Sophos เผย แฮกเกอร์ใช้เวลาแฝงตัวในระบบนานขึ้น 36%

Loading

  รายงาน Active Adversary Playbook 2022 จาก Sophos เผย ผู้โจมตีใช้เวลาอยู่ในระบบเพิ่มขึ้น 36% โดยอาศัยช่องโหว่ของ ProxyLogon และ ProxyShell และการซื้อข้อมูลใช้ในการล็อคอินจาก Initial Access Brokers แม้การใช้ Remote Desktop Protocol (RDP) สำหรับการเข้าบุกรุกจากภายนอกจะลดลง แต่ผู้โจมตีได้เพิ่มการใช้ RDP สำหรับ Lateral Movement ภายในองค์กรมากขึ้น โซฟอส (Sophos) บริษัทผู้นำด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ยุคใหม่ระดับโลก เปิดรายงาน Active Adversary Playbook 2022 ซึ่งเผยรายละเอียดพฤติกรรมของผู้โจมตีที่ทีมตอบสนองอย่างฉับพลัน (Rapid Response) ของโซฟอส วิเคราะห์ได้ในปี 2564 โดยผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า เวลาที่ผู้โจมตีใช้อาศัยอยู่ในระบบเพิ่มขึ้น 36% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย 15 วันในปี 2564 และ 11 วันในปี…

ญี่ปุ่นอลหม่านวันสัญญาณดับ รพ.หน่วยกู้ภัยป่วนหนัก

Loading

  ชาวญี่ปุ่นเผชิญความปั่นป่วน หลังจากเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่สัญญาณล่มนานกว่า 2 วัน ส่งผลกระทบต่อประชาชนกว่า 40 ล้านคน KDDI ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์รายหลักของญี่ปุ่น ระบุว่า บริการการสื่อสารเกือบทั้งหมดทั้งสัญญาณอินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์เสียงกลับมาใช้งานได้แล้วในช่วงบ่ายวันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม หลังจากเกิดเหตุขัดข้องรุนแรงกว่า 2 วัน เหตุขัดข้องครั้งใหญ่นี้เกิดขึ้นตั้งแต่วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม เป็นเวลานานกว่า 62 ชั่วโมง ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้งานมากกว่า 40 ล้านคน รวมถึงบริการที่เกี่ยวข้องทั้งแอปพลิเคชันต่างๆ การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ระบบแผนที่นำทาง ไปจนถึงระบบฉุกเฉินของโรงพยาบาลและหน่วยกู้ภัยต่างๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชน หนุ่มญี่ปุ่นวัย 34 ซึ่งเดินทางมาทำธุระต่างเมืองได้รับข้อความให้ “โทร.กลับด่วน” แต่เขาไม่สามารถใช้โทรศัพท์ได้เพราะสัญญาณล่ม เขาต้องวุ่นวายเพื่อหาโทรศัพท์สาธารณะอยู่นานจึงจะติดต่อธุระได้ เขาบอกว่าจำไม่ได้ว่าครั้งสุดท้ายที่ใช้โทรศัพท์สาธารณะคือเมื่อไหร่ นักศึกษาอีกกลุ่มหนึ่งนี่นัดหมายกันที่ย่านชิบุยะ ใจกลางกรุงโตเกียว พบว่าไม่สามารถติดต่อกันผ่านแอปไลน์ได้ และเมื่อหาโทรศัพท์สาธารณะได้แล้ว พบว่าไม่ได้บันทึกเบอร์โทรศัพท์ของเพื่อนเอาไว้ เพราะวัยรุ่นอย่างพวกเขาติดต่อกันผ่านแอปเท่านั้น ผู้ใช้งานเครือข่าย KDDI ยังพบกับความยุ่งยากเมื่อไม่สามารถใช้แผนที่นำทาง และชำระเงินผ่านแอปไม่ได้   ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในญี่ปุ่น ติดประกาศเรื่องสัญญาณล่มที่ด้านหน้าร้าน ระบบสื่อสารเกี่ยวพันถึงชีวิต เจ้าหน้าที่ของคลินิกอิโต โอจิ…

ทุกคนเชื่อ “ทฤษฎีสมคบ” | วรากรณ์ สามโกเศศ

Loading

  เรื่องราวแนว “ทฤษฎีสมคบ” มีคนจำนวนมากในโลกเชื่อ ถึงแม้ตัวเราเองก็ตามเถอะ หากซื่อสัตย์กับตัวเองก็ต้องยอมรับว่าเชื่ออยู่บ้างเหมือนกัน ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดอะไรเพราะจิตวิทยาของมนุษย์เป็นเช่นนั้น ยกตัวอย่างเรื่องราวแนว “ทฤษฎีสมคบ” เช่น เอลวิส เพรสลีย์ ยังไม่ตาย , CIAเป็นผู้วางแผนเหตุการณ์ 9/11 , อเมริกาลวงโลกไม่ได้ถึงดวงจันทร์จริง , มนุษย์ต่างดาวมีจริง , ผู้มีอิทธิพลในโลกสมคบกันควบคุมเศรษฐกิจและการเมืองโลก , แตงโมถูกฆ่าตายอย่างทารุณ ฯลฯ เมื่อพูดถึง Conspiracy Theory หรือ “ทฤษฎีสมคบ” คนส่วนใหญ่มักเห็นภาพคนประหลาด หัวต่อต้านสังคม ผมยาว นั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ใช้อินเทอร์เน็ต วันๆ สร้างเรื่องราวบ้าๆ บอๆ หลอกชาวโลก แต่หนังสือ Suspicious Minds (2015) โดย Rob Brotherton ชี้ให้เห็นว่าเป็นความเข้าใจผิด ความเชื่อแปลกๆ เหล่านี้มาจากคนจำนวนมากที่อยู่รอบตัวเรารวมทั้งตัวเราเองด้วย ลองมาดูกันว่าเรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ในเบื้องแรกเรื่องราวจาก “ทฤษฎีสมคบ” เป็นผลพวงจากการไม่มีคำตอบอย่างครบถ้วนให้แก่คำถามสำคัญที่อยู่ในใจของผู้คนหรือคำตอบไม่จุใจ หรือไม่เชื่อบางส่วนของคำตอบที่มาจากทางการ หรือมีบางหลักฐานที่ไม่สอดคล้องกับคำตอบหรือคำอธิบายที่ได้รับมา ดังนั้น…

นักวิชาการวิศวะมหิดล ชี้ 9 ข้อเสนอแนะ บทเรียนไฟไหม้…ระวังภัยหม้อแปลงไฟฟ้า

Loading

  หลังจากเกิดเหตุเพลิงไหม้หม้อแปลงไฟฟ้าระเบิด ณ อาคาร 3 ชั้น ย่านสำเพ็ง ถนนราชวงศ์ มีผู้เสียชีวิต 2 ราย บาดเจ็บนับสิบ ไฟไหม้อาคารและรถเสียหาย เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ซึ่งอยู่ระหว่างการพิสูจน์หลักฐานหาสาเหตุนั้น อีกไม่กี่วันต่อมายังเกิดเหตุระทึกประกายไฟลัดวงจรหม้อแปลงไฟฟ้าใหญ่กว่าตัวเดิมที่ปากซอยวานิช 1 ซึ่งอยู่ห่างจากที่เดิม 50 เมตร     แม้จะไม่มีผู้บาดเจ็บ แต่เกิดคำถามจากประชาชนว่า ทำอย่างไรจะให้หม้อแปลงไฟฟ้าที่มีอยู่ทั่วเมืองนั้นอยู่กับเราได้อย่างมั่นคงปลอดภัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ดร.สุพรรณ ทิพย์ทิพากร หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวะมหิดล เผย 9 ข้อเสนอแนะแก้ไขแก่หน่วยงาน และ 6 ข้อแนะนำแก่ประชาชนที่อยู่ใกล้หม้อแปลงไฟฟ้า ในประเทศไทยใช้ หม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer) เพื่อทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟฟ้าแรงสูงให้เป็นแรงดันไฟฟ้าสำหรับการใช้งานในครัวเรือน 2 แบบ คือ 1) แรงดันไฟฟ้าแบบ 3 เฟส (Three – Phase Transformer)…

ส่องอนาคตดิจิทัลไทยอีก 10 ปี กำหนดทิศทางขับเคลื่อน ศก.ไทย

Loading

เทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามาเปลี่ยนวีถีชีวิตและพฤติกรรมของคนในหลายด้าน และมีบทบาทช่วยขับเคลื่อน เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลอย่างมาก ทำให้หลายๆประเทศ ต้องมองภาพอนาคต หรือ ฟอร์ไซท์ (Foresight) เพื่อเป็นข้อมูลกำหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศ อย่างเช่นประเทศฟินแลนด์ ที่เป็นผู้นำในการทำ Foresight ได้นำกระบวนการมาช่วยในการวางนโยบายการ ดำเนินงานของภาครัฐและเอกชน เพื่อเตรียมรับมือกับกความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น และให้รู้เท่าทันและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น!! สำหรับประเทศไทยทาง สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ เอ็ตด้า ก็ได้จัดตั้ง ฟอร์ไซท์ เซ็นเตอร์ บาย เอ็ตด้า (Foresight Center by ETDA)  ขึ้นเพื่อป็นหน่วยงานที่ช่วยศึกษาการจัดทำภาพฉายอนาคต หรือ (Foresight Research) เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ขึ้น โดยความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ สำนักงานสภาพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) และผู้ให้บริการ โทรคมนาคม ภาคการเงินต่างๆ โดยทำการศึกษาภาพอนาคตในยุคดิจิทัล เพื่อให้ประเทศเตรียมพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัล ได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น!! ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ เอ็ตด้า บอกว่า ด้วยเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งเรื่องปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ และเมตาเวิร์ส ที่จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น จึงมีคำถามว่า ต้องมีการออกกฎหมาย และวางแนวทางกำกับหรือไม่? ภาพอนาคตต่อจากนี้ 10 ปี จะก่อให้เกิดผลดี…

ไขปม PDPA ทุกมิติ ควรตระหนักแบบไม่ตระหนก (Cyber Weekend)

Loading

  ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ‘ข้อมูล’ เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับองค์กรธุรกิจเอกชน และหน่วยงานภาครัฐ ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาแอปพลิชัน เพื่อให้บริการได้ตรงตามความต้องการของลูกค้าและประชาชน   แต่เมื่อเกิดกระแสบ่อยครั้งว่าข้อมูลที่ได้จากลูกค้าหรือประชาชนเกิดการ ‘หลุด’ ไปอยู่ในกลุ่มคนไม่หวังดีที่หวังผลทางธุรกิจหรือไม่ใช่ธุรกิจก็ตาม ทำให้ลูกค้าหรือประชาชนเริ่มไม่ค่อยมั่นใจเวลาจะต้องให้ข้อมูลส่วนตัวกับองค์กรธุรกิจหรือภาครัฐ ซึ่งเป็นที่มาทำให้เกิด พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชน   ทว่า ทันทีที่ PDPA มีผลบังคับใช้ กลับเกิดกระแสความเข้าใจผิด ด้วยบทลงโทษที่รุนแรง เช่น โทษทางอาญา จำคุกสูงสุด 1 ปี หรือโทษทางปกครองที่ปรับได้ถึง 5 ล้านบาท จึงเกิดดรามาต่างๆ ขึ้นจากความไม่รู้ เช่น ห้ามถ่ายภาพติดคนอื่นในโซเชียล ห้ามติดกล้องวงจรปิด มีการนำ PDPA กล่าวอ้างเพื่อจะฟ้องร้องกันหลายกรณี ในขณะที่ธุรกิจเอสเอ็มอีต่างก็ตื่นกลัวว่าจะสามารถทำตามกฎหมาย PDPA ได้หรือไม่ เพราะการเก็บข้อมูลไม่ให้รั่วไหลต้องใช้เงินลงทุนจำนวนไม่น้อย   ชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ (ITPC) สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จึงได้จัดงานเสวนาจิบน้ำชา ‘ไขข้อข้องใจ PDPA ในทุกมิติ’ เพื่อสร้างความกระจ่างชัดให้สังคมที่กำลังสับสน    …