มาแน่ปืนอัจฉริยะ “สมาร์ทกัน” ลดอุบัติเหตุ ยิงได้เมื่อตรวจลายนิ้วมือผ่าน

Loading

ตัวอย่างปืนส่วนบุคคลแบบอัจฉริยะ ยิงได้เฉพาะเมื่อตรวจพบลายนิ้วมือที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น จับตาโลกแจ้งเกิดปืนส่วนบุคคลแบบอัจฉริยะที่ใช้เทคโนโลยีไอทีในการลดอุบัติเหตุ คาดตลาดบูมในสหรัฐอเมริกา ฟังก์ชันเด็ดคือ การยิงได้เฉพาะเมื่อตรวจพบลายนิ้วมือที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น อาวุธทรงพลังอย่างปีนนั้นเป็นตลาดที่ยังคงมีเม็ดเงินหมุนเวียนอยู่ไม่ขาดสาย ประชาชนจำนวนไม่น้อยให้ความสนใจซื้อปืน ทั้งที่ความกังวลเรื่องความปลอดภัยของปืนยังคงเป็นปัญหาตลอดเวลา ล่าสุดตลาดปืนกำลังมีการเปลี่ยนแปลง ด้วยการแจ้งเกิดเซกเมนต์ใหม่ที่มีจุดขายว่าสามารถป้องกัน “การใช้งานโดยไม่ได้ตั้งใจ” พระเอกของเซกเมนต์นี้คือ ปืนอัจฉริยะที่สามารถลั่นไกยิงได้หลังจากการตรวจสอบลายนิ้วมือของเจ้าของ หรือผู้ใช้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น โดยปีนกลุ่มนี้กำลังได้รับการทดสอบจากผู้บังคับใช้กฎหมายในสหรัฐอเมริกา และกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อจำหน่ายในเชิงพาณิชย์อย่างเป็นทางการ รายงานของรอยเตอร์ (Reuters) ระบุว่า มีบริษัทอย่างน้อย 2 แห่งในสหรัฐฯ ที่มุ่งมั่นพัฒนาปืนอัจฉริยะเหล่านี้ ได้แก่ LodeStar Works ในไอดาโฮ กำลังพัฒนาในรูปปืนพกขนาด 9 มม. ตัวปืนมีเทคโนโลยีจดจำลายนิ้วมือและระบบระบุความถี่วิทยุ (RFID) ในขณะที่ SmartGunz LLC ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐแคนซัส กำลังพัฒนาและทดสอบปืน RFID ในขั้นเบต้า     รายงานจากยูเอสเอทูเดย์ (USA Today) อธิบายว่า ปืนอัจฉริยะสามารถเปิดใช้งานได้ผ่าน RFID ด้วยโทรศัพท์มือถือ ซึ่งสามารถรองรับอุปกรณ์สวมใส่ที่ผู้ใช้กำลังสวมอยู่ได้ เช่น นาฬิกา และสร้อยข้อมือไฮเทคที่เปิดใช้งานระบบตรวจจับสัญญาณบริเวณใกล้เคียง ขณะเดียวกัน ปืนจะมีระบบจดจำข้อมูลไบโอเมตริกซ์…

ล้างข้อมูลบนอุปกรณ์ IT ให้ปลอดภัย กับบริษัททำลายข้อมูลมืออาชีพ

Loading

  จาก ผลสำรวจในปี 2012 ได้กล่าวไว้ว่า “ภายใน ปี 2020 โลกจะสร้างข้อมูลดิจิทัลกว่า 5.2 TB ในมนุษย์แต่ละคน” แต่ตัวเลขดังกล่าวกลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งเกิดจากการเติบโตของของโลกอินเตอร์เน็ต หรือที่เรียกกันว่า Internet of Things (IoT) ทำให้ การล้างข้อมูล เมื่อหมดความจำเป็นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก บทความนี้เราเลยจะมาบอกถึง 6 เหตุผลว่าทำไมเราถึงควรใช้บริการบริษัททำลายข้อมูลมืออาชีพ ในการล้างข้อมูลในคอมพิวเตอร์ มือถือ หรืออุปกรณ์ IT เก่าที่เราเลิกใช้แล้ว  1. ปกป้องข้อมูลของคุณอย่างปลอดภัย ข้อมูลของเราไม่ได้มีมูลค่าลดลงเมื่ออยู่บนอุปกรณ์ IT ที่พังแล้ว หรืออยู่ในฮาร์ดดิสก์ที่คุณถอดออกมาเก็บไว้ในกล่องตรงมุมห้อง หรือแม้การ Format HDD ก็ไม่ได้หมายความว่าเราล้างข้อมูลจนหมดสิ้นแล้ว แต่การล้างข้อมูล หรือการทำลายข้อมูลที่ปลอดภัย และถูกต้องที่สุดสามารถทำได้ ดังนี้ – Degaussing คือการล้างข้อมูลด้วยสนามแม่เหล็ก บนแผ่นฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเป็นการล้างข้อมูลที่ปลอดภัยและรวดเร็วที่สุด – Wiping คือการล้างข้อมูลด้วยโปรแกรมทำลายข้อมูลถาวรที่ไม่สามารถกู้คืนได้ 100% รวมถึงข้อมูลที่อยู่ลึกระดับที่เราไม่สามารถดึงมาดูได้ ซึ่งวิธีนี้เรายังสามารถนำอุปกรณ์ IT ที่เราล้างข้อมูลแล้วกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างปลอดภัย ข้อมูลไม่รั่วไหล รวมถึงเป็นการช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจากการสร้าง ขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) เพิ่มขึ้นได้อีกด้วย –…

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าต้อง ‘เวิร์คฟรอมโฮม’ ในปี 2565

Loading

  แฮกเกอร์จะใช้เทคนิค Social Engineering มาโจมตี การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังคงไม่จบลง แม้ว่าจะเข้าสู่ปี 2565 แล้วก็ตาม เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ขอความร่วมมือให้ประชาชนทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) ดังนั้นบทความนี้จะเป็นการคาดการณ์ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับองค์กรหากในปีนี้พนักงานยังต้องเวิร์คฟรอมโฮมกันต่อไปครับ เมื่อพนักงานทำงานจากระยะไกล สิ่งแรกที่ทีมไอทีและทีมซิเคียวริตี้ต้องเผชิญคือ ความท้าทายที่เพิ่มมากขึ้น เพราะแฮกเกอร์จะใช้เทคนิค Social Engineering มาโจมตีพนักงานและผู้บริหารที่ทำงานจากที่บ้าน เพื่อพยายามแทรกซึมเข้าไปในเครือข่ายขององค์กร ทำให้องค์กรต้องเร่งสรรหาพนักงานใหม่ที่มีความสามารถทางด้านเทคโนโลยี ตลอดจนต้องรักษาพนักงานที่มีความสามารถทางด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ไว้อย่าให้หลุดมือ มีความเป็นไปได้ที่องค์กรต่างๆ จะหันไปพึ่งพาบริการจากบริษัทภายนอก (Outsource) เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาช่วยปกป้องข้อมูลสำคัญขององค์กรจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ หรือในบางองค์กรอาจหันไปใช้ระบบอัตโนมัติที่สามารถทำงานแทนมนุษย์ได้ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากร เพราะแม้ว่าภาคธุรกิจจะประสบปัญหาความขาดแคลนนี้มานาน แต่ก็ยังไม่ให้ความสำคัญกับผู้สำเร็จการศึกษาใหม่และนักศึกษา จนทำให้พวกเขาไม่สามารถเรียนรู้ หรือเก็บประสบการณ์จนเกิดเป็นความเชี่ยวชาญได้ ยิ่งไปกว่านั้น องค์กรยังต้องเคร่งครัดในการรักษากฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล ซึ่งนั่นรวมไปถึงข้อมูลที่อยู่ในแชทที่มักจะมีข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงาน และไฟล์ต่างๆ ที่ถูกแลกเปลี่ยนไปมาอยู่จำนวนมาก โดยผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า มีพนักงานที่ทำงานจากที่บ้านเพียง 1 ใน 3 เท่านั้นที่ปฏิบัติตามแนวทางการรักษาความปลอดภัยขององค์กรอย่างเคร่งครัด  ขณะที่พนักงานที่ทำงานจากที่บ้านจะมีอุปกรณ์โดยเฉลี่ย 8 เครื่อง ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายในบ้านของพวกเขาที่ไม่ได้มีโซลูชั่นด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ที่ดีเท่าเครือข่ายขององค์กร ทำให้เกิดความเสี่ยงที่แฮกเกอร์จะใช้ประโยชน์จากโอกาสเหล่านั้นมาเข้าถึงระบบเครือข่ายขององค์กรผ่านระบบเครือข่ายในบ้านของพนักงาน โดยความผิดพลาดของพนักงานเพียงคนเดียวอาจทำให้แฮกเกอร์เข้าถึงฐานข้อมูลและระบบสำคัญขององค์กรจนก่อให้เกิดความเสียหายมหาศาลได้ การเวิร์คฟรอมโฮมเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับธุรกิจจำนวนมากครับ แม้ว่าอุตสาหกรรมและองค์กรบางแห่งจะตอบสนองอย่างรวดเร็วเพื่อรักษาความต่อเนื่องของการดำเนินธุรกิจ แต่รูปแบบของการคุกคามก็กลายเป็นสิ่งที่ซับซ้อนมากขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้นจนองค์กรไล่ตามแทบไม่ทัน…

การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับโควิด 19 ของพนักงานทำได้หรือไม่ | ศุภวัชร์ มาลานนท์

Loading

  มาตรการบังคับให้บุคคลต้องแสดงข้อมูลการฉีดวัคซีนโควิด 19 หรือแสดงผลตรวจเชื้อโควิด 19 ก่อนเข้ามาในสถานที่ เป็นประเด็นถกเถียงในสังคมไทย รวมถึงในประเทศอื่นๆ มีการกล่าวอ้างถึงสิทธิส่วนบุคคล และกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในสถานการณ์ที่การแพร่ระบาดของโควิด 19 มีแนวโน้มที่จะไม่หยุดยิ่งและมีการเกิดขึ้นของสายพันธุ์ใหม่ ๆ ตลอดเวลา มาตรการที่หลาย ๆ องค์กรนำมาใช้เพื่อป้องกันการแพร่ระกระจายและการระบาดของโควิด 19 คือการให้พนักงานขององค์กรหรือบุคคลที่ต้องเข้ามายังสถานที่แสดงผลการฉีดวัคซีนหรือแสดงผลตรวจเชื้อโควิด 19 ก่อนเข้ามาในสถานที่ การดำเนินการดังกล่าวของเจ้าของอาคารสถานที่หรือนายจ้างก่อให้เกิดประเด็นเกี่ยวกับเรื่องการประมวลผลข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพของบุคคล ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลอ่อนไหวที่กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของหลาย ๆ ประเทศมุ่งให้การคุ้มครองเป็นพิเศษ วันนี้ผู้เขียนจึงอยากนำกรณีศึกษาเกี่ยวกับมาตรการบังคับให้บุคคลต้องแสดงข้อมูลการฉีดวัคซีนโควิด 19 ข้อแนะนำของ Information Commissioner Office (“ICO”) ซึ่งเป็นหน่วยงานบังคับใช้ UK GDPR ซึ่งเป็นกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศอังกฤษมาให้ท่านผู้อ่านพิจารณาในประเด็นดังนี้ 1. UK GDPR ใช้บังคับกับการเก็บรวบรวมข้อมูลของบุคคลที่เกี่ยวกับโควิด 19 หรือไม่ ICO ให้ความเห็นว่า หากเป็นเพียงการตรวจผลด้วยการดูหรืออ่านเอกสาร โดยที่ไม่มีการเก็บสำเนาผลตรวจกรณีดังกล่าวไม่ถือว่าเป็น “การประมวลผล” ตาม UK GDPR แต่หากมีการเก็บรวบรวมผลการตรวจโควิด 19 ไว้ไม่ว่าจะโดยการใช้เครื่องสแกน หรือการเก็บภาพถ่ายดิจิทัลหรือสำเนาผลตรวจ…

ชายแดนใต้: “ลดความรุนแรง” 1 ใน 3 ประเด็นหลักที่ไทย-บีอาร์เอ็นตกลงให้เป็นสารัตถะการพูดคุยสันติสุขฯ

Loading

คณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้นำโดย พล.อ.วัลลภ รักเสนาะ ถ่ายภาพร่วมกับคณะผู้แทนบีอาร์เอ็น และผู้อำนวยความสะดวกของมาเลเซียในระหว่างการพบปะกันที่กัวลาลัมเปอร์ วันที่ 11-12 ม.ค.2565 คณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยเปิดเผยผลการหารือกับคณะผู้แทนของกลุ่มแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติ (บีอาร์เอ็น) ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 11-12 ม.ค.ว่า ทั้งสองฝ่ายเห็นร่วมกันในหลักการ 3 ข้อที่จะเป็นสารัตถะของการพูดคุยในระยะต่อไป คือ ลดความรุนแรง การปรึกษาหารือกับประชาชนในพื้นที่ และแสวงหาทางออกทางการเมือง หลังจากชะงักงันเพราะการระบาดของโควิด-19 มาตั้งแต่ปี 2563 การพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนใต้ระหว่างรัฐไทยและบีอาร์เอ็นมีความคืบหน้าที่สำคัญเมื่อทั้งสองฝ่ายนัดหมายพบปะกันที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ นับเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 2 ปี และนับเป็นครั้งที่ 3 นับตั้งแต่คณะพูดคุยเพื่อสันติสุขชายแดนภาคใต้ของไทยเปิดเจรจาอย่างเป็นทางการระหว่างรัฐบาลไทยกับบีอาร์เอ็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2563 คณะผู้แทนไทยที่มี พล.อ.วัลลภ รักเสนาะ อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เป็นหัวหน้า และฝ่ายบีอาร์เอ็นที่มีอานัส อับดุลเราะห์มาน เป็นหัวหน้าคณะ พบกันแบบ “ตัวเป็น ๆ” ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 2-3 มี.ค. 2563 วันนี้ (13 ม.ค.) คณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้เผยแพร่เอกสารข่าวสรุปผลการหารือระหว่างวันที่…

‘นูทานิคซ์’ เผยเทรนด์เทคฯ พลิก วิถีทำงาน-ชีวิต ในโลกดิจิทัล

Loading

  “นูทานิคซ์” เปิดบทวิเคราะห์แนวโน้มเทคโนโลยี ที่จะมีอิทธิพลอย่างมากต่อทุกอุตสาหกรรมในปี 2565 “ไฮบริดคลาวด์-ไฮบริดเวิร์ค ปัญญาประดิษฐ์ และความปลอดภัย” คือองค์ประกอบสำคัญของการปรับเปลี่ยนสู่ “ไฮเปอร์ดิจิทัล” ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์ ขยายความว่า  ไฮบริดคลาวด์-ไฮบริดเวิร์ค คือปัจจัยขับเคลื่อนความสำเร็จทุกแง่มุม การถูกผูกมัดจากการใช้คลาวด์ใดคลาวด์หนึ่ง (cloud lock-in) จะเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นความกังวลขององค์กร สืบเนื่องจากองค์กรต่างๆ ใช้งานพับลิกคลาวด์มากขึ้น แต่สถานการณ์นี้จะขับเคลื่อนให้เกิดการใช้กลยุทธ์ไฮบริด มัลติ-คลาวด์ต่างๆ ตามมา เพื่อเปิดโอกาสให้บริษัททั้งหลายได้เลือกใช้คลาวด์แต่ละประเภท ที่มีความโดดเด่นได้ตามความเหมาะสม ทั้งมีอิสระและทางเลือกว่าจะให้แอพพลิเคชั่นและข้อมูลของตนทำงานอยู่บนคลาวด์ประเภทใดได้ด้วย ปีนี้จะเป็นปีที่องค์กรเลือกใช้ไฮบริดคลาวด์มากขึ้น เพราะการที่ทีมไอทีใช้เวิร์คโหลดบนคลาวด์หลายประเภท ทำให้ต้องมองหาวิธีที่จะทำให้คลาวด์ทุกประเภทที่ใช้อยู่ทำงานสอดคล้องกัน สำหรับประเทศไทย ข้อมูลจากรายงาน Data Center and Cloud Service in Thailand , Board of Investment คาดว่า เศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศจะมีสัดส่วน 25% ของจีดีพีประเทศภายในปี 2570 หนึ่งในปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญที่สุดของเศรษฐกิจดิจิทัลไทย คือ บริการด้านคลาวด์ต่างๆ ซึ่งความต้องการบริการเหล่านี้ เกิดจากบริการดิจิทัลที่มีอยู่แล้ว เช่น อีคอมเมิร์ซ…