ข้อมูลสำคัญ กู้คืนได้เร็ว หากโดน Ransomware โจมตี

Loading

ปี 2021 ถือได้ว่าเป็นปีแห่ง Ransomware โจมตีรุนแรงและรุกหนักมากที่สุด เพราะมันไม่ได้จ้องโจมตีแค่องค์กรที่มีผลกำไร แต่กำลังมุ่งเป้าโจมตีโครงสร้างพื้นฐานซึ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิต ประจำวันของมนุษย์มากขึ้น ยกตัวอย่าง เช่น Colonial Pipeline บริษัทท่อส่งน้ำมันขนาดใหญ่ที่ต้องปิดให้บริการท่อส่งระยะทาง 5,500 ไมล์ เป็นเวลา 5 วัน ส่งผลให้สถานีบริการน้ำมันกว่า 10,000 แห่ง ทั่วภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐไม่มีน้ำมันจำหน่าย บริษัทจำเป็นต้องกัดฟันจ่ายเงินให้กลับกลุ่มแรนซัมแวร์ Darkside มูลค่ากว่า 4.4 ล้านดอลล่าร์ เพื่อกู้ให้สามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติ ในเดือนมิถุนายน JBS บริษัทแปรรูปเนื้อสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกจ่ายเงินค่าไถ่ให้กับกลุ่ม Ransomware REvil มากกว่า 11 ล้านดอลล่าร์ ผ่านบิทคอยน์เพื่อไม่ให้การดำเนินงานภายในหยุดชะงัก และเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับร้านอาหาร ร้านขายของชำและเกษตรกร อีกเคสหนึ่งที่น่าสนใจคือ Kaseya บริษัทสัญชาติไอร์แลนด์ผู้ให้บริการโซลูชั่นไอทีต่าง ๆ ทั่วโลก หนึ่งในนั้นคือ Managed Service Providers (MSP) ที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย และมีองค์กรกว่า 40,000 แห่งทั่วโลกใช้โซลูชันจาก Kaseya อย่างน้อยหนึ่งโซลูชัน…

13 เทรนด์ด้าน Cybersecurity สำหรับปี 2022 โดย IBM

Loading

Credit: ShutterStock.com IBM ได้ออกมาคาดการณ์ภาพภัยคุกคามของปีนี้ ทีมงาน TechTalkThai ขอสรุปมาให้ทุกท่านได้ติดตามกันครับ 1.) การรุกรานของแรนซัมแวร์จากธุรกิจหนึ่งสามารถข้ามไปข่มขู่ธุรกิจอื่น แนวโน้มการข่มขู่เปิดเผยข้อมูลของแรนซัมแวร์นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ โดยไอเดียที่ IBM คาดการณ์คือเมื่อคนร้ายสามารถเจาะเข้าองค์กรแห่งหนึ่งได้แล้ว อาจจะสามารถส่งผลกระทบไปเรียกค่าไถ่กับบริษัทคู่ค้าที่มีข้อมูลเชื่อมโยงกัน 2.) Supply Chain Attack คือหัวข้อสำคัญในห้องประชุมบอร์ด จากประสบการณ์ของปี 2021 หากพูดถึง Supply Chain ต้องยอมรับว่าท่านจะพบจุดอ่อนอีกมาก และแฮกเกอร์ก็ทราบดีในการหาประโยชน์จากช่องโหว่ ด้วยเหตุนี้หัวข้อดังกล่าวจึงเป็นที่กังวลอย่างมากของบอร์ดบริหาร 3.) ใกล้สู่ช่วงเปลี่ยนผ่านการพึ่งพารหัสผ่าน การเชื่อถือรหัสผ่านอย่างเดียวคือจุดอ่อนในระบบการป้องกันไปเสียแล้ว อย่างไรก็ดีเมื่อเทคโนโลยีมากขึ้นเราก็เริ่มเข้าสู่รูปแบบไบโอเมทริกซ์ นอกจากสามารถรักษาความมั่นคงปลอดภัยได้ดี การใช้งานยังง่ายขึ้นเรื่อยๆ 4.) Blockchain คือจุดซ่อนตัวของคนร้าย เมื่อองค์กรและตลาดพึ่งพาบล็อกเชนเช่น ใช้เพื่อบริการจัดการ Supply Chain , การทำธุรกรรมการเงิน หรือ NFT ด้วยเหตุนี้ IBM เริ่มเห็นว่าคนร้ายหันมาใช้งานสิ่งเหล่านี้เพื่อซ่อนการตรวจจับได้นานขึ้น โดยปีนี้บล็อกเชนจะกลายเป็นเครื่องมือที่คนร้ายทั่วไปใช้เพื่อทำให้ทราฟฟิคอันตรายของตนยุ่งเหยิง เลี่ยงการตรวจจับ หรือทำให้ตรวจพบกิจกรรมอันตรายบนเครือข่ายยากขึ้น 5.) ขอบเขตการดูแล Security ขยายสู่ Hybrid Cloud…

Tim Berners-Lee ผู้สร้าง WWW มองเรื่อง ‘ส่วนตัว’ ยังไง?

Loading

  ผู้อ่านน่าจะคุ้นเคยกับเจ้าตัวอักษรภาษาอังกฤษ WWW นี้กันเป็นอย่างดี แต่กับชื่อ ‘เซอร์ทิม’ ล่ะ? เคยคุ้นกันบ้างไหม? ย้อนความไปเล็กน้อยเมื่อตอนปี 1989 เซอร์ทิม หรือ ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี (Tim Berners-Lee) วิศวกรและนักวิทยาศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์ชาวอังกฤษ ได้คิดค้นระบบข้อมูลข่าวสารบนอินเตอร์เน็ตที่เรียกว่า World Wide Web (WWW) ขึ้นมา ในขณะทำงานที่ CERN (Conseil Européen pour la Recherche Nucléaire: องค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป) โดยมีจุดประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการในการแบ่งปันข้อมูลโดยอัตโนมัติระหว่างนักวิทยาศาสตร์ในสถาบันต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งในปัจจุบัน การใช้งาน WWW ก็ขยายวงกว้างไปมาก ไม่ว่าจะวงการใด ผู้คนก็ใช้ WWW กันทั้งสิ้น เรียกได้ว้าเป็นสิ่งที่ผู้คนนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกไปแล้วนั่นเอง เท้าความถึงการสร้าง WWW ขึ้นมาคร่าว ๆ แล้ว ต่อไปเราจะพาคุณเข้าหัวข้อสำคัญกันเลยดีกว่า ใช่แล้ว! วันนี้เราตั้งใจจะมาพาคุณผู้อ่านไปรับรู้มุมมองเล็ก ๆ ของเซอร์ทิมกัน  …

ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ แยกกันไม่ออก

Loading

โดย…ภุมรัตน ทักษาดิพงศ์ วันที่ 18 มกราคม ของทุกปี เป็น “วันกองทัพไทย” โดยถือเอาวันสำคัญในประวัติศาสตร์ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะต่อพระมหาอุปราชย์แห่งพม่า และทำให้กรุงศรีอยุธยาปลอดจากศึกใหญ่จากพม่าไปประมาณ 100 ปี เป็นที่น่าเสียดายที่เด็กไทยสมัยนี้แทบไม่รู้จักพระมหากษัตริย์และบุคคลสำคัญที่กอบกู้และรักษา พัฒนาประเทศให้มั่นคงมาจนถึงปัจจุบัน เพราะรัฐมนตรีศึกษาธิการในรัฐบาลสมัยหนึ่ง ให้ปรับปรุงการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ไทยเสียใหม่ จนเด็กไทยแทบไม่รู้จักที่มาที่ไปของแผ่นดินที่ตนเกิดและเติบโตขึ้นมา กล่าวกันว่า วิธีดีที่สุดและได้ผลที่สุดในการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข คือ การทำให้เด็กไทยไม่รู้ที่มาที่ไปของตนเอง ไม่รู้ความเป็นมาของประเทศ ไม่มีความภูมิใจในความเป็นมาของประเทศ ไม่รู้ถึงบทบาทและความสำคัญของสถาบันกษัตริย์ พวกเขาใช้เวลายี่สิบปีจนบรรลุวัตถุประสงค์ระดับหนึ่ง เมื่อความภูมิใจ ความหยิ่งในความเป็นมาของประเทศของคนรุ่นใหม่แทบจะไม่เหลือ เรื่องนี้ไปโทษเด็กไม่ได้ แต่ต้องโทษนักการเมืองบางคนตั้งแต่รุ่นนั้นจนถึงปัจจุบัน มีสิ่งละอันพันละน้อยที่ไม่ได้เป็นประวัติศาสตร์เกี่ยวกับยุทธหัตถีมาเลาให้ฟัง นักประวัติศาสตร์บางคนได้ตั้งคำถามด้วยความสงสัยว่า ช้างพระที่นั่งของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ใช้กระทำยุทธหัตถีวันนั้น ตัวเล็กกว่าช้างของพระมหาอุปราชมาก ซึ่งหมายถึงว่า เมื่อตัวเล็กกว่า พละกำลังก็ย่อมน้อยกว่า แล้วจะงัดแบกคู่ต่อสู้จนตัวลอย ทำให้พระมหาอุปราชถูกพระนเรศวรมหาราชฟันจนขาดสะพายแล่งบนคอช้าง ได้อย่างไร นับว่าคนตั้งข้อสังเกตเป็นคนละเอียดมาก ผู้เขียนเคยอ่านเรื่องนี้มาเหมือนกัน ซึ่งน่าจะยืนยันได้ว่า ช้างพระที่นั่งของพระนเรศวรมหาราชตัวเล็กกว่าช้างของพระมหาอุปราชจริง แล้วทำไมจึงดันจนคู่ต่อสู้จนเสียศูนย์ ทำให้ผู้นั่งบนคอข้างเสียศูนย์และถูกฟันจนตาย เรื่องเล่าว่า ก่อนนี้ช้างพม่าซึ่งใหญ่กว่าได้ใช้พละกำลังดันและแบกช้างพระที่นั่งจนตัวลอย พระมหาอุปราชได้ ฉวยโอกาสนี้จ้วงฟันพระนเรศวรมหาราชแต่ทรงหลบได้ แต่พระมาลาถูกฟันขาดจนกลายเป็นพระมาลาเบี่ยงซึ่งเล่าไว้แล้วในประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ดี ช้างพระที่นั่งของพระนเรศวรมหาราช ได้รวมพลังแรงฮึดเป็นครั้งสุดท้ายแบกช้างคู่ต่อสู้จนตัวลอย สมเด็จพระนเรศวรมหาราชใช้โอกาสนี้จ้วงฟันพระมหาอุปราชจนเสียชีวิตบนคอช้าง…

คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล : ความหวังของสังคมไทย

Loading

  ถือว่าเป็นข่าวดีต้อนรับ Data Privacy Day วันคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สากล) วันที่ 28 ม.ค.นี้ เมื่อคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันอังคาร ที่ 11 ม.ค.2565 ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรี 19 พ.ค.2563 แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ รวม 10 คนนี้เป็นไปตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ และได้มีการประกาศเผยแพร่มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา การที่มีประกาศราชกิจจานุเบกษาแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิครบถ้วนตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด ถือเป็น “หมุดหมาย” สำคัญของประเทศไทยในการมีองค์กรที่จะบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 อย่างแท้จริง เนื่องจากตามโครงสร้างการบังคับใช้ของ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ หากไม่สามารถแต่งตั้งคณะกรรมการได้ องคาพายพต่าง ๆ ของกฎหมายก็จะไม่สามารถดำเนินการได้อย่างแท้จริง ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาก็ต้องถือว่าในระหว่างที่ยังไม่สามารถจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (“สำนักงานฯ”) สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ ซึ่งทำหน้าที่สำนักงานฯ ตามพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ และรองปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ ซึ่งทำหน้าที่เลขาธิการก็ได้ร่วมกันขับเคลื่อน เพื่อสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจต่อพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ ให้แก่สังคมในวงกว้าง รวมถึงการเตรียมการต่าง ๆ เพื่อให้กฎหมายสามารถพร้อมใช้บังคับทั้งฉบับในวันที่ 1 มิถุนายน 2565…

‘กอ.รมน.’เวิร์คช็อปพัฒนาเครือข่ายมวลชน เฝ้าระวังการก่อการร้าย

Loading

  ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 3-กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดน่าน ฝึกอบรมโครงการพัฒนาเครือข่ายมวลชนเฝ้าระวังการก่อการร้าย ประจำปีงบประมาณ 2565 18 มกราคม 2565 ที่ห้องประชุมเทศบาลเมือง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน พลตรีวิฏษณะ คล้ายมณี รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 3 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (ศปป.3 กอ.รมน.) เป็นประธานเปิดจัดฝึกอบรมโครงการพัฒนาเครือข่ายมวลชนเฝ้าระวังการก่อการร้าย ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยมี พันเอกชนก ขาวรัตน์ ผู้อำนวยการส่วนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 3 , พันเอกนิรันดร์ชัย ทิพย์กาญจนกุล รองผู้อำนวยการ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดน่าน และนายสุรพล เธียรสูตร นายกเทศมนตรีเมืองน่าน ให้การต้อนรับ ทั้งนี้ ในโลกยุคปัจจุบัน ปัญหาการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ มีรูปแบบหลากหลายและสลับซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสร้างความเสียทายแก่ชีวิตและทรัพย์สินอย่างมากมาย ทำให้เกิดความหวาดกลัว และบั่นทอนจิตใจประชาชน รวมถึงผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ การให้ความรู้ ความเข้าใจด้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติแก่ประชาชน จึงเป็นแนวทางในการร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหาการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่ง ศปป.3 กอ.รมน. มีหน้าที่ในการบูรณาการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินสถานการณ์ด้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ…