ไม้ง่ามสยบคลั่งหลบไป.. ‘ปืนช็อตไฟฟ้า’อาวุธใหม่ตำรวจไทย

Loading

  สน.รอตรวจ โดย บิ๊กสลีป ว่าด้วยเรื่อง ปืนช็อตไฟฟ้า อาวุธใหม่ของตำรวจไทย ทำให้ไม้ง่ามที่เป็นอาวุธสยบคลั่งดั้งเดิมต้องตกรุ่นไปทันที คงจะผ่านตากันมาบ้างแล้ว สำหรับ ปืนช็อตไฟฟ้า (Taser Gun) อาวุธใหม่ของตำรวจไทยที่นำมาใช้ในการป้องกันเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนผู้บริสุทธิ์ มันสามารถสยบคนที่กำลังคลุ้มคลั่งให้สิ้นฤทธิ์หมดแรงลงได้     ยกตัวอย่างเหตุการณ์เมื่อวันที่ 13 ต.ค. เกิดเหตุ พระนาวิน หงส์ทอง อายุ 30 ปี มีอาการคลั่งยาเสพติด อาละวาดทำลายข้าวของในกุฏิวัดรางทอง อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี ในช่วงเวลานั้นพระในวัดต่างหวาดกลัวไม่กล้าเข้าใกล้ เมื่อตำรวจ สภ.บางปลาม้า ไปถึง ก็เข้าไปไม่ถึงตัวเช่นกัน เพราะ พระนาวิน ยังถือไม้คมแฝกเอาไว้ในมือพร้อมทำร้ายตลอดเวลา ช่วงจังหวะที่เผลอตำรวจตัดสินใจใช้ ปืนไฟฟ้า ยิงเข้าไปบริเวณลำตัวด้านหลังทำให้ พระนาวิน ล้มทั้งยืน ก่อนที่ตำรวจจะรุมเข้าไปล็อกตัวไว้ได้ โดยที่ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บหรือเป็นอันตราย     หรือจะเป็นเหตุการณ์ที่โรงแรมในซอยเจริญกรุง 44 เขตบางรัก เมื่อวันที่ 22 ต.ค. นายกำพล นากระโทก…

หน้าที่จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม

Loading

  พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กำหนดให้องค์กรมีหน้าที่จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสมเป็นหน้าที่ของ “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” และ “ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล” ซึ่งการไม่มีมาตรการที่เหมาะสมอาจมีความรับผิดตามที่กฎหมายกำหนด พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กำหนดให้องค์กรมีหน้าที่ ดังนี้ 1.ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล มีหน้าที่จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญหาย เข้าถึง ใช้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากอำนาจหรือโดยมิชอบ และต้องทบทวนมาตรการดังกล่าวเมื่อมีความจำเป็นหรือเมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามมาตรฐานขั้นต่ำที่คณะกรรมการประกาศกำหนด (มาตรา 37(1))   2.ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล มีหน้าที่แจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลแก่สำนักงานโดยไม่ชักช้าภายใน 72 ชั่วโมง นับแต่ทราบเหตุเท่าที่จะสามารถกระทำได้ เว้นแต่การละเมิดดังกล่าวไม่มีความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ในกรณีที่การละเมิดมีความเสี่ยงสูงที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ให้แจ้งเหตุการละเมิดให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบพร้อมกับแนวทางการเยียวยาโดยไม่ชักช้าด้วย ทั้งนี้ การแจ้งดังกล่าวและข้อยกเว้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนด (มาตรา 37(4))   3.ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล มีหน้าที่จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญหาย เข้าถึง ใช้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยปราศจากอำนาจหรือโดยมิชอบ รวมทั้งแจ้งให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลทราบถึงเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลที่เกิดขึ้น (มาตรา 40(2)) จากกฎหมายที่เกี่ยวข้อง…

ความเป็นส่วนตัว กับ ความปลอดภัย เป็นสิ่งเดียวกันหรือไม่ ? อะไรคือความแตกต่าง

Loading

  ความเป็นส่วนตัว กับ ความปลอดภัย เป็นสิ่งเดียวกันหรือไม่ ? หลังทุกคนส่วนใหญ่ใช้อินเทอร์เน็ต ทำงาน ฟังเพลง เล่นเกม คุย แบบออนไลน์ ความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัยเป็นของคู่กัน มักใช้สลับกันได้ แต่ก็ไม่ถูกต้องนัก แม้ว่าความเป็นส่วนตัวและการไม่เปิดเผยตัวตนอาจช่วยให้ตัวเองมีความปลอดภัยที่ดีขึ้น แต่ก็ไม่เหมือนกับความปลอดภัย บทความนี้้จะพูดถึง 2 คำที่พูดบ่อยและใกล้ตัวคือความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยในโลกออนไลน์กัน ทำไมคุณถึงต้องการทั้งสองอย่าง และสิ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อความปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ตของตัวคุณเอง   ความเป็นส่วนตัว กับ ความปลอดภัย เป็นสิ่งเดียวกันหรือไม่ ? ความเป็นส่วนตัว หมายถึงการควบคุม ที่คุณมีต่อข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ และวิธีการใช้ข้อมูลนั้น ข้อมูลส่วนบุคคลคือข้อมูลใดๆ ที่สามารถมาใช้เพื่อระบุตัวตนของคุณได้ ความปลอดภัย หมายถึงการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ   ไม่ว่าคุณจะเลือกแชร์บางอย่างในโปรไฟล์โซเชียลมีเดียหรือไม่ก็ตาม เป็นเรื่องของความเป็นส่วนตัว แพลตฟอร์ม เช่น Facebook ปกป้องข้อมูลที่คุณต้องการให้ดีเพียงใดเพื่อให้คุณสามารถใช้แพลตฟอร์มได้นั้นเป็นเรื่องของการรักษาความปลอดภัย   สมมติว่าคุณเปิดบัญชีเช็คใหม่ที่ธนาคารในพื้นที่ของคุณ คุณต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณกับธนาคารนั้นซึ่งเก็บไว้ในไฟล์เพื่อเปิดบัญชีนั้น หากคุณใช้บัญชีนั้นต่อไปโดยไม่มีการละเมิดข้อมูล แสดงว่าคุณได้รักษาความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยไว้ อย่างไรก็ตาม หากธนาคารขายข้อมูลของคุณให้กับผู้โฆษณาที่เป็นบุคคลที่สาม ข้อมูลความเป็นส่วนตัวของคุณจะถูกบุกรุก แม้ว่าธนาคารนั้นจะยังคงรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของคุณให้ปลอดภัยจากผู้โจมตีภายนอก หากเกิดการรั่วไหลของข้อมูลและผู้โจมตีทางไซเบอร์ได้ข้อมูลของคุณ ทั้งความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของคุณจะถูกแฮกเกอร์บุกรุก…

วิธีสั่งล้างข้อมูลจากระยะไกล กรณีโน๊ตบุ๊คถูกขโมย

Loading

วิธีสั่งล้างข้อมูลจากระยะไกล กรณีโน๊ตบุ๊คของเราหาย ทั้งนี้ เพื่อป้องกันอุปกรณ์ของเราไม่ให้ไฟล์สำคัญรั่วไหล ขอแนะนำให้ตั้งรหัสผ่านเปิดคอมที่รัดกุม การเปิดใช้งานการตรวจสอบสิทธิ์แบบสองปัจจัย เป็นต้น จะเกิดอะไรขึ้นหากแล็ปท็อปของคุณสูญหายหรือถูกขโมย ในกรณีเช่นนี้ หากไม่มีการป้องกันที่เหมาะสม ก็อาจทำให้เกิดปัญหามากมาย ไฟล์สำคัญ ข้อมูลทางการเงิน ความลับส่วนบุคคลของคุณจะตกอยู่ในอันตราย ดังนั้นควรตั้งค่าให้สามารถล้างข้อมูลจากระจะไกล ได้ด้วยซึ่ง Microsoft ไม่มีคุณสมบัติดังกล่าว   วิธีสั่งล้างข้อมูลจากระยะไกล จากแล็ปท็อป ที่สูญหายหรือถูกขโมย คุณสามารถเปิดใช้ Find My Device บน Windows อย่างไรก็ตาม จะไม่ยอมให้คุณล้างข้อมูลในกรณีที่ข้อมูลสูญหาย ขั้นตอนต่อไปนี้ แนะนำวิธีในการล้างข้อมูลคอมพิวเตอร์ Windows จากระยะไกล   1. เปิดใช้งานคุณสมบัติค้นหาอุปกรณ์ของฉัน Find My Device Find My Device มีเฉพาะใน Windows 10/11 เท่านั้น คุณลักษณะนี้ช่วยให้คุณสามารถระบุตำแหน่งอุปกรณ์ที่สูญหายหรือถูกขโมยได้ คุณสามารถใช้เพื่อล็อคอุปกรณ์ของคุณหรือลบข้อมูลจากระยะไกล            …

Metaverse กฎหมายและอนาคตในโลกคู่ขนาน

Loading

  ผู้เขียนขอจินตนาการถึงอนาคตกับสิ่งที่นวัตกรรมสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้น ในวันนี้แม้เราจะยังไม่ได้สัมผัสโลก Metaverse อย่างเต็มรูปแบบ แต่เชื่อว่าในอีกไม่นาน โลกคู่ขนานอีกใบจะถูกสร้างขึ้นในลักษณะ “เสมือน” ซึ่งเป็นสิ่งท้าทายกฎระเบียบในโลกกายภาพเป็นอย่างมาก   อะไรคือ Metaverse หากพิจารณาในเชิงนิยาม Metaverse แปลว่า “Beyond the Universe” ซึ่งเป็นการรวมคำของ “Meta” ที่หมายถึง “เหนือขอบเขต” และ “Universe” ที่หมายถึง “จักรวาล” ดังนั้น โลก Metaverse คือความพยายามของบริษัทเทคโนโลยีต่างๆ ที่จะสร้างโลกเสมือนอีกใบ (Virtual World) เพื่อให้คนในโลกกายภาพสามารถเข้าถึงและมีกิจกรรมต่างๆ ในโลกเสมือนได้ ผ่านการเชื่อมโยงของระบบอินเทอร์เน็ต หรืออาจกล่าวได้ว่า องค์ประกอบของ Metaverse คือ 1) การใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้าง Digital Content ให้เป็นโลกอีกใบที่คู่ขนานกับโลกที่เราอยู่ 2) การเข้าถึงต้องใช้ฮาร์ดแวร์ดีไวซ์ต่างๆ (เช่น AR หรือแว่นตาเฉพาะ) เพื่อให้ User ที่อยู่ในโลกกายภาพสามารถเชื่อมต่อกับโลกเสมือนได้ 3) User…

“Public Eye” อัมสเตอร์ดัม สมาร์ทซิตี้ที่ความเป็นส่วนตัวคือเรื่องสำคัญ

Loading

กรุงอัมสเตอร์ดัม สมาร์ทซิตี้แถวหน้าของโลก พัฒนาระบบ “Public Eye” ขึ้นมาเพื่อจัดการกับความหนาแน่นในพื้นที่สาธารณะ ด้วยกล้องวงจรปิดและ AI “Public Eye” ทำงานอย่างไร จึงได้ชื่อว่าเป็นระบบ Crowd Monitoring ที่คิดถึงความเป็นส่วนตัวของผู้คนมาเป็นที่ 1   มหานครหลายแห่งของโลกได้วางแผนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่การเป็น Smart City กันมาหลายปีแล้ว อย่างเช่นที่ อัมสเตอร์ดัม เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นเมืองอันดับต้นของโลกที่ได้ชื่อว่าเป็นสมาร์ทซิตี้ที่ดีที่สุด อัมสเตอร์ดัมได้วางรากฐานการพัฒนาสู่เมืองอัจฉริยะมาตั้งแต่ปี 2009 อัมสเตอร์ดัมเป็นเมืองที่จำนวนนักท่องเที่ยวสูงกว่าพลเมืองเองมาก จากการคาดการณ์ในปี 2019 อัมสเตอร์ดัมจะมีพลเมืองมากกว่า 1 ล้านคนในปี 2040 และจะมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นมากจาก 18 ล้านคนต่อปีในปี 2018 เป็น 23 ล้านคนในปี 2023 (ไม่แน่ใจว่าโควิดจะเข้ามาเปลี่ยนตัวเลขนี้มากน้อยแค่ไหน) ด้วยตัวเลขความหนาแน่นนี้ อัมสเตอร์ดัมต้องรับมือด้วยกลยุทธ์หลายอย่าง ตั้งแต่การวางโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี ทั้งการโครงข่ายการจ่ายไฟฟ้าที่เสถียร เครือข่าย 5G ซึ่งทำงานร่วมกันกับระบบ Cloud และ AI ให้ทุกกระบวนการเดินไปอย่างราบรื่นและเสถียรที่สุด เพื่อการใช้งานระดับเมืองและบุคคลจะทำให้ชีวิตพลเมืองดีขึ้น…