สงครามซ้อนสงคราม

Loading

  สงครามรัสเซีย – ยูเครน ยังดำเนินต่อไปอย่างดุเดือด ถ้าเป็นมวยก็คงอยู่ในช่วงยก 3-4 เท่านั้น และไม่ต้องแปลกใจว่ารัสเซียคะแนนนำอย่างชัดเจน เพราะยูเครนแบกน้ำหนักไว้เยอะ แต่ที่ผู้นำยูเครนยอมแบกน้ำหนักออกมาต่อยเพราะเชื่อแรงยุจากอเมริกา   เพียงเริ่มต้นไม่กี่ยก ยูเครนก็โดนพายุหมัดจนหน้าตาแหก ได้แต่ตะโกนปาว ๆ ขอให้อเมริกาและพันธมิตรส่งอาวุธมาให้เพิ่มเติม และคุยว่า หากได้อาวุธ ทหารยูเครนสู้ได้แน่ ๆ   เวลานี้ ทหารยูเครนจำนวนไม่น้อยทั้งตายและบาดเจ็บ ทหารรับจ้างต่างชาติร้อยพ่อพันแม่ที่รับจ้างมารบ เสียชีวิตและบาดเจ็บไปมากมาย บางคนถูกทหารรัสเซียจับตัวได้ทั้งที่ไปหลบซ่อนอยู่ที่ฐานใต้ดินลึกเป็นสิบเมตร   สหรัฐและเยอรมนีได้ส่งและเตรียมส่งอาวุธมาให้ยูเครนแล้ว ในกรณีของสหรัฐนั้น ได้ใช้งบประมาณที่รัฐบาลได้รับอนุมัติกรณีฉุกเฉินซื้ออาวุธจากโรงงานผลิตอาวุธอเมริกันและส่งมาให้ยูเครนส่วนหนึ่งแล้ว และจะทะยอยส่งมาให้เรื่อย ๆ   บริษัทผลิตและค้าอาวุธอเมริกันยิ้มแก้มปริ เพราะปีนี้คงได้กำไรไม่รู้เรื่อง ยิ่งสงครามยืดเยื้อไปนานเท่าไร รัฐบาลต้องซื้ออาวุธเพิ่มเติม บริษัทก็ขายอาวุธเพิ่มขึ้น ได้กำไรมากขึ้น หุ้นของบริษัทขึ้น นักการเมืองที่มีหุ้นอยู่ในบริษัทค้าอาวุธรับเงินอื้อตอนปลายปี   เยอรมนีหลังจากอิดออดมานาน และอาจถูกสหรัฐบีบ ในที่สุดได้ประกาศว่า จะส่งอาวุธไปช่วยยูเครนรบกับรัสเซีย เวลานี้กำลังจัดซื้ออาวุธจากบริษัทผลิตอาวุธเยอรมัน เข้าทำนองอเมริกันคือเอาอัฐยายซื้อขนมยาย บริษัทผลิตอาวุธของเยอรมนีคงดีใจจนเนื้อเต้น เพราะงบดุลปีนี้ของบริษัททำกำไรเพิ่มขึ้นแน่   ข่าวล่ามาเร็ว และเป็นข่าวจากรัสเซียรายงานว่า คลังเก็บอาวุธของยูเครนที่เครื่องบินอเมริกันนำมาให้นั้น…

เตรียมให้พร้อม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล องค์กรต้องทำอะไรบ้าง

Loading

  หลาย ๆ องค์กรเริ่มมีการเตรียมตัวเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ PDPA กันบ้างแล้ว แต่ยังมีอีกหลายหน่วยงานที่ยังไม่รู้ว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไร ต้องมีระบบใด หรือต้องจัดทำเอกสารอะไร ในบทความนี้จะกล่าวถึงการเตรียมตัวในเบื้องต้นเพื่อให้ปฏิบัติถูกต้องตามข้อบังคับของ PDPA   PDPA คืออะไร ก่อนจะเริ่มหัวข้อการเตรียมตัว ทีมงานขอเกริ่นเกี่ยวกับ PDPA สั้น ๆ ให้ผู้อ่านทราบว่า ทำไมต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของกฏหมายนี้ เนื่องจาก PDPA เป็นพระราชบัญญัติที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อคุ้มครองด้านสิทธิและความปลอดภัยของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หากมีการเปิดเผย ใช้ ดัดแปลง ถ่ายโอนข้อมูลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือทำผิดจุดประสงค์ในการตกลงร่วมกัน ก็จะสามารถร้องเรียนเพื่อเอาผิดได้ โดยข้อมูลที่ PDPA คุ้มครอง แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ     ข้อมูลส่วนบุคคล แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้ 1. ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป  (Personal Data) ตัวอย่างของข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป สามารถระบุตัวบุคลลนั้น ๆ เช่น – …

อาเซียนผวา!! ภัยคุกคามไซเบอร์ โจมตี ‘ผู้ใช้ดิจิทัลเพย์เมนต์’

Loading

  การนำการชำระเงินดิจิทัลมาใช้ ดูเหมือนเป็นดาบสองคม มีประโยชน์ที่ดีด้านความสะดวกสบาย ทว่าอีกทางหนึ่งเพิ่มความเสี่ยงด้านความปลอดภัยไซเบอร์ การวิจัยล่าสุดของ “แคสเปอร์สกี้” แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงเชิงบวก ระหว่างการนำการชำระเงินดิจิทัล (Digital Payment) มาใช้กับการตระหนักถึงความเสี่ยงและภัยคุกคามที่เกี่ยวข้องในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลศึกษาเรื่อง “Mapping a secure path for the future of digital payments in APAC” พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเกือบทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือราว 97% ตระหนักถึงภัยคุกคามต่อแพลตฟอร์มชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์อย่างน้อยหนึ่งประเภท และผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนเกือบสามในสี่ หรือ 72% ประสบกับภัยคุกคามที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีนี้อย่างน้อยหนึ่งประเภท ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการรายงานข่าวของสื่อเกี่ยวกับเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ รวมถึงความพยายามร่วมกันของภาครัฐและเอกชนในการส่งเสริมความตระหนักด้านความปลอดภัยช่วงที่มีกระแสการใช้โมบายแบงกิ้ง และอี-วอลเล็ต เพิ่มขึ้นในภูมิภาค ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนมากกว่าหนึ่งในสี่ หรือ 37% พบกลอุบายด้านวิศวกรรมสังคมผ่านทางข้อความหรือการโทร เว็บไซต์ปลอม ข้อเสนอและดีลปลอม และจำนวนหนึ่งในสี่ ระบุว่า พบการหลอกลวงแบบฟิชชิ่ง สูญเงินสูงถึง 5 พันดอลลาร์ ที่น่าสังเกต คือ การหลอกลวงด้วยวิธีวิศวกรรมทางสังคม เป็นภัยคุกคามที่พบได้มากสุดสำหรับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้…

PDPA ทางเลือกทางรอด ไปต่อได้หรือไม่ | ศุภวัชร์ มาลานนท์

Loading

  พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 หรือที่เรียกกันติดปากว่า PDPA จะมีผลใช้บังคับทั้งฉบับ 1 มิถุนายนนี้ แต่ก็ดูเหมือนจะมีเสียงสะท้อนมาจากภาคอุตสาหกรรมถึงความไม่พร้อมหลายๆ ประการ รวมถึงข้อกังวลที่กฎหมายลำดับรองต่าง ๆ ยังไม่ออกมาใช้บังคับอีกด้วย ซึ่งก็เป็นเสียงสะท้อนที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้ความสำคัญและควรพิจารณาอย่างรอบด้าน ผู้เขียนในฐานะนักวิชาการจึงขอแสดงความคิดเห็นเพื่อหาทางออกร่วมกัน ดังนี้ (1) PDPA เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายที่เป็นระเบียบใหม่ของโลก การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรฐานสากล เป็นประเด็นที่จะถูกนำมาเป็นข้อกำหนดและเงื่อนไขเพื่อกีดกันทางการค้าได้ในอนาคต การใช้บังคับของกฎหมายที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล ๆฟจะช่วยส่งเสริมศักยภาพการแข่งขันของประเทศไทยในภาพรวม หนึ่งในมาตรฐานสูงสุด ณ ขณะนี้ได้แก่ GDPR ซึ่งเป็นกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป ที่เป็นต้นแบบสำคัญของ PDPA ของไทย ดังนั้น การมีสภาพบังคับของ PDPA จึงเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ในแง่ของการมีกฎหมายที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล (2) GDPR ใช้บังคับในเขตเศรษฐกิจยุโรปและสหภาพยุโรปรวม 30 ประเทศ หากรวมกับ UK GDPR ด้วย (แม้ว่าจะ Brexit แล้วแต่ยังใช้กฎหมายที่เป็นฉบับเดียวกับ GDPR ในเชิงเนื้อหา) จะรวมเป็น 31 ประเทศที่ใช้กฎหมายฉบับเดียวกัน GDPR จึงกลายเป็นกฎหมายที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก ณ…

5 ข้อ Checklist PDPA องค์กรต้องทำอะไรอย่างไรบ้างในการบังคับใช้ PDPA 1 มิ.ย.65

Loading

  แม้จะเหลือเวลาอีกไม่นานก่อนการบังคับใช้พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 แต่องค์กรก็สามารถเตรียมตัวให้เป็นไปตามข้อกำหนดให้ทันได้ ในบทความนี้ เราได้สรุปแนวทางและขั้นตอนการปฏิบัติสำหรับองค์กรที่คุณกำพล ศรธนะรัตน์ – Data Protection Officer (DPO) และที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation แห่งก.ล.ต. และประธานชมรม DPO ได้แนะนำไว้มาให้ผู้อ่านได้ทราบและนำไปดำเนินการในองค์กรได้ทันที เปิด Checklist สิ่งที่องค์กรต้องทำ จากการแนะนำของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สิ่งที่องค์กรต้องเตรียมความพร้อมตามข้อกำหนดของกฎหมาย PDPA นั้นมีด้วยกันทั้งหมด 5 หัวข้อด้วยกัน โดยหลักการในแต่ละข้อมีสาระสำคัญดังนี้ 1. แต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer หรือ DPO) ซึ่งสามารถเป็นพนักงานภายในหรือภายนอกองค์กรที่ Outsource มาก็ได้ มีหน้าที่ในการดูแลให้องค์กรมีการคุ้มครองและรักษาควมปลอดภัยของข้อมูลตามกฎหมาย และเป็นผู้ประสานงานกับเจ้าของข้อมูลและสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (ส.ค.ส.) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแล 2.จัดทำประกาศความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice) ที่ระบุถึงวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บข้อมูล การนำไปใช้ และการส่งต่อข้อมูลให้กับหน่วยงานอื่นๆ 3.จัดทำ Record…

ทำไม ‘สนธิสัญญาความมั่นคง’ จีน – หมู่เกาะโซโลมอน สร้างเซอร์ไพรส์ ‘สหรัฐ’

Loading

“นายกรัฐมนตรีหมู่เกาะโซโลมอน” ออกโรงปกป้องสนธิสัญญาด้านความมั่นคงที่เพิ่งลงนามไปกับจีนเมื่อเร็วนี้ๆ ท่ามกลางความกังวลจากประเทศเพื่อนบ้านร่วมมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งแต่ออสเตรเลีย ไปจนถึงสหรัฐฯ นายมานาสเซห์ โซกาวาเร นายกรัฐมนตรีหมู่เกาะโซโลมอน กล่าวต่อรัฐสภาว่า ข้อตกลงที่มีต่อรัฐบาลปักกิ่งตอกย้ำถึงความจำเป็น ในการจัดการกับ “สถานการณ์ความมั่นคงภายใน” ของหมู่เกาะโซโลมอน หมู่เกาะโซโลมอนต่อสู้กับความไม่สงบทางการเมืองมาช้านาน โดยเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564 ได้มีเหตุการณ์ผู้ประท้วงรวมกลุ่มกันที่ไชน่าทาวน์ ในเมืองโฮนีอารา หลังจากนั้นเดินเท้าและพยายามบุกเข้าไปในบ้านพักของนายโซกาวาเร ก่อนหน้านี้ มีเหตุการณ์ความรุนแรงอีกหลายครั้ง และยังเกิดรัฐประหารเมื่อปลายทศวรรษที่ 1990 ทำให้ออสเตรเลียส่งเจ้าหน้าที่ช่วยรักษาเสถียรภาพบ้านเมือง ตามคำร้องขอรัฐบาลหมู่เกาะโซโลมอน สนธิสัญญาฯ หายนะ “ออสเตรเลีย – สหรัฐฯ” รัฐบาลแคนเบอร์ราส่งสัญญาณเตือนสนธิสัญญาความมั่นคงดังกล่าว หลังจากร่างเอกสารฯได้หลุดเมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา ขณะที่สหรัฐฯแสดงความกังวลว่า เรื่องนี้อาจส่งผลให้ “จีนตั้งฐานทัพ” ในมหาสมุทรแปซิฟิก มาร์ค แฮร์ริสัน อาจารย์อาวุโสด้านจีนศึกษาของมหาวิทยาลัยแทสเมเนีย บอกกับอัลจาซีราว่า ข้อตกลงนี้ถือเป็น “หายนะ” สำหรับออสเตรเลีย และสหรัฐฯ เพราะมีความสัมพันธ์ตึงเครียดกับรัฐบาลปักกิ่งมานานแล้ว “เรื่องนี้ท้าทายออสเตรเลีย ว่าจะประเมินอนาคตในภูมิภาคต่อไปอย่างไร เพราะจีนกำลังแผ่อิทธิพลในภูมิภาคนี้มากขึ้น” แฮร์ริสัน กล่าว หมู่เกาะโซโลมอน มีประชากรน้อยกว่า 700,000 คน…