บัญชีม้าคือฟอกเงิน

Loading

  บัญชีม้าคือฟอกเงิน   นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมทางออนไลน์ ครั้งที่ 1/2565 ว่า ได้มีการพิจารณาตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้เสนอแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กำหนดให้พฤติการณ์การเปิดบัญชีม้าเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ฟอกเงิน มีโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ   โดยความผิดได้แก่ 1.ใช้ชื่อ บัญชี ข้อมูล เอกสาร บัตรอิเล็กทรอนิกส์ ซิมการ์ดโทรศัพท์ กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์หรือหลักฐานของบุคคลอื่น เพื่อปกปิดตัวตน 2.ยอมให้บุคคลอื่นใช้ชื่อ บัญชี ข้อมูล เอกสาร บัตรอิเล็กทรอนิกส์ ซิมการ์ดโทรศัพท์ กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์หรือหลักฐาน ของตนเพื่อให้บุคคลอื่นปกปิดตัวตน 3.เป็นธุระจัดหา รวบรวม ซื้อ ขาย จำหน่ายบัญชี ข้อมูล เอกสาร บัตรอิเล็กทรอนิกส์ ซิมการ์ดโทรศัพท์ กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์หรือหลักฐานของบุคคลอื่น เพื่อให้บุคคลใดๆนำไปใช้เพื่อปกปิดตัวตน   นอกจากนี้ ยังพิจารณาแนวทางร่วมอื่นๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย…

เงินดิจิตัล และกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้อง

Loading

  เงินดิจิตัล (Digital currency) ตามพจนานุกรม Investopedia ให้ความหมายไว้คือ เงินตราที่มีอยู่ในรูปของดิจิตัลหรือในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น ส่วน เงินคริปโท (cryptocurrency ) พจนานุกรม Investopediaได้ให้ความหมายไว้ หมายถึงเงินตราที่เป็นดิจิตัลหรือเงินตราเสมือนที่เกิดจากการเข้ารหัส โดยเทคโนโลยี Cryptography ตามความหมายดังกล่าวข้างต้น Digital currency และ cryptocurrency เป็นสิ่งเดียวกัน   เงินดิจิตัลหรือ เงินคริปโทเป็นเงินที่ถูกกฎหมายหรือไม่ ตามเอกสารรายงานของห้องสมุดกฎหมายสภาครองเกรสแห่งสหรัฐอเมริกา ที่ตีพิมพ์เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564 ระบุประเทศที่ห้ามใช้เงินคริปโทมี 9ประเทศ คืออียิปต์ อีรัค กาต้าร์ โอมาน มอรอคโค อัลจีเรีย บังคลาเทศ และจีน   ส่วนอีก 42 ประเทศไม่ได้สั่งห้ามโดยตรง แต่ห้ามทางอ้อมโดยการออกกฎระเบียบที่เข้มงวดกับธนาคารในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับเงินตราคริปโท หรือห้ามแลกเปลี่ยนเงินตรากับเงินคริปโท   ทั้งนี้เหตุผลที่รัฐบาลบางประเทศห้ามใช้เงินคริปโท เพราะการใช้เงินตราคริปโท มีช่องทางที่ใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย และอาจทำลายเสถียรภาพของระบบการเงินของประเทศ แต่ขณะเดียวกันก็มีรัฐบาลหลายประเทศกำลังมองแนวทางในการวางกฎระเบียบและการกำกับดูแลเงินตราคริปโท   เงินตราคริปโทสกุลต่างๆ : เงินตราคริปโทมีมากมายหลายสกุลที่แพร่หลาย…

พล.อ.ปรัชญา เฉลิมวัฒน์ จัดทัพ-จัดวัคซีนไซเบอร์ รับมือสงครามออนไลน์

Loading

  หมายเหตุ – มติชนสัมภาษณ์พิเศษ พล.อ.ปรัชญา เฉลิมวัฒน์ เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ซึ่งทำหน้าที่บริหารหน่วยงานดูแลความปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ซึ่งจัดตั้งมาได้ 1 ปี เพื่อรับมือกับภัยสมัยใหม่ที่มากับเทคโนโลยีที่นับวันยิ่งก้าวหน้า สถานการณ์ด้านภัยไซเบอร์ และการรับมือเป็นอย่างไร เป็นเรื่องที่สังคมและประชาชนคนไทยควรจะได้รับรู้ ผ่านบทสัมภาษณ์พิเศษชิ้นนี้ สํานักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) เป็นหน่วยงานใหม่ ที่จัดตั้งขึ้นอย่างเร่งด่วนเพื่อรับมือสถานการณ์ใหม่ทางด้านภัยไซเบอร์ ที่มากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีคุณูปการมากมาย แต่ในอีกด้านของความก้าวหน้า การใช้ระบบอินเตอร์เน็ต การใช้เทคโนโลยีด้านการสื่อสาร โดยบิดเบือนเพื่อประโยชน์เฉพาะกลุ่มหรือเพื่อก่อกวนบั่นทอนสังคม ก็กำลังเป็นปัญหาในระดับโลก และในระดับประเทศ สกมช.เป็นหน่วยงานที่อยู่ระหว่างการสร้างความพร้อมอย่างรีบเร่ง ผู้ทำหน้าที่บุกเบิกหน่วยงานนี้คือนายทหารสายวิทยาศาสตร์มือดี ที่แวดวงกองทัพรู้จักกันดี คือ พล.อ.ปรัชญา เฉลิมวัฒน์ เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (ลธ.กมช.)     พล.อ.ปรัชญาอธิบายที่มาที่ไปของสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ สกมช. ว่าเกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ.2562 มีผลใช้บังคับเมื่อพฤษภาคม 2562 ก่อนจัดตั้งสำนักงานเมื่อ 1 มกราคม 2564 จัดตั้งขึ้นโดยศึกษารูปแบบจากต่างประเทศ และจำลองสิ่งที่จะเกิดขึ้นเพื่อเข้าไปรับมือ เกี่ยวข้องกับ 4 พันธกิจหลัก ประกอบด้วย 1.หน่วยงานกำกับดูแลการดำเนินนโยบาย…

เทคนิคเดารหัสผ่านยอดแย่ เบื้องหลังแฮ็กเกอร์ จ้องขโมยข้อมูล

Loading

  ในยุคที่หลายบริษัทยังต้องทำงานที่บ้าน การตั้งรหัสผ่านสำหรับเข้าใช้งานระบบกลางถือเป็นสิ่งสำคัญ มีการศึกษาพบว่า ผู้คนมักตั้งรหัสที่เกี่ยวข้องตัวเองเพื่อให้สามารถจำได้ง่าย แต่นั่นอาจเป็นจุดอ่อนที่ทำให้แฮกเกอร์เดาทางได้ถูก . บริษัทที่รับชำระเงินด้วยบัตร Dojo ได้วิเคราะห์ข้อมูลจาก National Cyber ​​Security Center (NCSC) ของสหราชอาณาจักรเกี่ยวกับรหัสผ่านที่ถูกใช้งานกว่า 1 แสนรายการ เพื่อสร้างหมวดหมูที่คนมักเลือกใช้งานบ่อยที่สุด ซึ่งผู้คนที่ตกเป็นเหยื่อมักจะมีการใช้รหัสผ่านที่เกี่ยวกับตัวเองหรือรหัสผ่านยอดฮิตอย่าง 123456 ซึ่งหากข้อมูลส่วนตัวหลุดออกไป เป็นไปได้ว่าแฮกเกอร์จะเอาข้อมูลนั้นมาคาดการณ์รหัสผ่านได้นั่นเอง . หมวดหมู่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ terms of endearment หรือเงื่อนไขการแสดงความรัก ซึ่งพบได้ในรหัสผ่านที่ถูกแฮกบ่อยที่สุดมากว่า 4,032 รายการ ไม่ว่าจะเป็น Love…(ใครซักคน) Love Baby (ชื่อลูก) หรือ Love pet (ชื่อสัตว์เลี้ยง) . และนี่คือหมวดหมู่รหัสผ่านที่คนส่วนใหญ่เลือกใช้งานบ่อยที่สุด ซึ่งมีส่วนทำให้เดาทางรหัสผ่านได้ง่าย 1. ชื่อสัตว์เลี้ยง / เงื่อนไขการแสดงความรัก 2. ชื่อตัวเอง 3. ชื่อสัตว์ 4. อารมณ์ 5.…

วว. ให้ปรึกษาการวิจัย สร้างกำแพงกันกระสุนด้วยบล็อกประสาน เพื่อใช้ในฐานพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

Loading

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว. ) โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมวัสดุ (ศนว.) ปฏิบัติงานโครงการบริการที่ปรึกษาการวิจัย “โครงการขยายผลจัดสร้างกำแพงกันกระสุนด้วยบล็อกประสาน เพื่อใช้ในฐานปฏิบัติการพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้” ระบุประสิทธิภาพมีความแข็งแรงสูง ก่อสร้างได้ง่าย อายุการใช้งานมากกว่า 10 ปี สามารถซ่อมแซม/เคลื่อนย้ายได้รวดเร็วด้วยกำลังพลในพื้นที่ ศ. (วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า วว.โดยศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมวัสดุ นำความเชี่ยวชาญด้านบล็อกประสาน ที่ วว. สั่งสมประสบการณ์และมีการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ให้บริการที่ปรึกษาการวิจัยแก่ กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม ภายใต้ “โครงการขยายผลจัดสร้างกำแพงกันกระสุนด้วยบล็อกประสาน เพื่อใช้ในฐานปฏิบัติการพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้” โดยผลการทดสอบกำแพงกันกระสุนบล็อกประสานพบว่า มีประสิทธิภาพและมีความแข็งแรงกว่าการใช้กระสอบทรายเป็นอย่างมาก อีกทั้งก่อสร้างได้ง่าย สามารถเคลื่อนย้ายได้รวดเร็วด้วยกำลังพลในพื้นที่ มีอายุการใช้งานมากกว่า 10 ปี จากผลการทดสอบสามารถสร้างความเชื่อมั่นในการนำไปใช้งานจริงในเขต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยกลุ่มผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ต่างให้การยอมรับและมีความต้องการนำไปใช้งานจริงในพื้นที่เป็นจำนวนมาก   เรียงจากซ้ายไปขา ดร.ชุติมา เอี่ยมชวลิต…

โลกใบใหม่

Loading

โดย…ภุมรัตน ทักษาดิพงศ์ ต้นปีของแต่ละปี สำนักวิจัยหรือโพลล์ต่าง ๆ จะเผยแพร่ผลการสำรวจความเห็นโดยการสุ่มตัวอย่างประชากรกลุ่มหนึ่งว่า มีทัศนะหรือมุมมองต่อประเทศของตนอย่างไร คิดว่าในปีนี้ ประเทศจะเจออะไรบ้างโดยจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนตามความรุนแรงของปัญหา โพลล์ในไทยก็มองอนาคตของประเทศในปีนี้ แต่สำนักโพลล์ต่างประเทศบางสำนักมองในภาพรวม ว่า ประชากรโลกมองโลกในปีใหม่ว่าจะเผชิญกับภัยคุกคาม หรือ ความเสี่ยงอะไรบ้าง มากน้อยเพียงใด และจัดความสำคัญเร่งด่วนที่โลกหรือรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ควรร่วมมือกันป้องกัน บรรเทา แก้ไขภัยคุกคามหรือความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น อย่างไรบ้าง ในปี 2565 ก็เช่นกัน มีการเผยแพร่โพลล์สำนักต่าง ๆ ประเมินภัยคุกคาม หรือความเสี่ยงต่อโลกใบนี้ในมุมมองของประชากรโลกกลุ่มหนึ่งที่ถูกสุ่มตัวอย่าง ซึ่งมุมของคนหนุ่มสาวกับผู้ใหญ่ (พิจารณาจากอายุ) มีทั้งเหมือนกันและต่างกัน แต่ที่น่าสนใจคือ คนเดี๋ยวนี้ไม่ได้คิดว่า สงครามและการสู้รบระหว่างประเทศจะเป็นภัยคุกคามหรือความเสี่ยงเผชิญหน้าในปี 2565 นัยหนึ่ง เขาแทบไม่ให้ความสนใจกับประเด็นนี้เลย และไม่ได้มองว่า จะเกิดสงครามขนาดใหญ่ ชาติใหญ่ทำท่าจะต่อยจะตีกัน แต่สุดท้ายก็ตกลงกันได้ แม้ว่าแต่ละชาติสะสมระเบิดนิวเคลียร์และขีปนาวุธนำวิถีมากมาย ซึ่งเท่ากับเป็นการ “ ป้องปราม “ และทำให้ชาตินิวเคลียร์เหล่านี้ยับยั้งชั่งใจ เพราะถ้าเกิดสงครามก็ตายกันหมด คนหนุ่มสาวสนใจเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปากท้อง การกินดีอยู่ดี ความมั่นคงในอาชีพของพวกเขามากกว่า ซึ่งไม่ใช่เรื่องเสียหายเพราะทุกคนอยากรวยเร็วด้วยกันทั้งนั้น บางครั้งก็ไม่คำนึงถึงวิธีการรวยเร็วว่าจะถูกต้องตามกฎหมายและศีลธรรมหรือไม่อย่างไร เป็นที่เข้าใจได้ว่า…