กราดยิงในรัสเซีย ทำความเข้าใจ ทำไมต้อง “กราดยิง” ในมหาลัยฯ

Loading

    จากเหตุการณ์กราดยิงในมหาวิทยาลัยรัสเซีย เมื่อวันที่ 20 ก.ย. ถึงแม้ว่าจะไม่รู้แรงจูงใจที่แน่ชัดแต่มีงานวิจัยอธิบายแรงจูงใจในการก่อความรุนแรงในวัยรุ่นมากจาก ‘จินตนการที่ไม่สามารถห้ามได้’   เหตุการณ์กราดยิงในมหาวิทยาลัยรัสเซียเมื่อวันที่ 20 ก.ย.ที่ผ่านมาทำให้มีผู้เสียชีวิต 6 ราย และนักศึกษาหลายรายต้องกระโดดหนีออกนอกหน้าต่าง เพื่อเอาตัวรอด แต่แรงจูงใจในการก่อเหตุเช่นนี้ มีงานวิจัยอธิบายว่า มันมาจาก ‘จินตนการที่ไม่สามารถห้ามได้’   กราดยิงในรัสเซีย ทำความเข้าใจ ทำไมต้อง “กราดยิง” ในมหาลัยฯ   แหล่งข่าวท้องถิ่งรัสเซียกล่าวว่า แรงจูงใจในการก่อเหตุครั้งนี้ เกิดจากแรง กดดัน และ ความเกลียดชัง ของชายวัย 18 ปี แต่เหตุผลดังกล่าว ยังไม่ได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตามเหตุการณ์เช่นนี้ไม่ได้ เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก จึงมีงานวิจัยที่ศึกษาถึงเรื่องการกราดยิงในสถานศึกษา ซึ่งอธิบาย แรงจูงใจในการก่อเหตุกราดยิงได้ดังนี้ 1. ความต้องการ – แรงขับเคลื่อนในในการที่คนเราจะทำอะไรสักอย่างออกมานั้นเกิดจากความคิดและจินตนาการที่มาจากความต้องการเบื้องลึก ทั้งจินตนาการที่ทำให้เรามีความหวัง ต่อชีวิตจนทำให้เราตั้งใจทำงานและนำเงินมาพัฒนาชีวิต และ จินตนาการ ที่มี ความรุนแรงแอบแฝงอยู่ จนอาจนำไปสู่ฉากความรุนแรงในชีวิตจริงและทำให้สังคมวุ่นวาย 2.…

รู้จัก ‘เจไอ’ และ ‘เจเอดี’ เครือข่ายก่อการร้ายในอาเซียน

Loading

    วันที่ 12 กันยายน 2021 กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น สั่งให้สถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้ง อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย เมียนมา และไทย ออกประกาศแจ้งเตือนชาวญี่ปุ่นระวังระเบิดฆ่าตัวตาย โจมตีสถานที่ที่มีผู้คนอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ร้านอาหาร โรงแรม ขนส่งสาธารณะ ตลาด สถานที่ท่องเที่ยว ศาสนสถาน โดยขอให้ชาวญี่ปุ่นในประเทศนั้นๆ หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีผู้คนพลุกพล่าน หากเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นจริงๆ และเป็นเหตุระเบิดหรือระเบิดฆ่าตัวตายในเมืองใดก็ตาม กลุ่มที่จะถูกพุ่งเป้าเป็นลำดับต้นๆ คงหนีไม่พ้น เจไอ และเจเอดี อย่างแน่นอน ไทยรัฐพลัสจึงอยากชวนทำความรู้จักกับกลุ่มก่อการร้ายทั้งสองกลุ่ม ว่ามีที่มาเริ่มต้นจากไหน มีแนวคิดทางการเมืองแบบใด ก่อนหน้านี้เคยก่อเหตุร้ายแรงที่ไหนบ้าง และมีส่วนเกี่ยวข้องกับอัลกออิดะห์และไอเอสที่โด่งดังในโลกอาหรับมากน้อยเพียงใด   เจมาห์ อิสลามิยาห์ เจมาห์ อิสลามิยาห์ (Jemaah Islamiyah) หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกว่า ‘เจไอ’ มีความหมายว่า ‘ชุมชนอิสลาม’ ก่อตั้งขึ้นวันที่ 1 มกราคม 1993 โดย อับดุลลาห์…

5 เรื่องที่คนทั่วไปยังไม่รู้เกี่ยวกับ “กล้อง CCTV”

Loading

ภาพ : pixabay   “สกาย ไอซีที” สรุป 5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับกล้องวงจรปิด ย้ำเป็นเทคโนโลยีใกล้ตัวที่คนทั่วไปควรรู้ เดินหน้าดึง AI พัฒนา Smart Security Platform ตอบโจทย์ธุรกิจ เล็งเปิดตัวไตรมาส 4 วันที่ 20 กันยายน 2564 นายขยล ตันติชาติวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานการตลาด บริษัท สกาย ไอซีที จำกัด (มหาชน) หรือ SKY ผู้พัฒนานวัตกรรม การให้บริการ Digital Platform และ AI Solutions กล่าวว่าในช่วง 5 ปีให้หลังมานี้ ระบบกล้องวงจรปิด (CCTV System) ได้รับความนิยมแพร่หลายขึ้นมาก จากเดิมที่เป็นเทคโนโลยีสำหรับองค์กรเพื่อใช้ดูแลความปลอดภัยในอาคารกลายเป็นเทคโนโลยีที่ “ใกล้ตัว” ผู้บริโภคมากขึ้น จากเทคโนโลยีที่พัฒนาไปไกลจนมีราคาเข้าถึงได้ รวมถึงการนำความสามารถของอัจฉริยะของ AI มาใช้ (AI…

20 ปีจากวันโลกเปลี่ยน สำรวจ 20 เหตุก่อการร้ายหลัง 9/11

Loading

  เมื่อ 20 ปีที่แล้ว 11 กันยายน 2001 คือวันที่โลกพบความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ หลังเครื่องบิน 2 ลำพุ่งชนตึกแฝดเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในนิวยอร์ก อาคารฝั่งเหนือและฝั่งใต้ไฟลุกไหม้ ก่อนจะพังลงมา ทิ้งม่านฝุ่นควันลอยสูงเบื้องบน ตามมาด้วยการจี้เครื่องบินอีก 2 ลำ ลำแรกพุ่งชนด้านหน้าอาคารเพนตากอน ลำสุดท้ายก่อเหตุร้ายไม่สำเร็จ ตกลงในเพนซิลเวเนีย ผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ 9/11 มีราว 3,000 ราย ส่วนใหญ่คือผู้ที่ไม่สามารถหนีออกมาจากตึกแฝดได้ ผู้รับผิดชอบการลงมือคือ อัลกออิดะห์ ภายใต้การนำของ โอซามา บินลาเดน ที่ในภายหลังทำให้เกิดนิยามของ ‘การก่อการร้าย’ และ ‘ผู้ก่อการร้าย’ ขึ้นบนโลก เมื่อโลกถูกเขย่ารุนแรง ระลอกการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตามมารวดเร็ว ในเวลาไม่ถึงหนึ่งเดือน ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ประกาศสงครามกับการก่อการร้าย ระดมทัพบุกอัฟกานิสถาน เพื่อตามล่า โอซามา บินลาเดน เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามยาวนานที่เพิ่งจบลงไม่นานนี้ เมื่ออัฟกานิสถานตกอยู่ในการปกครองของกลุ่มตาลีบัน นั่นคือปฏิบัติการทางทหารระดับนานาชาติ แต่ในระดับความรู้สึกของคน ‘ความหวาดกลัวอิสลาม’ (Islamophobia) ถูกหว่านเมล็ดพันธุ์ตั้งแต่วันนั้น…

สหรัฐฯ พร้อมเปิดรับชาติยุโรปเสริมความมั่นคงในอินโด-แปซิฟิก

Loading

  นานาชาติจับตาความร่วมมือทางการทหารครั้งใหม่ระหว่างสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย โดยทั้งสองชาติ ประกาศจะมอบเทคโนโลยีเรือดำน้ำนิวเคลียร์ให้ ส่งผลให้ออสเตรเลียต้องฉีกสัญญาสร้างเรือดำน้ำที่ทำไว้ร่วมกับฝรั่งเศสสิ่งที่เกิดขึ้นสร้างความไม่พอใจให้ฝรั่งเศส และล่าสุดสหรัฐฯ เผยยังคงเปิดรับทุกโอกาสที่จะสร้างความมั่นคงในอินโด-แปซิฟิกร่วมกับชาติยุโรป ภาพการแถลงข่าวของสามผู้นำประเทศ ได้แก่ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ, บอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร และสกอตต์ มอร์ริสัน นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ประกาศความร่วมมือที่จะสร้างความมั่นคงและสันติภาพในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ในโครงการที่ชื่อว่า ออคัส ซึ่งทั้งสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรจะแบ่งปันเทคโนโลยีมากมาย ตั้งแต่ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีควอนตัม และระบบการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ รวมถึงเทคโนโลยีทางการทหารขั้นสูงที่สุด นั่นคือ เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์     หลังการประกาศความร่วมมือทางการทหารระหว่างสหรัฐฯ สหราชอาณาจักรและออสเตรเลียออกมามีหลายประเทศไม่พอใจ เช่น จีน ซึ่งก็เข้าใจได้ แต่ที่น่าสนใจคือ มีพันธมิตรหลักของสหรัฐฯ อย่างฝรั่งเศสออกมาแสดงความหงุดหงิดด้วย ฟลอเรนส์ พาร์ลีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมฝรั่งเศสเปิดแถลงข่าวทันที ระบุว่า เหมือนถูกแทงข้างหลัง เหตุใดฝรั่งเศสจึงไม่พอใจ เพราะก่อนหน้านี้ คื อเมื่อปี 2016 ออสเตรเลียตกลงและทำสัญญากับฝรั่งเศสไว้แล้ว ว่าจะให้ฝรั่งเศสสร้างเรือดำน้ำให้ 12…

เกาหลีเหนือ : ทำไมการปล่อยขีปนาวุธร่อนของรัฐบาลเปียงยางทำให้หลายชาติกังวล

Loading

เมื่อต้นสัปดาห์นี้ เกาหลีเหนือประกาศว่าประสบความสำเร็จในการทดสอบการปล่อยขีปนาวุธร่อนพิสัยไกลที่มีขีดความสามารถในการโจมตีพื้นที่ส่วนใหญ่ของญี่ปุ่นได้ ขีปนาวุธร่อน (cruise missiles) ต่างจากขีปนาวุธทิ้งตัว (ballistic missiles) มันสามารถเปลี่ยนทิศทางและหักเลี้ยวได้ระหว่างการเดินทาง ทำให้โจมตีเป้าหมายได้จากมุมที่คาดเดาไม่ได้ การทดสอบนี้แสดงให้เห็นว่า เกาหลีเหนือยังคงพยายามที่จะพัฒนาวิธีการที่ซับซ้อนและหลากหลายต่าง ๆ เพื่อให้สามารถปล่อยอาวุธนิวเคลียร์ได้ เป็นที่ชัดเจนว่าในช่วงการระบาดใหญ่ การเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติหลายครั้ง และความยากลำบากของภาวะเศรษฐกิจในประเทศ แทบไม่เป็นอุปสรรคต่อเกาหลีเหนือในป้องกันอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งเกาหลีเหนือให้ความสำคัญอย่างมากได้เลย การทดสอบที่ประสบความสำเร็จครั้งล่าสุด ทำให้เกิดคำถามหลายข้อขึ้นว่า ทำไมเกาหลีเหนือจึงทำการทดสอบในช่วงนี้ การทดสอบนี้มีความสำคัญอย่างไร และมันบอกอะไรเราบ้างเกี่ยวกับการจัดลำดับความสำคัญของเกาหลีเหนือ     รัฐบาลเกาหลีเหนือยังไม่เปลี่ยนเป้าหมาย เกาหลีเหนือกำลังพัฒนาขีดความสามารถด้านนิวเคลียร์ของประเทศ ทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ นับตั้งแต่ มี.ค. 2019 นับตั้งแต่กลับจากการประชุมสุดยอดที่ล้มเหลวในเดือน ก.พ. 2019 กับอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ในกรุงฮานอยของเวียดนาม คิม จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือ ก็ได้แสดงความแน่วแน่ในการลงทุนด้านการป้องกันอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือต่อไป และเดินหน้ายุทธศาสตร์กลาโหมแห่งชาติ “พึ่งพาตัวเอง” แต่ทำไมเกาหลีเหนือเลือกที่จะทำเช่นนี้ ทั้งที่ก็เผชิญกับการขาดแคลนอาหารและวิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรง มันตอบสนองต่อเป้าหมายหลายอย่างของเกาหลีเหนือ ภายในประเทศ การทดสอบเหล่านี้ช่วยสนับสนุนสิ่งที่นายคิมบอกว่า พยายามที่จะพึ่งพาตัวเองในการป้องกันประเทศและเป็นการเพิ่มขวัญกำลังใจด้วย ในทางปฏิบัติ ขีดความสามารถใหม่ของขีปนาวุธร่อนเหล่านี้ ทำให้การวางแผนของศัตรูเกาหลีเหนือยุ่งยากขึ้น เพราะต้องต่อกรกับขีดความสามารถใหม่เหล่านี้…