ส่องอาวุธที่ใช้ในสงครามรัสเซีย-ยูเครน

Loading

ปืนใหญ่อัตตาจร (เอพี)  ส่องอาวุธที่ใช้ในสงครามรัสเซีย-ยูเครน   การรุกรานยูเครนของรัสเซียเป็นความขัดแย้งที่รุนแรงที่สุดในทวีปยุโรป นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยรัสเซียทำการโจมตีหลายเมืองทั่วประเทศยูเครน ซึ่งมีทั้งการยิงขีปนาวุธ การโจมตีทางอากาศ การทิ้งระเบิดและการยิงปืนใหญ่ ส่งผลให้มีประชาชนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก และนี่คืออาวุธบางส่วนที่ใช้ในสงครามนี้   เครื่องบินรบและขีปนาวุธต่างๆ   ขีปนาวุธร่อนคาลิเบอร์   ขีปนาวุธอิซคานเดอร์   ขีปนาวุธต่อต้านรถถัง   เครื่องยิงขีปนาวุธอิซคานเดอร์     กองทัพรัสเซียมีการใช้ขีปนาวุธหลายชนิด หนึ่งในขีปนาวุธที่รัสเซียใช้คือ “ขีปนาวุธร่อนคาลิเบอร์” อาวุธที่มีความแม่นยำ ซึ่งกองทัพรัสเซียใช้โจมตีสถานที่ราชการ และฐานทัพทหารหลายแห่งในกรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครน และเมืองคาร์คีฟ เมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ หลายครั้งอาคารเหล่านี้อยู่ใกล้กับย่านที่อยู่อาศัย จึงทำให้ประชาชนในบริเวณใกล้เคียงเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ขีปนาวุธดังกล่าวถูกติดตั้งบนเครื่องบินรบของรัสเซียด้วย เพื่อใช้โจมตีโครงสร้างพื้นฐานทางทหาร   อีกหนึ่งขีปนาวุธที่รัสเซียใช้เพื่อให้โจมตีเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ คือ “ขีปนาวุธอิซคานเดอร์” ซึ่งมีพิสัยไกลถึง 500 กิโลเมตร และขีปนาวุธนี้มีหัวรบที่ทรงพลังกว่ามากกว่าขีปนาวุธชนิดอื่น ซึ่งสามารถทำลายอาคารขนาดใหญ่ และอาคารที่มีการป้องกันเป็นอย่างดีได้ ทั้งนี้มีรายงานว่าขีปนาวุธอิสคานเดอร์บางลูกถูกยิงจากประเทศเบลารุส พันธมิตรของรัสเซีย ที่เป็นเหมือนพื้นที่เตรียมการสำหรับการบุกยูเครนของรัสเซีย    …

รู้จัก ขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิก ที่รัสเซีย ใช้โจมตีคลังแสงยูเครน

Loading

  รู้จัก ขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิก ที่รัสเซีย ใช้โจมตีคลังแสงยูเครน   จากกรณีรัสเซีย เปิดฉากใช้ขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิก “คินชาล” ขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียงโจมตีทำลายคลังแสงของกองทัพยูเครน ในแคว้นอิวาโน-ฟรานคิฟสค์ ของประเทศยูเครน ที่นับเป็นครั้งแรกที่รัสเซียใช้ขีปนาวุธล้ำยุคดังกล่าว   ขีปนาวุธดังกล่าวตั้งชื่อโดยวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย โดยคินชาล เป็นภาษารัสเซียแปลว่า “กริซ” มีความสามรถในการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงกว่าความเร็วเสียงถึง 10 เท่า และสามารถหลบหลีกระบบป้องกันขีปนาวุธได้ด้วย โดยคินชาล เป็นหนึ่งในอาวุธใหม่หลายๆอย่างของรัสเซียที่เปิดตัวเมื่อปี 2561 ที่ผ่านมา   บีบีซี เปิดเผยข้อมูลของขีปนาวุธ “คินชาล” หรือ “กริซ” ของรัสเซียเพิ่มเติมระบุถึงแสนยานุภาพของขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิกของรัสเซียเพิ่มเติมโดยระบุว่า     เครื่องบินรบรัสเซียติดตั้งขีปนาวุธคินชาล ขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิก ระหว่างการเดินสวนสนาม ในกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย เมื่อปี 2561     – ขีปนาวุธที่มีความเร็วในระดับไฮเปอร์โซนิกสามารถบินเหนือชั้นบรรยากาศโลกได้ที่ความเร็วสูงกว่าความเร็วเสียงถึง 5 เท่า   – ขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิกสามารถหลบหลีกระบบต่อต้านขีปนาวุธได้ดีกว่าขีปนาวุธแบบเดิมๆ   –…

ดีอีเอส สรุป 10 อันดับ “ข่าวปลอม” ประเด็นปากท้อง-สุขภาพคนสนใจมากสุด

Loading

    ดีอีเอส สรุป 10 อันดับ “ข่าวปลอม” สัปดาห์นี้ พบคนสนใจประเด็นเศรษฐกิจปากท้องและสุขภาพมากสุด เจอบ่อย “ออมสิน” ปล่อยกู้ดอกเบี้ยถูก – งดใช้ตู้ ATM กรุงไทย   วันที่ 19 มีนาคม 2565 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ “ดีอีเอส” สรุปผลการมอนิเตอร์สถานการณ์รอบสัปดาห์ของศูนย์ต่อต้าน “ข่าวปลอม” พบ 10 อันดับ ข่าวที่ได้รับความสนใจมากสุด เกาะกลุ่มประเด็นเศรษฐกิจปากท้องและสุขภาพ   นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) กล่าวว่า ผลการมอนิเตอร์และรับแจ้ง “ข่าวปลอม” ประจำสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 11-17 มี.ค. 2565 โดยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม คัดกรองแล้วพบว่า มีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) จำนวน 230 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 113 เรื่อง  …

ยูเครนกับสงครามนิวเคลียร์

Loading

    มีคำถามมาว่า สงครามในยูเครนมีโอกาสจะนำไปสู่สงครามนิวเคลียร์หรือไม่ คำตอบคือ ไม่ และไม่น่าจะพัฒนาไปสู่สงครามนิวเคลียร์เพราะประเทศคู่ขัดแย้ง คือ ยูเครนไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ ส่วนรัสเซียซึ่งเป็นประเทศนิวเคลียร์ชั้นแนวหน้าก็คงมีความยับยั้งช่างใจ สหรัฐและสหภาพยุโรปซึ่งเป็นประเทศนิวเคลียร์ก็คงไม่กล้านำมาใช้   แม้แต่รัสเซีย คู่ขัดแย้งโดยตรงกับยูเครน ซึ่งได้ประกาศเตรียมพร้อมทางนิวเคลียร์เต็มที่ ก็ประกาศเชิงป้องปรามเท่านั้น ในเชิงปรามสหรัฐว่าอย่าแม้แต่จะคิดใช้นิวเคลียร์ทีเดียวนะ ใครเริ่มต้นใช้ก็ตายกันทั้งโลก   อาวุธนิวเคลียร์เป็นอาวุธในเชิง “ป้องปราม” มากกว่า เพราะผู้นำประเทศนิวเคลียร์ต่างรู้ดีว่าหากนำมาใช้ก็ตายกันทั้งโลก คนที่มีคำสั่งให้ใช้ก็ตายด้วย ไม่เฉพาะตัวเองตายเท่านั้น ครอบครัวก็ตายด้วย ตายแล้วคงตกนรกขุมลึกที่สุดไม่ได้ผุดได้เกิด   จากสถิติของสถาบันวิจัยทางยุทธศาสตร์แห่งกรุงสต็อคโฮล์ม เปิดเผยว่า ในปี 2563 ห้าประเทศที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์คือ สหรัฐ รัสเซีย สหราชอาณาจักร์ ฝรั่งเศส จีน อินเดีย ปากีสถาน อิสราเอล และเกาหลีเหนือ มีหัวรบนิวเคลียร์รวมกัน 13,400 หัวรบ ซึ่งประจำการพร้อมที่จะใช้ทันที 3,720 หัวรบ และสำรองพร้อมใช้อีกประมาณ 1,800 หัวรบ   มากพอที่จะทำให้โลกทั้งใบพินาศ สิ่งที่มีชีวิตตายหมด ถ้าไม่ตายก็เลี้ยงไม่โต…

‘เอ็ตด้า’ขู่ ‘แพลตฟอร์มดิจิทัล’ ต่างชาติต้องจดทะเบียน

Loading

    ‘เอ็ตด้า’ เสียงแข็งยันแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างชาติ ต้องจดแจ้งในไทย ฝ่าฝืน ผิดกฎหมายมีบทลงโทษหนัก ดึงโมเดลกฎหมายญี่ปุ่น-ยุโรป มาปรับใช้ต่างใช้กฎหมายนี้แล้ว   นายชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ เอ็ตด้า กล่าวว่า (ร่าง) พระราชกฤษฎีกาการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. …. เป็นสิ่งที่ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลทั้งในประเทศและต่างประเทศต้องปฏิบัติตาม ไม่เช่นนั้นจะถือเป็นผู้ให้บริการผิดกฎหมาย ไม่มีธรรมาภิบาลในการประกอบธุรกิจ   โดยเฉพาะกลุ่มผู้ให้บริการต่างประเทศเมื่อต้องการมาลงทุนในประเทศไทยก็ต้องดำเนินธุรกิจตามกฎหมายไทย และหากไม่จดแจ้งคนไทยก็ไม่ควรใช้บริการของแพลตฟอร์มต่างชาติ หรือ แพลตฟอร์มใดๆก็ตามที่ทำผิดกฎหมาย   “หากไม่ทำจะมีตั้งคณะกรรมการร่วม โดยมีปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เป็นประธาน และปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นรองประธาน นอกจากนี้ยังมีกรรมการที่มาจากทั้งตัวแทนภาครัฐและเอกชนกว่า 20 คน ในการร่วมกันกำหนดเงื่อนไขและส่งหนังสือไปยังสถานทูตในประเทศที่ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต่างชาติตั้งสำนักงานใหญ่อยู่เพื่อเรียกร้องให้ปฏิบัติตามกฏหมายไทยด้วย”   เขา กล่าวว่า เอ็ตด้ามีหน้าที่ตั้งแต่ การจดแจ้ง,การขึ้นทะเบียน และการอนุญาต แต่กฎหมายฉบับนี้เอ็ตด้าให้ดำเนินการตามอำนาจเพียงการจดแจ้งเท่านั้นซึ่งนับว่าไม่ได้เป็นภาระของผู้ประกอบการแต่อย่างใด โดยเฉพาะผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต่างชาติที่ต้องมีการแจ้งรายได้ประจำปีต่อสำนักงานตามกม.นั้น จำเป็นต้องปฏิบัติเพราะจัดอยู่ในมาตรา 32 เรื่องความเสี่ยง โดยความมั่นคงทางการเงินและพาณิชย์เป็น หนึ่งในความเสี่ยงที่ต้องแจ้งด้วย เพราะเกี่ยวข้องกับผู้ใช้บริการคนไทย…

ทำงานกับฟรีแลนซ์อย่างไรให้ปลอดภัยทางไซเบอร์

Loading

  การทำงานกับฟรีแลนซ์เป็นเรื่องปกติทั่วไปสำหรับผู้จัดการหลายคนมานานแล้ว แม้แต่ในองค์กรขนาดใหญ่ งานบางอย่างก็ไม่สามารถจัดการได้ภายในทีม รวมถึงธุรกิจขนาดเล็กที่ปกติไม่สามารถจ้างพนักงานเพิ่มได้ แต่การเชื่อมโยงบุคคลภายนอกเข้ากับกระบวนการทำงานแบบดิจิทัลสามารถเพิ่มความเสี่ยงทางไซเบอร์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทำงานติดต่อกับตัวบุคคลโดยตรงโดยไม่ผ่านตัวแทนคนกลาง   อันตรายจากอีเมลขาเข้า ในการค้นหาฟรีแลนซ์ที่เหมาะสม คุณควรเริ่มคิดถึงภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น เมื่อจะว่าจ้างใครสักคน เรามักจะขอดูพอร์ตโฟลิโอประวัติและผลงานก่อน ฟรีแลนซ์จะส่งเอกสาร ไฟล์ผลงาน หรือลิงก์ไปยังเว็บไซต์ของเธิร์ดปาร์ตี้   นักวิจัยมักพบช่องโหว่ในเบราว์เซอร์หรือชุดโปรแกรมสำนักงาน ผู้โจมตีสามารถเข้าควบคุมคอมพิวเตอร์ขององค์กรได้หลายครั้งโดยการแทรกสคริปต์ที่เป็นอันตรายลงในเอกสารข้อความ หรือโดยการฝังชุดช่องโหว่ในโค้ดเว็บไซต์ แต่บางครั้งเทคนิคดังกล่าวอาจไม่จำเป็น พนักงานบางคนพร้อมที่จะคลิกไฟล์ที่ได้รับโดยไม่ดูส่วนขยายก่อน และเปิดใช้ไฟล์ปฏิบัติการโดยไม่ระมัดระวัง   ผู้โจมตีสามารถแสดงพอร์ตโฟลิโอปกติได้ (ซึ่งอาจไม่ใช่ผลงานของตัวเอง) และส่งไฟล์ที่เป็นอันตรายในภายหลัง นอกจากนี้ ผู้โจมตีสามารถควบคุมคอมพิวเตอร์หรือเมลบ็อกซ์ของฟรีแลนซ์ และใช้เพื่อโจมตีบริษัทของคุณได้ เพราะไม่มีใครรู้ว่าอุปกรณ์หรือบัญชีของฟรีแลนซ์ได้รับการปกป้องอย่างไร และความปลอดภัยด้านไอทีของคุณก็ไม่สามารถควบคุมสิ่งที่เกิดขึ้นได้ คุณไม่ควรถือว่าไฟล์ที่ได้รับนั้นเชื่อถือได้ แม้ว่าจะมาจากฟรีแลนซ์ที่คุณทำงานด้วยมาหลายปีแล้วก็ตาม   มาตรการรับมือ: หากคุณต้องการทำงานกับเอกสารที่สร้างขึ้นนอกโครงสร้างพื้นฐานของบริษัท การรักษาสุขอนามัยดิจิทัลเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด พนักงานทุกคนควรตระหนักถึงภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นจึงควรยกระดับความตระหนักด้านความปลอดภัยของตน นอกจากนี้ เราสามารถให้คำแนะนำที่ใช้งานได้จริงดังนี้   • ตั้งกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดสำหรับการแลกเปลี่ยนเอกสาร และห้ามเปิดไฟล์หากไม่ปฏิบัติตามกฎเหล่านี้ ไม่ควรรับส่งไฟล์ที่ขยายตัวเองได้ สำหรับไฟล์ที่ต้องใช้รหัสผ่านนั้น อาจจำเป็นต้องเลี่ยงผ่านตัวกรองป้องกันมัลแวร์ในอีเมลเท่านั้น • แยกใช้งานคอมพิวเตอร์ต่างหาก โดยแยกออกจากเครือข่าย หรือใช้เครื่องเสมือนเพื่อทำงานกับไฟล์จากแหล่งภายนอก หรืออย่างน้อยก็ตรวจสอบก่อน วิธีนี้จะช่วยลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมากในกรณีที่มีการติดมัลแวร์…