วิธีสั่งล้างข้อมูลจากระยะไกล กรณีโน๊ตบุ๊คถูกขโมย

Loading

วิธีสั่งล้างข้อมูลจากระยะไกล กรณีโน๊ตบุ๊คของเราหาย ทั้งนี้ เพื่อป้องกันอุปกรณ์ของเราไม่ให้ไฟล์สำคัญรั่วไหล ขอแนะนำให้ตั้งรหัสผ่านเปิดคอมที่รัดกุม การเปิดใช้งานการตรวจสอบสิทธิ์แบบสองปัจจัย เป็นต้น จะเกิดอะไรขึ้นหากแล็ปท็อปของคุณสูญหายหรือถูกขโมย ในกรณีเช่นนี้ หากไม่มีการป้องกันที่เหมาะสม ก็อาจทำให้เกิดปัญหามากมาย ไฟล์สำคัญ ข้อมูลทางการเงิน ความลับส่วนบุคคลของคุณจะตกอยู่ในอันตราย ดังนั้นควรตั้งค่าให้สามารถล้างข้อมูลจากระจะไกล ได้ด้วยซึ่ง Microsoft ไม่มีคุณสมบัติดังกล่าว   วิธีสั่งล้างข้อมูลจากระยะไกล จากแล็ปท็อป ที่สูญหายหรือถูกขโมย คุณสามารถเปิดใช้ Find My Device บน Windows อย่างไรก็ตาม จะไม่ยอมให้คุณล้างข้อมูลในกรณีที่ข้อมูลสูญหาย ขั้นตอนต่อไปนี้ แนะนำวิธีในการล้างข้อมูลคอมพิวเตอร์ Windows จากระยะไกล   1. เปิดใช้งานคุณสมบัติค้นหาอุปกรณ์ของฉัน Find My Device Find My Device มีเฉพาะใน Windows 10/11 เท่านั้น คุณลักษณะนี้ช่วยให้คุณสามารถระบุตำแหน่งอุปกรณ์ที่สูญหายหรือถูกขโมยได้ คุณสามารถใช้เพื่อล็อคอุปกรณ์ของคุณหรือลบข้อมูลจากระยะไกล            …

Metaverse กฎหมายและอนาคตในโลกคู่ขนาน

Loading

  ผู้เขียนขอจินตนาการถึงอนาคตกับสิ่งที่นวัตกรรมสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้น ในวันนี้แม้เราจะยังไม่ได้สัมผัสโลก Metaverse อย่างเต็มรูปแบบ แต่เชื่อว่าในอีกไม่นาน โลกคู่ขนานอีกใบจะถูกสร้างขึ้นในลักษณะ “เสมือน” ซึ่งเป็นสิ่งท้าทายกฎระเบียบในโลกกายภาพเป็นอย่างมาก   อะไรคือ Metaverse หากพิจารณาในเชิงนิยาม Metaverse แปลว่า “Beyond the Universe” ซึ่งเป็นการรวมคำของ “Meta” ที่หมายถึง “เหนือขอบเขต” และ “Universe” ที่หมายถึง “จักรวาล” ดังนั้น โลก Metaverse คือความพยายามของบริษัทเทคโนโลยีต่างๆ ที่จะสร้างโลกเสมือนอีกใบ (Virtual World) เพื่อให้คนในโลกกายภาพสามารถเข้าถึงและมีกิจกรรมต่างๆ ในโลกเสมือนได้ ผ่านการเชื่อมโยงของระบบอินเทอร์เน็ต หรืออาจกล่าวได้ว่า องค์ประกอบของ Metaverse คือ 1) การใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้าง Digital Content ให้เป็นโลกอีกใบที่คู่ขนานกับโลกที่เราอยู่ 2) การเข้าถึงต้องใช้ฮาร์ดแวร์ดีไวซ์ต่างๆ (เช่น AR หรือแว่นตาเฉพาะ) เพื่อให้ User ที่อยู่ในโลกกายภาพสามารถเชื่อมต่อกับโลกเสมือนได้ 3) User…

“Public Eye” อัมสเตอร์ดัม สมาร์ทซิตี้ที่ความเป็นส่วนตัวคือเรื่องสำคัญ

Loading

กรุงอัมสเตอร์ดัม สมาร์ทซิตี้แถวหน้าของโลก พัฒนาระบบ “Public Eye” ขึ้นมาเพื่อจัดการกับความหนาแน่นในพื้นที่สาธารณะ ด้วยกล้องวงจรปิดและ AI “Public Eye” ทำงานอย่างไร จึงได้ชื่อว่าเป็นระบบ Crowd Monitoring ที่คิดถึงความเป็นส่วนตัวของผู้คนมาเป็นที่ 1   มหานครหลายแห่งของโลกได้วางแผนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่การเป็น Smart City กันมาหลายปีแล้ว อย่างเช่นที่ อัมสเตอร์ดัม เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นเมืองอันดับต้นของโลกที่ได้ชื่อว่าเป็นสมาร์ทซิตี้ที่ดีที่สุด อัมสเตอร์ดัมได้วางรากฐานการพัฒนาสู่เมืองอัจฉริยะมาตั้งแต่ปี 2009 อัมสเตอร์ดัมเป็นเมืองที่จำนวนนักท่องเที่ยวสูงกว่าพลเมืองเองมาก จากการคาดการณ์ในปี 2019 อัมสเตอร์ดัมจะมีพลเมืองมากกว่า 1 ล้านคนในปี 2040 และจะมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นมากจาก 18 ล้านคนต่อปีในปี 2018 เป็น 23 ล้านคนในปี 2023 (ไม่แน่ใจว่าโควิดจะเข้ามาเปลี่ยนตัวเลขนี้มากน้อยแค่ไหน) ด้วยตัวเลขความหนาแน่นนี้ อัมสเตอร์ดัมต้องรับมือด้วยกลยุทธ์หลายอย่าง ตั้งแต่การวางโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี ทั้งการโครงข่ายการจ่ายไฟฟ้าที่เสถียร เครือข่าย 5G ซึ่งทำงานร่วมกันกับระบบ Cloud และ AI ให้ทุกกระบวนการเดินไปอย่างราบรื่นและเสถียรที่สุด เพื่อการใช้งานระดับเมืองและบุคคลจะทำให้ชีวิตพลเมืองดีขึ้น…

“ภัยไซเบอร์” ระบาดหนัก!! เมื่อโลกถูกโจมตีทุก 11 วินาที

Loading

  การโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นทั่วโลกทุก 11 วินาที โดยมุ่งเป้าไปที่ทุกช่องทางตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานสำคัญระดับชาติไปจนถึงข้อมูลส่วนตัวที่ละเอียดอ่อน “แรนซัมแวร์ ฟิชชิ่ง” คือ ตัวการใหญ่ “เดลล์” ชี้ภัยไซเบอร์จากนี้ อาจลุกลามใหญ่โตมากกว่าเดิม นพดล ปัญญาธิปัตย์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย เดลล์ เทคโนโลยีส์ กล่าวว่า การโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นทั่วโลกทุก 11 วินาที โดยมุ่งเป้าไปที่ทุกช่องทางตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานสำคัญระดับชาติไปจนถึงข้อมูลส่วนตัวที่ละเอียดอ่อน ผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมจาก ภัยไซเบอร์ อาจลุกลามเป็นเรื่องใหญ่โตมากกว่าเดิม สำหรับกลุ่มผู้ใช้งานระบบการเข้าถึงแบบทางไกลนั้น กลายเป็นส่วนที่มีความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์มากขึ้นกว่าเดิม บทความจากเว็บไซต์ของ McKinsey ชี้ว่ามีการทำ ฟิชชิ่งเพิ่มมากขึ้นเกือบ 7 เท่านับตั้งแต่การเกิดการระบาดของไวรัส COVID-19 โดยที่อาชญากรไซเบอร์เลือกใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ในการอัปเดตตัวช่วยกรองระบบอีเมลและเว็บไซต์ที่ล่าช้า ในการกำหนดเป้าหมายสำหรับการโจมตีที่เป็นผู้ใช้งานระบบจากระยะไกล ความเสียหายที่เกิดจากการโจมตีและความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้ ส่งผลให้หน่วยงานของภาครัฐทั้งหลายควรจะต้องเร่งในการวางแผนในเรื่องของ “แนวทางในการรับมือกับการโจมตีทางไซเบอร์อย่างยึดหยุ่น” หรือ Cyber Resilience โดยที่ต้องสามารถป้องกัน ตอบสนองและกู้คืนได้อย่างรวดเร็วหลังเกิดการโจมตี เพื่อเป็นการสร้างรากฐานที่แข็งแรงพร้อมสำหรับการฟื้นตัวตามสภาพเศรษฐกิจของโลก สูญเสียไปมาก กับเรื่องของการโจมตีทางไซเบอร์ การโจมตีด้วย แรนซัมแวร์ และรูปแบบอื่นๆ ที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น กลายเป็นรูปแบบของการโจมตีที่แพร่หลายและสร้างความเสียหายมากกว่าที่เคยเป็นมา โดยมีเป้าไปที่องค์กรหลักและโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญมากขึ้น อย่างเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาในแถบตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกาเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำมันเชื่อเพลิงหลายวัน หลังจากที่…

ARV เผยโฉม “Horrus” โดรนขับเคลื่อนอัตโนมัติ ครั้งแรกของไทย! ตอบโจทย์ภาคอุตฯ

Loading

  บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด (เออาร์วี) พัฒนา “Horrus: Fully Automated Drone Solution” เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับที่ขับเคลื่อนโดยอัตโนมัติ ปลดล็อกข้อจำกัดเดิมๆ นำร่องใช้งานในพื้นที่ศูนย์วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ปตท.สผ. พรเตรียมต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ ธนา สราญเวทย์พันธุ์ General Manager, บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ เออาร์วี (ARV) ผู้นำด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ในเครือบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยว่า พันธกิจที่สำคัญของ ARV ในการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีชั้นสูงสำหรับสนับสนุนกิจกรรมการสำรวจ พัฒนา และผลิตปิโตรเลียม เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับ ปตท.สผ. และต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจให้กับอุตสาหกรรมอื่น ๆ อาทิ ภาคเกษตรกรรม กลุ่มธุรกิจก่อสร้างและกลุ่มธุรกิจพลังงาน     ซึ่งเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial…

แม่รู้ดี แชทบอท ตัวช่วยตรวจสอบข้อเท็จจริงข้อความ-ข่าวสาร ผนึกพันธมิตรใหม่ เสริมความแกร่งฐานข้อมูล

Loading

  แม่รู้ดี แชทบอท ตัวช่วยตรวจสอบข้อเท็จจริงข้อความ-ข่าวสาร ผนึกพันธมิตรใหม่ เสริมความแกร่งฐานข้อมูล แม่รู้ดี แชทบอทตรวจสอบข้อเท็จจริงอัจฉริยะที่เชื่อมโยงเข้ากับแอปพลิเคชั่น LINE ที่มีผู้ใช้งานกว่า 50 ล้านคนในประเทศไทย ให้เข้าถึงฐานข้อมูลที่กว้างที่สุดเพื่อตรวจสอบข้อมูล-ข่าวสาร ร่วมมือกับองค์กรตรวจสอบข้อเท็จจริงชั้นนำของไทย 5 แห่งเพื่อต่อสู้กับข้อความเท็จและและข้อความที่เป็นอันตรายที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยแม่รู้ดีสามารถใช้ตรวจสอบข้อความที่น่าสงสัยแบบเรียลไทม์และช่วยปกป้องคนไทยจากข่าวปลอมและข้อความหลอกลวงออนไลน์ ฐานข้อมูลพันธมิตรของแม่รู้ดีครอบคลุมหัวข้อและข่าวสารที่หลากหลาย รวมถึงด้านสุขภาพ การเมือง โควิด และเศรษฐกิจ เป็นต้น     เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและระบุข้อความที่น่าสงสัย แม่รู้ดีได้ร่วมมือกับองค์กรตรวจสอบข้อเท็จจริงชั้นนำ 5 แห่ง ได้แก่ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประเทศไทย, ไทยดีไอแมชีน (Thai D.I. Machine), อย. เช็ก ชัวร์ แชร์, COFACT ประเทศไทย และ สปริงนิวส์ เพื่อตรวจสอบข้อความแบบเรียลไทม์เมื่อมีการแชร์บนแชท LINE แม่รู้ดีจะช่วยตรวจสอบแหล่งข้อมูลที่แท้จริงและได้รับการยืนยันกับผู้ใช้งาน ทั้งข้อมูลด้านสุขภาพ ข่าวที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 การเงิน การเมือง และข่าวทั่วไป จากการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึกโดยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมช่วงระหว่าง 1 ตุลาคม…