เปิดโปง QAnon ลัทธิคลั่งเบื้องหลังสาวกทรัมป์

Loading

อธิบายชัดๆ ที่มาที่ไปของลัทธิ QAnon ที่กำลังเขย่าประชาธิปไตยสหรัฐ     การบุกอาคารรัฐสภาในกรุงวอชิงตันดี.ซี.ของสหรัฐเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีกลุ่มผู้สนับสนุนประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ที่เรียกตัวเองว่า “QAnon” เข้าร่วมวงด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่เชื่อว่าเป็นแกนนำคนสำคัญของกลุ่มอย่าง เจค แองเจลี หรือ เจค็อบ แอนโธนี แชนสลีย์ ที่บุกเข้าไปถึงด้านในตัวอาคาร และแอชลีย์ แบบบิต อดีตทหารในกองทัพอากาศสหรัฐที่บุกคองเกรสจนถูกยิงเสียชีวิต คนเหล่านี้ทำให้ชื่อของ QAnon ถูกพูดถึงอีกครั้ง ต่อไปนี้คือสรุปที่มาที่ไปและความเชื่อของกลุ่ม QAnon 1. QAnon คือทฤษฎีสมคบคิดที่ปราศจากมูลความจริงของกลุ่มขวาจัดที่เชื่อว่า เจ้าหน้าที่ระดับสูงในรัฐบาลสหรัฐ ร่วมมือกับนักการเมืองพรรคเดโมแครต มหาเศรษฐี และคนดังในวงการฮอลลีวูด ไม่ว่าจะเป็น ฮิลลารี คลินตัน, บารัก โอบามา, จอร์จ โซรอส หรือโอปราห์ วินฟรีย์ พยายามสร้างรัฐซ้อนรัฐ (deep state) เพื่อครอบงำสหรัฐ และยังกล่าวหาว่าคนกลุ่มนี้เกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดทางเพศเด็ก รวมถึงเชื่ออีกว่าทรัมป์กำลังทำสงครามกับคนกลุ่มนี้อย่างลับๆ เพื่อช่วยโลก 2. QAnon ยังเชื่อคำกล่าวอ้างอื่นๆ…

ทั่วโลกแห่ใช้เทเลแกรม หลังวอทส์แอพพ์ บังคับแชร์ข้อมูลส่วนบุคคล ให้เฟซบุ๊ก

Loading

หลายประเทศทั่วโลกที่ใช้แอพพลิเคชั่น ‘วอทส์แอพพ์’ เป็นหลัก ได้เปลี่ยนมาใช้ เทเลแกรม และซิกนัล หลายล้านคน หลังวอทส์แอพพ์ บังคับแชร์ข้อมูลส่วนบุคคล ให้เฟซบุ๊ก     เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ.2564 เว็บไซต์ เดอะ ซัน นำเสนอข่าวว่า มีรายงานว่ามีผู้คนจำนวนจากทั่วโลก เลิกใช้แอพพลิเคชั่นสื่อสาร วอทส์แอพพ์ (WhatsApp) หลังจากแอพพลิเคชั่นดังกล่าว ได้แจ้งผู้ใช้งานว่าจำเป็นต้องแชร์ข้อมูลส่วนตัวที่ละเอียดอ่อนให้กับเฟซบุ๊ก มิเช่นนั้นจะถูกปิดบัญชีผู้ใช้งาน โดยในวันพุธที่ผ่านมา (6 ม.ค.64) วอทส์แอพพ์ ได้กำหนดเงื่อนไขใหม่ โดยขอให้ผู้ใช้ยินยอมที่จะให้เฟซบุ๊ก และ บริษัท ในเครือรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งาน มิฉะนั้นบัญชีผู้ใช้งานจะถูกปิดบัญชี โดยข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว ยังรวมถึงข้อมูล หมายเลขโทรศัพท์ บันทึกระยะเวลาการใช้งาน ความถี่ที่ใช้วอทส์แอพพ์ ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีที่ผู้ใช้งานโต้ตอบกับผู้ใช้รายอื่น การระบุอุปกรณ์และรายละเอียด ที่อยู่ IP ระบบปฏิบัติการ รายละเอียดเว็บเบราว์เซอร์ ความสมบูรณ์ของแบตเตอรี่ เวอร์ชั่นของแอพ เครือข่ายโทรศัพท์ ภาษาและเขตเวลา เป็นต้น จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้นักเคลื่อนไหวด้านสังคมที่กังวลในด้านความเป็นส่วนตัว…

นักวิจัยคิดค้นวิธีการทำให้ RAM แผ่สัญญาณ Wi-Fi เพื่อลอบขโมยข้อมูล

Loading

  Mordechai Guri นักวิจัยจาก Ben-Gurion University of the Negev ในอิสราเอลได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการทำให้ RAM แผ่สัญญาณ Wi-Fi ออกมาเพื่อลอบขโมยข้อมูลสำคัญได้   ในสภาพแวดล้อมที่มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยอย่างเข้มงวดเช่น หน่วยงานรัฐบาลหรือทางการทหาร จะมีการแยกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีข้อมูลสำคัญไว้ในส่วนที่ไม่มีอินเทอร์เน็ต และรักษาระยะห่างจากการเข้าถึง (Air-gapped) ซึ่งล่าสุดนักวิจัยได้เผยแพร่ผลงานการโจมตีหรือ AIR-FI ที่คาดว่าจะเป็นปฏิปักษ์ต่อมาตรการนี้ แม้ว่าคอมพิวเตอร์จะไม่มีอุปกรณ์ส่งสัญญาณเลยก็ตาม แต่นักวิจัยหัวใสก็สรรค์สร้างวิธีการอันบรรเจิดออกมาจนได้ คืออย่างที่เรารู้กันว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านจะแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาแน่นอน ซึ่งคลื่นสัญญาณวิทยุก็คือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยนักวิจัยสามารถใช้มัลแวร์เข้าไปสร้างการผ่านของกระแสไฟฟ้าให้ RAM เกิดการแผ่สัญญาณที่ช่วงคลื่นย่าน 2.4 GHz อย่างคงที่ ส่งผลให้เมื่อนำอุปกรณ์รับสัญญาณมาอยู่ในระยะก็สามารถลอบขโมยข้อมูลออกมาได้ นอกจากนี้นักวิจัยชี้ว่าการโจมตีนี้จะสามารถใช้ได้จากสิทธิ์ในการใช้งานตามปกติไม่ต้องเป็นถึง Root หรือ Admin และยังใช้บน OS ใดหรือโจมตีจากใน VM ก็ได้ โดยทั่วไปแล้วแรมสมัยใหม่สามารถถูกทำให้แผ่สัญญาณย่าน 2.4 GHz แต่แรมรุ่นเก่าๆ สามารถ Overclock ให้มีผลลัพธ์นี้ได้เช่นกัน วิธีการนี้ถูกตีพิมพ์ในงานวิจัย “AIR-FI: Generating Covert WiFi…

แบงก์ หวั่นข้อมูลส่วนบุคคลรั่ว หลังกฎหมายใหม่บังคับใช้

Loading

  วงการแบงก์หวั่น ข้อมูลส่วนบุคคลลูกค้ารั่วไหล หลัง “กฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล” จะเริ่มบังคับใช้ 1 มิ.ย.64 หลังเลื่อนมา 1 ปี แต่ไม่มีความชัดเจน ทั้งมาตรฐานรวบรวมข้อมูลและแนวปฎิบัติ เหตุรอกฤษฎีกาตีความบอร์ดทั้งชุด “วินาศภัย” เบรกขยายตลาดเสนอขายประกันหรือบริการแบบอื่น พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)ข้อมูลส่วนบุคคล หรือ Personal Data Protection Act (PDPA) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ 1 มิถุนายน 2564 หลังเลื่อนมาจากวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 แต่จนถึงตอนนี้ก็ยังมีความไม่ชัดเจนในหลายเรื่อง เช่น มาตรฐานจัดเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล แนวปฎิบัติ ส่วนหนึ่งเพราะยังต้องรอสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความรายชื่อคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล(บอร์ด) จากปัจจุบันที่มีปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอี)เป็นประธานกรรมการชั่วคราว เมื่อบอร์ดยังไม่ชัดเจน จึงเกรงว่า จะสร้างปัญหาในทางปฎิบัติ ถ้าไม่มีรายละเอียดหรือแนวทางปฎิบัติ มาตรฐานการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล การใช้ข้อมูลและการเปิดเผยข้อมูล ซึ่งถ้าไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับข้อมูลที่ต้องขอความยินยอม (Consent)จากเจ้าของข้อมูล และยังเกรงว่า เมื่อออกแนวปฎิบัติมาแล้วจะเป็นปัญหาว่า ไม่สามารถปฎิบัติ “ข้อมูลที่ต้องรวบรวมจัดเก็บนั้นมี 2 ส่วนคือ ส่วนที่ไม่ต้องขอ Consent เพราะได้รับยกเว้น…

เจาะแอปพลิเคชันโควิดสิงคโปร์ ติดตามตัวโดยบลูทูธ ย้ำไม่ละเมิดข้อมูลส่วนตัว

Loading

  แอปพลิเคชันรายงานสถานการณ์โควิด-19 และติดตามผู้ป่วย ‘เทรซ ทูเกตเตอร์’ มีชาวสิงคโปร์ใช้มากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ กลายเป็นแอปฯสู้โควิด-19 ที่ถูกยกให้เป็นแอปฯ ที่ประสบความสำเร็จที่สุด นอกจากนี้ยังมี โทเคน หรืออุปกรณ์พกพาเป็นทางเลือกสำหรับผู้สูงอายุและเด็กที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือ ส่วนประชาชนที่ไม่อยากดาวน์โหลดแอปฯให้หนักเครื่องก็สามารถใช้ โทเคน ได้เช่นกัน ส่วนแอปฯของญี่ปุ่น และฮ่องกง กลับสวนทางประชาชนไม่เลือกใช้เพราะความซับซ้อนของวิธีใช้งาน และกังวลการละเมิดข้อมูลส่วนตัว นักวิเคราะห์ชี้ ความเชื่อมั่นในรัฐบาลของประเทศนั้นๆ ถือเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวชี้วัดว่าประชาชนนั้นจะใช้แอปพลิเคชันได้อย่างสนิทใจหรือไม่   สัปดาห์ที่ผ่านมาสิงคโปร์ประกาศว่า แอปพลิเคชัน ‘เทรซ ทูเกตเตอร์’ (TraceTogether) ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ติดตามตัวประชาชนต่อสู้กับโรคโควิด-19 มีผู้สมัครใช้กว่า 5.7 ล้านคน หลังจากการรณรงค์ของรัฐบาลสิงคโปร์ ที่ระบุชัดว่าถึงแม้จะไม่มีการประกาศบังคับใช้ประชาชนโหลดแอปพลิเคชันดังกล่าว แต่ผู้ที่ไม่มีแอปฯอาจถูกปฏิเสธให้เข้าสถานที่ต่างๆ รวมไปถึงร้านอาหาร ส่งผลให้มีประชาชนสมัครใช้งานเพิ่มเป็นจำนวนมาก หลังจากที่ก่อนหน้านี้ มีหลายฝ่ายกังวลเกี่ยวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ ทำให้มีการแก้ไขปรับปรุงจุดด้อย ซึ่งแอปพลิเคชัน ดังกล่าวยังเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะนำพาสิงคโปร์เข้าสู่การผ่อนคลายมาตรการป้องกนการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในเฟส 3 ก่อนปีใหม่นี้ รู้จัก เซฟเอ็นทรี และเทรซ ทูเกตเตอร์ รัฐบาลสิงคโปร์ได้ใช้การเช็กอิน ผ่านระบบดิจิทัลหรือเรียกว่า ‘เซฟเอ็นทรี’ ซึ่งคล้ายคลึงกับ…

โคตรเซียน “ไอโอ” คือไอโอรัสเซีย

Loading

ประเทศที่ทำไอโอมากที่สุดในโลกและสำเร็จมากที่สุด รัสเซียทำอย่างไรและกำลังมุ่งไปทางไหน กลยุทธ์การรบแบบสับขาหลอกของรัสเซีย (หรือสหภาพโซเวียตในขณะนั้นฉ ที่โด่งดังมากในช่วงสงครามเย็นคือสิ่งที่เรียกว่า “มาสกิรอฟสกา” (Maskirovka) ซึ่งแปลว่าการอำพราง แต่มันมีความหมายมากกว่านั้น สารานุกรมการทหารของสหภาพโซเวียตในปี 1944 นิยาม “มาสกิรอฟสกา” ว่าเป็นวิธีการรักษาที่มั่นในการปฏิบัติการรบโดยอาศัย “ความซับซ้อนของมาตรการเป็นการชี้นำให้ศัตรูเข้าใจผิด” โดยสรุปก็คือ “มาสกิรอฟสกา” คือการใช้กลยุทธ์อำพราง ซ่อนเร้น หรือแม้แต่การทำแบบเปิดเผยเพื่อให้อีกฝ่ายเข้าใจผิด หรือใช้ภาษาชาวบ้านทุกวันนี้ก็คือ “ปฏิบัติการไอโอ” (Information Operations) ในระยะหลัง “มาสกิรอฟสกา” ไม่ใช่แค่การอำพรางในสนามรบ แต่ยังรวมถึงกลยุทธ์การเมืองและการทูตรวมถึงการบิดเบือน “ข้อเท็จจริง” เกี่ยวกับสถานการณ์และการรับรู้ที่จะส่งผลกระทบต่อสื่อมวลชนและความคิดเห็นทั่วโลก เพื่อบรรลุหรืออำนวยความสะดวกในด้านยุทธวิธียุทธศาสตร์ระดับชาติและเป้าหมายระหว่างประเทศ ปฏิบัติการที่ทำให้สื่อและความเห็นสาธารณะเข้าใจผิดคือการปล่อย “ความเท็จ” เพื่อสร้าง “ความจริงใหม่” ทำให้อีกฝ่ายถูกหลอกด้วยข่าวปลอมที่คิดว่าเป็นความจริงจนกระทั่งกลายเป็นหมูในอวยของฝ่ายศัตรู หลังสิ้นสุดสงครามเย็นแล้ว “มาสกิรอฟสกา” หายเข้ากลีบเมฆไปเพราะรัสเซียอ่อนแอลงและโลกไม่ได้เป็นสนามชิงอำนาจของประเทศใหญ่ๆ อีก จนกระทั่งถึงช่วงปลายทศวรรษที่ 2010 “มาสกิรอฟสกา” ก็เริ่มคืบคลานกลับเข้ามาอีก และมันหนักข้อขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ รัสเซียกลับมาแข็งแกร่งมากขึ้ภายใต้การบริหารของวลาดิมีร์ ปูติน ขณะเดียวกันชาติตะวันตกก็พยายามบีบรัสเซียด้วยการรุกคืบเข้าในเขตอิทธิพลเดิมของรัสเซียคือยุโรปตะวันออกและอดีตประเทศในเครือสหภาพโซเวียต เหตุการณ์ที่นำไปสู่การแตกหักคือความวุ่นวายในยูเครน กรณีนี้ทำให้ “กลยุทธ์ไอโอสับขาหลอก” กลับมาผงาดอีกครั้ง มาเรีย สเนโกวายา ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ทำการวิเคราะห์การทำสงครามข้อมูลข่าวสารของปูตินในกรณียูเครนเอาไว้โดยบอกว่ารัสเซียใช้รูปแบบสงครามลูกผสมขั้นสูง (Hybrid warfare) ในยูเครนตั้งแต่ต้นปี 2014 โดยใช้กลยุทธ์ที่เรียกว่า “การควบคุมแบบสะท้อนกลับ” “การควบคุมแบบสะท้อนกลับ” (Reflexive Control) คือวิธีการถ่ายทอดข้อมูลไปยังคู่ต่อสู้ โดยใช้ชุดข้อมูลเตรียมไว้เป็นพิเศษเพื่อโน้มน้าวให้เขาตัดสินใจล่วงหน้าโดยสมัครใจตามที่ผู้ริเริ่มปฏิบัติการกระทำต้องการให้เป็นอย่างนั้น สรุปสั้นๆ…