11 ก.ย. : 149 นาทีมรณะขณะเหตุวินาศกรรม 9/11

Loading

  โลกเปลี่ยนแปลงไปไม่เหมือนเดิม หลังเหตุการณ์เช้าวันนั้น เมื่อ 20 ปีที่แล้ว 11 ก.ย. 2001 ผู้ก่อเหตุจี้เครื่องบิน 4 ลำ พุ่งเข้าชนอาคารสำคัญที่เป็นสัญลักษณ์ของอำนาจทางเศรษฐกิจ การเมือง และการทหารของสหรัฐฯ ถึงทุกวันนี้ เหตุวินาศกรรม 9/11 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 2,996 ราย ยังนับเป็นการโจมตีครั้งรุนแรงที่สุดบนแผ่นดินสหรัฐฯ และยังส่งผลกระทบจนถึงทุกวันนี้     หลังจากนั้น สหรัฐฯ ได้เริ่มสิ่งที่เรียกกันว่า “สงครามต่อต้านการก่อการร้าย” โดยการบุกเข้าไปยังอัฟกานิสถานและอิรัก หากพูดเรื่องนี้ในระดับความทรงจำส่วนตัว แทบทุกคนยังจำได้ว่าตัวเองอยู่ไหนและทำอะไรอยู่ตอนที่ได้ยินข่าวนี้ บีบีซีไล่เรียง 149 นาทีขณะโศกนาฏกรรมนี้เกิดขึ้นเมื่อเช้าวันนั้น …………………………………. 07:59 น. เที่ยวบิน AA11 ของสายการบินอเมริกันแอร์ไลนส์บินออกจากสนามบินนานาชาติโลแกนในบอสตัน มุ่งหน้าไปลอสแอนเจลิสโดยมีผู้โดยสารเต็มความจุ มีนักบิน ผู้ช่วยนักบิน และพนักงานต้อนรับบนเครื่องอีก 9 คน ในจำนวนผู้โดยสาร 81 คน มีผู้ก่อเหตุจี้เครื่องบิน 5 คน นำโดยโมฮัมเหม็ด อัตตา…

Cohesity เผย 5 สิ่งที่องค์กรมักละเลยในการป้องกัน Ransomware สำหรับปี 2021

Loading

  ภัยคุกคามอย่าง Ransomware นั้นนับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงและความเสียหายมากขึ้นเรื่อยๆ การเฝ้าระวัง, ตรวจสอบ และปกป้องระบบ IT และข้อมูลสำคัญทางธุรกิจนั้นจึงกลายเป็นภารกิจสำคัญที่ทุกธุรกิจมิอาจมองข้ามได้อีกต่อไป อย่างไรก็ดี การมาของ Ransomware รูปแบบใหม่ๆ, เทคนิคการโจมตีใหม่ๆ และเทคโนโลยีใหม่ๆ ในธุรกิจนั้น ก็ทำให้องค์กรไม่อาจปกป้องระบบและข้อมูลของตนเองได้อย่างครอบคลุมดีนัก และในบทความนี้เราจะเล่าถึง 5 ประเด็นสำคัญที่องค์กรมักละเลยในการปกป้อง Ransomware ไปนั่นเอง   5 สิ่งที่องค์กรมักละเลยในการป้องกัน Ransomware สำหรับปี 2021   1. ข้อมูลที่ Backup เอาไว้ในองค์กรนั้นก็ตกเป็นเป้าของ Ransomware แล้ว เมื่อการ Backup ข้อมูลนั้นได้กลายเป็นแนวทางหลักที่ธุรกิจองค์กรใช้ในการรับมือ Ransomware เหล่าผู้พัฒนา Ransomware ก็ปรับตัวรับมือต่อแนวทางเหล่านี้ด้วยการโจมตีข้อมูล Backup โดยตรงกันมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้การโจมตีด้วย Ransomware นั้นยังสัมฤทธิ์ผลมากที่สุด การโจมตีเหล่านี้อาจเกิดขึ้นกับระบบ Backup โดยตรง หรือเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ Endpoint ที่ Ransomware สามารถโจมตีได้สำเร็จ…

วินาศกรรม 9/11 และ โควิด-19 ได้เปลี่ยนอุตสาหกรรมการบินไปตลอดกาล

Loading

  “วินาศกรรม 9/11 เปลี่ยนอุตสาหกรรมการบินไปตลอดกาล มาวันนี้ ทั่วโลกกำลังเผชิญโรคระบาดครั้งใหญ่ แล้วการก่อการร้าย และ “โควิด-19″ จะกระตุ้นอนาคตการบินเข้มงวดอีกแค่ไหน?” การโจมตีของผู้ก่อการร้าย เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 ในสหรัฐฯ กลายเป็นวินาศกรรมสะเทือนโลก พร้อมกับประโยคที่ว่า “พวกเราทุกคนเป็นชาวอเมริกัน” นโยบายของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ปรับเปลี่ยนเพื่อต่อกรกับการก่อการร้าย ขณะที่ความสัมพันธ์ทวิภาคีจะเข้มแข็งขึ้นหรือพังทลาย ขึ้นอยู่กับจุดยืนของรัฐบาล เรามาสำรวจกันว่าเหตุการณ์นี้ เปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมการบินอย่างไร รวมถึงภัยคุกคามที่ภาคธุรกิจยังคงเผชิญอยู่ แม้ผ่านมาถึง 20 ปีแล้วก็ตาม   มาตรการสกัดภัย “คุกคาม” เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2017 พนักงานที่เคาน์เตอร์เช็คอินของสายการบิน Etihad Airways ในสนามบินซิดนีย์ ปฏิเสธที่จะนำกระเป๋าเดินทางที่ทั้งใหญ่และหนัก ของผู้โดยสารคนหนึ่งที่จะเดินทางไปยังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือ UAE การตัดสินใจของพวกเขาอยู่บนพื้นฐานของความปลอดภัย ที่นำมาใช้หลังการโจมตีของผู้ก่อการร้ายในเหตุการณ์ 9/11 ในสหรัฐฯ ซึ่งรวมถึงข้อจำกัดเรื่องน้ำหนักสัมภาระ ขนาดและรูปทรง รวมถึงการตรวจสอบสัมภาระที่โหลดใต้ท้องเครื่อง พวกเขาไม่รู้เลยว่า การกระทำเช่นนั้น ช่วยขัดขวางการวางระเบิดที่เชื่อมโยงกับกลุ่ม IS…

ปัญหาระดับโลก “อาชญากรรมไซเบอร์” รวมทุกข้อมูลควรรู้ในยุคที่โจรถือคอมพิวเตอร์แทนปืน

Loading

    กระทรวงสาธารณสุขเพิ่ง “ถูกแฮ็ก” ข้อมูลคนไข้ในโรงพยาบาลภายใต้สังกัดกระทรวงฯ ไปขายบนดาร์กเว็บจำนวนกว่า 16 ล้านรายการ นี่ไม่ใช่ครั้งแรกและน่าจะไม่ใช่ครั้งสุดท้าย เพราะ “อาชญากรรมไซเบอร์” เป็นปัญหาระดับโลกที่ทุกประเทศเผชิญ และมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นๆ ในยุคที่ทุกสิ่งทุกอย่างเป็น “ดาต้า” จัดเก็บบนดิจิทัล ครั้งหนึ่ง “วอร์เรน บัฟเฟตต์” นักลงทุนชื่อดัง เคยกล่าวไว้ว่า “อาชญากรรมไซเบอร์” จะเป็นปัญหาอันดับหนึ่งของมนุษยชาติ และการโจมตีทางไซเบอร์จะเป็นภัยร้ายแรงต่อมนุษย์ยิ่งกว่าอาวุธนิวเคลียร์เสียอีก ทำไมบัฟเฟตต์กล่าวเช่นนั้น? ตัวอย่างมีให้เห็นในโลกมาแล้ว จากการโจมตีทางไซเบอร์ที่ร้ายแรงที่สุด คือ Ransomware หรือซอฟต์แวร์เรียกค่าไถ่ ซึ่งจะล็อกระบบไอทีหรือเข้ารหัสข้อมูลของผู้ถูกโจมตีเอาไว้ เพื่อเรียกค่าไถ่ขอค่าเปิดระบบ/ปลดล็อกข้อมูลนั้นๆ ที่ผ่านมาเคยมีกลุ่มอาชญากรไซเบอร์แฮ็กระบบไอทีของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเมืองดุสเซลดอร์ฟ เยอรมนี จนโรงพยาบาลไม่สามารถให้การรักษาผู้ป่วยได้ ส่งผลให้มีผู้ป่วยรายหนึ่งเสียชีวิต หรือเมื่อเดือนพฤษภาคมปีนี้เอง เพิ่งมีการแฮ็กระบบท่อส่งเชื้อเพลิงของสหรัฐอเมริกา จนทำให้ระบบส่งเชื้อเพลิงเติมน้ำมันเป็นอัมพาตไปชั่วคราว การก่ออาชญากรรมไซเบอร์ในระดับองค์กรจึงทำให้เกิดความปั่นป่วนโกลาหลเป็นอย่างมาก และอาจจะส่งผลร้ายแรงถึงชีวิตคนได้ ไม่เพียงแต่ผลทางทรัพย์สินเท่านั้น   อาชญากรรมไซเบอร์ ธุรกิจมืดมูลค่าสูงกว่าค้ายา Cybersecurity Ventures คาดการณ์ว่าปี 2021 นี้ มูลค่าความเสียหายของอาชญากรรมไซเบอร์ทั่วโลกจะสูงถึง 6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ เฉลี่ยแล้วมีข้อมูลถูกแฮ็กคิดเป็นมูลค่า 190,000…

เปิดชื่อ บอร์ดรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ฯ “ประวิตร” นั่งประธาน

Loading

  เปิดโครงสร้าง คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ “ประวิตร” นั่งเก้าอี้ประธานบอร์ด วันที่ 7 กันยายน 2564 กรณีโซเชียลเปิดเผยว่า ข้อมูลคนไข้ของกระทรวงสาธารณสุขโดนแฮก ก่อนที่ต่อมา นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข จะให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เรื่องเกิดขึ้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ และเคยเกิดที่สระบุรี หลังจากทราบข่าวได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขดำเนินการ ต่อมา น.อ.อมร ชมเชย รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ชี้แจงผ่าน รายการ เจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand ทางช่อง MCOT HD ว่า ข้อมูลที่ถูกแฮกเกอร์เจาะเข้าไปนั้น เบื้องต้นไม่น่าเกิน 1 หมื่นคน โดยเป็นข้อมูล ชื่อ หมายเลขประจำตัวคนไข้ ชื่อแพทย์ที่รักษา ยืนยันว่าไม่มีเลขบัตรประจำตัวประชาชนของคนไข้ และไม่ได้ลงลึกว่าป่วยเป็นโรคใด จากบทบาทของ คณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ที่ต้องรับมือกับประเด็นใหญ่ ซึ่งต้องอาศัยความรู้เท่าทันด้านเทคโนโลยี “ประชาชาติธุรกิจ” ตรวจสอบข้อมูลพบโครงสร้างและรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้   “ประวิตร” นั่งประธานบอร์ด เว็บไซต์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม…

“ตาลีบัน” คืนชีพ..ปลุกฝันร้าย 9/11 ภาค 2

Loading

    9/11 หรือเหตุการณ์ช็อกโลกที่ผู้ก่อการร้ายทำการโจมตีครั้งใหญ่ต่ออเมริกาในวันที่ 11 กันยายน 2001 ถือเป็นเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก ไม่เพียงแต่ในสหรัฐ ซึ่งอีกเพียงไม่กี่วัน ก็จะครบรอบ 20 ปีของการเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว แม้ 9/11 ผ่านมาแล้วถึง 2 ทศวรรษ แต่โลกก็ยังคงไม่ได้พบกับสันติภาพที่แท้จริง และการที่สหรัฐได้ประกาศถอนกำลังทหารออกจากอัฟกานิสถาน ก็ยิ่งกระพือความวิตกว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะหวนกลับมาเกิดขึ้นอีกครั้ง In Focus สัปดาห์นี้ ขอนำผู้อ่านย้อนอดีตสู่เหตุการณ์ 9/11 และผลกระทบที่เกิดขึ้น พร้อมกับคำเตือนของหลายฝ่ายที่ว่าประวัติศาสตร์อาจซ้ำรอยเหตุการณ์ 9/11 ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองที่พลิกผันในอัฟกานิสถาน โศกนาฏกรรม 9/11….20 ปี โลกไม่ลืม เมื่อวันอังคารที่ 11 กันยายน 2001 ผู้ก่อการร้ายได้ทำการจี้เครื่องบินโดยสารจำนวน 4 ลำ และบังคับให้พุ่งชนเป้าหมาย 4 แห่งในสหรัฐ โดย 2 ลำแรกโจมตีตึกแฝดเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในนครนิวยอร์ก ส่วนลำที่ 3 โจมตีเพนตากอน หรือกระทรวงกลาโหมสหรัฐที่ตั้งอยู่ในรัฐเวอร์จิเนีย และลำที่ 4 เชื่อกันว่ามีเป้าหมายถล่มอาคารรัฐสภาสหรัฐ หรือทำเนียบขาวในกรุงวอชิงตัน…