การเริ่มนับระยะเวลา แจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล | ศุภวัชร์ มาลานนท์

Loading

  พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มาตรา 37(4) กำหนดให้องค์กรซึ่งเป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่ “แจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลแก่สำนักงานโดยไม่ชักช้าภายใน 72 ชั่วโมง นับแต่ทราบเหตุเท่าที่จะสามารถกระทำได้”   หน้าที่แจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว มีประเด็นที่ต้องพิจารณาทางกฎหมายหลายประการ โดยเฉพาะการเริ่มนับระยะเวลา 72 ชั่วโมงว่าเริ่มเมื่อไหร่ เนื่องจากองค์กรอาจมีความรับผิดทางกฎหมายหากไม่แจ้งภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด   ถ้อยคำหนึ่งในมาตรา 37(4) ที่เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการเริ่มนับระยะเวลา คือ “นับแต่ทราบเหตุ” (become aware) ซึ่งต้องทำความเข้าใจทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายประกอบกัน เพื่อทำความเข้าใจจุดเริ่มต้นการนับระยะเวลาดังกล่าวมากขึ้น     ผู้เขียนขอนำกรณีศึกษาตาม WP29 Guidelines on Personal Data Breach Notification under Regulation 2016/679 (GDPR) มาเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา ดังนี้   WP29 ให้ข้อแนะนำว่าตาม GDPR “นับแต่ทราบเหตุ” ให้เริ่มต้นเมื่อ “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” มีความแน่ใจในว่าเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลที่เกิดขึ้น (security incident) มีผลทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลถูกละเมิด…

เปิดฐานทัพลับของสหรัฐ บังเกอร์สุดแกร่งที่ใช้หลบภัยสงครามนิวเคลียร์

Loading

      ในภูเขาแห่งนี้มีฐานทัพลับสุดแข็งแกร่งซ่อนอยู่ ขนาดระเบิดปรมาณูก็ทำอะไรไม่ได้   Cheyenne Mountain Complex (ไชแอนน์ เมาน์เทน คอมเพล็กซ์) บนเทือกเขาไชแอนน์ รัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา เป็นศูนย์บัญชาการลับใต้ดินของสหรัฐ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นอาคารที่ปลอดภัยที่สุดในโลก และยังใช้เป็นหลุมหลบภัยจากเครื่องบินทั้งระเบิดระยะไกลของโซเวียต ในช่วงจุดพีกของสงครามเย็น ตลอดจนเป็นที่หลบภัยหากเกิดสงครามนิวเคลียร์   แน่นอนว่าศูนย์บัญชาการลับแห่งนี้ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่แน่นหนามากๆ ถึงขั้นได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในอาคารที่ปลอดภัยที่สุดในโลก   –  ศูนย์บัญชาการอยู่ลึกลงไปใต้ดินกว่า 600 เมตร มีการขุดเจาะหินแกรนิตมากกว่า 693,000 ตัน พร้อมกับประตูนิรภัยบานใหญ่ที่ทำจากคอนกรีตและเหล็ก ซึ่งมีน้ำหนักกว่า 20 ตัน มีระบบป้องกันการสั่นไหวของอาคาร ทำให้ปลอดภัยต่อแรงระเบิดนิวเคลียร์ การโจมตีด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แผ่นดินไหว การทิ้งระเบิด และการโจมตีรูปแบบอื่นๆ –  คอมเพล็กซ์แห่งนี้สามารถทนต่อระเบิดปรมาณู 30 เมกะตันในระยะใกล้ถึง 1.24 ไมล์ (2 กิโลเมตร) ในกรณีที่มีระเบิดปรมาณูกระทบคอมเพล็กซ์ประตูสามารถทนต่อคลื่นระเบิดได้ และตัวคอมเพล็กซ์ยังมีตัวกรองเพื่อดักจับสารปนเปื้อนทางเคมี  ชีวภาพ กัมมันตภาพรังสี และนิวเคลียร์ในอากาศ – …

เจาะรถประจำตำแหน่งคันใหม่ของ วลาดีเมียร์ ปูติน

Loading

  รถยนต์ประจำตำแหน่งของผู้นำระดับสูงที่กุมอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด จะต้องเป็นยานพาหนะที่ให้ความปลอดภัยและความสะดวกรวดเร็วในการเดินทาง ศัตรูที่หมายปองจ้องทำลายล้าง ทำให้รถยนต์ของผู้นำในทุกวันนี้ต้องหุ้มเกราะพร้อมกระจกกันอาวุธสงครามแบบจัดเต็ม รถยนต์แบรนด์ Aurus Senat หรือ Cortege Limousine ผลิตในรัสเซีย กลายเป็นยานพาหนะหรูหุ้มเกราะกันทั้งระเบิดและกระสุนปืนเจาะเกราะ   นี่คือรถประจำตำแหน่งคันใหม่ของ วลาดีเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีแห่งรัสเซีย รถ Cortege Limousine คันใหม่ เข้ามารับหน้าที่ต่อจาก Mercedes-Benz S 600 Guard Pullman โดยมีระบบความปลอดภัยและเทคโนโลยีไฮเทคอื่นๆ อีกเพียบ ไม่น้อยหน้ารถของ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา แม้แต่น้อย       Aurus Senat เป็นแบรนด์รถลีมูซีนที่มีการติดตั้งระบบป้องกันอาวุธหนักของรัสเซีย ถูกสร้างขึ้นมาเป็นพิเศษตามคำสั่งของปูติน มิติตัวถังของ Cortege Limousine มีความยาว 6,620 มิลลิเมตร กว้าง 2,000 มิลลิเมตร สูง 1,695 มิลลิเมตร ความสูงจากพื้นถึงใต้ท้องรถ…

Cheget กระเป๋าสั่งยิงนิวเคลียร์ที่อยู่กับปูตินทุกที่

Loading

  ปูตินมีกระเป๋าสั่งยิงอาวุธนิวเคลียร์ติดตัวไปด้วยทุกที่ โดยเรียกกระเป๋านี้ว่า เชเกต (Cheget) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบอัตโนมัติสำหรับการสั่งการและควบคุมกองกำลังนิวเคลียร์ทางยุทธศาสตร์ของรัสเซีย (SNF) โดยพัฒนาขึ้นในช่วงรัฐบาล ยูริ อันโดรปอฟ ผู้นำสหภาพโซเวียตในช่วงต้นทศวรรษ 1980   แต่กว่าจะนำมาใช้จริงๆ ก็ในสมัยที่ มิคาอิล กอร์บาชอฟ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตเมื่อเดือน มี.ค. 1985   ชีเกตจะเชื่อมต่อกับระบบการสื่อสารพิเศษที่มีโค้ดเนมว่า กัฟกัซ (Kavkaz ซึ่งเป็นชื่อท้องถิ่นของภูมิภาคคอเคซัส) ซึ่ง สนับสนุนการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลในขณะที่พวกเขากำลังตัดสินใจว่าจะใช้อาวุธนิวเคลียร์หรือไม่   ต่อไปนี้คือขั้นตอนการยิงอาวุธนิวเคลียร์ของรัสเซีย     ใครมีสิทธิ์ตัดสินใจสั่งยิง   เอกสารเมื่อปี 2020 ฉบับหนึ่งที่ชื่อว่า “หลักการพื้นฐานของนโยบายรัฐของสหพันธรัฐรัสเซียเกี่ยวกับการยับยั้งนิวเคลียร์” ระบุว่า ประธานาธิบดีรัสเซียมีอำนาจตัดสินใจใช้อาวุธนิวเคลียร์ โดยตัวกระเป๋าชีเกตเองนั้นไม่ได้ติดตั้งปุ่มสั่งยิง เพียงแต่ส่งคำสั่งยิงไปยังหน่วยบัญชาการทหารส่วนกลาง นั่นคือเสนาธิการ   ส่วนอีก 2 คนที่มีกระเป๋าชีเกตคือ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมและเสนาธิการเช่นเดียวกับในสมัยโซเวียต     ถ้าปูตินสั่งยิงจะเกิดอะไรขึ้น   เสนาธิการรัสเซียเป็นผู้ถือรหัสสั่งยิงและมี 2 วิธีในการปล่อยหัวรบนิวเคลียร์คือ 1.ส่งรหัสไปยังผู้สั่งการอาวุธแต่ละคน…

เปิด ‘แผนก 13’ ทีมลอบสังหารของสายลับรัสเซีย

Loading

  สหภาพโซเวียตและรัสเซียเคยส่งทีมลอบสังหารจากแผนก 13 ไปปลิดชีพผู้นำประเทศและฝ่ายต่อต้านชาวยูเครนมาแล้วหลายคน และผู้นำยูเครนคนล่าสุดก็บอกว่าเขาเป็นเป้าหมายอันดับหนึ่งของปูติน เพียง 1 สัปดาห์หลังจากรัสเซียบุกยูเครนก็มีข่าวว่า ประธานาธิบดี โวโลดีมีร์ เซเลนสกี ของยูเครน ถูกลอบสังหารแล้วอย่างน้อย 3 ครั้ง โดย 2 ใน 3 ครั้งเป็นฝีมือกลุ่มว้ากเนอร์ (Wagner) ทหารรับจ้างชื่อดังของรัสเซีย แต่ยูเครนได้รับการแจ้งข่าวจากเจ้าหน้าที่ FSB ของรัสเซียก่อน ทีมลอบสังหารจึงลงมือไม่สำเร็จ แหล่งข่าวเผยกับ Times of London ว่า มีสมาชิกกกลุ่มว้ากเนอร์แฝงตัวอยู่ในรุงเคียฟอย่างน้อย 400 ราย โดยมีรายชื่อของเจ้าหน้าที่คนสำคัญของยูเครนที่ตกเป้าหมาย 24 คน อยู่ในมือ ส่วนอีกครั้งหนึ่งเป็นฝีมือของ Kadyrovites ทีมสังหารจากสาธารณรัฐเชเชนที่ลงมือย่านชานกรุงเคียฟ อันที่จริงรัสเซียมีหน่วยงานเฉพาะสำหรับลงมือสังหารเป้าหมายที่เป็นภัยคุกคามสหภาพโซเวียตที่รู้จักกันในชื่อ Thirteenth Department หรือ แผนก 13 ซึ่งครั้งหนึ่งเคยอยู่ภายใต้การนำของ วิกเตอร์ วลาดิมีรอฟ เจ้าหน้าที่สายลับ KGB ที่ปฏิบัติการในฟินแลนด์ เอกสารที่ได้รับการปลดออกจากการเป็นเอกสารลับของ CIA…

กว่าจะเป็นปูตินคนนี้ สายลับ KGB ต้องผ่านอะไรมาบ้าง

Loading

KGB ผ่านอะไรมาบ้างถึงได้ชื่อว่าเป็นหน่วยสุดโหดที่ถูกพูดถึงมาจนทุกวันนี้ หลายคนทราบแล้วว่า ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซียเคยเป็นสายลับ KGB มาก่อน แต่รู้หรือไม่ว่าหน่วยสืบราชการลับ KGB ต้องผ่านอะไรมาบ้างถึงได้ชื่อว่าเป็นหน่วยสุดโหดที่ถูกพูดถึงมาจนทุกวันนี้ ก่อนที่จะพูดถึงภารกิจของ KGB ต้องบอกก่อนว่านี่คือความฝันของปูตินตั้งแต่เด็กๆ ที่อยากจะเข้าร่วมหน่วยสืบราชการลับแห่งนี้ จนในที่สุดเขาได้เข้าร่วมกับกองกำลังสายลับ KGB อย่างที่ฝัน เขาได้รับคัดเลือกจากโครงการใหม่ที่สร้างขึ้นโดยยูรี อันโดรปอฟ ประธาน KGB ซึ่งต้องการรับสมัครคนรุ่นใหม่และฝึกฝนพวกเขาตั้งแต่อายุยังน้อยเพื่อเป็นเจ้าหน้าที่ KGB โดยปูตินทำงานด้านข่าวกรองทั้งในและต่างประเทศ ด้วยความสามารถด้านภาษาเยอรมัน ทำให้เขาได้ทำภารกิจสำคัญอยู่หลายครั้ง รวมถึงการได้รับคัดเลือกส่งไปปฏิบัติการเป็นสายลับในเมือง เดรสเดน เยอรมนีตะวันออกด้วย เมื่ออายุได้ 33 ปี โดยภารกิจหลักคือปฏิบัติภารกิจด้านข่าวกรองจากประเทศฝ่ายตรงข้าม โดยเฉพาะเยอรมนีตะวันตกซึ่งติดตั้งขีปนาวุธพุ่งเป้ามาที่สหภาพโซเวียต มีรายงานจากผู้คนที่อาศัยอยู่ในเยอรมนีตะวันออกในช่วงเวลานั้นและจำได้ว่าเคยเห็นหน้าเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวันที่ 5 ธันวาคม 1989 เมื่อมีการวางแผนการจลาจลที่ชตาซี ว่ากันว่าปูตินได้โน้มน้าวฝูงชนให้ปฏิเสธการจลาจลด้วยการหลอกล่อด้วยทักษะสายลับที่ยอดเยี่ยมของเขาที่ได้รับการฝึกฝนมาจาก KGB ไม่ค่อยมีใครรู้เกี่ยวกับภารกิจที่ปูตินได้รับมอบหมายจาก KGB มากนัก เนื่องจากคนส่วนใหญ่ที่เคยทำงานใน KGB มักไม่พูดถึงอดีตของพวกเขา เพราะพวกเขารู้ว่ามันจะทำให้ชีวิตของพวกเขาตกอยู่ในอันตราย ปูตินไต่เต้าขึ้นมาเรื่อยๆ จนเป็นผู้ช่วยผู้บังคับบัญชา KGB ประจำเดรสเดน ก่อนที่จะลาออกในปี…