‘นักสืบโซเชียล’ กับข้อมูล รอยเท้าบนโลกดิจิทัล

Loading

    ข้อมูลที่ถูกนำมาเปิดเผยต่างๆ ไม่ใช่แค่ข้อมูลประเภทที่เป็น “รอยเท้าบนโลกดิจิทัล” (Digital Footprint) ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับคดีต่างๆ แต่ยังรวมไปถึงข้อมูลดิจิทัลจากกล้อง CCTV ภาพถ่าย ตามสถานที่ต่างๆ ด้วย   กรณีการเสียชีวิตของนักแสดงสาว “แตงโม นิดา” เป็นข่าวดังที่สุดในสื่อต่างๆ ของบ้านเราช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะข่าวการสืบค้นข้อมูลต่างๆ ของคดีที่มีอยู่ในโลกโซเชียล แม้ข้อมูลที่นำมาเสนอในโลกโซเชียล จะมีออกมามากมาย ทั้งที่จริงและเท็จ บ้างก็เป็นความเห็นต่างๆ ที่ทำให้สังคมสับสนยิ่งขึ้น แต่ก็ปฎิเสธไม่ได้ว่า ข้อมูลในบางเรื่องที่ชาวโซเชียลขุดออกมามีประโยชน์ไม่น้อย ทำให้สังคมมีข้อมูลที่มีความชัดเจนขึ้น แม้กระทั่งตำรวจยังต้องออกมายอมรับในความสามารถของนักสืบโซเชียลที่ช่วยให้มีข้อมูลต่างๆ นำไปสู่การสืบสวนที่ดี   ข้อมูลที่ถูกนำมาเปิดเผยต่างๆ ไม่ใช่แค่ข้อมูลประเภทที่เป็น “รอยเท้าบนโลกดิจิทัล” (Digital Footprint) ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับคดีต่างๆ แต่ยังรวมไปถึงข้อมูลดิจิทัลจากกล้อง CCTV ภาพถ่าย ตามสถานที่ต่างๆ ด้วย   ปัจจุบันเราอยู่บนโลกของดิจิทัลทำให้ข้อมูลต่างๆ ของเราทุกเก็บไว้มากมาย การที่คนไทยใช้เวลาเฉลี่ยราว 9 ชั่วโมงต่อวัน ในการเล่นอินเทอร์เน็ตทำให้เราทิ้งข้อมูลเอาไว้บนโลกดิจิทัลอย่างมากมาย ทั้งการใช้ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ติ๊กต็อก…

โฟกัสโลกรอบสัปดาห์ : 6 เมืองสำคัญทางยุทธศาสตร์การรบรัสเซีย-ยูเครน

Loading

  โฟกัสโลกรอบสัปดาห์ : 6 เมืองสำคัญทางยุทธศาสตร์การรบรัสเซีย-ยูเครน   กรุงเคียฟ (Kyiv)   ภาพความเสียหายของร้านล้างรถ หลังจากถูกรัสเซียทิ้งระเบิด ที่เมืองบารีชิฟคา ทางตะวันออกของกรุงเคียฟ   เมืองหลวงของยูเครนที่มีประชากร 2.8 ล้านคน เป็นศูนย์กลางแห่งประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม และเป็นที่ตั้งของที่ทำการรัฐบาล และที่อยู่ของประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ผู้นำของยูเครน เมืองนี้เป็นเป้าหมายสำคัญของรัสเซีย ซึ่งขณะนี้ถูกกองทัพรัสเซียปิดล้อมพื้นที่ทางตอนเหนือ และค่อยๆรุกคืบเข้าใกล้ใจกลางเมืองไปเรื่อยๆ ภาพรถถังและรถทหารรัสเซียเคลื่อนขบวนเป็นแถวยาวกว่า 40 ไมล์ พบเห็นในพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมือง และจากที่นั่นกองทัพรัสเซียได้ยิงจรวดถล่มเมือง เมื่อวันที่ 1 มีนาคม เสาสัญญาณโทรทัศน์และวิทยุของกรุงเคียฟถูกขีปนาวุธโจมตี และยังเกิดการระเบิดในบริเวณใกล้เคียงอีกหลายจุด ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 5 ราย ขณะนี้ระบบไฟฟ้า ระบบสื่อสารและระบบรถไฟในเมืองส่วนใหญ่ยังคงใช้ได้ แต่โรงเรียนและร้านค้าเกือบทั้งหมดปิด ขณะที่ประชาชนในเมืองหลายหมื่นคนต้องอพยพหนีสงคราม ซึ่งทั้งหมดมุ่งหน้าไปยังเมืองลวิฟ ซึ่งมีชายแดนติดกับโปแลนด์ด้วยความหวังว่าจะได้ลี้ภัยสงครามไปยังพื้นที่ปลอดภัยในฝั่งตะวันตก     เมืองคาร์คีฟ (Kharkiv) ภาพความเสียหายที่เมืองคาร์คีฟ   เมืองใหญ่เป็นอันดับ 2 ของยูเครน มีประชากรอาศัยอยู่กว่า 1.4…

อัพเดทด่วน! ฟีเจอร์ใหม่บอกสถานะว่าโดนดักฟังอยู่หรือไม่

Loading

  ถ้าคุณคือคนที่กำลังกังวล ว่าโทรศัพท์ของคุณจะโดนไวรัส แอบถ่าย หรือดักฟังอยู่หรือเปล่า ต้องรีบอัพเดทด่วน! กับฟีเจอร์ใหม่ ในเวอร์ชั่นล่าสุดทั้ง Android และ iOS   Digital life วันนี้เฟรมมีข่าวดีมาบอก หลังจากที่คราวที่แล้วเฟรมเล่าถึง เจ้าสปายแวร์ Pegasus ที่มันแฝงมากับ link ที่ไม่ปลอดภัย ถ้าเรากดติดตั้งมันจะมาดูดข้อมูลของเราแถมยังแอบเปิดกล้องโดยที่เราไม่รู้อีก   รวมถึงเรื่องของเจ้า Malware Remote Access Trojan (RAT) ที่สามารถส่งข้อมูลแบบเรียลไทม์ไปให้กับอาชญากรไซเบอร์ได้ตลอดเวลา แล้วยังมาแอบใช้อุปกรณ์ของเราขณะเราเผลอๆ เช่น แอบเปิดกล้อง เปิดไมค์ ฟังเราขณะคุยโทรศัพท์ ซึ่ง 2 เรื่องนี้ เฟรมได้เล่าไปแล้ว ก็มีคำถามเด้งขึ้นมาว่า อ่าวววว แล้วถ้ามันแอบเข้ามาโดยที่เราไม่รู้ตัว แบบนี้เราจะทำอะไรไม่ได้เลยหรอ คำตอบล่าสุดคือ ได้ค่ะ ได้แล้ว ได้ตอนนี้เลย   เพียงแค่คุณกด Update System เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด แต่! อย่าลืมต้องดูให้ดีดีก่อนกด Update…

ละเมิดอธิปไตย?

Loading

    ถ้าคนไทยไปประท้วงหน้าสถานทูต เรียกร้องให้ยุติการทำสงครามกับยูเครน หรือเรียกร้องให้รัสเซียถอนทหารออกจากยูเครน เราเห็นเป็นเรื่องปกติ ตราบใดที่ยังเป็นการประท้วงโดยสันติและไม่ทำผิดกฎหมาย   ถ้าคนไทยประท้วงหน้าสถานทูตอเมริกัน เรียกร้องให้ถอนทหารออกจากซีเรีย อิรัก อัฟกานิสถาน เราก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติ ตราบใดที่ผู้ประท้วงไม่ใช้ความรุนแรง   ถ้าเราเห็นคนไทยประท้วงสถานทูตจีนไม่ให้ใช้ความรุนแรงกับนักศึกษาฮ่องกง ก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติ ตราบใดที่ผู้ประท้วงไม่ใช้ความรุนแรง   หรือจะมีกลุ่มสิทธิมนุษยชนในไทยไปประท้วงหน้าสถานทูตพม่า ต่อต้านรัฐบาลทหารพม่าในการปราบปรามผู้ประท้วง เราก็เห็นเป็นเรื่องปกติ ตราบใดที่ผู้ประท้วงไม่ใช้ความรุนแรง   แต่เราเริ่มรู้สึกแปลก ๆ เมื่อเห็นคนไทยกลุ่มหนึ่งไปหน้าสถานทูตเยอรมนี อังกฤษ สถานทูตฝรั่งในไทย หรือองค์การสหประชาชาติ เรียกร้องให้องค์การสหประชาชาติหรือสถานทูตเหล่านี้กดดันประเทศไทยในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง   สถานทูตหรือองค์การระหว่างประเทศจะส่งเจ้าหน้าที่ออกมารับหนังสือของผู้ประท้วง จากนั้นผู้ประท้วงก็เดินทางกลับ โดยทั่วไปสถานทูตต่างประเทศในไทยจะส่งเจ้าหน้าที่ระดับกลางมารับหนังสือ และปฏิบัติเท่าเทียมกันกับทุกกลุ่มที่มายื่นหนังสือ   โดยทั่วไป สถานทูตมักจะส่งเลขานุการตรี หรือผู้ช่วยเลขานุการมารับหนังสือจากผู้ประท้วงคนไทยทั่วไป แต่ระยะหลังพบว่า มีบางสถานทูตที่พอผู้ประท้วงเป็นกลุ่มต่อต้านรัฐบาลไทยมายื่นหนังสือ สถานทูตนั้นกลับส่งเลขานุการเอก หรือที่ปรึกษา ลงมารับหนังสือ ซึ่งสื่อความหมายว่า สถานทูตนั้นสนับสนุนกลุ่มต่อต้านรัฐบาล แบบนี้ถือว่าเสียมรรยาท   แต่วันนี้ คนไทยรู้สึกแปลก ๆ เมื่อเห็นนักการทูตต่างประเทศกว่า 20 คนจากสถานทูตสหรัฐและสถานทูตสหภาพยุโรปตะวันตก…

รัสเซียมีอาวุธเคมีมากแค่ไหนและใช้กับยูเครนจริงหรือไม่

Loading

    เป็นอีกครั้งที่ฝ่ายตะวันตกชี้ว่ารัสเซียใช้อาวุธที่ผิดกฎหมายระหว่างประเทศ หลังจากที่รัสเซียอ้างว่าพบสหรัฐช่วยเหลือยูเครนพัฒนาอาวุธชีวภาพ เยนส์ สโตลเทนเบิร์ก เลขาธิการ NATO กล่าวเมื่อวันอาทิตย์ว่ารัสเซียอาจใช้อาวุธเคมีหลังจากการรุกรานยูเครน และการเคลื่อนไหวดังกล่าวจะเป็นอาชญากรรมสงคราม ตามการสัมภาษณ์ในหนังสือพิมพ์เยอรมัน Welt am Sonntag   ข้อกล่าวหาของ NATO “ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา เราได้ยินคำกล่าวอ้างที่ไร้สาระเกี่ยวกับห้องปฏิบัติการอาวุธเคมีและอาวุธชีวภาพ” สโตลเทนเบิร์กกล่าวในการรายงานโดยสื่อเยอรมัน Welt am Sonntag พร้อมเสริมว่ารัสเซียกำลังประดิษฐ์ข้ออ้างเท็จเพื่อพิสูจน์สิ่งที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้   “ตอนนี้ที่มีการกล่าวอ้างเท็จเหล่านี้แล้ว เราต้องระมัดระวังตัวอยู่เสมอ เพราะเป็นไปได้ว่ารัสเซียเองก็สามารถวางแผนปฏิบัติการอาวุธเคมีภายใต้การหลอกลวงนี้ได้ นั่นจะเป็นอาชญากรรมสงคราม” สโตลเทนเบิร์กกล่าว   เขาเสริมว่าแม้ว่าชาวยูเครนจะต่อต้านการรุกรานของรัสเซียด้วยความกล้าหาญ แต่ในอีกไม่กี่วันข้างหน้ามีแนวโน้มที่เกิดความยากลำบากมากยิ่งขึ้น   อาวุธเคมีใช้สารที่เป็นอันตรายได้รับการออกแบบมาเพื่อทำให้บาดเจ็บ ทำให้ไร้ความสามารถ หรือฆ่ากองกำลังของฝ่ายตรงข้าม หรือสกัดกั้นการใช้พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง   ทั้งนี้ ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยอาวุธเคมี (1992) มีผลผูกพันทางกฎหมาย ห้ามทั่วโลกในการผลิต กักตุน และใช้อาวุธเคมีและสารตั้งต้น อย่างไรก็ตาม อาวุธเคมีจำนวนมากยังคงมีอยู่ โดยปกติแล้วจะเป็นการป้องกันไว้ก่อนที่อาจเป็นไปได้โดยผู้รุกราน     รัสเซียมีอาวุธเคมีหรือไม่? รัสเซียเข้าร่วมอนุสัญญาว่าด้วยอาวุธเคมี (CWC) พร้อมประกาศว่ามีคลังอาวุธเคมีที่ใหญ่ที่สุด…

การเริ่มนับระยะเวลา แจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล | ศุภวัชร์ มาลานนท์

Loading

  พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มาตรา 37(4) กำหนดให้องค์กรซึ่งเป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่ “แจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลแก่สำนักงานโดยไม่ชักช้าภายใน 72 ชั่วโมง นับแต่ทราบเหตุเท่าที่จะสามารถกระทำได้”   หน้าที่แจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว มีประเด็นที่ต้องพิจารณาทางกฎหมายหลายประการ โดยเฉพาะการเริ่มนับระยะเวลา 72 ชั่วโมงว่าเริ่มเมื่อไหร่ เนื่องจากองค์กรอาจมีความรับผิดทางกฎหมายหากไม่แจ้งภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด   ถ้อยคำหนึ่งในมาตรา 37(4) ที่เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการเริ่มนับระยะเวลา คือ “นับแต่ทราบเหตุ” (become aware) ซึ่งต้องทำความเข้าใจทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายประกอบกัน เพื่อทำความเข้าใจจุดเริ่มต้นการนับระยะเวลาดังกล่าวมากขึ้น     ผู้เขียนขอนำกรณีศึกษาตาม WP29 Guidelines on Personal Data Breach Notification under Regulation 2016/679 (GDPR) มาเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา ดังนี้   WP29 ให้ข้อแนะนำว่าตาม GDPR “นับแต่ทราบเหตุ” ให้เริ่มต้นเมื่อ “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” มีความแน่ใจในว่าเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลที่เกิดขึ้น (security incident) มีผลทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลถูกละเมิด…