วิศวะฯ มธ. หนุนไทยปั้นวิศวกรยุคใหม่ รองรับการเติบโต “เทคโนโลยีควอนตัม”

Loading

  วิศวะฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เดินหน้าหนุนไทยปั้นวิศวกรยุคใหม่ รองรับการเติบโตของ “เทคโนโลยีควอนตัม” ยกระดับความปลอดภัยไซเบอร์ ปิดช่องโหว่การโจมตีโดนแฮคเกอร์ได้ 100%   เทคโนโลยีควอนตัม (Quantum Technology) ที่เราคุ้นเคยจากภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ในจักรวาล MCU ดูเหมือนว่าตอนนี้จะไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัวอีกต่อไป เพราะการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่งของมนุษยชาติ กำลังพาเราก้าวข้ามสู่ยุคใหม่ ซึ่งเปลี่ยนผ่านจาก ‘ยุคดิจิทัล’ ไปสู่ ‘ยุคควอนตัม’ ที่อัดแน่นด้วยจำนวนข้อมูลมหาศาล ด้วยระบบประมวลผลรวดเร็วขึ้น และมีความปลอดภัย  100 เปอร์เซ็นต์ โดย รองศาสตรจารย์ วันชัย ไพจิตโรจนา อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TSE) ได้เปิดไทม์ไลน์การเปลี่ยนผ่านของยุคสมัย ที่ขับเคลื่อนด้วย ‘เทคโนโลยีควอนตัม’ (Quantum Technology) พร้อมแนวทางการปรับตัวทางวิศวกรรมที่มีบทบาทในการเปลี่ยนผ่านของยุคสมัย ซึ่งจะเป็นการพลิกโฉมครั้งสำคัญของเทคโนโลยีต่างๆ ที่เราคุ้นเคยไปโดยสิ้นเชิง   เปิดไทม์ไลน์ ‘ยุคควอนตัม’ จ่อเคาะประตูบ้าน TSE ร่วมจับตาเทรนด์ใหม่โลก การเติบโตของ ‘เทคโนโลยีควอนตัม’ (Quantum Technology) ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา เริ่มคึกคักและมีแนวโน้มการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการทุ่มงบประมาณมหาศาลของบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอย่างกูเกิ้ล (Google) ไอบีเอ็ม (IBM) และ ดีเวฟ…

อีกมุมมอง “ต่างชาติซื้อบ้าน” ได้ กรณีศึกษาแนวทาง-ข้อกังวล

Loading

  จากกรณีวาระร้อนช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา กับการปลดล็อกเงื่อนไขการลงทุนที่หวังกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยการเปิดทางให้ต่างชาติซื้อบ้านและที่ดินในไทยได้ นำไปสู่ข้อครหา “ขายชาติ!” ที่หลายฝ่ายยังถกเถียงว่าเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่? ในบริบทที่ว่านี้ ผู้เขียนจึงขอพา “คุณผู้อ่านไทยรัฐออนไลน์” มาลองมองอีกมุมมองจากประเทศอื่นๆ เช่น “ญี่ปุ่น” กันดูว่า “ทำไมเขาถึงกล้าให้คนชาติอื่นเข้ามาจับจองซื้ออสังหาริมทรัพย์ในบ้านตัวเอง โดยไม่สนคำครหาเช่นเดียวกับไทยนี้บ้าง?” ผ่าน “กรณีศึกษา” แนวทางและวิธีการที่เป็นไปได้ แต่ก่อนอื่นนั้น… ต้องมาย้อนดูมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 14 กันยายน 2564 อีกครั้ง เพื่อไล่เรียงทีละข้อว่า รายละเอียดที่ถูกพูดถึงกันมาก และกลายเป็นคำกล่าวหา “ขายชาติ” มีเช่นไรบ้าง? การเปิดทางให้ “ต่างชาติซื้อบ้าน” ในไทยได้นั้น เป็นส่วนหนึ่งของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน เพื่อหวังดึงดูดชาวต่างชาติที่มี “ศักยภาพสูง” ซึ่งเป็นข้อเสนอของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่มีทั้งหมด 7 ข้อด้วยกัน และที่ว่านี้ก็อยู่ในข้อที่ 2 โดยระบุว่า “มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) พิจารณาความเหมาะสมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดวีซ่าประเภทผู้พำนักระยะยาวใหม่ รวมทั้งข้อยกเว้นและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ (1)…

อาชญากรรมบนอินเทอร์เน็ต ก่อต้นทุนทางเศรษฐกิจแค่ไหน

Loading

  เมื่อหลายองค์กรถูกโจมตีทางไซเบอร์ และการที่หน่วยงานรัฐถูกจารกรรมข้อมูลบ่อยครั้ง สะท้อนปัญหาอาชญากรรมบนอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นอันตรายต่อเราทุกคน ไม่กี่วันที่ผ่านมา มีข่าวหลายองค์กรถูกโจมตีทางไซเบอร์ ทั้งข้อมูลนักท่องเที่ยวต่างชาติหลายล้านคนที่มาไทยรั่วไหล (22 ก.ย. 2564) ฐานข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขถูกเจาะ ทำให้ข้อมูลคนไข้นับหมื่นคนถูกขโมยไป (7 ก.ย. 2564) การที่หน่วยงานรัฐถูกจารกรรมข้อมูลบ่อยครั้ง สะท้อนปัญหาอาชญากรรมบนอินเตอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้น อันตรายต่อเราทุกคน Cybercrime Magazine ประเมินว่า ในปี 2021 ความเสียหายจากอาชญากรรมบนอินเทอร์เน็ตทั่วโลกสูงถึง 6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ถ้าเทียบความเสียหายคิดเป็นขนาดของ GDP พบว่าเป็นรอง GDP ของประเทศสหรัฐอเมริกาและจีนเท่านั้น ขณะที่ PurpleSec LLC ระบุว่าตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 จำนวนอาชญากรรมบนอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า   อาชญากรรมบนอินเทอร์เน็ตมีหลายประเภท ครอบคลุมตั้งแต่เรื่องความมั่นคงของชาติ ความปลอดภัยของหน่วยงานและบุคคล เรื่องการเงิน เรื่องคุ้มครองข้อมูล ภาพโป๊เปลือย ฯลฯ จากข้อมูลของกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีระบุว่า อาชญากรรมที่พบบ่อยบนอินเทอร์เน็ตมี 8 ประเภท ได้แก่ 1. ด้านการเงิน เช่น…

QR Code อาจไม่ปลอดภัย พบถูกใช้เป็นเป้าหมายของแฮกเกอร์

Loading

  ในงานประชุมสัมนาของ TNW Conference 2021 Anna Chung นักวิจัยด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ของ Palo Alto Networks ได้เปิดเผยเทรนด์รูปแบบการโจมตีใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงของการระบาดโควิด19 ที่ผ่านมา มีการใช้รหัส QR เป็นเครื่องมือสำคัญในการลดการสัมผัสและใช้เข้าถึงข้อมูลการติดต่อที่สำคัญตลอดการระบาดใหญ่ ทำให้สามารถแบ่งปันข้อมูลได้อย่างสะดวกและไม่ต้องสัมผัส แต่ QR Code ไม่ได้เป็นเทคโนโลยีที่ปลอดภัย เพราะมันได้เปิดกว้างสำหรับการแสวงหาผลประโยชน์จากผู้โจมตีทางไซเบอร์ Quick response หรือ QR codes สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้หลายรูปแบบ เช่นการย่อ URL ซึ่งให้เราเข้าถึงข้อมูลเช่นเว็บไซต์และข้อมูลติดต่อได้ทันที และยังสามารถอนุญาตให้ผู้อื่นลงชื่อเข้าใช้เครือข่าย Wi-Fi โดยไม่ต้องใช้รหัสผ่าน แต่หลายคนคิดก่อนจะสแกนหรือไม่ ? เปล่าเลย เพราะทุกคนคิดว่ามันปลอดภัย   ในความเป็นจริงแล้ว เทคโนโลยีรหัส QR นั้นมีความปลอดภัยในตัวเอง แต่เมื่อการพึ่งพาอาศัยกันเพิ่มมากขึ้น และถูกนำไปประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ อาชญากรไซเบอร์ก็ให้ความสนใจครับ โดยรหัสเหล่านี้อาจเป็นทางเข้าสู่การโจมตีทางไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้นได้ เนื่องจากผู้ใช้จะไม่ได้เห็นหน้าเว็บ หน้าแอปพลิเคชัน ฯลฯ ที่อยู่เบื้องหลังรหัส QR แต่เมื่อเราสแกน มันจะพาไปยังหน้าเว็บ…

เจอช่องโหว่ AirTag เพิ่มความเสี่ยง แฮกเกอร์ขโมย Apple ID ได้

Loading

  AirTag เป็นอุปกรณ์ติดตามของหายที่ Apple พึ่งเปิดตัวเมื่อประมาณต้นปีนี้ครับ มันมีเทคโนโลยีที่สามารถส่งคลื่นระยะไกลเพื่อบอกว่าตัวมันอยู่ไหน เพื่อให้เราไว้ใช้หาของที่หายไป และก็หลายก็เอาไปประยุกต์ใช้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ติดกระเป๋าสตางค์ พวงกุญแจ หรือกระทั่งติดไว้กับจักรยานกันขโมยครับ   แต่ตอนนี้ เหมือน AirTag จะมีช่องโหว่ที่ช่วยให้แฮกเกอร์ขโมย Apple ID โดยใช้ AirTag ได้ และช่องโหวนี้ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขแม้ Apple จะอัปเดต iOS15 แล้วก็ตาม รูปแบบการขโมย Apple ID ก็คือ หากมีคนทำ AirTag ตกหายที่ใดที่หนึ่งแล้วมีคนเก็บได้ ถ้าหากคน ๆ นั้นเป็นแฮกเกอร์เขาจะใช้เครื่องมือที่หาซื้อได้ทั่วไปรีบแก้สคริปภายในให้ไวที่สุด จากนั้นก็ปล่อยใครสักคนนึงมาเจอมัน หรือไม่แฮกเกอร์ก็อาจจะเป็นเจ้าของ AirTag นั้นเอง เมื่อผู้ใช้ iPhone มาพบเจอ AirTag ที่หล่นอยู่ เขาอาจมีความคิดจะนำมันไปคืนเจ้าของโดยการเชื่อมต่อกับ iPhone ของตัวเอง ซึ่งจะทำให้ iPhone เปิดหน้าเว็บที่ found.apple.com สำหรับอุปกรณ์ที่สูญหายโดยเฉพาะ และมันจะแสดงรายละเอียดของเจ้าของขึ้นมา…

เจมส์ บอนด์ : ฟังเจ้าหน้าที่ MI6 ตัวจริง ชำแหละหนังสายลับดังอิงความจริงแค่ไหน

Loading

  ในที่สุดวันนี้ก็มาถึง ภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ ภาคใหม่ล่าสุด “No Time to Die” เริ่มเข้าฉายในโรงภาพยนตร์แล้ว หลังการระบาดของโรคโควิดทำให้ต้องเลื่อนกำหนดฉายมาถึง 18 เดือน นี่เป็นภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ ภาคที่ 25 และจะเป็นภาคสุดท้ายของเดเนียล เครก ผู้รับบทสายลับอังกฤษผู้โด่งดัง   หลายคนสงสัยมานานแล้วว่าตัวละครและพล็อตอันน่าตื่นเต้นนี้อิงเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในหน่วยข่าวกรองลับ MI6 หรือ Secret Intelligence Service (SIS) ของอังกฤษ มากน้อยแค่ไหน และที่สำคัญไปกว่านั้น หน่วยงานแบบนี้ยังสำคัญอยู่หรือเปล่าในโลกยุคดิจิทัล “ฉันคิดว่าสิ่งที่แตกต่างมากที่สุด…” แซม (นามสมมติ) เล่า “คือเราให้ความร่วมมือ [กับหน่วยงานอื่น ๆ] มากกว่าตัวละครในหนังเจมส์ บอนด์ และจะมีน้อยครั้งมาก ๆ หรืออาจจะเป็นไปไม่ได้เลยที่คุณจะออกไปตัวคนเดียว ไม่มีใครคอยสนับสนุน เรื่องทีมสำคัญมาก คุณจะมีทีมรักษาความปลอดภัยรายล้อมเสมอ”   แซมเป็นเจ้าหน้าที่ MI6 ซึ่งเคยทำงานด้านการต่อต้านการก่อการร้าย และเป็นหนึ่งในเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองลับหลายคนที่ผมติดต่อขอสัมภาษณ์ก่อนภาพยนตร์เรื่องนี้จะเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ โอเค ถ้าเจ้าหน้าที่เหล่านี้ไม่ได้ออกไปลุยเดี่ยวแบบเจมส์ บอนด์…