เปิดเเผนรัสเซียขยายอิทธิพลเพื่อ ‘แทรกซึมการเมืองสหรัฐฯ’ ต่อเนื่อง

Loading

Putin’s language สี่ปีหลังจากการเตือนภัยและเตรียมการต่อต้านการเเเทรกแซงของรัสเซียต่อการเลือกตั้งอเมริกัน หน่วยงานข่าวกรองสหรัฐฯ มั่นใจว่า การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ไม่เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยเมื่อปี ค.ศ. 2016 ที่รัสเซียสามารถเจาะล้วงระบบข้อมูลและขยายอิทธิพลต่อกระบวนการประชาธิปไตยอเมริกา อย่างไรก็ตาม ผู้สันทัดกรณีกล่าวว่ารัสเซียยังคงพยายามขยายปฏิบัติการด้านข้อมูลข่าวสารในรูปแบบที่แยบยลกว่าในอดีต จากเดิมที่รัสเซียใช้บัญชีโซเชี่ยลมีเดียปลอมสร้างเนื้อหาและเผยเเพร่ข้อมูล ปัจจุบันกลวิธีใหม่ๆ ถูกนำมาใช้เพื่อชี้นำความคิดในสังคมอเมริกัน เช่น การแทรกซึมเข้าไปในวงการข่าวและสื่อสังคมออนไลน์ โดยมุ่งเป้าไปที่กลุ่มขวาจัดและซ้ายจัดในอเมริกา เอวานา ฮู ซีอีโอ ขององค์กร Omelas ที่ศึกษาเกี่ยวกับความคิดสุดโต่งออนไลน์ ให้สัมภาษณ์กับวีโอเอว่า วิธีการลักษณะนี้ของรัสเซียสามารถสร้างความสนใจและมีปฏิกิริยาตอบโต้บนสื่อออนไลน์โดยผู้ใช้สื่อจำนวนนับล้านคน เธอบอกว่าโพสต์เหล่านี้ถูกออกแบบมาอย่างดี เพื่อกระตุ้นความรู้สึก ทั้งทางบวกและทางลบต่อเป้าหมาย องค์กรของเธอซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน วิเคราะห์เนื้อหาที่รัสเซียปล่อยออกมาบนสื่อสังคมไลน์ 1 ล้าน 2 แสนโพสต์บน 11 แพลตฟอร์มช่วง 90 วัน ก่อนและหลังวันเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ 3 พฤศจิกายน US-politics-vote-RALLY องค์กร Omelas พบว่าสื่อของรัสเซียที่ปล่อยข้อมูลออกมามากในอันดับต้นๆได้เเก่ RT, Sputnik, TASS และ Izvestia TV Omelas…

Data Privacy กับ Digital Trust ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลบนความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัย

Loading

โดยนายวรเทพ ว่องธนาการ ผู้จัดการฝ่ายสนับสนุนด้านโซลูชั่น บริษัท ยิบอินซอย จำกัด บนโลกดิจิทัล ข้อมูลคือขุมทรัพย์มูลค่ามหาศาล โดยเฉพาะข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) ที่สามารถสร้างมูลค่าทางธุรกิจให้กับผู้ผลิตสินค้าและบริการ การได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไปในการระบุตัวตน เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และข้อมูลที่มีความอ่อนไหวสูง (Sensitive Data) เช่น ข้อมูลที่บ่งบอกพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการบริโภค รสนิยม ข้อมูลสุขภาพ ซึ่งทำให้องค์กรสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์เพื่อนำเสนอสินค้าและบริการใหม่ ๆ ให้กับลูกค้าได้โดยใช้เวลาน้อยลง และเกิดผลสัมฤทธิ์แบบ  วิน-วิน กล่าวคือ ลูกค้าให้การยอมรับต่อการนำข้อมูลส่วนตัวไปใช้ประโยชน์อย่างเจาะจงเพื่อตอบสนองความต้องการที่ตรงจุดและโดนใจได้แม่นยำกว่าในอดีต ขณะที่การดูแลเอาใจใส่ที่ลูกค้าได้รับเป็นพิเศษจะนำมาซึ่งความจงรักภักดี (Loyalty) ที่ยั่งยืนต่อสินค้าและบริการขององค์กรได้ด้วย ครบทุกมิติการจัดการข้อมูลความเป็นส่วนตัว – Data Privacy Management (DPM) หน่วยงานที่ดูแลความปลอดภัยด้านไอทีมีบทบาทสำคัญโดยตรงต่อการลดความเสี่ยงและสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัย (Digital Trust) ต่อข้อมูลความเป็นส่วนตัว โดยต้องทำให้ลูกค้าไว้วางใจได้ว่า หนึ่ง การใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับแอปพลิเคชันหรือบริการอื่นใดทั้งในองค์กร นอกองค์กร หรือเชื่อมโยงข้ามพรมแดน จะถูกเก็บรวบรวม เข้าถึง ประมวลผล และเคลื่อนย้ายถ่ายโอนอย่างเหมาะสม ปลอดภัย สอง สามารถสร้างประโยชน์แบบเฉพาะเจาะจง (Hyper-Personalization) ตรงตามสัญญาที่ให้ไว้กับเจ้าของข้อมูล และเป็นไปตามธรรมาภิบาลด้านข้อมูล (Data Governance)…

ก่อการร้ายเขย่ากรุงเวียนนาของออสเตรีย : ใครทำ?

Loading

ที่มาภาพ: https://www.bbc.com/news/world-europe-54798508 Written by Kim หลายชั่วโมงก่อนที่ออสเตรียจะปิดเมือง (lockdown) อีกครั้ง เพื่อสะกัดกั้นการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เมื่อ 2 พฤศจิกายน 2020 ได้เกิดเหตุก่อการร้ายในกรุงเวียนนา โดยที่เกิดเหตุหลายแห่งอยู่ระหว่างการตรวจสอบของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและความมั่นคง ขณะที่ผู้นำยุโรปรวมทั้งนายกรัฐมนตรีอังกฤษบอริส จอห์นสันและประธานาธิบดีฝรั่งเศสเอ็มมานูเอล มาครงร่วมประณามการโจมตีดังกล่าว ซึ่งแสดงเครื่องหมายการก่อการร้ายของ ISIS ที่คล้ายคลึงกับปฏิบัติการโจมตีกรุงปารีส (พฤศจิกายน 2015) และกรุงบรัสเซลส์ (มีนาคม 2016)[1]           การโจมตีแบบประสานงานของผู้ก่อการร้าย (ไม่ทราบจำนวน) ใช้อาวุธปืนไรเฟิลและปืนพกกราดยิง 6 จุดในกรุงเวียนนาเมื่อ 20.00 น. ของวันที่ 2 พฤศจิกายน 2020 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน (ชาย 2 หญิง 2) บาดเจ็บมากกว่า 15 คน (มีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจยิงคนร้ายเสียชีวิต 1 คน) ทางการออสเตรียระบุว่า เหตุดังกล่าวเป็นการก่อการร้าย ขณะที่ข่าวลือแพร่สะพัดในโลกออนไลน์รวมถึงการจับตัวประกันที่โรงแรมฮิลตันและร้านซูชิญี่ปุ่นสถานที่เกิดเหตุทั้ง 6 แห่งยังคงอยู่ภายใต้การตรวจสอบของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและความมั่นคง ทางการออสเตรียเตือนให้ประชาชน (พลเรือน) หลีกเลี่ยงการเดินทางใจกลางกรุงเวียนนา โดยเฉพาะสถานีขนส่งสาธารณะ เนื่องจากหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายได้เปิดปฏิบัติการรักษาความมั่นคงขนาดใหญ่ เพื่อพิสูจน์ทราบและกักตัวผู้ต้องสงสัยก่อการร้าย มีการปิดกั้นพื้นที่สถานบันเทิง ธุรกิจและถนนรอบเมือง รถยนต์กู้ภัยฉุกเฉินมุ่งสู่ถนนใจกลางกรุงเวียนนาซึ่งเป็นทางสัญจรหลักที่มีบาร์และร้านอาหารจำนวนมาก…

มาถึงจุดนี้ได้อย่างไร? ผู้นำเอธิโอเปียประกาศสงครามกับภูมิภาคไทเกรย์

Loading

นายกรัฐมนตรี อาบีย์ อาห์เหม็ด แห่งเอธิโอเปีย ประกาศสงครามกับภูมิภาค ไทเกรย์ ทางตอนเหนือของประเทศ จนเกิดการต่อสู้อย่างรุนแรงกับกลุ่ม TPLF ที่ปกครองดินแดนแห่งนี้อยู่ ชนวนของสงครามครั้งนี้เริ่มขึ้นมานานหลายปี และค่อยๆ สะสมมาเรื่อยๆ จนถึงขีดสุดเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา และลุกลามกลายเป็นหนึ่งในวิกฤติครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศ การต่อสู้ในภูมิภาคไทเกรย์อาจบานปลาย ทำให้ความขัดแย้งลุกลามไปทั่วประเทศ และอาจสร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่วภูมิภาคแหลมแอฟริกา ทหารจากภูมิภาคอัมฮารา ถูกส่งเข้าไปเผชิญหน้ากับกลุ่มกำลังของ TPLF เมื่อ 9 พ.ย. 2563 กลายเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความตกตะลึงไปทั่วโลก เมื่อนายกรัฐมนตรี อาบีย์ อาห์เหม็ด ซึ่งเพิ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพไปเมื่อปีที่แล้ว ประกาศสงครามกับภูมิภาคไทเกรย์ ดินแดนกึ่งปกครองตนเองในภาคเหนือของประเทศ อย่างไม่มีใครคาดคิด เมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2563 สงครามครั้งนี้มีชนวนเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม ‘แนวหน้าปลดปล่อยประชาชนไทเกรย์’ (TPLF) ซึ่งปกครองไทเกรย์ และเคยเป็นสมาชิกสำคัญของพรรคร่วมรัฐบาลเอธิโอเปียมานานหลายทศวรรษ กับรัฐบาลของนายกฯ อาบีย์ ที่คุกรุ่นตลอดหลายปีที่ผ่านมา ก่อนจะปะทุขึ้นเมื่อไทเกรย์ขัดคำสั่งรัฐบาลกลางและจัดการเลือกตั้งท้องถิ่น นายกรัฐมนตรี อาบีย์ สั่งให้กองทัพออกปฏิบัติการโจมตีในภูมิภาคไทเกรย์ หลังจากเกิดเหตุโจมตีที่ฐานทัพแห่งหนึ่ง ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บมากมาย รวมทั้งทรัพย์สินของกองทัพได้รับความเสียหาย โดยเขาโทษว่าเป็นฝีมือของกลุ่ม TPLF เอธิโอเปียมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร…

ประเมินภัยคุกคามบ้านเกิด: ส่องแนวโน้มอันตรายของประเทศ

Loading

ที่มาภาพ: https://www.crisisgroup.org/united-states/too-much-lose-steering-us-away-election-related-violence Written by Kim กระทรวงความมั่นคงแห่งบ้านเกิด (Department of Homeland Security – DHS) สหรัฐฯ เปิดเผยรายงานการประเมินภัยคุกคามบ้านเกิดฉบับปฐมฤกษ์เมื่อต้นตุลาคม 2020 โดยเน้นย้ำว่า รัสเซียและจีนกำลังใช้เครื่องมือทางไซเบอร์และสื่อสังคม (social media) ทำลายความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ ขณะที่ตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ (non-state actor) เช่น กลุ่มคนขาวผู้สูงส่ง (white supremacists) และ neo-Nazis รวมทั้งพวกขวาจัดอื่น ๆ เป็นภัยคุกคามบ้านเกิด DHS ประเมินด้วยว่า กลุ่มรัฐอิสลาม (ISIS) และ al-Qaeda ยังคงมุ่งหมายที่จะโจมตีสหรัฐฯในดินแดนบ้านเกิด แต่ความสามารถในการปฏิบัติการของกลุ่มดังกล่าวลดลงอย่างมาก[1]           เมื่อ 6 ตุลาคม 2020 DHS ได้เปิดตัวรายงานประเมินภัยคุกคคามบ้านเกิด (Homeland Threat Assessment – HTA)[2] เป็นครั้งแรกรวม 7 ด้าน ได้แก่ ไซเบอร์ อิทธิพลจากต่างประเทศ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การก่อการร้าย องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ การอพยพเข้าเมืองผิดกฎหมายและภัยพิบัติธรรมชาติ สาระสำคัญส่วนใหญ่เป็นการตรวจสอบภัยคุกคามบนพื้นฐานข้อเท็จจริงและไม่เข้าข้างฝ่ายใด…

ความผิดปกติของข่าวสาร (information disorder) ขณะที่การเมืองไม่ปกติ

Loading

ที่มาภาพ: https://medium.com/@dr.vossdaniel/5-tips-to-look-after-your-mental-health-during-the-time-of-covid19-4febe2cf2753 Written by Kim ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเรามักได้ยินคำว่า “ข่าวปลอม” หรือ “สื่อปลอม” อยู่เสมอ ข่าวปลอมเป็นปรากฏการณ์ที่ได้ยินมากในยุคการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต แต่อันที่จริงเนื้อหาที่แสดงความคิดเห็นชวนให้เชื่อจนเกินข้อเท็จจริง เกิดขึ้นมาก่อนยุคอินเทอร์เน็ตเฟื่องฟู โดยมีคำเรียกสื่อประเภทนี้ว่า สื่อเหลือง (เพราะแต่ก่อน หนังสือพิมพ์แนวใส่สีตีไข่นิยมใช้สีเหลืองสีพิมพ์)[1] ขณะเดียวกันก็อาจได้ยินคำว่า ข้อมูลเท็จ (False information) ข้อมูลที่ผิด (Misinformation) และข้อมูลบิดเบือน (Disinformation) ทั้งหมดนี้หมายถึงข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง (incorrect)[2]           คำสัญญาของยุคดิจิทัลสนับสนุนให้เราเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะเป็นไปในทางบวกเมื่อเราอยู่ในชุมชนที่มีการเชื่อมต่อสูงสุด เราสามารถหาข้อมูลที่จำเป็นโดยการคลิกหรือปัดหน้าจอ ความเชื่อดังกล่าวเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เมื่อเรายอมรับว่าระบบนิเวศน์ข้อมูลของเราตกอยู่ในอันตรายของมลพิษซึ่งแบ่งแยกเรามากกว่าการเชื่อมต่อกัน Clare Wardle แห่ง First Draft ได้เขียนบทความเกี่ยวกับความไม่ปกติของข่าวสาร (ข้อมูล) ซึ่งถูกปรับใช้เป็นอาวุธ (weaponisation) มากขึ้น หลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯในปี 2016 โดยจัดแบ่งข้อมูลข่าวสารออกเป็น 3 ประเภท[3]           ข้อมูลที่ผิด (misinformation) คือ ข่าวสารที่ปลอมขึ้นมาหรือเนื้อหาเป็นเท็จ (False information) แต่บุคคลที่เผยแพร่ (agent) เชื่อว่าเป็นจริง ข้อมูลประเภทนี้มักถูกเผยแพร่โดยไม่ตั้งใจ (inadvertent) เช่น เราอ่านข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตหรือในไลน์ระบุว่า ชอคโกแลตทำให้คนเราฉลาดขึ้น (น่าขัน) แต่ก็ตัดสินใจแชร์ (ข้อมูลผิด) โดยไม่รู้ว่าเป็นข้อมูลผิด แสดงว่าเราได้แชร์ข้อมูลที่ผิดไปแล้ว ข้อมูลที่ผิดขับเคลื่อนโดยปัจจัยทางจิตวิทยาสังคม บนสังคมออนไลน์ผู้คนแสดงอัตลักษณ์เพราะต้องการรู้สึกเชื่อมต่อกับเผ่า (tribe) พวกของตน           ข้อมูลบิดเบือน (dis-information) คือ ข่าวสารที่มีเนื้อหาเป็นเท็จ  ถูกบิดเบือนและคนที่เผยแพร่ก็รู้ว่าไม่เป็นจริง มีเจตนาโกหก (ออกแบบมาโดยมีเจตนาร้าย) เป้าหมายคือ…