“ขวานดำ” ลัทธิแห่งความรุนแรงในไนจีเรียที่กลายเป็นแก๊งมาเฟียระดับโลก

Loading

  บีบีซีใช้เวลา 2 ปีสืบสวนเรื่อง “Black Axe” หรือ “ขวานดำ” – กลุ่มนักศึกษาไนจีเรียที่พัฒนากลายมาเป็นแก๊งมาเฟียที่น่าหวาดหวั่น เราพบหลักฐานใหม่ที่ชี้ว่าพวกเขาเข้าไปแทรกแซงการเมือง หาเงินด้วยการหลอกลวงคน รวมถึงลงมือในปฏิบัติการสังหารไปทั่วโลก คำเตือน : มีเนื้อหารุนแรงที่อาจทำให้รู้สึกไม่สบายใจ เวลาอยู่เงียบ ๆ หลังสอนหนังสือเสร็จ ดร.จอห์น สโตน มักมีภาพจากอดีตแวบเข้ามาในหัว มันไม่ใช่เลือดหรือเสียงปืนที่หลอกหลอนเขาแต่เป็นการร้องขอ เป็นตอนที่ผู้คนร้องขอความเมตตาตอนกำลังจะตาย ขอร้องเขา ขอร้องพระเจ้า “มันเจ็บปวดมาก” เขาเล่าพร้อมส่ายหัวและมีอาการขนลุกซู่ “ครอบครัวของผู้ตาย พวกเขาจะสาปแช่งคุณ ชีวิตคุณจะถูกสาปแช่ง” ดร.สโตน สอนวิชารัฐศาสตร์อยู่ที่มหาวิทยาลัยเบนินซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของไนจีเรีย แต่ในช่วงหลายทศวรรษก่อนหน้านี้ เขาเป็นสมาชิกอาวุโสของแก๊งขวานดำ แก๊งมาเฟียที่พัวพันกับการค้ามนุษย์ การต้มตุ๋นคนผ่านอินเทอร์เน็ต และการฆาตกรรม ในท้องถิ่น ขวานดำถูกพูดถึงในฐานะ “ลัทธิ” ซึ่งบ่งบอกถึงการมีพิธีกรรมลับ ๆ เวลารับสมาชิกใหม่เข้าแก๊งรวมถึงความจงรักภักดีอย่างสูงของสมาชิก พวกเขาเป็นที่โจษจันเรื่องการใช้ความรุนแรงอย่างโหดเหี้ยม มีการเผยแพร่ภาพคนที่ไปเป็นศัตรูกับพวกเขาในสภาพร่างถูกตัดแขนขาหรือทรมาน เผยแพร่บนโซเชียลมีเดียในไนจีเรียเป็นประจำ ดร.สโตน ยอมรับว่าเขาเองก็มีส่วนร่วมในความโหดร้ายที่ว่านี้ด้วยระหว่างเป็น “Axeman” หรือ สมาชิกแก๊งขวานดำ ระหว่างให้สัมภาษณ์ เขาเล่าย้อนถึงวิธีการสังหารที่มีประสิทธิภาพที่สุดโดยโน้มตัวมาข้างหน้า ทำมือเป็นรูปปืน…

คิด วิเคราะห์ แยกแยะ ทักษะที่จำเป็น บนโลกออนไลน์

Loading

  การรับมือข้อมูลหลอกลวงและข่าวปลอม ที่แชร์อยู่ในโลกออนไลน์นั้น เราต้องวิเคราะห์และตรวจสอบอย่างรอบคอบก่อนทุกครั้งที่จะแชร์ข่าวเท็จ หรือนำเสนอต่อบุคคลอื่น ในปัจจุบัน ในแต่ละนาทีมีข่าวสารที่เกิดขึ้นจำนวนมาก ซึ่งต่างกับอดีตเมื่อหลายสิบปีก่อนอย่างสิ้นเชิง เราได้รับข้อมูลข่าวสารจากหลากหลายช่องทางและรวดเร็วมากกว่าในอดีต เช่น จากสื่อสังคมออนไลน์ เว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น ฯลฯ ข้อมูลข่าวสารที่ได้รับนั้นมาจากหลายแหล่งที่มา ทั้งจากแหล่งที่เชื่อถือได้และไม่น่าเชื่อถือ ผู้รับข่าวสารจำนวนมากอาจไม่สามารถวิเคราะห์และการกลั่นกรองข่าวสารที่ได้รับว่าจริงหรือปลอม จึงหลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ รวมทั้งอาจมีส่วนร่วมในการสร้างความเสียหายให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยแชร์ข่าวเท็จหรือแบ่งปันข้อมูลเท็จที่ได้รับ การแชร์ข้อมูลเท็จที่ได้รับมานั้น สร้างความเสียหายและผลกระทบทางตรงหรือทางอ้อมเกิดขึ้นต่อตัวบุคคลผู้แชร์ข้อมูล หรือผู้ที่ถูกกล่าวถึง ทำให้ความน่าเชื่อถือของตนเองลดลง รวมทั้งเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมาย ส่งผลให้ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีและเสียค่าปรับต่างๆ หรือกระจายข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ ส่งผลให้ผู้อื่นหลงกรอกข้อมูลหรือเป็นเหยื่อจากลิงก์หรือข่าวที่เราแชร์   ดังนั้น เราต้องมีทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลว่า ข่าวปลอมนั้นมีลักษณะและมีช่องทางที่มาอย่างไร โดยทั่วไป ลักษณะและการหลอกลวงที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ มีดังนี้ 1.ข่าวปลอมที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะเพิ่มองค์ประกอบเพื่อสร้างความน่าเชื่อ ประเด็นความน่าสนใจโดยส่วนใหญ่จะเป็นข่าวเชิงลบ เพื่อสร้างกระแสและเป็นประเด็นในวงกว้าง และสร้างความอยากรู้อยากเห็นของคนทั่วไป เช่น “คิดอย่างไรกับสถานการณ์นี้” หรือ “พบสมุนไพรไทยช่วยต้านโควิด-19” 2.ข่าวปลอมที่เกิดขึ้นจะชักนำไปในเรื่องของความเชื่อเพื่อเล่นกับความรู้สึกของบุคคล เพราะโดยทั่วไปพฤติกรรมของคนมักแบ่งการรับรู้ออกเป็นสองด้าน เช่น ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร มีทั้งเชิงบวกและเชิงลบ 3.เป็นข่าวที่มีผลกระทบกับความเชื่อมั่น แบ่งแยกมุมมองและสื่อสารไปกับเฉพาะกลุ่ม โดยเป็นข่าวสารหรือข้อมูลตามสถานการณ์ในปัจจุบันที่เกิดขึ้น ซึ่งในบางครั้งอาจจะเป็นข่าวสารหรือข้อมูลเก่าที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วนำมาสร้างกระแสใหม่ เพื่อสร้างผลกระทบต่อคนที่อยู่ในเหตุการณ์นั้นๆ อีกครั้ง…

ลาว ประเทศที่ถูกทิ้งระเบิดถล่มมากที่สุดในโลก

Loading

  ในช่วงสงครามเวียดนามลาวเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ถูกสหรัฐทิ้งระเบิดถล่มอย่างหนัก จนทำให้ประเทศนี้มีอัตราระเบิดต่อหัวประชากรมากที่สุดในโลก 1. จนถึงทุกวันนี้ยังมีชาวลาวต้องเสียชีวิตจากระเบิดที่สหรัฐอเมริกาทิ้งเอาไว้ ณ วันที่ 3 ธันวาคม 2564 เจ้าหน้าที่กวาดล้างระเบิด UXO ของลาวเสียต้องสละชีวิตไป 3 คน และบาดเจ็บ 2 คนจากเหตุระเบิดในหมู่บ้านกิโลเมตร 38 เมืองปากช่อง แขวงจำปาสัก จากการรายงานของ Laotian Times สื่อภาษาอังกฤษในลาว 2. UXO (Unexploded ordnance) หรือระเบิดที่ยังไม่ได้ถูกจุดชนวน ถูกทิ้งไว้โดยสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามอินโดจีนครั้งที่ 2 (หรือสงครามเวียดนาม) ทำให้ “ลาวถือเป็นประเทศที่ถูกทิ้งระเบิดอย่างหนักที่สุดในโลกในอัตราต่อหัวประชากร” จากข้อมูลของเว็บไซต์ Legacies of War องค์กรที่สร้างความตระหนักเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การทิ้งระเบิดในยุคสงครามเวียดนามในประเทศลาว และสนับสนุนการกวาดล้างระเบิดที่ยังไม่ระเบิด 3. ย้อนกลับไปในช่วงสงครามเวียดนาม ขณะที่สหรัฐกำลังรบในเวียดนามอยู่นั้น ในลาวก็เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นมาด้วยระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์หรือ “ขบวนการปะเทดลาว” ที่เอียงไปทางเวียดนามและฝ่ายรัฐบาลราชอาณาจักรลาวที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ ทำให้ลาวถูกดึงเข้าสู่ความขัดแย้งครั้งใหญ่ กลายเป็นสงครามที่เรียกว่า “สงครามลับ” ในลาว 4. จากข้อมูลของ Legacies of…

เปิดวิธีสกัด ภัยไซเบอร์ ให้อยู่หมัด!! รับเทศกาลวันหยุด

Loading

เปิดกลโกง ภัยไซเบอร์ เทศกาลวันหยุด ชี้การกระทำที่ไม่ระมัดระวังอาจทำให้นักท่องเที่ยวพบกับภัยคุกคามออนไลน์ ติดมัลแวร์ ตกเป็นเหยื่อของการฉ้อโกงหรือภัยคุกคามทางไซเบอร์อื่นๆ เช่น กลโกงและฟิชชิ่งการจองห้องพัก แบงก์กิ้งโทรจัน ไวไฟสาธารณะ คิวอาร์โค้ดอันตราย !!! ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวที่คึกคักที่สุดของปี นักเดินทางจำนวนมากต่างพากันเดินทางไปพักผ่อนตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ ตลอดจนการมาเยือนของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้รับวัคซีนครบถ้วนภายใต้เงื่อนไขที่ผ่อนผันมากขึ้น นักท่องเที่ยวต่างตั้งหน้าตั้งตารอวางแผนการเดินทางและใช้เวลาพักผ่อนในวันหยุด มองหาโรงแรมที่พักและร้านอาหารที่ดีที่สุด หลายคนรีบจ่ายค่าจองเพราะข้อเสนอกำลังจะหมดอายุ อีกทั้งใช้ Wi-Fi สาธารณะขณะเดินทางเพื่อติดต่อกับเพื่อนและครอบครัว ส่งอีเมล และสแกนจ่ายค่าอาหาร อย่างไรก็ตาม ในแง่มุม การรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ การกระทำที่ไม่ระมัดระวังอาจทำให้นักท่องเที่ยวพบกับภัยคุกคามออนไลน์ ติดมัลแวร์ ตกเป็นเหยื่อของการฉ้อโกงหรือภัยคุกคามทางไซเบอร์อื่นๆ ซึ่งเป็นเรื่องแย่อยู่แล้ว แต่หากพบเหตุการณ์ขณะเดินทาง สถานการณ์ดูจะยิ่งเลวร้ายมากขึ้น นางสาวเบญจมาศ จูฑาพิพัฒน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “เราอยากเห็นคนไทยได้สนุกสนานผ่อนคลายกับการท่องเที่ยวในวันหยุด และยังสามารถเพลิดเพลินกับประสบการณ์อินเทอร์เน็ตได้อย่างสะดวกและปลอดภัยไปพร้อมๆ กัน ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของคุณและสมาชิกในครอบครัว โปรดระแวดระวังและปฏิบัติตามคำแนะนำในการท่องเที่ยวและมีสุขอนามัยทางไซเบอร์อยู่เสมอ” ต่อไปนี้คือภัยคุกคามออนไลน์ต่างๆ และคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้ กลโกงและฟิชชิ่งการจองห้องพัก การปลอมเว็บไซต์ตัวแทนท่องเที่ยว การทำโคลนเลียนแบบเว็บไซต์โรงแรมยอดนิยม หรือแม้แต่เว็บไซต์โครงการของรัฐนั้นไม่ยากเลย เว็บเหล่านี้จะมีหน้าตาเหมือนบริการออนไลน์อื่นๆ ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือนักท่องเที่ยว ข้อแตกต่างเพียงอย่างเดียวคือเป็นการจ่ายเงินให้นักต้มตุ๋นแทนที่จะเป็นโรงแรมหรือสายการบิน คุณจะได้รับอีเมลหรือข้อความยืนยันการจ่ายเงิน แต่ไม่สามารถเข้าพักหรือใช้ตั๋วได้จริง คำแนะนำ…

Digital ID ไทยพร้อมแค่ไหน? เมื่อชีวิตในโลกยุคใหม่ต้องง่ายขึ้น

Loading

  รอบสัปดาห์ที่ผ่านมา เรื่องของ Digital Identity หรือ Digital ID นับว่าได้รับความสนใจจากสังคมพอสมควร ถึงทิศทางที่ไทยจะก้าวไปสู่การยืนยันตัวตนด้วยระบบดิจิทัลต่างๆ การประกาศยกเลิกรับสำเนาบัตรประชาชน เป็นอีกหนึ่งการเริ่มต้นที่ Digital ID จะก้าวเข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้น รอบสัปดาห์ที่ผ่านมา เรื่องของ Digital ID นับว่าได้รับความสนใจจากสังคมพอสมควร ถึงทิศทางที่ประเทศไทยจะก้าวไปสู่การยืนยันตัวตัวด้วยระบบดิจิทัลต่างๆ การประกาศยกเลิกจอสำเนาบัตรประชาชน ก็เป็นอีกหนึ่งการเริ่มต้นที่ Digital ID จะก้าวเข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้น สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ เอ็ตด้า สังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่ร่วมขับเคลื่อน Digital ID ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย ‘ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์’ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือดีอีเอส กล่าวว่า ปัจจุบัน โลกกำลังขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ต่างผันตัวเองเข้าสู่ระบบและบริการดิจิทัลอย่างเห็นได้ชัด หลาย ๆ หน่วยงานแชร์ทรัพยากร ข้อมูล รวมถึงเอกสารผ่านทางคลาวด์กันอย่างแพร่หลาย สอดคล้องกับผลสำรวจพฤติกรรมและทัศนคติของประชาชนโดย ETDA ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ต้องการช่องทาง…

เมื่อองค์กรต้องดูแลระบบ ‘ไซเบอร์ ซิเคียวริตี้’ จำนวนมาก

Loading

  ความท้าทายส่วนหนึ่งคือ ขาดข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับทรัพย์สินที่สำคัญขององค์กร ยิ่งภัยคุกคามทางไซเบอร์พัฒนาไปเท่าไหร่ องค์กรก็ยิ่งต้องติดตั้งระบบไซเบอร์ซิเคียวริตี้มากขึ้นเท่านั้น แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือระบบเหล่านี้มีจำนวนมากเกินกว่าที่องค์กรจะดูแลไหว ทำให้องค์กรส่วนมากดึงดูดแฮกเกอร์ด้วยช่องโหว่อันเปิดกว้างที่เกิดจากการมีเครื่องมือจำนวนมาก การขาดทัศนวิสัยในทรัพย์สินที่สำคัญ (Key Asset) และการดูแลระบบ Cyber Security ที่ผิดที่ผิดทางครับ ล่าสุดผู้พัฒนาโซลูชั่นด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ได้จัดการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารที่ดูแลด้านการรักษาความปลอดภัยองค์กรในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรจำนวน 1,200 คนในอุตสาหกรรมต่างๆ พบว่า การเปลี่ยนไปใช้ระบบคลาวด์และการทำงานแบบระยะไกลหรือ Remote Working ส่งผลให้ในช่วงสองปีที่ผ่านมาองค์กรมีเครื่องมือรักษาความปลอดภัยที่ต้องจัดการเพิ่มขึ้นถึง 19% ทำให้มีรายงาน (Report) ที่ต้องตรวจสอบมากขึ้น จนเกิดเป็นช่องโหว่ในการมองเห็นและการควบคุมความปลอดภัยที่ยากต่อการปกปิด หนึ่งในสาม หรือคิดเป็น 36% ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่า พวกเขารู้สึกมั่นใจเป็นอย่างมากว่าสามารถพิสูจน์ได้ว่าการควบคุมความปลอดภัยต่างๆทำงานได้ตามที่กำหนดไว้ ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับคนส่วนใหญ่คิดเป็น 82% อ้างว่ารู้สึกประหลาดใจกับเหตุการณ์ด้านความปลอดภัย การฝ่าฝืนต่างๆ ที่หลบเลี่ยงการควบคุมเข้ามาได้ สองในห้าของผู้นำด้านความปลอดภัยยืนยันว่า พวกเขาเข้าใจเรื่องนี้และสามารถแก้ไขการควบคุมที่มีประสิทธิภาพต่ำกว่ามาตรฐาน พร้อมทั้งติดตามการพัฒนาระบบให้ดีขึ้นได้ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ หรือกว่า 60% ยอมรับว่า ยังไม่มั่นใจว่าจะสามารถควบคุมความปลอดภัยที่ออกแบบมาเพื่อรับมือกับมัลแวร์เรียกค่าไถ่ หรือ Ransomware ในระยะยาวได้ ความท้าทายส่วนหนึ่งของเรื่องนี้คือ การขาดข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับทรัพย์สินที่สำคัญขององค์กร เช่น ฐานข้อมูล อุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงอุปกรณ์ไอโอที…