ่านทาง 30 บาท บวกค่าปรับอีก 10 เท่า 300 บาท รวมเป็น 330 บาท ที่น่าสนใจก็คือ หนังสือเรียกให้มาชำระค่าธรรมเนียม M-Flow ฉบับนี้ มาเป็นข้อความยืดยาว แต่ไม่แนบรูปหลักฐานมาเลยเหมือนใบสั่งจราจร ไม่ได้ระบุว่าจุดไหน วันใด เวลาใด เลยไม่ทราบข้อเท็จจริง สงสารก็แต่ตาสีตาสาที่ไม่รู้เรื่องจะต้องทำไง?   ตัวอย่างหนังสือเรียกให้มาชำระค่าธรรมเนียมผ่านทางของระบบ M-Flow (ขอบคุณภาพจากเฟซบุ๊ก Smart Taxi.,Ltd) ด้วยความรู้สึกกลัวว่าจะโดนกับตัวเอง เลยหาข้อมูลไว้ก่อนว่า ถ้ารถของเราโดนสวมทะเบียนจะทำยังไง…

Phoenix Ghost โดรนนกปีศาจจากสหรัฐ อาวุธสำคัญใหม่ในสมรภูมิดอนบัส

Loading

  สหรัฐฯงัดอาวุธใหม่ให้ยูเครน เผยเหมาะอย่างยิ่งกับสงครามในดอนบัสที่กำลังถูกโจมตีอย่างหนักจากรัสเซีย ตามรายงานของ Fortune ระบุว่านับตั้งแต่รัสเซียเปิดปฏิบัติการทางทหารในยูเครนเมื่อวันที่ 24 ก.พ. ที่ผ่านมา สหรัฐฯใช้งบประมาณไปแล้ว 3,400 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อส่งมอบความช่วยเหลือทางทหารแก่ยูเครน และล่าสุดจะมีการส่งมอบ Phoenix Ghost โดรนรุ่นใหม่ที่ไม่เคยถูกใช้ในสมรภูมิรบใดมาก่อน ซึ่งรวมอยู่ในแพ็คเกจมูลค่า 800 ล้านเหรียญสหรัฐที่สหรัฐฯ จะมอบให้แก่ยูเครน จอห์น เคอร์บี โฆษกเพนตากอนยังเผยว่า Phoenix Ghost ได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องและมีความเหมาะสมกับการใช้งานในภูมิภาคดอนบัส ทางตะวันออกของยูเครน ซึ่งมีภูมิประเทศที่ราบเรียบและเปิดโล่ง ซึ่งกำลังถูกโจมตีอย่างหนักจากกองทัพรัสเซีย ตามรายงานของ Aljazeera อย่างไรก็ตาม เคอร์บีปฏิเสธว่า Phoenix Ghost ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อสงครามในยูเครนโดยเฉพาะ เนื่องจากเริ่มวางแผนพัฒนาโดรนมานานก่อนที่ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน จะสั่งการให้กองทัพรัสเซียบุกรุกยูเครน พร้อมเสริมว่าจะไม่มีทางสร้างโดรนได้ถึง 121 ลำอย่างแน่นอนหากเพิ่งเริ่มสร้างในวันที่ 24 ก.พ. (นั่นหมายถึงจำนวนโดรนที่สหรัฐฯ จะส่งไปยังยูเครนด้วย) รู้จัก Phoenix Ghost โดรนดังกล่าวได้รับการพัฒนาโดยบริษัท AEVEX Aerospace ในแคลิฟอร์เนีย โดยเคอร์บีก็ไม่รู้เหมือนกันว่าชื่อนี้มาได้อย่างไร…

วิธีป้องกันไม่ให้มิจฉาชีพและแก็งคอลเซ็นเตอร์แฮกไลน์

Loading

  วิธีป้องกันไม่ให้มิจฉาชีพและแก็งคอลเซ็นเตอร์แฮกไลน์ โดยมิจฉาชีพมีเบอร์โทรมาถึงเรา นั่นหมายความว่าหากเราเปิดด้วยเบอร์นี้บนไลน์ และรับเพื่อนผ่านไลน์ โจรก็อาจใช้แผนเข้าหลอกลวงผ่าน LINE ได้เช่นกัน ดังนั้นถึงเวลาที่จะป้องกันบัญชี LINE ของเรา ไม่ให้มิจฉาชีพแฮกผ่านเบอร์โทรศัพท์ด้วยวิธีการดังนี้ วิธีป้องกันไม่ให้มิจฉาชีพและแก็งคอลเซ็นเตอร์แฮกไลน์ เปิดแอป LINE บน iOS , Android จากนั้นแตะไปที่หน้าหลัก แล้วเลือกไอคอนตั้งค่า เพื่อเข้าสู่การตั้งค่าแอป LINE     จากนั้นเลือก เพื่อน แล้วทำการปิด (OFF) ที่เพิ่มเพื่อนอัตโนมัติ และอนุญาตให้ผู้อื่นเพิ่มเป็นเพื่อน เพื่อป้องกันไม่ให้เพื่อนที่ไม่รู้จัก และคนอื่นที่อาจมีเบอร์ของเราอยู่และน่าจะเป็นมิจฉาชีพ เพิ่มเพื่อนด้วยเบอร์โทรบน LINE ทั้งนี้หากต้องการให่้เพื่อนคนนั้น เพิ่มเราเป็นเพื่อนให้บอกชื่อ ID LINE ของเราไปแทน เท่านี้มิจฉาชีพที่อาจมีเบอร์อยู่จะไม่สามารถหลอกลวงผ่าน LINE ได้แล้ว cover iT24Hrs-S     ที่มา : it24hrs    /   วันที่เผยแพร่ 24 เม.ย.65…