ทฤษฎีสมคบคิด (conspiracy theory): นัยของความมั่นคงแห่งชาติ

Loading

ที่มาภาพ: https://www.dw.com/en/coronavirus-how-do-i-recognize-a-conspiracy-theory/a-53492563 Written by Kim ทฤษฎีสมคบคิด (conspiracy theory) อาจส่งผลให้เกิดการรวมกันของกลุ่มคนขาวผู้สูงส่ง (white supremacists) รวมทั้งกลุ่ม QAnon[1] และกลุ่มต่อต้านรัฐบาลที่เห็นว่าไวรัส COVID-19 เป็นโอกาสเดียวที่จะต่อต้านบรรทัดฐานทางสังคมอย่างเฉียบพลัน สำหรับทฤษฎีสมคบคิดกลุ่มต่อต้านยิว (anti-Semitic conspiracy theories) ปรากฏตัวบนแพลตฟอร์มสื่อสังคมหลัก (mainstream social media) และซอกหลืบของอินเทอร์เน็ต ส่วนทฤษฎีสมคบคิดกลุ่ม 5G และการต่อต้านวัคซีนถูกใช้กระตุ้นให้เกิดความรุนแรงในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรนา ทั้งนี้ การแพร่ขยายและการทำให้ทฤษฎีสมคบคิดเข้าสู่ภาวะเป็นปกติ (normalization) เนื่องจากความเชื่อมั่นต่อสื่อกระแสหลักลดน้อยลงหรือการผสานความเป็นพิษ ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ[2]           นับตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของวิกฤติไวรัส COVID-19 รัฐและตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ (non-state actors) ได้ผลักดันทฤษฎีสมคบคิดอย่างหลากหลาย โดยสร้างเรื่องเท็จเพื่อประณามศัตรูเก่า คุกคามผู้ที่ตน (คิดว่า) เป็นศัตรูใหม่และกล่าวโทษรัฐบาล มีประเด็นทับซ้อนทางความคิดระหว่างกลุ่มคนขาวผู้สูงส่งและกลุ่มต่อต้านรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องเล่าผิด ๆ เกี่ยวกับ COVID-19 ทำให้กลุ่มดังกล่าวบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ ชุมชนคนขาวผู้สูงส่งเห็นว่า COVID-19 เป็นตัวเร่งให้เกิดการสร้่างเชื้อชาติสหรัฐฯที่บริสุทธิ์ กลุ่ม QAnon ซึ่งเป็นการรวมตัวแบบหลวม ๆ ของความเชื่อเกี่ยวกับวันสิ้นโลกและการจุติใหม่ของพระเยซูเห็นว่า COVID-19 จะทำให้เกิดการตื่นรู้ครั้งใหญ่ (Great Awakening) ส่วนกลุ่มต่อต้านรัฐบาลมองว่า COVID-19 เป็นทฤษฎีสมคบคิดที่จะถอดถอนเสรีภาพของพลเรือนและเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของรัฐพันลึก (deep state) ที่จะขับไล่ประธานาธิบดีทรัมป์ออกจากตำแหน่ง สำหรับกลุ่มที่มีลักษณะคล้ายทหารและมีแนวคิด “สงครามกลางเมือง” เช่น ขบวนการBoogaloo เห็นว่า COVID-19 ทำให้มั่นใจว่าประธานาธิบดีทรัมป์จะไม่ถูกช่วงชิงไป…

นานาชาติหวั่นใจการบังคับใช้กม.ความมั่นคงใหม่ของจีนในฮ่องกง

Loading

กฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่ที่รัฐบาลจีนอนุมัติให้ฮ่องกงมีผลบังคับใช้แล้ว ทำให้หลายฝ่ายเกิดความวิตกกังวลและกระวนกระวายใจ โดยเฉพาะกลุ่มนักเคลื่อนไหวและผู้ที่มีความเห็นต่าง ด้วยความกลัวบทลงโทษที่นำมาใช้จากนี้ไป สำนักข่าวซินหัวของจีนรายงานว่า ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ได้ลงนามรับรองกฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่ ที่คณะกรรมาธิการสภาประชาชนแห่งชาติจีนมีมติอนุมัติใช้ในฮ่องกงในวันอังคารตามเวลาท้องถิ่น โดยรายงานข่าวระบุว่า หลังจากนี้ ทางการจีนจะเพิ่มเติมมาตรการใหม่ต่างๆ ของกฎหมายนี้เข้าไปในอนุรัฐธรรมนูญของฮ่องกงต่อไป นางแครี่ แลม ผู้บริหารเกาะฮ่องกง เผยว่า กฎหมายดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ในช่วงค่ำของวันอังคาร ซึ่งเป็นวันก่อนวันครบรอบ 23 ปีที่อังกฤษส่งมอบคืนเกาะฮ่องกงให้จีน กฎหมายฉบับใหม่ที่รัฐบาลกรุงปักกิ่งผ่านออกมาใช้งานในฮ่องกงนี้ มีจุดประสงค์เพื่อหยุดยั้งการชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลที่ดำเนินมาตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยมีบทลงโทษสำหรับผู้ที่มีความผิดฐานพยายามแบ่งแยกดินแดน ล้มล้างการปกครอง ก่อการร้าย และสมคบคิดกับต่างชาติเพื่อทำการใดๆ สำนักข่าวซินหัว รายงานโดยอ้างคำพูดของ หลี่ จานชู ประธานคณะกรรมาธิการสภาประชาชนแห่งชาติจีน ว่า กฎหมายใหม่นี้ร่างออกมาตามหลักการของ “การลงทุนคนกลุ่มน้อยเพื่อปกป้องคนส่วนใหญ่” และเพื่อปกป้องและรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงระยะยาวของฮ่องกง ขณะที่ยังไม่มีใครได้เห็นรายละเอียดของกฎหมายความมั่นคงฉบับล่าสุดนี้ รายงานข่าวสื่อท้องถิ่น อ้างข้อมูลจากแหล่งข่าวที่ใกล้ชิดกับกรณีนี้ว่า ผู้บริหารของฮ่องกงและหน่วยงานความมั่นคงแห่งชาติใหม่ที่รัฐบาลกรุงปักกิ่งตั้งขึ้นในฮ่องกงสามารถส่งตัวผู้กระทำความผิด “ร้ายแรง” ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงไปขึ้นศาลในจีนแผ่นดินใหญ่ได้ และว่าโทษของผู้กระทำความผิดนั้นเป็นการจำคุกที่เริ่มตั้งแต่ 3 ถึง 10 ปี รวมทั้งการจำคุกตลอดชีวิตในบางกรณีด้วย หลังมีการประกาศบังคับใช้กฎหมายใหม่ ตัวแทนกลุ่มเคลื่อนไหวด้านการเมืองที่เป็นที่รู้จักกันทั่ว อาทิ โจชัว หว่อง นาธาน…

คลื่นใต้น้ำของการประท้วงในสหรัฐฯ: ความน่ากลัวของพวกแหกคอก

Loading

ที่มาภาพ:https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/1/16/Virginia_2nd_Amendment_Rally_%282020_Jan%29_-_49416109936_%28cropped%29.jpg Written by Kim ขบวนการ Boogaloo[1] ของสหรัฐฯประกอบด้วยกลุ่มบุคคลที่ได้รับอิทธิพลหลากหลายมารวมกันด้วยความรังเกียจการบังคับใช้กฎหมายของรัฐ ขบวนการนี้เห็นด้วยกับสิทธิในการครอบครองอาวุธปืนเพื่อป้องกันตัว โดยตีความการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่สอง (2nd Amendment)[2] อย่างแคบและอำพรางตัวภายใต้การประท้วงเพื่อให้มลรัฐต่าง ๆ ยุติการปิดเมือง (reopen) ท่ามกลางการแพร่ระบาดของ COVID-19 รวมทั้งเข้าร่วมการประท้วงกรณีการเสียชีวิตของ George Floyd พลพรรคของขบวนการมีแผนก่อความรุนแรงเพื่อต่อต้านเจ้าหน้าที่ตำรวจ การโจมตีครั้งล่าสุดใน Las Vegas โดยบุคคลสามคน (ถูกตรวจพบก่อน) และการกราดยิงที่ Santa Cruz และ Oakland โดยบุคคลซึ่งเรียกตัวเองว่า Boogaloo Bois นั้น ผู้ก่อเหตุทั้งหมดมีประสบการณ์ทำงานในกองทัพสหรัฐฯ[3] การเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลสหรัฐฯในช่วงความสับสนของปี 2019 จนถึงช่วงน่าอับอายกลางปี 2020 โดยกลุ่มบุคคลผู้มีแนวคิดต่อต้านรัฐบาล อยู่ในช่วงเริ่มต้นของคลื่นใต้น้ำของเครือข่ายปฏิบัติการ Boogaloo (คำรหัส) หมายถึง “สงครามกลางเมือง” ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากภาพยนตร์เรื่อง Breakin’2: Electric Boogaloo ที่ออกฉายช่วงกลางทศวรรษ 1980 บุคคลในขบวนการซึ่งเรียกตัวเองว่า “Boogaloo Bois” มักอ้างภึงภาพยนตร์ดังกล่าวประหนึ่งสงครามกลางเมืองครั้งที่ 2 (Civil War 2: Electric Boogaloo) ความแปลกแหวกแนวของขบวนการ Boogaloo ได้แก่ การสวมเสื้อเชิตฮาวาย แต่งกายด้วยเครื่องประดับ igloos[4] และใช้การ์ตูน memes[5] ขบวนการได้แต่งตั้ง Duncan Lemp หรือ Boogaloo Boi ที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจสังหารระหว่างการจู่โจมบ้านของเขาในมลรัฐ Maryland ให้มีสถานะเป็นไอคอนและผู้พลีชีพ เช่นเดียวกับพวก incels[6] ยกย่องบูชา Elliot Rodger[7] หรือพวกคนขาวผู้สูงส่ง…

เฟมทวิต : ประวัติศาสตร์ของแนวคิดสตรีนิยม และปมขัดแย้งในสังคมไทย

Loading

แนวคิดสตรีนิยม (feminism) และกลุ่มผู้นิยมแนวคิดนี้ที่เรียกว่า “เฟมินิสต์” (feminist) กำลังเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงอย่างเผ็ดร้อนในหมู่ผู้ใช้โซเชียลมีเดียของไทย #เฟมทวิต เป็นแฮชแท็กที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทางโซเชียลมีเดีย โดยเป็นคำเรียกในเชิงเสียดสีที่หมายถึง กลุ่มผู้ใช้ทวิตเตอร์ที่ออกมารณรงค์เรื่องความเสมอภาคทางเพศระหว่างหญิงชาย และต่อต้านเรื่องการเหยียดเพศ ตลอดจนการล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้หญิง ผ่านการโพสต์ถ้อยคำในโลกออนไลน์ โดยที่ไม่ได้ลงมือทำอะไรอย่างแท้จริง แบบที่กลุ่ม “เฟมินิสต์” ตัวจริงเคลื่อนไหวรณรงค์อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง บีบีซีไทยจะพาไปดูประวัติความเป็นมาของแนวคิดสตรีนิยม และความเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อความเสมอภาคระหว่างเพศนี้ กำเนิดแนวคิดสตรีนิยม คำว่า “เฟมินิสม์” (feminism) หรือแนวคิดสตรีนิยม ได้รับการบัญญัติไว้โดยนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสที่ชื่อ ชาร์ล ฟูรีเย ในปี ค.ศ.1837 ปัจจุบันสารานุกรมบริแทนนิกา ซึ่งเป็นสารานุกรมภาษาอังกฤษที่ตีพิมพ์มายาวนาน ได้นิยามความหมายของคำนี้ว่าเป็น “ความเชื่อเรื่องความเท่าเทียมกันระหว่างชายหญิงในด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง” ขณะที่พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับอ็อกซ์ฟอร์ด ได้นิยามคำว่า “เฟมินิสต์” (feminist) ว่าเป็น “ผู้สนับสนุนสิทธิและความเสมอภาคของสตรี” รีเบ็คก้า เวสต์ นักเขียนชื่อดังชาวอังกฤษผู้วิพากษ์วิจารณ์ความไม่เท่าเทียมระหว่างเพศอย่างตรงไปตรงมา เคยเขียนเอาไว้ในปี 1913 ว่า “ดิฉันเองไม่เคยระบุได้อย่างชัดเจนว่า แนวคิดสตรีนิยม คืออะไร ดิฉันรู้เพียงว่าผู้คนเรียกดิฉันว่า “เฟมินิสต์” เวลาที่ดิฉันแสดงทัศนะที่แบ่งแยกความแตกต่างระหว่างตัวดิฉันกับพรมเช็ดเท้า” พัฒนาการของแนวคิดสตรีนิยม…

รู้จัก ‘สำนักประสานงานร่วมสองเกาหลี’ หลังถูก ‘โสมแดง’ บึ้มทิ้ง

Loading

ทำความรู้จักบทบาทหน้าที่ของ “สำนักประสานงานร่วมสองเกาหลี” ในเมืองพรมแดนเกาหลีเหนือ หลังถูกเปียงยางระเบิดทิ้งในวันนี้ (16 มิ.ย.) ถือเป็น “จุดแตกหัก” ล่าสุดระหว่างสองประเทศที่ขัดแย้งกันมาหลายทศวรรษ กระทรวงรวมชาติของเกาหลีใต้ ซึ่งกำกับดูแลความสัมพันธ์ระหว่างสองเกาหลี แถลงว่า รัฐบาลเกาหลีเหนือทำการระเบิดทิ้งสำนักประสานงานกับเกาหลีใต้ในเมืองแกซอง ซึ่งติดกับพรมแดนเกาหลีใต้เมื่อเวลา 14.49 น.ของวันอังคาร (16 มิ.ย.) ตามเวลาท้องถิ่น เหตุระเบิดนี้มีขึ้นไม่กี่ชั่วโมงหลังสำนักงานคณะเสนาธิการทหารแห่งกองทัพประชาชนเกาหลี (เคพีเอ) เพิ่มคำขู่ใช้ “มาตรการทางทหาร” ต่อเกาหลีใต้และไม่กี่วันหลัง คิม โย จอง น้องสาวผู้ทรงอำนาจของ คิม จอง อึน ผู้นำสูงสุดโสมแดง ประกาศว่า อีกไม่นาน จะได้เห็นเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่สำนักประสานงานร่วมเกาหลีเหนือ-ใต้อันไร้ประโยชน์นี้ “ราบเป็นหน้ากลอง” อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง: พังราบ! ‘โสมแดง’ บึ้มทิ้งสำนักประสานงานร่วมสองเกาหลี ก่อนถูกเกาหลีเหนือระเบิดทิ้ง สำนักประสานงานร่วมเกาหลีซึ่งก่อตั้งขึ้นในนิคมอุตสาหกรรมแกซอง ทางภาคใต้ของเกาหลีเหนือติดพรมแดนเกาหลีใต้เมื่อวันที่ 14 ก.ย. 2561 ถือเป็นหน่วยงานในการประสานงานด้านต่าง ๆ ระหว่างเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ ในขณะที่ทั้งสองฝ่ายไม่ได้มีความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการ คณะผู้แทนจากสองเกาหลีถ่ายรูปร่วมกันในพิธีเปิดสำนักประสานงานร่วม เมื่อปี 2561 สำนักงานแห่งนี้ทำหน้าที่เสมือนเป็น “สถานทูต” ในทางพฤตินัย และยังเป็นช่องทางสื่อสารโดยตรงระหว่างสองเกาหลีด้วย โดยมีผู้แทนของแต่ละฝ่ายดูแลสำนักงานฯร่วมกัน ผู้แทนฝั่งเกาหลีเหนือคือ “จอน จอง-ซู” รองประธานคณะกรรมาธิการรวมชาติอย่างสันติแห่งปิตุภูมิ และฝั่งเกาหลีใต้คือ “ชุน แฮ-ซอง” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงรวมชาติ ทั้งนี้ การก่อตั้งสำนักประสานงานร่วมเกาหลี ส่วนหนึ่งเป็นผลจาก “ปฏิญญาปันมุนจอม” ที่ลงนามโดย คิม จอง-อึน ผู้นำสูงสุดเกาหลีเหนือ และ มุน…

การต่อต้านข้อมูลบิดเบือน (disinformation): ทางเลือกนโยบายที่เหลืออยู่

Loading

ที่มาภาพ: GLOBSEC Strategic Communication Programme https://counterdisinfo.org/ Written by Kim การรณรงค์ (หาเสียง) ด้วยข้อมูลบิดเบือน (disinformation) สร้างผลกระทบอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่การเปลี่ยนผลการเลือกตั้งไปจนถึงกระตุ้นการก่อความรุนแรง ภาครัฐและเอกชนรวมทั้งรัฐบาลสหรัฐฯและบริษัทสื่อสังคม (social media) เพิ่งเริ่มต้นใช้กลยุทธ์ต่อสู้กับข้อมูลบิดเบือน ซึ่งนำไปสู่การตอบสนองทีละน้อย ทั้งนี้ การตอบสนองการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่มาพร้อมกับ “infodemic”[1] จะต้องพิจารณาอย่างครอบคลุมรวมถึงการใช้กฎหมายใหม่และการคว่ำบาตรตลอดจนขยายทรัพยากรขององค์กร เพื่อจัดการความท้าทายของข้อมูลบิดเบือน อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาของรัฐบาลไม่ใช่ยาครอบจักรวาล จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ประชาชนจะต้องเสริมสร้างทักษะความรู้ของตัวเองเกี่ยวกับดิจิตอลและสื่อด้วย[2]           การเผยแพร่ข้อมูลบิดเบือนถือเป็นภัยคุกคามเสถียรภาพและสันติภาพระหว่างประเทศ การรณรงค์อย่างซับซ้อนเพื่อสร้างอิทธิพลต่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯในปี 2016 ของรัสเซีย บ่งชี้ถึงการเป็นภัยคุกคามอย่างมีนัยสำคัญ ตัวอย่างจำนวนมากแสดงให้เห็นว่าทฤษฎีสมคบคิดที่ถูกผลักดันทางออนไลน์ (โลกเสมือนจริง) สามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ในโลกกายภาพ ล่าสุดที่ลอสแอนแจลิส วิศวกรรถไฟชื่อ Eduardo Moreno เจตนาทำให้รถไฟตกรางเพื่อขัดขวางความพยายามของรัฐบาลในการต่อสู้กับ COVID-19 โดย Moreno เชื่อว่า เรือโรงพยาบาล (the Mercy) ของกองทัพเรือเป็นส่วนหนึ่งของแผนการยึดครองประเทศของรัฐบาล นอกเหนือจากการปรับใช้ทฤษฎีสมคบคิดและ deepfakes (วิดิโอดัดแปลงด้วยปัญญาประดิษฐ์) เพื่อจัดการความเชื่อของปัจเจกบุคคล บริษัทสื่อสังคมซึ่งเป็นสมรภูมิสำคัญของสงครามข้อมูลบิดเบือนได้ใช้วิธีไม่คงเส้นคงวาในการต่อสู้กับข้อมูลบิดเบือนและ deepfakes โดย Twitter ดำเนินการเชิงรุกด้วยการห้ามโฆษณาทางการเมือง แต่ตัดสินใจติดธง (ไม่ลบ) deepfakes ทางการเมือง ในทางกลับกัน Facebook ประกาศว่าจะไม่ลบโฆษณาทางการเมืองที่ทราบว่าเป็นข้อมูลผิด ปัญหาเหล่านี้ทวีความรุนแรงเมื่อเกิดการระบาดของ COVID-19 ซึ่งองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) เรียกว่า infodemic           รัฐบาลประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะสหรัฐฯมีนโยบายตอบโต้ข้อมูลบิดเบือนค่อนข้างช้า…