Named Data Networking (NDN): สถาปัตยกรรม Internet ใหม่ที่อาจมาแทน Internet Protocol ทั่วโลกในอีกหลายสิบปีข้างหน้า

Loading

  หนึ่งในเทคโนโลยีน่าจับตามองด้านระบบ Network ที่ถูกกล่าวถึงในรายงาน Gartner Hype Cycle for Emerging Technologies, 2021 นี้ก็คือ Named Data Networking หรือ NDN ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรม Internet รูปแบบใหม่ที่ถูกออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาที่ Protocol ต่างๆ ใน Internet กำลังเผชิญอยู่ในยุคปัจจุบัน ทั้งในแง่ของ Performance, Security, Efficiency และ Scalability ในบทความนี้ TechTalkThai เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับ Named Data Networking หรือ NDN กันโดยสังเขป เพื่อให้พอเห็นถึงแนวคิดในการออกแบบ NDN และวิธีการแก้ไขปัญหาที่ NDN นำเสนอ ให้ทุกท่านได้พอจินตนาการกันออกครับว่าหากโลกในอนาคตเปลี่ยนจากการใช้ IP ไปสู่ NDN กันจริงๆ แล้ว Network ที่เชื่อมโยง Internet ทั่วโลกเข้าด้วยกันนั้นหน้าตาจะเป็นยังไง…

เอฟบีไอเปิดเผยรายงานลับชิ้นแรกในโอกาสครบรอบ 20 ปี 9/11

Loading

World Trade Center   WASHINGTON — สำนักงานสืบสวนกลางของสหรัฐฯ หรือ เอฟบีไอ เปิดเผยรายงานที่ถูกยกเลิกชั้นความลับซึ่งเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนผู้ก่อการร้ายชาวซาอุดิอาระเบียสองคนที่จี้เครื่องบินเพื่อโจมตีสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 หรือเหตุการณ์ 9/11 เอกสารดังกล่าวระบุถึงการติดต่อระหว่างผู้จี้เครื่องบินกับพลเมืองชาวซาอุฯ ในสหรัฐฯ แต่มิได้มีหลักฐานว่าเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลซาอุฯ มีส่วนร่วมในการวางแผนก่อการร้ายครั้งนี้ เอกสารชิ้นนี้เปิดเผยในโอกาสครบรอบ 20 ปีเหตุการณ์ 9/11 ถือเป็นเอกสารการสืบสวนชิ้นแรกที่ได้รับการเปิดเผยต่อสาธารณชนนับตั้งแต่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน มีคำสั่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้วให้กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทบทวนเอกสารลับต่าง ๆ ว่าชิ้นไหนสามารถเปิดเผยได้หรือไม่ในช่วงหกเดือนข้างหน้า เอกสารความยาว 16 หน้า สรุปคำสัมภาษณ์ของเอฟบีไอเมื่อปี ค.ศ. 2015 ต่อชายผู้หนึ่งที่ติดต่อกับพลเมืองชาวซาอุฯ ในสหรัฐฯ ซึ่งให้การสนับสนุนผู้ก่อการร้ายให้เดินทางเข้าประเทศก่อนที่จะเกิดการโจมตี   แรงกดดันจากครอบครัวผู้เสียชีวิตใน 9/11 ปธน.ไบเดน ถูกกดดันจากครอบครัวของผู้เสียชีวิตที่ต้องการให้รัฐบาลเปิดเผยเอกสารลับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลซาอุฯ ในการโจมตี 9/11 เพื่อนำไปใช้ในการฟ้องร้องดำเนินคดีต่อไป การเปิดเผยเอกสารลับชิ้นแรกนี้มีขึ้นในคืนวันเสาร์ที่ 11 กันยายน ตามเวลาในสหรัฐฯ…

ย้อนดูวิวัฒนาการของข่าวปลอม จากทฤษฎีสมคบ 9/11 สู่ข้อมูลบิดเบือนเรื่องโควิด

Loading

  เป็นเวลาถึง 2 ทศวรรษแล้วที่เหตุการณ์ 9/11 ได้จุดประกายให้คนบางส่วนหลงเชื่อทฤษฎีสมคบคิดต่างๆ ที่พยายามสร้างเรื่องมาอธิบายว่าใครคือผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์สังหารหมู่ที่แท้จริง   อิทธิพลของข้อมูลเท็จที่ระบาดอย่างแพร่หลายในโลกอินเตอร์ในตอนนั้นยังสามารถพบเห็นได้ในปัจจุบัน เช่น การกุเรื่องว่าเชื้อโครานาไวรัสเป็นอาวุธชีวภาพ หรือการบิดเบือนเรื่องผลการเลือกตั้งประธาธิบดีสหรัฐฯรอบล่าสุดว่าเกิดการโกงคะแนนขึ้นจนทำให้ทรัมป์พ่ายแพ้ เพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังจากตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในนครนิวยอร์กถล่มลงมา เนื่องจากการโจมตีของผู้ก่อการร้าย ทฤษฎีสมคบคิดอันแรกเกี่ยวกับเหตุการณ์ 9/11 ก็ผุดขึ้นบนเว็บบอร์ดในโลกออนไลน์ ผู้เผยเเพร่เขียนว่าตึกทั้งสองนั้นถล่มลงมาเพราะระเบิดที่ถูกติดตั้งไว้ในตัวอาคารก่อนหน้านี้ ไม่ใช่เพราะเครื่องบินที่ถูกผู้ก่อการร้ายจี้และบังคับพุ่งชน ทฤษฎีสมคบคิดข้างต้นนั้นเป็นหนึ่งในหลายสิบทฤษฎีที่กลุ่มคนที่ไม่ชอบอดีตประธาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช หรือคนที่ต่อต้านสงครามในอิรักและอัฟกานิสถานปักใจเชื่อ ซึ่งแม้ในยุคต่อมาที่สหรัฐฯมีบารัค โอบามาเป็นประธาธิบดี คนบางส่วนก็เชื่อว่า 9/11 นั้นเกิดขึ้นโดย Deep State หรือผู้มีอิทธิพลที่อยู่เบื้องหลังการทำงานของรัฐบาลสหรัฐฯ   ผลสำรวจพบว่าความเชื่อในทฤษฎีสมคบคิดเกี่ยวกับ 9/11 พุ่งสูงในช่วงเวลาหลายปีหลังเกิดการก่อการร้ายขึ้น แต่ในที่สุดกระแสดังกล่าวก็ค่อยๆ ลดลง มีเพียงคนอเมริกันส่วนน้อยที่ยังเคลือบแคลงใจถึงคำอธิบายของรัฐบาลกับสิ่งที่เกิดขึ้น มาร์ค เฟนสเตอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติของทฤษฎีสมคบคิดและอาจารย์ด้านกฎหมายที่ University of Florida บอกว่า สำหรับบางคน มันฟังดูเหมือนกับภาพยนตร์เมื่อพวกเขาได้ยินว่าเครื่องบินพุ่งตึกและพยายามพุ่งชนอาคาร Pentagon หรือสำนักงานใหญ่ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ พวกเขาพยายามที่จะทำความเข้าใจว่าเหตุการณ์เหลือเชื่อแบบนี้มันเกิดขึ้นได้อย่างไร ทัศนคติที่ว่าเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นไม่เป็นความจริงหรือทฤษฎีสมคบคิดจึงเกิดขึ้นเมื่อมีวิกฤตร้ายแรง ทางแคเร็น ดักลาส อาจารย์ด้านจิตวิทยาของมหาวิทยาลัย…

ทำไม Ransomware ระบาดหนัก เชื่อใจแฮกเกอร์ได้ไหม ถ้ายอมจ่ายค่าไถ่ขอคืนข้อมูล

Loading

  ในปี 2021 คงไม่ผิดนักถ้าจะกล่าวว่าปีนี้เป็นปีแห่งการเจริญเติบโตของซอฟต์แวร์เรียกค่าไถ่ หรือในภาษาอังกฤษที่เรียกกันว่า Ransomware เรื่องของ Ransomware ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ หากแต่เป็นของเก่าที่ถูกพัฒนามาตั้งแต่ ค.ศ. 1980s ก่อนที่จะพัฒนาความสลับซับซ้อนให้เข้าใจได้ยากขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 2010 เป็นต้นมา ตัวเลขของ SonicWall เปิดเผยว่า ระหว่างปี 2019 ถึงปี 2020 การโจมตีด้วย Ransomware เพิ่มขึ้นราว 62 เปอร์เซ็นต์ทั่วโลก และแค่ในทวีปอเมริกาเหนือแห่งเดียว การโจมตีเพิ่มขึ้น 152 เปอร์เซ็นต์ และในปีหลังจากนี้ก็มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้อีก รวมถึงยังมีตัวเลขของ Internet Crime report ระบุอีกด้วยว่าในปี 2020 ที่ผ่านมา เอฟบีไอ (FBI) ได้รับการร้องเรียนจากการถูกโจมตีด้วย Ransomware เกือบ 2,500 ครั้ง เพิ่มขึ้นจากปี 2019 ราว 20 เปอร์เซ็นต์ เช่นนั้นแล้ว การเติบโตของ Ransomware…

ถึงเวลายกระดับป้องกันภัยไซเบอร์หน่วยงานรัฐ!!

Loading

  ปัญหาหน่วยงานของรัฐถูกท้าทายจาก “แฮกเกอร์” ด้วยการเจาะระบบเข้ามาโจรกรรมข้อมูลขององค์กร มีมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็ทำเร็จบ้าง ไม่สำเร็จบ้าง และ เป็นข่าวบ้าง ไม่เป็นข่าวบ้าง!! แต่ครั้งนี้กลายเป็นประเด็นอ่อนไหวขึ้นมาทันที เมื่อหน่วยงานที่ถูกแซะข้อมูลไป เป็นหน่วยงานสาธารณสุข คือ รพ.เพชรบูรณ์ ก็ยอมรับว่าโดนแฮกจริงๆ แต่เป็นข้อมูลทั่วไป ไม่ใช่ฐานข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วยแต่อย่างไร และถูกแฮกไปมีจำนวนกว่า 1 หมื่นรายชื่อ ไม่ใช่ 1.6 ล้านรายชื่อตามที่แฮกเกอร์กล่าวอ้าง หลังจากนั้นไม่กี่วันก็มีประเด็น ผู้บริหารของ รพ.สถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ เข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ให้ดำเนินคดีกับแฮกเกอร์ที่ลักลอบเจาะข้อมูลคนไข้ของโรงพยาบาลกว่า 4 หมื่นรายชื่อ!! กลายเป็นประเด็นสะเทือนวงการสาธารณสุขไทยอีกครั้งติดๆ​ กัน เพราะครั้งนี้ ได้ข้อมูลส่วนตัวคนไข้ ประวัติการฟอกไต และประวัติการรักษา ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ถือเป็นข้อมูลความลับที่นำไปเปิดเผยไม่ได้หากไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลหรือคนไข้!!     ประกอบกับปัจจุบัน มี พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562  ถึงแม้จะมีการขยายการบังคับใช้ออกไป แต่หน่วยงานที่เก็บข้อมูลส่วนบุคคลยังต้องดำเนินการตามประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่อง มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2563 ซึ่งได้กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการรักษาความปลอดภัยข้อมูลไซเบอร์ เพื่อการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หากโรงพยาบาลไม่ได้ดำเนินการได้ตามมาตรฐานจนเกิดข้อมูลรั่วไหลจากการถูกแฮกเกิดความเสียหายก็ถือว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ด้วยเช่นกัน ปัญหาข้อมูลรั่วไหลจากการถูกแฮกไม่ใช่เรื่องใหม่ และเกิดขึ้นบ่อยๆ!! โดยเรื่องนี้ทาง พลโท ดร.ปรัชญา เฉลิมวัฒน์ เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) กล่าวว่า กลุ่มเฮลท์แคร์ หรือ เกี่ยวกับสุขภาพ ถือเป็นเซกเตอร์ที่มีความเปราะบาง เนื่องจากขาดแคลนบุคลากรด้านไอที ยังไม่รวมถึงบุคลากรด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ รวมถึงแต่ละโรงพยาบาลก็มี งบประมาณจำกัด จึงให้เจ้าหน้าที่ด้านไอทีของตัวเองพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นขึ้นมาใช้งานเองภายใน ที่เรียกว่า อินทราเน็ต แต่พอมีโควิด-19  ทำให้มีการเวิร์ก ฟรอม โฮม มีการใช้งานเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมากขึ้น ทำให้แฮกเกอร์สามารถโจมตีได้ง่าย ซึ่งขณะนี้ทางกระทรวงสาธารณสุขไม่ได้มีเพียงหน่วยเดียวที่ถูกโจมตี มีหลายหน่วยแต่อาจยังไม่เป็นข่าว เพราะไม่มีความรุนแรง หรือมีข้อมูลความเสียหายไม่มาก!? จึงจำเป็นที่ทางกระทวงสาธารณสุข ต้องจัดทำระบบที่รวมศูนย์มากขึ้น ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ ซึ่งจะทำให้ การเฝ้าระวังทำได้ง่ายขึ้น ขณะที่ นาวาอากาศเอก  อมร ชมเชย  รองเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ​ ​(กมช.) บอกว่า การป้องกันต่อจากนี้จะต้องมีกระบวนการบริหารจัดการที่ดีขึ้น รวมถึงบุคลากรที่เกี่ยวข้อง โดยแผนระยะสั้น จะมีการอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้องอย่างเร่งด่วนให้ยกระดับขีดความสามารถ ขณะที่หน่วยงานของรัฐจะต้องมีการดำเนินการตามกรอบมาตรฐานที่ทาง สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ…

11 ก.ย. : บทเรียนสำคัญ 5 เรื่อง นับตั้งแต่เกิดเหตุวินาศกรรม 9/11

Loading

มีบทเรียนใดบ้างที่ได้เรียนรู้ในช่วง 20 ปีของการต่อสู้ต่อต้านการก่อการร้ายทั่วโลก อะไรที่ได้ผลและอะไรที่ไม่ได้ผล ปัจจุบัน ขณะที่อัฟกานิสถานกลับมาถูกปกครองโดยขบวนการที่ให้ที่พักพิงแก่กลุ่มอัลไคดาอีกครั้ง เราฉลาดขึ้นกว่าเมื่อเช้าวันที่ 11 ก.ย. 2001 หรือไม่ สำหรับอเมริกาซึ่งเผชิญกับการโจมตีก่อการร้ายที่เลวร้ายที่สุดในแผ่นดินสหรัฐฯ คนบางส่วนได้มองโลกต่างไปจากเดิม มีการแบ่งแยกระหว่างคนดีกับคนร้าย “แต่ละชาติ แต่ละภูมิภาค” ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ประกาศเมื่อ 9 วันหลังจากเกิดการโจมตี 9/11 “ตอนนี้ต้องตัดสินใจว่า คุณจะอยู่กับฝ่ายเราหรือกับฝ่ายผู้ก่อการร้าย” ได้มีการประกาศสิ่งที่เรียกว่า “สงครามต่อต้านก่อการร้าย” ขึ้น ทำให้เกิดการบุกอัฟกานิสถานในเวลาต่อมา จากนั้นก็บุกอิรัก ไปจนถึงการผงาดขึ้นมาของกลุ่มรัฐอิสลาม และการเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วของสมาชิกกลุ่มติดอาวุธที่อิหร่านสนับสนุนทั่วตะวันออกกลาง มีทหารเสียชีวิตหลายพันนาย และพลเรือนอีกจำนวนมาก     การก่อการร้ายไม่ได้ถูกกำจัดให้หมดไป ประเทศขนาดใหญ่ในยุโรปทุกแห่งต่างเผชิญกับการโจมตีครั้งใหญ่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ก็มีความสำเร็จหลายอย่างเกิดขึ้นเช่นกัน จนถึงทุกวันนี้ ยังไม่มีการโจมตีขนาดใกล้เคียงกับการโจมตี 9/11 เกิดขึ้นอีก ฐานทัพของอัลไคดาในอัฟกานิสถานถูกทำลาย มีการตามล่าตัวผู้นำของกลุ่มในปากีสถาน รัฐอิสลามที่ประกาศตั้งตัวเองขึ้นมาและได้ก่อการร้ายในหลายพื้นที่ของซีเรียและอิรัก ก็ได้ถูกทำลายแล้ว บทเรียนข้างล่างนี้ไม่ได้ครอบคลุมทุกเรื่อง และแน่นอนว่ายังมีการถกเถียงกันอยู่ แต่เป็นการเขียนขึ้นมาจากข้อสังเกตส่วนตัวของผมจากการทำข่าวด้านนี้ทั่วภูมิภาคตะวันออกกลาง อัฟกานิสถาน กรุงวอชิงตัน และอ่าวกวนตานาโม   1.แลกเปลี่ยนข่าวกรองสำคัญ…