เฝ้าระวังโจรใต้ลอบป่วน! ก่อเหตุประเดิม ‘ปีเสือ 65’

Loading

  สถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปี 2564 ที่ผ่านไปแล้วนั้น ถ้าเปรียบเทียบกับการเกิดเหตุการก่อการร้าย หรือ ก่อความไม่สงบ จะพบว่า ปี 2564 เป็นปีที่ “โจรใต้“ กลุ่มบีอาร์เอ็น ก่อเหตุมากกว่าปี 2563 สถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปี 2564 ที่ผ่านไปแล้วนั้น ถ้าเปรียบเทียบกับการเกิดเหตุ การก่อการร้าย หรือ ก่อความไม่สงบ จะพบว่า ปี 2564 เป็นปีที่ “โจรใต้” กลุ่มบีอาร์เอ็น ก่อเหตุมากกว่า ปี 2563  แต่ในขณะเดียวกัน เมื่อดูสถิติของการปิดล้อมตรวจค้น จับผู้ต้องหา และ วิสามัญกลุ่มคนร้าย ที่มีหมายจับแล้วขัดขืนต่อสู้ ไม่ยอมให้จับกุมตัวง่าย จนทำให้เกิดการปะทะและวิสามัญคนร้ายไม่ต่ำกว่า 20 ศพ   พล.ท.เกรียงไกร ศรีรักษ์ – พล.ต.ท.นันทเดช ย้อยนวล ปมถูกเจ้าหน้าที่รุกกดดันหนัก เกือบตลอดปี 2564 โจรใต้ต้องสูญเสียแนวร่วมฯไปอย่างต่อเนื่อง จึงพยายามลอบซุ่มโจมตีเจ้าหน้าที่รัฐ ทหาร…

คำถามนี้ดีพี่ตอบให้: อยากใช้ e-Meeting ให้ปลอดภัย สอดคล้องตามกฎหมาย ต้องทำอย่างไร

Loading

  การระบาดของโควิด-19 ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงต่อวิถีชีวิตของผู้คน โดยเฉพาะการผลักดันให้เกิดการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งในชีวิตประจำวัน การทำงาน รวมถึงการขับเคลื่อนองค์กรของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งการส่งเสริม กำกับดูแล และเร่งพัฒนา เป็นภารกิจสำคัญของ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ Electronic Transactions Development Agency (ETDA) (เอ็ตด้า)​ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในช่วงวิกฤตนี้ จากเดิมมีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) [1] คือ จะจัดการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting) หรือประชุมออนไลน์ได้ หนึ่งในสามขององค์ประชุมต้องอยู่ในที่เดียวกันและต้องอยู่ในประเทศ ซึ่งในช่วงที่มีการระบาดอย่างรุนแรงทำแบบนั้นไม่ได้กระทบไปถึงการประชุมของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ ๆ ETDA จึงพยายามหาช่องทางที่จะทำให้การประชุมออนไลน์ถูกต้องตามกฎหมาย โดย ณ ตอนนั้นมีการออก พระราชกำหนดว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563 [2] หรือ พ.ร.ก.e-Meeting ETDA จึงร่วมกับกระทรวงดิจิทัลฯ เร่งออกประกาศกระทรวงเกี่ยวกับมาตรฐานการประชุมออนไลน์ [3] ที่มั่นคงปลอดภัย รวมถึงเร่งทำระบบรับรองระบบการประชุมออนไลน์ให้กับผู้ให้บริการรายต่าง ๆ [4] ถือเป็นกิจกรรมแรกที่สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงโควิด-19…

‘เบลนเดต้า’ เปิด 5 เมกะเทรนด์ปี 65 ‘บิ๊กดาต้า’ แรง แนะองค์กรเร่งปรับใช้

Loading

  ทุกวันนี้องค์กรทั่วโลกต่างยกให้ “บิ๊กดาต้า” เป็นเหมือนด่านสำคัญของการบริหารจัดการ การตัดสินใจ วางกลยุทธ์ พร้อมเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในยุคดิจิทัล ณัฐนภัส รชตะวิวรรธน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท เบลนเดต้า จำกัด ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มบริหารจัดการบิ๊กดาต้า กล่าวว่า ธุรกิจต้องการความเร็วในการนำข้อมูลไปปรับใช้เพื่อครองใจลูกค้า โดยข้อมูลมหาศาลหรือบิ๊กดาต้าได้กลายเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจเพิ่มศักยภาพระบบบริหารจัดการภายในองค์กร เข้าใจพฤติกรรมเชิงลึกของผู้บริโภค พัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ เพิ่มประสบการณ์ที่ดีจากการให้บริการที่ตรงความต้องการ ทั้งยังสามารถคาดการณ์ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นและแก้ไขได้ทันท่วงที  ขณะเดียวกัน โควิด-19 เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเร่งให้ทุกคนคุ้นชินกับการใช้เทคโนโลยีและเชื่อมโลกออนไลน์เข้ากับออฟไลน์แบบไร้รอยต่อ ส่งผลทำให้มีข้อมูลจำนวนมหาศาลเกิดขึ้นในทุกวินาที ธุรกิจมีความจำเป็นต้องเร่งปรับใช้ข้อมูลที่รวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อการเป็นผู้นำในการแข่งขัน ซึ่งหากช้ากว่าผู้เล่นรายอื่น ก็อาจเสียโอกาสทางธุรกิจและอาจถูกดิสรัปชันไปในที่สุด ฟอร์เรสเตอร์ รีเสิร์ช พบว่า ธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลมีแนวโน้มที่จะบรรลุเป้าหมายด้านรายได้มากกว่าบริษัทที่ไม่เน้นการใช้ข้อมูลถึง 58% ดึงพลัง ‘ข้อมูลเรียลไทม์’ สำหรับ 5 เทรนด์บิ๊กดาต้าที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการยกระดับกลยุทธ์ต่างๆ ขององค์กรในปี 2565 ประกอบด้วย 1. Real-Time Data การวิเคราะห์ข้อมูลและใช้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ จะมีความสำคัญมากขึ้น จากการแข่งขันทางธุรกิจที่สูงขึ้น ทุกวินาทีจึงมีความสำคัญ ความล่าช้านำมาซึ่งการเสียโอกาสทางธุรกิจไปทันที จากเทคโนโลยีเดิมที่อาจใช้เวลาจัดเก็บและรอประมวลผลวันต่อวัน องค์กรจึงต้องมองหาเทคโนโลยีที่สามารถประมวลผลแบบเรียลไทม์ เพื่อเพิ่มความเร็วในการนำข้อมูลไปปรับใช้สำหรับกลยุทธ์ทางธุรกิจต่างๆ และสอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคยุคดิจิทัล นอกจากนี้ การทำ Real-Time Analytics วิเคราะห์และประมวลผลบิ๊กดาต้าแบบเรียลไทม์จะช่วยให้สามารถตัดสินใจ แก้ไขปัญหา วางแผน ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ คาดการณ์แนวโน้มต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที 2. การนำบิ๊กดาต้ามาเสริมเฟรมเวิร์กในระบบ Cybersecurity…

โด่งดังสมใจโดยไม่ติดคุก โจรมะกันปล้นแบงก์-หนีชิลชิล 50 ปี ก่อนตายทิ้งเบาะแสให้ไขคดี จนได้เป็นข่าวไปทั่วโลก

Loading

ธีโอดอร์ คอนราด หนุ่มหน้าใส นัยน์ตาซื่อ ซึ่งน่าจะเป็นคนท้ายๆ ในโลกที่จะลงมือทำอาชญากรรมอุกฉกรรจ์แห่งการปล้นธนาคาร เขาแปลงตัวเป็นคนใหม่ในชื่อว่า โทมัส แรนเดล ไว้หนวดเคราอำพรางใบหน้าเดิม และไปกบดานหลบหนีคดีในย่านชานเมืองของนครบอสตัน อันเป็นถิ่นที่ถูกใช้ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องดังแห่งปี 1968 คือ The Thomas Crown’s Affair หนังโลดโผนด้วยจินตนาการ ซึ่งธีโอดอร์ หรือเท็ด ปลาบปลื้มหลงใหลอย่างหัวปักหัวปำ   ธีโอดอร์ คอนราด “คนมีของ” แห่งคลีฟแลนด์ สหรัฐอเมริกา มีพลังอัจฉริยะระดับไอคิว 135 พลังนี้ได้ขับเคลื่อนให้อยากปล่อยของเพื่อทำให้ผู้คนทึ่งและยอมรับในตัวเขา เขาทำอย่างนั้นด้วยการปล้นแบงก์ครั้งประวัติการณ์ตอนอายุ 20 ปีบริบูรณ์ โดยคดีนี้เป็นคดีปริศนาที่ค้างเติ่งตลอด 52 ปีที่เขากบดานหลบหนีการจับกุม เมื่อเขาจากโลกนี้ไป เขาอาจจะตั้งใจทำให้โลกทึ่งในตัวเขาอีกครั้งหนึ่งด้วยการให้เบาะแสแหล่งกบดาน เพื่อที่มือปราบคู่แค้นจะเข้ามาไขปริศนาคดีได้สำเร็จ พร้อมกับนำพาให้เรื่องราวและภาพถ่ายของเขาได้เป็นข่าวใหญ่ ปิดท้ายชีวิต 71 ปี อย่างเอิกเกริกนั่นเอง เมื่ออาการมะเร็งปอดของโทมัส แรนเดล ทรุดหนักเข้าขั้นว่าใกล้จะอยู่จะไปแล้ว แคธี ศรีภรรยาผู้แต่งงานอยู่กินกับเขานานเกือบ 4 ทศวรรษ ได้เชิญเพื่อนฝูงของคุณตาโทมัส วัย 71…

ส่อง 7 เทคโนโลยีสำคัญในระบบ “เศรษฐกิจดิจิทัล” ของไทยภายในปี 2035

Loading

  สรุป 7 เทคโนโลยี ที่จะมีอิทธิพลต่อระบบ “เศรษฐกิจดิจิทัล” ของไทยภายในปี 2035 คนทำงานรู้ก่อนปรับตัวทัน คนทำธุรกิจรู้ก่อนได้เปรียบกว่า ศักราชเปลี่ยน เทคโนโลยีปรับในอีกไม่ช้าไม่นาน “เศรษฐกิจไทย” จำเป็นต้องก้าวไปสู่ “เศรษฐกิจดิจิทัล” ที่มีเทคโนโลยีต่างๆ เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งคนที่มองเห็นโอกาสทางเทคโนโลยีได้ไกลกว่าย่อมมีโอกาสที่จะพัฒนาสินค้าและบริการหรือธุรกิจให้รุดหน้าไปคว้าโอกาสใหม่ก่อนคนอื่นได้ “กรุงเทพธุรกิจออนไลน์” ชวนมองข้ามช็อตไปถึงปี 2035 หรืออีก 10 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะมีเทคโนโลยีใดบ้างที่เป็นเทคโนโลยีสำคัญ ที่จะเข้ามากระทบกับธุรกิจเศรษฐกิจกันบ้าง โดยสรุปข้อมูลจากการคาดการณ์อนาคต 7 เทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อระบบเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย ภายในปี 2035 จาก DEPA และ Frost & Sullivan ที่น่าสนใจดังนี้ 1. IoT (Internet of Things) อินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง  เป็นเทคโนโลยีเริ่มใช้แพร่หลายในปัจจุบัน “IoT” ช่วยยกระดับการใช้งานหรือใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์และเซ็นเซอร์ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต การวิเคราะห์ข้อมูล และการประมวลผลแบบคลาวด์ (Cloud computing) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจรวมถึงการสร้างรูปแบบและบริการทางธุรกิจใหม่ๆ โดยไม่กี่ปีข้างหน้าคาดว่าจะมีการใช้งานจำนวนอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เพิ่มขึ้นหลายพันล้านเครื่องทั่วโลก ส่งผลให้ตลาด IoT ทั่วโลกจะยังคงเติบโตอย่างรวดเร็ว ตัวอย่างการใช้งาน IoT เช่น บ้านอัจฉริยะ (Smart home) พลังงานอัจฉริยะ (Smart energy)…

ต่างประเทศเริ่มออกมาตรการรับมือ Log4Shell

Loading

  องค์กรควรรีบหาวิธีการดำเนินการเพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ช่วงนี้คงไม่มีใครในวงการไซเบอร์ที่ไม่รู้จักภัยคุกคาม “Log4Shell” ช่องโหว่ใน Log4j ที่เป็นส่วนเสริมของโปรแกรมที่ทำงานบนภาษา Java และเป็นส่วนสำคัญของ Apache ซอฟต์แวร์เซิร์ฟเวอร์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายโดยแพลตฟอร์มและแอปพลิเคชันชื่อดัง ไม่ว่าจะเป็น Minecraft , Apple iCloud , Tesla , Elasticsearch ฯลฯ ซึ่งอานุภาพของ Log4Shell คือการเรียกใช้โค้ดจากระยะไกล ทำให้ผู้โจมตีสามารถติดตั้งมัลแวร์บนเซิร์ฟเวอร์เป้าหมายได้อย่างง่ายดาย และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายวิธี ล่าสุดในต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ ที่หน่วยงานด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศได้จัดการประชุมฉุกเฉินโดยรวบรวมตัวแทนจากกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ (CII) มาเข้าร่วม โดยในระหว่างนั้นหน่วยงานจะให้คำแนะนำและข้อมูลทางเทคนิคในการรับมือกับ Log4Shell Cyber ​​Security Agency (CSA) ของสิงคโปร์เตือนว่า หากช่องโหว่นี้ถูกโจมตีได้สำเร็จ จะเปิดโอกาสให้แฮกเกอร์ควบคุมเซิร์ฟเวอร์ที่ได้รับผลกระทบได้อย่างสมบูรณ์ และยังเน้นย้ำว่าองค์กรควรรีบหาวิธีการดำเนินการเพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นให้เร็วที่สุด  ทั้งนี้ CSA ได้แจ้งเตือนผู้นำในกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศและกลุ่มธุรกิจต่างๆ ให้พวกเขาอัปเดตแพตช์เป็นเวอร์ชันล่าสุดทันที ซึ่ง CSA จะทำงานร่วมกับตัวแทนจาก CII เพื่อออกมาตรการบรรเทาผลกระทบ ร่างกฎหมายความปลอดภัยทางไซเบอร์ของสิงคโปร์นั้นครอบคลุม 11 กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ ช่วยให้หน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องสามารถใช้มาตรการเชิงรุกเพื่อปกป้องกลุ่ม…