เมื่อเราอยู่ในยุคข้อมูลท่วมโลก

Loading

  สัปดาห์ก่อนผมไปเสวนาในรายการ Balance between Privacy and Security โดยสมาคมผู้ใช้ดิจิทัลไทย หรือ DUGA คำถามหลักของวงเสวนา คือ ระหว่างข้อมูลส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูล อะไรสำคัญกว่ากันหรือต้องสมดุลขนาดไหน?        ผมเริ่มอธิบายว่า ในทศวรรษที่ 21 จะเป็นยุคที่ข้อมูลมีค่ายิ่งกว่าทรัพย์สินใด ๆ โดยเฉพาะ “ข้อมูลส่วนบุคคล”(Data Privacy) ที่ถูกสกัดออกมาเก็บไว้ในรูปแบบต่าง ๆ สะสมไปเรื่อย ๆ ตั้งแต่วันแรกที่เราลืมตาดูโลกไปจนถึงวันสุดท้ายที่เราจากโลกนี้ไป หลังจากเราตายแล้วข้อมูลของเราก็จะยังอยู่ในโลกต่อไปตราบนานเท่านาน ไล่ตั้งแต่วันเดือนปีเกิด น้ำหนักแรกเกิด เลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน การได้รับวัคซีนในวัยเด็ก เบี้ยเด็กแรกเกิด โรงเรียนในแต่ละระดับ มหาวิทยาลัย วิชาที่ลงทะเบียน เกรดเฉลี่ย พอเข้าสู่วัยทำงาน ข้อมูลเราจะถูกสกัดออกมาเยอะมากเป็นพิเศษ       เช่น ที่อยู่ปัจจุบัน ภรรยา บุตร สถานที่ทำงาน อาชีพ รายได้…

CCTV ใช้อย่างไร ไม่ให้ผิด พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ

Loading

  กล้อง CCTV หรือกล้องวงจรปิดที่ใช้อย่างแพร่หลาย ย่อมส่งผลกระทบต่อความเป็นส่วนตัวของบุคคลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การใช้กล้อง CCTV (Closed-circuit television) หรือกล้องวงจรปิด เพื่อรักษาความปลอดภัยและป้องกันอาชญากรรม แต่ส่งผลกระทบต่อความเป็นส่วนตัวของบุคคลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้นั้นเป็นข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ถูกบันทึกภาพ ดังนี้ ผู้ใช้กล้อง CCTV จึงมีความจำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ) เพื่อจัดการให้การเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล) เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ในบทความนี้ ผู้เขียนแบ่งการใช้กล้อง CCTV เป็น 2 กรณี โดยแยกตามวัตถุประสงค์ของการใช้ ดังนี้ กรณีที่ 1 การใช้กล้อง CCTV เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือเพื่อกิจกรรมในครอบครัว ในกรณีการใช้กล้อง CCTV เพื่อรักษาความปลอดภัยของบ้านเรือนและสมาชิกในครอบครัวนั้น แม้ว่าข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลส่วนบุคคลก็ตาม แต่ก็เป็นข้อยกเว้นที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ ตามที่มาตรา 4(1) บัญญัติว่าพระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือเพื่อกิจกรรมในครอบครัวของบุคคลนั้นเท่านั้น กล่าวคือ ผู้ใช้กล้อง CCTV เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวสามารถประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยไม่ต้องพิจารณาถึงฐานในการประมวลผลตามกฎหมายแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม การใช้กล้อง…

การหยามผิวกับความแตกแยกในสหรัฐ | ไสว บุญมา

Loading

ผู้ติดตามข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์ในสหรัฐคงทราบแล้วว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาศาลในรัฐจอร์เจียตัดสินว่าชายผิวขาว 3 คนมีความผิดฐานฆ่าชายผิวดำ แต่วิบากกรรมของชาย 3 คนนั้นยังไม่จบ พวกเขาจะต้องขึ้นศาลของรัฐบาลกลางต่อไปในข้อหาฆ่าผู้อื่น เพียงเพราะสีผิวของผู้นั้นต่างกับของตน คดีเกิดจากเหตุการณ์สยองขวัญในช่วงต้นปีที่แล้ว เมื่อผู้ตายวิ่งออกกำลังกายผ่านไปในย่านของคนผิวขาว ฆาตกรดังกล่าวใช้รถกระบะ 2 คันไล่เขาไปตามถนนจนเขาจนมุมจึงยิงเขาตาย ทั้งที่มีหลักฐานแจ้งชัด แต่ตำรวจไม่ยอมจับชาย 3 คนนั้นเพราะอัยการผิวขาวเข้าข้างฆาตกร เมื่อเรื่องถูกเผยแพร่ออกมา ฆาตกรจึงถูกจับดำเนินคดี อัยการที่เข้าข้างฆาตกรกำลังอยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีเช่นกัน ในปัจจุบัน เหตุการณ์อันเนื่องมาจากการหยามผิวยังเกิดขึ้นบ่อยโดยเฉพาะทางภาคใต้ของสหรัฐ เรื่องนี้อาจเป็นที่แปลกใจของคนจำนวนมากเนื่องจากสหรัฐประกาศเลิกทาสโดยการจารึกไว้ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาแล้ว 156 ปีและมีกฎหมายให้คนผิวทุกสีมีสิทธิ์เท่าเทียมกันมาแล้ว 55 ปี แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญและการตรากฎหมายใหม่เปลี่ยนใจของคนผิวขาวจำนวนมากไม่ได้เพราะในบ้านยังสอนให้ลูกหลานหยามผิว คดีที่อ้างถึงเป็นตัวอย่างชั้นดีของประเด็นนี้เพราะฆาตกร 2 คนเป็นพ่อกับลูก การหยามผิวของชาวอเมริกันผิวขาวเป็นมรดกตกทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษที่ไปบุกรุกและบุกเบิกแผ่นดินในทวีปอเมริการวมทั้งส่วนที่อยู่ในครอบครองของชาวพื้นเมืองผิวคล้ำอยู่ก่อนแล้ว แรงงานที่ใช้ในการบุกเบิกส่วนหนึ่งได้มาจากคนผิวดำที่ถูกจับจากแอฟริกาไปขายในฐานะทาส คนผิวขาวเอาชนะชาวพื้นเมืองผิวคล้ำและคนผิวดำได้เนื่องจากมีเทคโนโลยีที่เหนือกว่า ประเด็นนี้มีข้อมูลสนับสนุนอยู่ในหนังสือชื่อ Guns, Germs and Steel (มีบทคัดย่อภาษาไทยอยู่ในเว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนา www.bannareader.com) การมีเทคโนโลยีที่เหนือกว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้คนผิวขาวหยามคนผิวอื่นถึงขนาดไม่นับเป็นคน แนวคิดนี้แสดงออกมาเป็นที่ประจักษ์เมื่อพวกเขาประกาศแผ่นดินที่บุกรุกและบุกเบิกใหม่เป็นประเทศเอกราชเมื่อปี 2319 กล่าวคือ รัฐธรรมนูญของสหรัฐไม่นับทาสและชาวพื้นเมืองดั้งเดิมเป็นคนยังผลให้ข้อความในรัฐธรรมนูญที่เขียนว่า “คนทั้งหมดเกิดมาเท่าเทียมกัน” (all men are created equal) เป็นเพียงข้อความหลอกลวงเพราะมันหมายถึงเฉพาะคนผิวขาวเท่านั้น ลูกหลานของชาวผิวขาวส่วนหนึ่งจึงยึดแนวคิดแสนประหลาดนั้นมาจนทุกวันนี้…

จีนสอดแนมนักข่าวโดยแบ่งประเภทตามสีไฟจราจร

Loading

มณฑลเหอหนานของจีนกำลังสร้างระบบสอดแนมที่ใช้เทคโนโลยีการสแกนใบหน้า ที่สามารถตรวจหานักข่าวและ “บุคคลที่น่ากังวล” อื่น ๆ ได้   เอกสารที่บีบีซี นิวส์ ได้เห็น อธิบายถึงระบบที่แบ่งผู้สื่อข่าวตามประเภทของสีไฟจราจรคือ เขียว เหลืองอำพัน และแดง ในเอกสารระบุว่า ผู้สื่อข่าวในกลุ่ม “สีแดง” จะ “ได้รับการจัดการตามความเหมาะสม” หน่วยงานด้านความมั่นคงสาธารณะของมณฑลเหอหนานยังไม่ตอบรับคำขอให้แสดงความคิดเห็นต่อเรื่องดังกล่าว เอกสารซึ่งได้รับการค้นพบโดย IPVM บริษัทด้านการวิเคราะห์การสอดแนมนี้ ยังเผยให้เห็นแผนการสอดแนม “บุคคลที่น่ากังวล” อื่น ๆ รวมถึงนักศึกษาต่างชาติ และผู้อพยพสตรี ฮิวแมนไรท์วอทช์ ระบุว่า “นี่ไม่ใช่รัฐบาลที่จำเป็นต้องมีอำนาจมากขึ้นในการติดตามตัวประชาชนจำนวนมากขึ้น…โดยเฉพาะประชาชนที่พยายามเรียกหาความรับผิดชอบจากรัฐบาล” “บุคคลน่ากังวล” เอกสารซึ่งเผยแพร่เมื่อ 29 ก.ค. ที่ผ่านมา เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยื่นข้อเสนอให้บริษัทต่าง ๆ ของจีนเข้าร่วมการประกวดสัญญาเพื่อสร้างระบบใหม่นี้ ซึ่งบริษัทที่ชนะการประกวดราคาเมื่อวันที่ 17 ก.ย. คือ NeuSoft NeuSoft ยังไม่ตอบรับคำขอให้แสดงความคิดเห็นจากบีบีซี นิวส์ ระบบนี้รวมถึงเทคโนโลยีจดจำใบหน้าที่เชื่อมต่อกับกล้องหลายพันตัวในเหอหนาน เพื่อแจ้งเตือนทางการเมื่อตรวจพบ “บุคคลที่น่ากังวล” “บุคคลที่น่ากังวัล” จะได้รับการจัดประเภทเก็บไว้ในฐานข้อมูลที่มีอยู่แล้วในมณฑลเหอหนาน โดยระบบนี้จะเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลแห่งชาติของจีนด้วย “ความกังวลหลัก”…

สัญญาณอันตราย ไทยอยู่อันดับ 19 ประเทศที่มีความเสี่ยงเกิด ‘การสังหารหมู่’

Loading

  ในการจัดอันดับประเทศที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดการสังหารหมู่ (Countries at Risk for Mass Killing) ประจำปี 2021-2022 ไทยอยู่ในอันดับที่ 19 จาก 162 ประเทศ ขยับขึ้นมาจากอันดับที่ 42 ในปี 2020-2021 หรือกระโดดข้ามขึ้นมาถึง 23 อันดับ การจัดอันดับนี้เป็นการประเมินความเสี่ยงในระดับ Top 30 นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยติดอยู่ในประเทศกลุ่มเสี่ยง 30 อันดับแรก ในตารางการประเมินความเสี่ยงในการเกิดการสังหารหมู่ประจำปี 2021-2022 ประเทศที่มีความเสี่ยงสูงมาก 5 อันดับแรกคือ ปากีสถาน อินเดีย เยเมน อัฟกานิสถาน และคองโก Early Warning Project ทำการประเมินความเสี่ยงทั่วโลกทุกปีตั้งแต่ปี 2014 เมื่อโลกต้องเผชิญความเสี่ยงต่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งโรฮีนจาในพม่า การสังหารประชาชนที่ซูดานใต้ เอธิโอเปีย และแคเมอรูน โครงการนี้เป็นการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว Simon-Skjodt Center for the Prevention of…

เอ.ไอ. แทรกแซงกิจการภายในของไทย

Loading

    ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดกระแสสูงทั้งการวิจารณ์ และเลยไปถึงการขับไล่ “ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นนัล ” หรือ เอ.ไอ. เรียกชื่อเป็นไทยว่า “ องค์กรนิรโทษกรรมสากล ” หนึ่งใน “ องค์กรพัฒนาเอกชน ” หรือเรียกทับศัพท์ว่า “ เอ็น.จี.โอ ” ที่มีมากมายเข้ามาทำงานในประเทศไทย หากท่านผู้ใดยังไม่ค่อยรู้จัก ลองไปค้นหาในกูเกิล ซึ่งมีเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับองค์กรประเภทนี้ที่กระทำการอันดูถูก ดูหมิ่น กระทบกระเทือนจิตใจของประชาชนคนไทยตลอดมา ในช่วงเวลาสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้บริหาร เอ.ไอ.ได้ออกแถลงการณ์ วิจารณ์อย่างรุนแรงต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ล่าสุด ได้ออกมาคัดค้านต่อคำตัดสินของศาลยุติธรรมไทยต่อผู้กระทำผิดกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยอ้างว่ากระทบต่อการแสดงสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งกำลังหดหายในประเทศไทย ก่อนหน้านี้ เอ.ไอ.ก็ออกมาวิจารณ์ศาลไทยเป็นระยะ พฤติกรรมดังกล่าวอาจกล่าวได้ว่า องค์การนิรโทษกรรมสากล กำลัง “ แทรกแซงกิจการภายในของประเทศไทย ” อย่างชัดเจน โดยเฉพาะแทรกแซงอธิปไตยทางศาลยุติธรรม เปิดหน้ากันออกมาชัด ๆ อย่างนี้ก็ดี หลังจากอ้อมไปอ้อมมาเสียนาน จึงไม่น่าแปลกใจเมื่อกระแสต่อต้าน “ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นนัล “…