เปิดแนวทางรับมือกับ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ , SMS หลอกลวง จาก AIS, dtac, Truemove-H

Loading

  หลายคนคงเห็นคลิปแกล้งแก๊งคอลเซ็นเตอร์ผ่านหน้าผ่านตากันมาบ้างแล้ว ในช่วงปีที่ผ่านมาก็เกิด SMS หลอกลวงระบาดหนักในหมู่คนใช้ iPhone ส่วนปีนี้ก็มีแก๊งคอลเซ็นเตอร์อาละวาดโดนกันถ้วนหน้าเลยทีเดียว ซึ่งจะมาในรูปแบบแอบอ้างเป็นขนส่งชื่อดัง หรือแอบอ้างเป็นคนหน่วยงานราชการต่าง ๆ เพื่อหลอกล่อให้โอนเงิน ซึ่งก็มีคนหลงเชื่อและสร้างความน่ารำคาญเป็นอย่างมาก เดี๋ยวนี้ค่ายมือถือทั้ง AIS, DTAC, TRUE ออกบริการสำหรับลูกค้าให้สามารถแจ้งเบอร์และ SMS หลอกลวง ไปดูของแต่ละค่ายดีกว่าว่ามีมาตรการและขั้นตอนอย่างไรบ้าง AIS 1185 เริ่มที่ AIS ที่ประกาศก่อนใครเลย เปิดตัว สายด่วน 1185 ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนเบอร์โทรและ SMS มิจฉาชีพ หรือ AIS Spam Report Center ให้ลูกค้า AIS สามารถโทรฟรีในรูปแบบ IVR Self Service และ AI Chatbot เพื่อแจ้งเบอร์โทรหรือ SMS ที่คาดว่าเป็นกลุ่มมิจฉาชีพ โดยทำงานร่วมกับ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ตำรวจไซเบอร์ เพื่อสืบสวน สอบสวน ตรวจสอบ…

การทูตกับความท้าทายในปี 2565

Loading

โดย…ภุมรัตน ทักษาดิพงศ์ ****************** ไม่ว่าจะมีเหตุการณ์ใด เกิดขึ้นที่ใดในโลก ย่อมส่งผลกระทบต่อประเทศไทยไม่โดยทางตรงก็ทางอ้อม ไม่มากก็น้อย ดังนั้น รัฐบาลต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา เพราะอาจส่งผลกระทบทางบวกหรือลบต่อผลประโยชน์ของชาติ เวลานี้ จุดร้อนแห่งหนึ่งของโลกอยู่ที่สงครามรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งอยู่ในยุโรปตะวันออก ห่างไกลจากไทยหลายพันไมล์ แต่โลกเวลานี้เป็นโลกาภิวัฒน์ไปแล้ว และไทยก็เข้าสู่กระแสโลกาภิวัฒน์ ดังนั้น จึงต้องเตรียมพร้อมรับมือตลอดเวลา เมื่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประชุมและมีมติประณามรัสเซีย ไทยก็ต้องตัดสินใจว่าจะเห็นด้วยกับมตินั้น หรือคัดค้าน หรืองดออกเสียง โดยคำนึงถึงประโยชน์ระยะสั้นและระยะยาวของประเทศเป็นสำคัญ แน่นอน การตัดสินใจย่อมไม่ถูกใจคนไทยทุกคน เพราะบางคนเชียร์รัสเซีย ไม่ต้องการให้ประณามรัสเซีย บางคนเห็นใจยูเครน ต้องการให้ประณามรัสเซีย บางคนก็บอกว่า เรื่องนี้ไกลเมืองไทย และไม่เกี่ยวกับไทยโดยตรง ดังนั้น ไทยควรงดออกเสียง ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งดีที่สุด มีเสียงวิจารณ์ต่อมาว่า ทำไมเราไปประณามรัสเซีย ทำไมไม่งดออกเสียง เพราะรัสเซียเป็นมิตรประเทศของไทย ฯลฯ ซึ่งทางการไทยได้ชี้แจงแล้วว่า ให้ไปดูมติของไทยชนิดคำต่อคำ ไม่มีประโยคใดเลยที่เราประณามรัสเซีย เพียงแต่ไทยได้แสดงจุดยืนในหลักการที่ประเทศหนึ่งไม่ควรรุกรานอีกประเทศหนึ่งเท่านั้น เวลานี้ สหรัฐฯ ได้กลับฟื้นอิทธิพลของตนในเอเชียเพื่อต่อต้านการขยายอิทธิพลของจีนในภูมิภาค หลังจากทิ้งเอเชียไปนานเพราะมัววุ่นอยู่กับการจัดการกลุ่มก่อการร้าย อัล ไกดา และไอสิส ในตะวันออกกลาง พอหันกลับมาอีกที จีนเติบใหญ่อย่างแข็งแรงทั้งด้านเศรษฐกิจและการทหาร ชนิดหายใจรดต้นคออเมริกัน…

เมื่อนายจ้าง ‘ติดตามสอดส่องพนักงาน’ ทั้งที่ทำงานและที่บ้าน

Loading

  แม้ว่า ‘การติดตามสอดส่องพนักงาน’ (Employee Monitoring) ในองค์กรธุรกิจต่างๆ ไม่ใช่ปรากฏการณ์ใหม่สำหรับพนักงานออฟฟิศ แต่หลังจากการระบาดของโควิด-19 มันกลับรุกล้ำไปยังที่บ้าน และกลายเป็นเรื่องธรรมดามากขึ้น ช่วงต้นเดือนมีนาคม 2022 สหภาพแรงงาน TUC ในสหราชอาณาจักร เผยแพร่ผลการสำรวจความคิดเห็นต่อการใช้เทคโนโลยีการติดตามสอดส่องพนักงาน ซึ่งสำรวจคนทำงาน 2,209 คน ในอังกฤษและเวลส์ช่วงเดือนธันวาคม 2021 ผลสำรวจพบว่า 60 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่า พวกเขาถูกติดตามสอดส่องในสถานที่ทำงาน เพิ่มขึ้นจาก 53 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2020 โดยนายจ้างใช้อุปกรณ์ ซอฟต์แวร์ และเทคนิคต่างๆ เช่น การตรวจสอบอีเมลและไฟล์ เว็บแคมบันทึกภาพพนักงาน การบันทึกการกดแป้นพิมพ์ ติดตามการใช้โทรศัพท์ และติดตามความเคลื่อนไหวผ่านกล้องวงจรปิด (CCTV) หรือกล้องเว็บแคม (Webcam) ก่อนหน้านี้สหภาพแรงงาน Prospect เคยสำรวจความคิดเห็นคนทำงาน 2,400 คน ในอังกฤษเมื่อช่วงเดือนตุลาคม 2021 โดยกว่า 32 เปอร์เซ็นต์ ระบุว่า พวกเขากำลังถูกนายจ้างสอดส่องอยู่…

FBI จัดหนัก ‘แรนซัมแวร์’

Loading

  อาชญากรทางไซเบอร์สามารถสร้างผลกำไรได้สูงสุดโดยเป้าหมายหลักของการโจมตีคือ องค์กรที่ไม่สามารถทนต่อการหยุดชะงักในการทำงานได้ สำนักงานสืบสวนกลางแห่งสหรัฐ หรือ FBI กำลังเร่งตรวจสอบแรนซัมแวร์มากกว่า 100 ตัว ซึ่งหลายตัวถูกใช้เพื่อโจมตีในหลายกรณี โดยข้อมูลของ FBI เกี่ยวกับการคุกคามจากมัลแวร์ได้ถูกส่งถึงคณะกรรมการสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐฯ ที่วอชิงตัน โดย Bryan Vorndran ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายไซเบอร์ของ FBI Vorndran กล่าวว่า การทำงานของ FBI ในหลายภาคส่วนได้ร่วมมือกันจัดการกับการโจมตีของแรนซัมแวร์ และขณะนี้แรนซัมแวร์ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่มันเป็นหนึ่งในเรื่องที่สำคัญที่สุดในการสืบสวนอาชญากรรมทางไซเบอร์ของ FBI มาระยะหนึ่งแล้ว ในช่วงสองปีที่ผ่านมา ได้มีรายงานการโจมตีของแรนซัมแวร์เพิ่มขึ้นอย่างมาก และผลกระทบของการโจมตีเหล่านี้ได้เพิ่มสัดส่วนขึ้นอย่างน่าอันตรายและได้คุกคามต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงของชาติ อีกทั้ง ในปี 2019 ถึงปี 2021 จำนวนการร้องเรียนแรนซัมแวร์ที่รายงานไปยังศูนย์รับเรื่องร้องเรียนอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต หรือ IC3 ของ FBI เพิ่มขึ้น 82% โดยมีการจ่ายเงินค่าไถ่เพิ่มขึ้นถึง 449% ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ Vorndran ตั้งข้อสังเกตว่า “Ransomware-as-a-service” เมื่อผู้พัฒนาแรนซัมแวร์ได้ขายหรือให้เช่าเครื่องมือสำหรับการโจมตี ให้กับอาชญากร ทำให้ช่วยลดอุปสรรคในการใช้งานเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่จำเป็นและช่วยอำนวยความสะดวกให้กับอาชญากร ขณะเดียวกัน ส่งผลให้จำนวนอาชญากรนั้นมีเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่นักพัฒนาแรนซัมแวร์มีกลวิธีต่างๆ…

ความลับไม่มีในโลก(บล็อกเชน) จริงหรือ?

Loading

  โดยข้อมูลที่ถูกส่งไปเก็บใน Blockchain นั้นจะอยู่ในรูปแบบของ Transaction ซึ่ง Transaction ทั้งหมด ก่อนที่จะถูกบันทึกลงไปบน Blockchain จะต้องถูกยืนยันความถูกต้องด้วย Node ต่าง ๆ ที่เป็นหน่วยประมวลผลแบบกระจายศูนย์ที่ทำงานเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่าย แต่มันเป็นเรื่องที่เหมาะสมรึเปล่า ที่จะเอาข้อมูลต่างๆลงไปเก็บอยู่บน Blockchain ? ถ้าถามถึงการประยุกต์ใช้งาน Blockchain ในวงการต่าง ๆ เช่น ในวงการแพทย์ มักจะมีคนยกตัวอย่างเคส การใช้ Blockchain ในการเก็บข้อมูลประวัติการรักษาของคนไข้ โดยอ้างถึงข้อดีของ Blockchain ว่าข้อมูลประวัติการรักษาไม่มีการสูญหาย สามารถแชร์กันระหว่างโรงพยาบาลได้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินโดยที่ไม่ต้องส่งเรื่องไปขอข้อมูลที่โรงพยาบาลที่คนไข้ไปตรวจอยู่เป็นประจำ แต่ถ้าเหตุไม่ฉุกเฉินล่ะ ? คนไข้ของโรงพยาบาลแต่ละคนโอเคมั้ยกับการเก็บข้อมูลประวัติการรักษาบนระบบ Blockchain ที่ใคร ๆ ก็เข้าถึงได้โดยไม่ต้องขออนุญาต ข้อมูลในการรักษาบางอย่างควรจะถูกเก็บเป็นความลับ คงไม่มีใครอยากจะเปิดเผยว่าเป็นโรคอะไรอยู่บ้างกับสาธารณะถูกมั้ย ? ถ้าไม่โอเค เราจะมีวิธีการอย่างไรบ้างที่จะเก็บข้อมูลบน Blockchain โดยได้ทั้งความคงทนถาวรของข้อมูล และการไม่สูญเสียความเป็นส่วนตัวไป วันนี้ทาง Token X ในฐานะผู้ให้บริการเกี่ยวกับธุรกิจโทเคนดิจิทัลแบบครบวงจร และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี Blockchain ได้รวบรวมวิธีต่าง…

กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับแก้ไขของญี่ปุ่น

Loading

  โลกในยุคปัจจุบันมีการแข่งขันทางการค้าสูง การเข้าถึงและครอบครองข้อมูลส่วนบุคคลจึงมีความสำคัญเพราะสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อให้เกิดความได้เปรียบเชิงธุรกิจได้   แต่ในขณะเดียวกัน การดำเนินการดังกล่าวโดยปราศจากการควบคุมย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของข้อมูลได้ ดังนั้นแล้ว การตรากฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจึงมีความสำคัญยิ่ง   ประเทศไทยได้มีการตราพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อให้การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีประสิทธิภาพและเพื่อให้มีมาตรการเยียวยาเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจากการถูกละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลที่มีประสิทธิภาพ   เนื่องจากในปัจจุบันเราจะพบปัญหาการละเมิดสิทธิข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปแสวงหาประโยชน์ หรือเปิดเผยโดยมิชอบ หรือโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลอันส่งผลให้เกิดความเสียหายกับบุคคลจำนวนมาก   กฎหมายดังกล่าวจะมีกำหนดบังคับใช้ทั้งฉบับในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2565 อันส่งผลให้ผู้ประกอบการต่างๆ รวมถึงหน่วยงานของรัฐต้องปรับตัวและเตรียมความพร้อมเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้   สำหรับผู้ประกอบการที่มีคู่ค้าเป็นชาวต่างชาติ นอกจากจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทยแล้ว ก็จำต้องศึกษากฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศคู่ค้าด้วย เพื่อจะได้ไม่เกิดกรณีการทำผิดกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศนั้นๆ   ประเทศญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศที่เป็นคู่ค้าสำคัญของผู้ประกอบการไทย และเป็นหนึ่งในประเทศแรก ๆ ของเอเชียที่ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล   ญี่ปุ่นได้ตรากฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (個人情報保護法 – Act on Protection of Personal Information – APPI) มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 และมีผลบังคับใช้กับผู้ประกอบการทั้งหมด ที่เสนอขายสินค้าและบริการที่มีการดำเนินการกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่น   ไม่ว่าจะมีที่ตั้งอยู่ในญี่ปุ่นหรือไม่ก็ตาม และหลังจากที่ได้มีการบังคับใช้ ก็ได้มีการตรากฎระเบียบอื่น…