ผู้นำองค์กรต้องเพิ่มกลยุทธ์ป้องกันการปลอมแปลงอัตลักษณ์บุคคล (Deep-Fake)

Loading

  เดือนมีนาคม 2562 ซีอีโอของบริษัทพลังงานแห่งหนึ่งในประเทศอังกฤษได้รับสายด่วนจากเจ้านายซึ่งเป็นผู้บริหารของบริษัทแม่ที่เยอรมนี โดยเจ้านายชาวเยอรมันสั่งให้ลูกน้องของเขาโอนเงินจำนวน 220,000 ยูโร (ประมาณ 8.5 ล้านบาท) ให้กับตัวแทนซัพพลายเออร์ในฮังการี ซึ่งต้องโอนเงินเป็นกรณีเร่งด่วนและต้องแล้วเสร็จภายใน 1 ชั่วโมง เนื่องจากซีอีโอชาวอังกฤษจำสำเนียงเยอรมันที่โดดเด่นของเจ้านายได้ดี เขาจึงรีบอนุมัติการโอนเงินในทันที ทว่าโชคร้ายที่ซีอีโอชาวอังกฤษไม่ได้คุยกับเจ้านายของเขา แต่กลับคุยกับปัญญาประดิษฐ์ที่เลียนเสียงและแอบอ้างตัวเป็นเจ้านายชาวเยอรมัน   องค์กรธุรกิจควรต้องตระหนกกับเหตุการณ์นี้หรือไม่? คำตอบคือทั้งใช่และไม่ใช่ ที่ธุรกิจต้องกังวลคือรูปแบบความซับซ้อนในการหลอกลวงที่ดูแนบเนียนและที่สำคัญเป็นการโจมตีที่ประสบความสำเร็จ แต่ที่ยังเบาใจได้คือมันยังต้องใช้ความพยายามและทรัพยากรอย่างมากในการจู่โจมรูปแบบนี้และเป้าหมายใหญ่อย่างบริษัทข้ามชาติ ซึ่งสิ่งนี้กำลังจะเปลี่ยนไป โดยเครื่องมือที่ใช้บิดเบือนข้อมูลสามารถขยายเป็นสองทางอย่างน่าทึ่ง อย่างแรก คือ มันทำให้ผู้ที่ไม่หวังดีใช้วิธีนี้จู่โจมได้ง่ายมากขึ้น แม้จะมีเปอร์เซ็นต์ความสำเร็จน้อยแต่สิ่งที่ได้มาก็คุ้ม อย่างที่สองเมื่อเทคโนโลยี Deep-Fake หรือการปลอมแปลงอัตลักษณ์ของบุคคลด้วยปัญญาประดิษฐ์ที่ทรงพลังและใช้ง่ายตกอยู่ในมือคนจำนวนมากที่ทำให้ใครก็ได้สามารถโจมตีเป้าหมายที่ต้องการไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม   เทคโนโลยีเอไอ (AI) และแมชชีนเลิร์นนิ่ง (Machine Learning) แทรกซึมอยู่ในธุรกิจและการสื่อสารสมัยใหม่ ซึ่งไม่น่าแปลกใจที่จะมีการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ไปในทางที่ผิดกฎหมาย การล่อลวงแบบดีปเฟก (Deepfakes) สามารถเป็นได้ทั้งเสียง รูปภาพ และวิดีโอที่ดูเสมือนจริงแต่กลับเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นด้วยเอไอ เหล่านี้เป็นปรากฏการณ์ครั้งล่าสุดของการบิดเบือนข้อมูลในแบบที่ RAND Corporation หน่วยงานด้านนโยบายระดับโลกของอเมริกา ได้อธิบายไว้ว่าเป็น “วัฒนธรรมการเสื่อมสลายของความจริง” (หรือ Truth Decay) เป็นพลวัตที่มีการถกเถียงอย่างมากถึงขอบเขตในด้านการเมืองและทฤษฎีสมคบคิด…

เมื่อคนไทยใช้โซเชียลมีเดียเป็นแหล่งข่าวมากที่สุดในโลก

Loading

    เปิดดูข้อมูลสถิติผลสำรวจการใช้ “โซเชียลมีเดีย” ของผู้คนในโลกจาก We are Social และ Hootsuite ซึ่งเป็นข้อมูล ณ เดือนกรกฎาคม 2564 พบว่าทั่วโลกมีคนใช้โซเชียลมีเดีย 4.48 พันล้านคน คิดเป็น 56.8% ของประชากรโลก เพิ่มขึ้นถึง 13.1% จากปีก่อน ซึ่งน่าจะเป็นผลพวงจากสถานการณ์โควิดด้วย เมื่อออกนอกบ้านกันไม่สะดวก โลกออนไลน์จึงคือคำตอบ โดย 99% เป็นการเข้าใช้ผ่านโทรศัพท์มือถือ และค่าเฉลี่ยของการเข้าใช้งานโซเชียลมีเดีย อยู่ที่ 2 ชั่วโมง 24 นาที ต่อวัน   ในบรรดาแพลตฟอร์มต่างๆ ทั่วโลก Facebook ยังคงมีผู้ใช้งานเป็นอันดับ 1 โดยมีจำนวนผู้ใช้งานถึง 2.853 พันล้านคน ตามมาด้วย YouTube ซึ่งมีผู้ใช้งานอยู่ที่ 2.291 พันล้านคน ข้อมูลที่น่าสนใจและออกจะน่าเป็นห่วงคือจากผลการสำรวจของกลุ่มตัวอย่างพบว่า ประเทศไทยและไนจีเรียมีการใช้โซเชียลมีเดียเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารมากเป็นอันดับ 1 ของโลก อยู่ที่…

เมื่อต้องแปลงสื่อ : จากกระดาษสู่เอกสารอิเล็กทรอนิกส์

Loading

    การปรับเปลี่ยนรูปแบบจากการทำงานเป็น WFH ส่งผลให้มีคำถามที่หลากหลายเกี่ยวกับวงจรเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับนี้จะหยิบยกบางประเด็นเกี่ยวกับการแปลงสื่อ “จากกระดาษสู่เอกสารอิเล็กทรอนิกส์” มาอธิบายให้ฟัง   การแปลงสื่อ : กระดาษ VS อิเล็กทรอนิกส์ การแปลงสื่อ หรือ เปลี่ยนรูปแบบของเอกสาร หมายความว่า เอกสารหรือข้อมูลที่จัดทำในรูปแบบกระดาษ ได้ถูกแปลงให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือในทางกลับกัน เอกสารหรือข้อมูลนั้นแรกเริ่มเดิมทีอาจอยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์และต่อมาได้ถูกจัดทำให้อยู่ในรูปแบบกระดาษ เช่น เอกสารรายงานฉบับหนึ่ง ขององค์กร A ถูกสร้างแบบกระดาษและได้ลงลายมือชื่อแบบปากกา ต่อมา เอกสารฉบับดังกล่าวถูกส่งไปยังองค์กร B ทางอีเมล ต่อมาเมื่อองค์กร B ได้รับจึงปริ้นต์ออกมาเพื่อเซ็นด้วยปากกา หรืออาจเซ็นแบบอิเล็กทรอนิกส์และส่งกลับไป ดังนั้น จะเห็นได้ว่า เอกสาร/ข้อความ อาจถูกแปลงรูปแบบระหว่างกระดาษและอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างทางตลอดการใช้งาน เหตุการณ์เช่นว่านี้ มักเกิดขึ้นในช่วงเปลี่ยนผ่าน (transition period) ที่วงจรเอกสารอาจยังไม่ได้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดตั้งแต่แรกสร้าง ดังนั้น ประเด็นจึงมีอยู่ว่า กฎหมายกำหนดหลักการในเรื่องเหล่านี้ไว้อย่างไร?   กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแปลงสื่อ กฎหมายธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ได้มีบทบัญญัติที่รองรับปัญหาที่อาจเกิดจากการแปลงสื่อตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น ซึ่งปรากฎอยู่ใน ม.10 (เอกสารต้นฉบับ และการรับรองสิ่งพิมพ์ออก)…

Named Data Networking (NDN): สถาปัตยกรรม Internet ใหม่ที่อาจมาแทน Internet Protocol ทั่วโลกในอีกหลายสิบปีข้างหน้า

Loading

  หนึ่งในเทคโนโลยีน่าจับตามองด้านระบบ Network ที่ถูกกล่าวถึงในรายงาน Gartner Hype Cycle for Emerging Technologies, 2021 นี้ก็คือ Named Data Networking หรือ NDN ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรม Internet รูปแบบใหม่ที่ถูกออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาที่ Protocol ต่างๆ ใน Internet กำลังเผชิญอยู่ในยุคปัจจุบัน ทั้งในแง่ของ Performance, Security, Efficiency และ Scalability ในบทความนี้ TechTalkThai เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับ Named Data Networking หรือ NDN กันโดยสังเขป เพื่อให้พอเห็นถึงแนวคิดในการออกแบบ NDN และวิธีการแก้ไขปัญหาที่ NDN นำเสนอ ให้ทุกท่านได้พอจินตนาการกันออกครับว่าหากโลกในอนาคตเปลี่ยนจากการใช้ IP ไปสู่ NDN กันจริงๆ แล้ว Network ที่เชื่อมโยง Internet ทั่วโลกเข้าด้วยกันนั้นหน้าตาจะเป็นยังไง…

เอฟบีไอเปิดเผยรายงานลับชิ้นแรกในโอกาสครบรอบ 20 ปี 9/11

Loading

World Trade Center   WASHINGTON — สำนักงานสืบสวนกลางของสหรัฐฯ หรือ เอฟบีไอ เปิดเผยรายงานที่ถูกยกเลิกชั้นความลับซึ่งเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนผู้ก่อการร้ายชาวซาอุดิอาระเบียสองคนที่จี้เครื่องบินเพื่อโจมตีสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 หรือเหตุการณ์ 9/11 เอกสารดังกล่าวระบุถึงการติดต่อระหว่างผู้จี้เครื่องบินกับพลเมืองชาวซาอุฯ ในสหรัฐฯ แต่มิได้มีหลักฐานว่าเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลซาอุฯ มีส่วนร่วมในการวางแผนก่อการร้ายครั้งนี้ เอกสารชิ้นนี้เปิดเผยในโอกาสครบรอบ 20 ปีเหตุการณ์ 9/11 ถือเป็นเอกสารการสืบสวนชิ้นแรกที่ได้รับการเปิดเผยต่อสาธารณชนนับตั้งแต่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน มีคำสั่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้วให้กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทบทวนเอกสารลับต่าง ๆ ว่าชิ้นไหนสามารถเปิดเผยได้หรือไม่ในช่วงหกเดือนข้างหน้า เอกสารความยาว 16 หน้า สรุปคำสัมภาษณ์ของเอฟบีไอเมื่อปี ค.ศ. 2015 ต่อชายผู้หนึ่งที่ติดต่อกับพลเมืองชาวซาอุฯ ในสหรัฐฯ ซึ่งให้การสนับสนุนผู้ก่อการร้ายให้เดินทางเข้าประเทศก่อนที่จะเกิดการโจมตี   แรงกดดันจากครอบครัวผู้เสียชีวิตใน 9/11 ปธน.ไบเดน ถูกกดดันจากครอบครัวของผู้เสียชีวิตที่ต้องการให้รัฐบาลเปิดเผยเอกสารลับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลซาอุฯ ในการโจมตี 9/11 เพื่อนำไปใช้ในการฟ้องร้องดำเนินคดีต่อไป การเปิดเผยเอกสารลับชิ้นแรกนี้มีขึ้นในคืนวันเสาร์ที่ 11 กันยายน ตามเวลาในสหรัฐฯ…

ย้อนดูวิวัฒนาการของข่าวปลอม จากทฤษฎีสมคบ 9/11 สู่ข้อมูลบิดเบือนเรื่องโควิด

Loading

  เป็นเวลาถึง 2 ทศวรรษแล้วที่เหตุการณ์ 9/11 ได้จุดประกายให้คนบางส่วนหลงเชื่อทฤษฎีสมคบคิดต่างๆ ที่พยายามสร้างเรื่องมาอธิบายว่าใครคือผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์สังหารหมู่ที่แท้จริง   อิทธิพลของข้อมูลเท็จที่ระบาดอย่างแพร่หลายในโลกอินเตอร์ในตอนนั้นยังสามารถพบเห็นได้ในปัจจุบัน เช่น การกุเรื่องว่าเชื้อโครานาไวรัสเป็นอาวุธชีวภาพ หรือการบิดเบือนเรื่องผลการเลือกตั้งประธาธิบดีสหรัฐฯรอบล่าสุดว่าเกิดการโกงคะแนนขึ้นจนทำให้ทรัมป์พ่ายแพ้ เพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังจากตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในนครนิวยอร์กถล่มลงมา เนื่องจากการโจมตีของผู้ก่อการร้าย ทฤษฎีสมคบคิดอันแรกเกี่ยวกับเหตุการณ์ 9/11 ก็ผุดขึ้นบนเว็บบอร์ดในโลกออนไลน์ ผู้เผยเเพร่เขียนว่าตึกทั้งสองนั้นถล่มลงมาเพราะระเบิดที่ถูกติดตั้งไว้ในตัวอาคารก่อนหน้านี้ ไม่ใช่เพราะเครื่องบินที่ถูกผู้ก่อการร้ายจี้และบังคับพุ่งชน ทฤษฎีสมคบคิดข้างต้นนั้นเป็นหนึ่งในหลายสิบทฤษฎีที่กลุ่มคนที่ไม่ชอบอดีตประธาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช หรือคนที่ต่อต้านสงครามในอิรักและอัฟกานิสถานปักใจเชื่อ ซึ่งแม้ในยุคต่อมาที่สหรัฐฯมีบารัค โอบามาเป็นประธาธิบดี คนบางส่วนก็เชื่อว่า 9/11 นั้นเกิดขึ้นโดย Deep State หรือผู้มีอิทธิพลที่อยู่เบื้องหลังการทำงานของรัฐบาลสหรัฐฯ   ผลสำรวจพบว่าความเชื่อในทฤษฎีสมคบคิดเกี่ยวกับ 9/11 พุ่งสูงในช่วงเวลาหลายปีหลังเกิดการก่อการร้ายขึ้น แต่ในที่สุดกระแสดังกล่าวก็ค่อยๆ ลดลง มีเพียงคนอเมริกันส่วนน้อยที่ยังเคลือบแคลงใจถึงคำอธิบายของรัฐบาลกับสิ่งที่เกิดขึ้น มาร์ค เฟนสเตอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติของทฤษฎีสมคบคิดและอาจารย์ด้านกฎหมายที่ University of Florida บอกว่า สำหรับบางคน มันฟังดูเหมือนกับภาพยนตร์เมื่อพวกเขาได้ยินว่าเครื่องบินพุ่งตึกและพยายามพุ่งชนอาคาร Pentagon หรือสำนักงานใหญ่ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ พวกเขาพยายามที่จะทำความเข้าใจว่าเหตุการณ์เหลือเชื่อแบบนี้มันเกิดขึ้นได้อย่างไร ทัศนคติที่ว่าเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นไม่เป็นความจริงหรือทฤษฎีสมคบคิดจึงเกิดขึ้นเมื่อมีวิกฤตร้ายแรง ทางแคเร็น ดักลาส อาจารย์ด้านจิตวิทยาของมหาวิทยาลัย…