กลุ่มรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย แผ่นดินไหวกระบี่ จับตา 9 รอยเลื่อนมีพลัง

Loading

กลุ่มรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย สั่นไหวในพื้นที่ภาคใต้ครั้งสุดท้าย จนล่าสุดบ่ายวันนี้ (14 เม.ย. 68) เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.5 ใน อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ ขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยาจับตา 9 รอยเลื่อนมีพลังในไทยโดยกรมอุตุนิยมวิทยาเผยแพร่ข้อมูล 9 รอยเลื่อนมีพลัง ดังนี้

แผ่นดินไหวเมียนมา กับโอกาสเกิดสันติภาพ

Loading

  Damaged Maha Aungmye Bonzan Monastery, commonly known as the Me Nu Brick Monastery, is seen in the aftermath of Friday’s earthquake in Innwa, Tada-U township, Mandalay, Myanmar, Friday, April 4, 2025. (AP Photo)     เมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา เมียนมาเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงขนาด 8.2 แมกนิจูด ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประเทศที่กำลังประสบกับความขัดแย้งทางการเมือง และการต่อสู้ที่ยืดเยื้อมานานหลายปี ระหว่างฝ่ายรัฐบาลทหารของเมียนมากับบรรดากลุ่มต่อต้าน   การเกิดแผ่นดินไหวในครั้งนี้ไม่เพียงแต่ทำให้บ้านเรือนและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศได้รับความเสียหาย แต่ยังได้จุดชนวนทำให้เกิดการหยุดยิงชั่วคราวจากฝ่ายที่ขัดแย้ง ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยากในช่วงเวลาที่ความรุนแรงระหว่างกองทัพเมียนมาและกลุ่มต่อต้านการปกครองของทหารยังคงดำเนินอยู่   โดยหลังจากแผ่นดินไหวรุนแรงครั้งนี้ ฝ่ายต่อต้าน การปกครองของทหารในเมียนมา ได้ประกาศหยุดยิงในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ เพื่อลดความรุนแรงและเปิดโอกาสให้มีการบรรเทาทุกข์แก่ผู้ประสบภัย…

The Great Polarization: โลก ‘หลังทรัมป์’ ที่อเมริกาไม่ใช่เจ้าโลกอีกต่อไป

Loading

  ดร.นณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโส TDRI มองว่าโลกกำลังเข้าสู่ “The Great Polarization” ไม่ใช่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ แต่เป็นการแบ่งขั้วระหว่างประเทศที่ปรับตัวได้กับปรับตัวไม่ได้ ท่ามกลางสงครามการค้าสหรัฐ-จีนที่ทวีความรุนแรง ชี้ประเทศที่มีหนี้ต่ำ นโยบายยืดหยุ่น และไม่ยึดติดรูปแบบเศรษฐกิจเดิมจะเป็นผู้ชนะ ขณะที่ทุกประเทศต้องเตรียมรับมือการถูกบังคับให้เลือกข้าง   ท่ามกลางความปั่นป่วนที่ทวีความรุนแรงขึ้นทั่วโลก สถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ดร. นณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโสจาก สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้วิเคราะห์ถึงระดับความรุนแรงของสถานการณ์ที่โลกกำลังเผชิญใน งานเสวนาโต๊ะกลม “ผ่ากำแพงภาษี “ทรัมป์” ฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจ : Trump’s Uncertainty”  โดยความรุนแรงแบ่งออกเป็น 3 ระดับด้วยกัน   ระดับที่ 1: มุ่งเน้นเรื่องภาษี (Tariff) เพียงอย่างเดียว ซึ่งผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่าจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน   ระดับที่ 2: มีความรุนแรงมากขึ้น โดยจะขยายวงกว้างไปถึงภาคบริการและตลาดทุน ซึ่งจะสร้างผลกระทบในวงกว้างต่อ ระบบเศรษฐกิจโลก   ระดับที่ 3: เป็นระดับที่น่ากลัวที่สุด เปรียบเสมือน “สงครามโลกครั้งที่ 3” ทางด้านการค้า ที่จะนำไปสู่การแข่งขันอย่างดุเดือดระหว่างสหรัฐฯ…

‘ยูเครน’ ยื่นศาลฟ้อง ‘รัสเซีย’ ข้อหาทำลายล้างสิ่งแวดล้อมระดับรุงแรง

Loading

“ยูเครน” เจอ “อีโคไซด์” (Ecocide) หรือ การทำลายสิ่งแวดล้อมในระดับรุนแรง จากสงคราม เกิดวิกฤติสิ่งแวดล้อม เกิดมลพิษในอากาศ สารพิษซึมเข้าไปในดินและในน้ำ แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหายไป   “สงครามรัสเซีย-ยูเครน” สร้างผลกระทบมากมาย ไม่ว่าจะทำให้ทั้งทหารและพลเรือนเสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก บ้านเรือนได้รับความเสียหาย กระทบเศรษฐกิจทั่วโลก รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมยังถูกทำลายในระดับรุนแรง หรือที่เรียกว่า “อีโคไซด์” (Ecocide)     ต่อให้ในอนาคตสงครามอาจยุติลง แต่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าความเสียหายจากสงครามจะยังคงอยู่ต่อไปอีกหลายทศวรรษ ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพ ระบบนิเวศ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย ไม่สามารถทำอาชีพต่าง ๆ ได้     สงครามรัสเซีย-ยูเครนเข้าสู่ปีที่ 4 ทางการยูเครนกำลังรวบรวมหลักฐาน ยื่นฟ้องคดีอาชญากรรมสงครามด้านสิ่งแวดล้อมต่อรัสเซีย 247 คดีกับศาลอาญาระหว่างประเทศ หลังจากเกิดถูกโจมตีทางสิ่งแวดล้อม เจ้าหน้าที่ยูเครนระบุค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อมทั้งหมดตั้งแต่เกิดสงครามมีมูลค่ามากกว่า 85,000 ล้านดอลลาร์     นักข่าวของนิวยอร์กไทมส์ได้เดินทางไปยังพื้นที่สงครามในยูเครน เพื่อสำรวจความเสียหายของสิ่งแวดล้อม   น้ำปนเปื้อนสารพิษ ทุ่งนาเต็มไปด้วยหลุมระเบิด ดินปนเปื้อนด้วยสารตกค้างของวัตถุระเบิด ถังเชื้อเพลิงที่ถูกเผาไหม้ทำให้เกิดมลพิษในอากาศ และไฟป่าลุกไหม้อย่างไม่หยุดยั้งในเขตสู้รบ น้ำจากอ่างเก็บน้ำไหลออกจากเขื่อนที่ถูกทำลาย ทำให้เกิดภัยแล้งบริเวณต้นน้ำและน้ำท่วมท้ายเขื่อน…

อินทรีเปิดหน้าชนพญามังกร สงครามภูมิศาสตร์เศรษฐกิจโลก

Loading

  ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน เป็นมากกว่าเรื่องการกำหนดอัตราภาษี   ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐ ซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลก จุดชนวนสงครามการค้าโดยตรงครั้งใหม่กับจีน ซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสอง และเป็นคู่ต่อสู่สมน้ำสมเนื้อที่สุดกับสหรัฐ ในสงครามการค้า ซึ่งยืดเยื้อตั้งแต่รัฐบาลทรัมป์สมัยแรก และยังคงมีการสานต่อโดยรัฐบาลวอชิงตันของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ตุ๊กตาของเล่นเลียนแบบประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐ วางขายอยู่ที่ร้านแห่งหนึ่ง ในเมืองอี้อวู๋ ของมณฑลเจ้อเจียง ทางตะวันออกของจีน มาตรการภาษีต่างตอบแทน หรือภาษีตอบโต้ ซึ่งสหรัฐต้องการใช้กับคู่ค้าที่ได้ดุลการค้าสูงสุด มีผลอย่างเป็นทางการ เมื่อเวลา 00.01 น. ตามเวลาท้องถิ่นของวันที่ 9 เม.ย. ที่ผ่านมา ตรงกับเวลา 11.01 น. ตามเวลาท้องถิ่นของวันเดียวกันในประเทศไทย จีนเผชิญกับอัตราภาษีต่างตอบแทนสูงที่สุด คืออย่างน้อย 145% ซึ่งรวมถึง 20% ที่มีการประกาศตั้งแต่เดือนก.พ. ที่ผ่านมา ตามด้วยอีก 34% ซึ่งผู้นำสหรัฐประกาศเมื่อวันที่ 2 เม.ย. ที่ผ่านมา และอีก 50% ที่ทรัมป์ประกาศภายในอีกไม่กี่วันต่อมา จากการที่จีนขึ้นภาษีตอบโต้อีก…

ทั่วโลกใช้ ‘พลังงานสะอาด’ ทะลุ 40% ‘โซลาร์เซลล์’ เติบโตมากสุด

Loading

รายงานฉบับใหม่จากกลุ่มสถาบันวิจัยด้านพลังงาน Ember ระบุว่าในปี 2024 การผลิตไฟฟ้าของโลกมากกว่า 40% มาจาก “พลังงานหมุนเวียน” แต่การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ตัวการที่ทำให้ “โลกร้อน” กลับเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากปีที่ผ่านมาอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น ยิ่งทำให้ความต้องการพลังงานโดยรวมมากขึ้น ส่งผลให้ต้องใช้ “เชื้อเพลิงฟอสซิล” เพิ่มมากขึ้น