เปิดแผน “ระบบเฝ้าระวัง” รับมือเหตุฉุกเฉิน-โรคอุบัติใหม่ในโรงงาน

Loading

  ฉายภาพแผนพัฒนาต้นแบบ “ระบบเฝ้าระวัง” เพื่อลดผลกระทบในโรงงานอุตสาหกรรม ด้วยนวัตกรรมภูมิสารสนเทศ-เทคโนโลยีอวกาศ พร้อมรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินด้านอุทกภัย ภัยพิบัติสารเคมี และโรคอุบัติใหม่ เสริมเกราะป้องกันโรงงานและชุมชน รุกแก้ปัญหาเชิงพื้นที่ต่อเนื่อง จากการที่โรงงานขนาดใหญ่มีแรงงานจำนวนมากและส่วนใหญ่เป็นแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน จึงมีความเสี่ยงที่จะทำให้แรงงานกลุ่มดังกล่าวแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 ได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งโรงงานขนาดใหญ่เมื่อเกิดภัยพิบัติทั้งจากสารเคมี หรือ อุทกภัยตามธรรมชาติ จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมในวงกว้าง การพัฒนา “ระบบการเฝ้าระวัง” จึงปัจจัยสำคัญที่จะทำให้สามารถเตือนภัยล่วงหน้า มีการตรวจสอบข้อมูลที่สามารถย้อนกลับเพื่อการป้องกันได้อย่างทันท่วงที ที่จะทำให้สามารถกำหนดมาตรการในการควบคุมการแพร่กระจายและลดผลกระทบได้ นางธัญวรัตม์ อนันต์ หัวหน้าฝ่ายภูมิสารสนเทศพื้นฐานแผนที่และความมั่นคง สำนักประยุกต์และบริหารภูมิสารสนเทศ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ จิสด้า ฉายภาพระบบต้นแบบที่พัฒนาขึ้น โดยนำหลักการของการวางระบบบริหารจัดการข้อมูลเชิงลึกเพื่อใช้ในการบริหารสถานการณ์ของระบบ iMAP มาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการลดผลกระทบในพื้นที่จังหวัดที่มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนแรงงานสูง หรือพูดง่ายๆก็คือการรวมในเรื่องของฐานข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมจากกรมโรงงานฯ มาผนวกกับข้อมูลเชิงพื้นที่ที่จิสด้ามี และใช้ในเรื่องของแพลตฟอร์มที่เป็นดิจิทัลมาช่วยให้การทำงานของโรงงานอุตสาหกรรมที่จะใช้เพื่อการเฝ้าระวังสถานการณ์ภัยต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1.ระบบต้นแบบเพื่อการเฝ้าระวังเพื่อลดผลกระทบของการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 2.ระบบต้นแบบการประเมินความเสี่ยงด้านภัยพิบัติกรณีจากการรั่วไหลของเคมี 3.ระบบต้นแบบการประเมินความเสี่ยงด้านภัยพิบัติ กรณีอุทกภัย เนื่องจากทุกสถานการณ์ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศทั้งสิ้น     โดยเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยซัพพอร์ตโรงงานอุตสาหกรรม ผ่านการเฝ้าระวังให้โรงงานมีการออกแนวทาง หรือ กำหนดมาตรการป้องกันและควบคุมที่เหมาะสม เพื่อป้องกันและลดผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจในพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรม ทั้งยังช่วยในการบริหารจัดการโรงงานอุตสาหกรรมทางทั้งด้านสิ่งแวดล้อม…

คำถามนี้ดีพี่ตอบให้: อยากใช้ e-Meeting ให้ปลอดภัย สอดคล้องตามกฎหมาย ต้องทำอย่างไร

Loading

  การระบาดของโควิด-19 ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงต่อวิถีชีวิตของผู้คน โดยเฉพาะการผลักดันให้เกิดการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งในชีวิตประจำวัน การทำงาน รวมถึงการขับเคลื่อนองค์กรของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งการส่งเสริม กำกับดูแล และเร่งพัฒนา เป็นภารกิจสำคัญของ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ Electronic Transactions Development Agency (ETDA) (เอ็ตด้า)​ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในช่วงวิกฤตนี้ จากเดิมมีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) [1] คือ จะจัดการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting) หรือประชุมออนไลน์ได้ หนึ่งในสามขององค์ประชุมต้องอยู่ในที่เดียวกันและต้องอยู่ในประเทศ ซึ่งในช่วงที่มีการระบาดอย่างรุนแรงทำแบบนั้นไม่ได้ กระทบไปถึงการประชุมของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ ๆ ETDA จึงพยายามหาช่องทางที่จะทำให้การประชุมออนไลน์ถูกต้องตามกฎหมาย โดย ณ ตอนนั้นมีการออก พระราชกำหนดว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563 [2] หรือ พ.ร.ก.e-Meeting ETDA จึงร่วมกับกระทรวงดิจิทัลฯ เร่งออกประกาศกระทรวงเกี่ยวกับมาตรฐานการประชุมออนไลน์ [3] ที่มั่นคงปลอดภัย รวมถึงเร่งทำระบบรับรองระบบการประชุมออนไลน์ให้กับผู้ให้บริการรายต่าง ๆ [4]…

“เบลนเดต้า” เผย “บิ๊กเดต้า” เสริมศักยภาพความปลอดภัยข้อมูล พ้นภัยไซเบอร์

Loading

  “เบลนเดต้า” เผยการนำ Big Data มาประยุกต์ใช้ในการทำโซลูชันด้านความปลอดภัยในข้อมูล เป็นกลยุทธ์สำคัญช่วยเพิ่มความสามารถให้กับองค์กรป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยการนำข้อมูลทั้งหมดที่บันทึกไว้ในแหล่งข้อมูลมาประมวลผล เพื่อทำการตรวจพิสูจน์หลักฐานทางดิจิทัล ปัจจุบันภัยคุกคามต่อความปลอดภัยในข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตหรือ“ภัยไซเบอร์” มีแนวโน้มที่จะมีความถี่เพิ่มมากขึ้นและสร้างความเสียหายให้กับองค์กร ธุรกิจ รวมไปถึงผู้บริโภคในวงกว้าง เนื่องจากผู้คนทั่วโลกต่างปรับตัวสู่ยุคดิจิทัลไลฟ์ ซึ่งวิกฤติโควิด-19 เปรียบเสมือนตัวเร่งให้ทั้งองค์กร ธุรกิจ และผู้คนต้องพึ่งพาเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น ขณะเดียวกันหลายองค์กรอาจยังไม่ได้มีการตรวจเช็กการวางระบบป้องกันความปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างรัดกุม ซึ่งส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในการถูกโจมตีทางไซเบอร์ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าระบบเพื่อโจมตีให้ข้อมูลเสียหาย การขโมยข้อมูลลูกค้าไปขายหรือใช้ในการหลอกลวงเพื่อสร้างความเสียหายต่อบุคคล     รวมทั้งการโจรกรรมข้อมูลเพื่อเรียกค่าไถ่ จากการศึกษาที่จัดทำโดย University of Maryland (2019) พบว่าคอมพิวเตอร์และเครือข่ายถูกโจมตีทุก ๆ 39 วินาที หรือมากถึง 2,244 ครั้งต่อวัน ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์อย่าง Packetlabs คาดการณ์ว่าสิ้นปี 2564 ความเสียหายจากภัยคุกคามไซเบอร์จะสร้างค่าใช้จ่ายทั่วโลกถึง 6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่น่ากังวลเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากภัยไซเบอร์อาจส่งผลเสียมหาศาลทั้งในด้านของความเสียหายต่อข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลธุรกิจ ข้อมูลด้านการเงิน ทรัพย์สินทางปัญญา สูญเสียค่าใช้จ่ายที่สูงในการกู้คืนข้อมูล ทำลายภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นที่มีต่อองค์กร รวมถึงส่งผลให้ธุรกิจเกิดการหยุดชะงัก ทั้งในแง่ของการทำงานภายในองค์กร การให้บริการลูกค้า หรือการผลิตสินค้า เป็นต้น    …

เมื่อเราอยู่ในยุคข้อมูลท่วมโลก

Loading

  สัปดาห์ก่อนผมไปเสวนาในรายการ Balance between Privacy and Security โดยสมาคมผู้ใช้ดิจิทัลไทย หรือ DUGA คำถามหลักของวงเสวนา คือ ระหว่างข้อมูลส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูล อะไรสำคัญกว่ากันหรือต้องสมดุลขนาดไหน?        ผมเริ่มอธิบายว่า ในทศวรรษที่ 21 จะเป็นยุคที่ข้อมูลมีค่ายิ่งกว่าทรัพย์สินใด ๆ โดยเฉพาะ “ข้อมูลส่วนบุคคล”(Data Privacy) ที่ถูกสกัดออกมาเก็บไว้ในรูปแบบต่าง ๆ สะสมไปเรื่อย ๆ ตั้งแต่วันแรกที่เราลืมตาดูโลกไปจนถึงวันสุดท้ายที่เราจากโลกนี้ไป หลังจากเราตายแล้วข้อมูลของเราก็จะยังอยู่ในโลกต่อไปตราบนานเท่านาน ไล่ตั้งแต่วันเดือนปีเกิด น้ำหนักแรกเกิด เลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน การได้รับวัคซีนในวัยเด็ก เบี้ยเด็กแรกเกิด โรงเรียนในแต่ละระดับ มหาวิทยาลัย วิชาที่ลงทะเบียน เกรดเฉลี่ย พอเข้าสู่วัยทำงาน ข้อมูลเราจะถูกสกัดออกมาเยอะมากเป็นพิเศษ       เช่น ที่อยู่ปัจจุบัน ภรรยา บุตร สถานที่ทำงาน อาชีพ รายได้…

CCTV ใช้อย่างไร ไม่ให้ผิด พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ

Loading

  กล้อง CCTV หรือกล้องวงจรปิดที่ใช้อย่างแพร่หลาย ย่อมส่งผลกระทบต่อความเป็นส่วนตัวของบุคคลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การใช้กล้อง CCTV (Closed-circuit television) หรือกล้องวงจรปิด เพื่อรักษาความปลอดภัยและป้องกันอาชญากรรม แต่ส่งผลกระทบต่อความเป็นส่วนตัวของบุคคลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้นั้นเป็นข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ถูกบันทึกภาพ ดังนี้ ผู้ใช้กล้อง CCTV จึงมีความจำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ) เพื่อจัดการให้การเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล) เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ในบทความนี้ ผู้เขียนแบ่งการใช้กล้อง CCTV เป็น 2 กรณี โดยแยกตามวัตถุประสงค์ของการใช้ ดังนี้ กรณีที่ 1 การใช้กล้อง CCTV เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือเพื่อกิจกรรมในครอบครัว ในกรณีการใช้กล้อง CCTV เพื่อรักษาความปลอดภัยของบ้านเรือนและสมาชิกในครอบครัวนั้น แม้ว่าข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลส่วนบุคคลก็ตาม แต่ก็เป็นข้อยกเว้นที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ ตามที่มาตรา 4(1) บัญญัติว่าพระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือเพื่อกิจกรรมในครอบครัวของบุคคลนั้นเท่านั้น กล่าวคือ ผู้ใช้กล้อง CCTV เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวสามารถประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยไม่ต้องพิจารณาถึงฐานในการประมวลผลตามกฎหมายแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม การใช้กล้อง…

การหยามผิวกับความแตกแยกในสหรัฐ | ไสว บุญมา

Loading

ผู้ติดตามข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์ในสหรัฐคงทราบแล้วว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาศาลในรัฐจอร์เจียตัดสินว่าชายผิวขาว 3 คนมีความผิดฐานฆ่าชายผิวดำ แต่วิบากกรรมของชาย 3 คนนั้นยังไม่จบ พวกเขาจะต้องขึ้นศาลของรัฐบาลกลางต่อไปในข้อหาฆ่าผู้อื่น เพียงเพราะสีผิวของผู้นั้นต่างกับของตน คดีเกิดจากเหตุการณ์สยองขวัญในช่วงต้นปีที่แล้ว เมื่อผู้ตายวิ่งออกกำลังกายผ่านไปในย่านของคนผิวขาว ฆาตกรดังกล่าวใช้รถกระบะ 2 คันไล่เขาไปตามถนนจนเขาจนมุมจึงยิงเขาตาย ทั้งที่มีหลักฐานแจ้งชัด แต่ตำรวจไม่ยอมจับชาย 3 คนนั้นเพราะอัยการผิวขาวเข้าข้างฆาตกร เมื่อเรื่องถูกเผยแพร่ออกมา ฆาตกรจึงถูกจับดำเนินคดี อัยการที่เข้าข้างฆาตกรกำลังอยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีเช่นกัน ในปัจจุบัน เหตุการณ์อันเนื่องมาจากการหยามผิวยังเกิดขึ้นบ่อยโดยเฉพาะทางภาคใต้ของสหรัฐ เรื่องนี้อาจเป็นที่แปลกใจของคนจำนวนมากเนื่องจากสหรัฐประกาศเลิกทาสโดยการจารึกไว้ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาแล้ว 156 ปีและมีกฎหมายให้คนผิวทุกสีมีสิทธิ์เท่าเทียมกันมาแล้ว 55 ปี แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญและการตรากฎหมายใหม่เปลี่ยนใจของคนผิวขาวจำนวนมากไม่ได้เพราะในบ้านยังสอนให้ลูกหลานหยามผิว คดีที่อ้างถึงเป็นตัวอย่างชั้นดีของประเด็นนี้เพราะฆาตกร 2 คนเป็นพ่อกับลูก การหยามผิวของชาวอเมริกันผิวขาวเป็นมรดกตกทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษที่ไปบุกรุกและบุกเบิกแผ่นดินในทวีปอเมริการวมทั้งส่วนที่อยู่ในครอบครองของชาวพื้นเมืองผิวคล้ำอยู่ก่อนแล้ว แรงงานที่ใช้ในการบุกเบิกส่วนหนึ่งได้มาจากคนผิวดำที่ถูกจับจากแอฟริกาไปขายในฐานะทาส คนผิวขาวเอาชนะชาวพื้นเมืองผิวคล้ำและคนผิวดำได้เนื่องจากมีเทคโนโลยีที่เหนือกว่า ประเด็นนี้มีข้อมูลสนับสนุนอยู่ในหนังสือชื่อ Guns, Germs and Steel (มีบทคัดย่อภาษาไทยอยู่ในเว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนา www.bannareader.com) การมีเทคโนโลยีที่เหนือกว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้คนผิวขาวหยามคนผิวอื่นถึงขนาดไม่นับเป็นคน แนวคิดนี้แสดงออกมาเป็นที่ประจักษ์เมื่อพวกเขาประกาศแผ่นดินที่บุกรุกและบุกเบิกใหม่เป็นประเทศเอกราชเมื่อปี 2319 กล่าวคือ รัฐธรรมนูญของสหรัฐไม่นับทาสและชาวพื้นเมืองดั้งเดิมเป็นคนยังผลให้ข้อความในรัฐธรรมนูญที่เขียนว่า “คนทั้งหมดเกิดมาเท่าเทียมกัน” (all men are created equal) เป็นเพียงข้อความหลอกลวงเพราะมันหมายถึงเฉพาะคนผิวขาวเท่านั้น ลูกหลานของชาวผิวขาวส่วนหนึ่งจึงยึดแนวคิดแสนประหลาดนั้นมาจนทุกวันนี้…