อุยกูร์ : จีนทดลองซอฟต์แวร์เอไอตรวจจับอารมณ์ชนกลุ่มน้อยมุสลิม

Loading

  “รัฐบาลจีนใช้ชาวอุยกูร์เป็นตัวทดลองในการทดลองต่าง ๆ ราวกับหนูที่ใช้ในห้องแล็บ” นี่คือความเห็นของวิศวกรซอฟต์แวร์คนหนึ่งที่ให้สัมภาษณ์ในรายการพาโนรามา (Panorama) ของบีบีซีภายใต้เงื่อนไขว่าจะไม่เปิดเผยตัวตนของเขา โดยระบุว่าทางการจีนได้ทำการทดลองระบบกล้องที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ และเทคโนโลยีจดจำใบหน้าเพื่อตรวจจับอารมณ์ของผู้คนกับชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมอุยกูร์ ในเขตปกครองตนเองซินเจียง วิศวกรรายนี้เปิดเผยว่า มีการติดตั้งระบบดังกล่าวตามสถานีตำรวจในเขตปกครองตนเองซินเจียง ซึ่งมีชาวอุยกูร์อาศัยอยู่ราว 12 ล้านคน และพวกเขามักตกอยู่ภายใต้การสอดส่องอย่างใกล้ชิดจากทางการ อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของ “ศูนย์ปรับทัศนคติ” ที่องค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชนระบุว่าเป็นสถานกักกันที่มีการรักษาความปลอดภัยสูงและมีชาวอุยกูร์ถูกคุมขังอยู่กว่า 1 ล้านคน รัฐบาลจีนยืนกรานมาตลอดว่าการสอดส่องเป็นเรื่องจำเป็นในภูมิภาคนี้ เพราะกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่ต้องการก่อตั้งรัฐของตนเองได้สังหารประชาชนไปหลายร้อยคนในเหตุก่อการร้าย     กล้องตรวจจับอารมณ์ วิศวกรซอฟต์แวร์ที่ให้ข้อมูลกับบีบีซี ระบุว่าไม่ต้องการเปิดเผยชื่อและบริษัทที่ทำงานอยู่ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย อย่างไรก็ตาม เขาได้โชว์รูปถ่าย 5 รูปของผู้ถูกคุมขังชาวอุยกูร์ ซึ่งเขาอ้างว่าได้ทดสอบระบบกล้องตรวจจับและจดจำอารมณ์กับคนกลุ่มนี้ วิศวกรรายนี้เล่าว่าเขาได้ติดตั้งกล้องชนิดนี้ที่สถานีตำรวจในเขตปกครองตนเองซินเจียง “เราตั้งกล้องตรวจจับอารมณ์ห่างจากผู้ถูกทดลอง 3 เมตร มันคล้ายกับเครื่องจับเท็จแต่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่ามาก” เขาเล่าว่าเจ้าหน้าที่ใช้ “เก้าอี้หน่วงเหนี่ยว” ที่มีใช้กันอย่างแพร่หลายตามสถานีตำรวจทั่วประเทศจีน “ข้อมือคุณจะถูกล็อกอยู่กับที่ด้วยเครื่องยึดที่เป็นโลหะ เช่นเดียวกับที่ข้อเท้าของคุณ”       วิศวกรผู้นี้ยังแสดงหลักฐานการฝึกฝนให้เอไอตรวจจับและวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของสีหน้าและรูขุมขนที่เกิดขึ้นภายในเสี้ยวนาที เขาอธิบายการทำงานของระบบว่า ซอฟต์แวร์จะนำข้อมูลที่ได้มาประมวลแล้วสร้างเป็นแผนภูมิวงกลม เพื่อบ่งชี้ถึงอารมณ์ของผู้ถูกทดสอบ โดยส่วนสีแดงสื่อถึงอารมณ์ความรู้สึกเชิงลบหรือความวิตกกังวล เขาระบุว่า ซอฟต์แวร์มีเป้าหมายในการ…

‘Disqus Widget’ ประมวลผลข้อมูลไม่ชอบด้วยกฎหมาย

Loading

  ส่องบทเรียน “Disqus Widget” บริษัทสัญชาติอเมริกันที่นำเสนอแพลตฟอร์มการแบ่งปันความคิดเห็นสาธารณะทางออนไลน์ แต่กลับกระทำความผิดตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป และได้รับลงโทษปรับทางปกครองเป็นเงินราวๆ 2.5 ล้านยูโร เมื่อวันที่ 2 พ.ค.2564 Datatilsynet ซึ่งเป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศนอร์เวย์ ได้มีหนังสือแจ้งไปยัง Disqus Inc. บริษัทสัญชาติอเมริกันที่นำเสนอแพลตฟอร์มการแบ่งปันความคิดเห็นสาธารณะทางออนไลน์ ซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าสู่ระบบและสร้างโปรไฟล์เพื่อเข้าร่วมการสนทนา ว่าได้กระทำความผิดตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรปหรือ GDPR ในหลายกรณี โดยจะลงโทษปรับทางปกครองเป็นเงินราวๆ 2.5 ล้านยูโร เนื่องจากการกระทำความผิดดังนี้ (1) ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของพลเมืองนอร์เวย์ผ่านทางเว็บไซต์ต่างๆ โดยใช้ระบบการเฝ้าติดตาม วิเคราะห์ข้อมูลและโปรไฟลิ่ง และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่มีฐานทางกฎหมาย Datatilsynet เห็นว่า Disqus ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากความยินยอมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (2) ไม่แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการประมวลผลให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบตามที่กฎหมายกำหนด (3) ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลโดยขัดต่อหลักความรับผิดชอบ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดในคดีนี้ สืบเนื่องมาจากการเผยแพร่ข่าวของสื่อมวลชนในประเทศนอร์เวย์เกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของ Disqus โดยใช้ Disqus Widget เชื่อมต่อเว็บไซต์ต่างๆ (NRK.no/ytring, P3.no, tv.2.no/broom, khrono.no, adressa.no, rights.no และ document.no) เข้ากับแพลตฟอร์มการแบ่งปันความคิดเห็นสาธารณะที่ให้บริการโดย…

‘ไทย’ บนรอยขัดแย้ง ‘อิสราเอล-ปาเลสไตน์’

Loading

  วิกฤติความขัดแย้ง “อิสราเอล-ปาเลสไตน์” ดูห่างไกลประเทศไทย แต่เหตุการณ์ยิงจรวดโจมตีตอบโต้ของกลุ่มฮามาสไปยังนิคมเกษตรโมชาฟ ได้ปลิดชีพแรงงานไทยในอิสราเอล อาจเป็นจุดเปลี่ยนท่าทีไทยต่อปมขัดแย้งเรื่องนี้ สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ที่ยืดเยื้อยาวนาน และเกิดปะทุเป็นระยะๆ รวมถึงเหตุการณ์เมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา เกิดการโจมตีตอบโต้ครั้งล่าสุด ต่อเนื่องเป็นเวลา 11 วัน ก่อนสามารถทำข้อตกลงหยุดยิง แล้วเรื่องนี้จะดำเนินต่อไปอย่างไร ท่ามกลางความห่วงกังวลทั่วโลก เพราะหลายประเทศเริ่มรับผลกระทบ รวมทั้งแรงงานไทยในอิสราเอล ต้องบาดเจ็บและเสียชีวิตจากจรวดโจมตีของกลุ่มฮามาส ทางคณะนิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ ร่วมกับสถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ (ISIS Thailand) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาวิชาการ “ฬ.จุฬาฯนิติมิติ” รอบพิเศษ เรื่อง “ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ : ความสัมพันธ์และกฎหมายระหว่างประเทศ กับมุมมองของไทย” เพื่อร่วมสะท้อนมุมมองในเชิงความสัมพันธ์ กฎหมายระหว่างประเทศ และทิศทางลดความขัดแย้งนี้     “ภาวัฒน์ สัตยานุรักษ์” อาจารย์ประจำวิชากฎหมายระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าเรียงลำดับเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล – กลุ่มผู้ติดอาวุธในปาเลสไตน์ครั้งล่าสุด เกิดขึ้นจากปมปัญหาใหญ่ๆ 3 เหตุการณ์ เริ่มจากเหตุการณ์แรก เมื่อกลางเดือน เม.ย.…

Deepfake แบบใหม่ ใช้ AI ขยับปากตามเสียงพากย์ได้แล้ว

Loading

  Flawless บริษัทสตาร์ตอัปที่พัฒนาด้าน AI ได้พัฒนาเทคโนโลยี Deepfake แบบใหม่ ที่สามารถปรับภาพปากของนักแสดงในภาพยนตร์ฮอลลีวูดต้นฉบับ สามารถขยับตามปากตามเสียงที่ถูกพากย์ทับในภาษาอื่น ๆ ได้อย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งจะช่วยให้ผู้คนทั่วโลกสามารถเข้าถึงภาพยนตร์ได้มากขึ้น โดยปกติแล้ว เทคโนโลยี Deepfake จะถูกนำมาใช้ในการนำใบหน้าของบุคคลอื่นมาซ้อนทับกับใบหน้าของนักแสดงในภาพยนตร์ได้อย่างแนบเนียน แต่ Flawless ได้เน้นการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้เฉพาะกับองค์ประกอบของปากเท่านั้น โดยการนำเอาภาพยนตร์หรือซีรีส์ที่ถูกพากย์เสียงทับใหม่สำหรับฉายในต่างประเทศ มาผสานการทำงานเข้ากับซอฟต์แวร์ของ Flawess ซึ่งโมเดล AI ของ Flawless จะสร้างภาพการเคลื่อนไหวของริมฝีปากขึ้นมาให้ตรงกับภาษาที่พากย์ทับเข้ามา และวางภาพริมฝีปากใหม่นี้ลงบนใบหน้าของนักแสดงในภาพยนตร์นั้น ๆ ได้อย่างสมจริง     Nick Lynes ผู้ร่วมก่อตั้ง Flawless ได้กล่าวกับเว็บไซต์ TheVerge ว่า “บางครั้งในการชมภาพยนตร์ที่ถูกพากย์เสียงทับมาใหม่ ก็จะสังเกตเห็นการเคลื่อนไหวของปากที่ไม่ตรงกับเสียงพากย์ ซึ่งทำให้ผู้ชมลดทอนการแสดงของนักแสดงคนนั้น ๆ ลงไปด้วย ระบบที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่นี้จะเข้ามาช่วยให้ผู้ชมยังคงเห็นการแสดงของนักแสดงจากภาพยนตร์ต้นฉบับไปพร้อมกับเสียงพากย์ใหม่ได้อย่างลงตัว” แม้ว่าผลลัพธ์จะยังไม่ถือได้ว่ามีประสิทธิภาพเต็ม 100% แต่ก็ได้ผลที่น่าประทับใจ โดยเห็นได้จากตัวอย่างที่เป็นฉากหนึ่งจากภาพยนตร์คลาสสิกอย่าง A Few Good Men เมื่อปี 1992…

10 ปีหลังการตายของบิน ลาเดน ‘อัลกออิดะห์’ ยังอยู่ดีหรือไฉน?

Loading

  หลังจากครบรอบ 10 ปีหลังการตายของบิน ลาเดน ผู้นำอัลกออิดะห์ จากปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐในเมืองอับบอตตาบัด ปากีสถาน วันนี้อัลกออิดะห์เป็นอย่างไรบ้าง? 2 พ.ค.2554 เป็นวันครบรอบ 10 ปีการตายของโอซามา บิน ลาเดน (Osama bin Laden) ผู้นำอัลกออิดะห์ จากปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐในเมืองอับบอตตาบัด ปากีสถาน สถานภาพของอัลกออิดะห์เสื่อมทรามลงอย่างมาก แต่ยังไม่พ่ายแพ้ รายงานประมาณการข่าวกรองบางฉบับชี้ว่ากลุ่มก่อการร้ายนี้ยังคงมีนักรบในสังกัดประมาณ 40,000 คนทั่วโลก การถอนทหารสหรัฐออกจากอัฟกานิสถานอาจช่วยฟื้นชีวิตอัลกออิดะห์ เช่นเดียวกับที่สหรัฐถอนตัวออกจากอิรักในปี 2554 นำไปสู่การปรากฏขึ้นของกลุ่มรัฐอิสลาม (ไอเอส) ปัจจุบันอัลกออิดะห์ยังคงเป็นภัยคุกคามและอาจกระจายตัวหลังการถอนทหารสหรัฐ ปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐต่อเป้าหมายเจาะจงอย่างโจ่งแจ้งเมื่อ 2 พ.ค.2554 ที่เมืองอับบอตตาบัด ปากีสถาน เพื่อสังหารบุคคลซึ่งรับผิดชอบการโจมตี 9/11 ก่อให้เกิดความรู้สึกมองโลกในแง่ดีอย่างมาก ในห้วงเวลาขณะนั้น การลุกฮือของประชาชนเพื่อต่อต้านรัฐบาลซึ่งเรียกว่า “Arab Spring” ได้แพร่ขยายไปทั่วแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง โดยเป็นสัญญาณความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคที่เต็มไปด้วยสงครามและความรุนแรง แต่การประกาศแผนการถอนทหารออกจากอัฟกานิสถานภายใน 11 ก.ย.2564 ของประธานาธิบดีโจ ไบเดน มีผลตอบรับในแง่ดีเพียงเล็กน้อย ประธานาธิบดีไบเดนประกาศว่า “เหตุผลที่เราคงอยู่ในอัฟกานิสถานเริ่มไม่ชัดเจน…

อิสราเอล-ปาเลสไตน์ : ข้อตกลงหยุดยิงระหว่างกองทัพอิสราเอลและกลุ่มฮามาสจะนำมาซึ่งสันติภาพถาวรหรือเปล่า ?

Loading

  อิสราเอลและกลุ่มติดอาวุธฮามาสได้บรรลุข้อตกลงหยุดยิงกันบริเวณฉนวนกาซา การสู้รบกันต่อเนื่อง 11 วัน ประกอบไปด้วยการยิงจรวด 4,000 ลูกของกลุ่มติดอาวุธ และกองทัพอิสราเอลที่โจมตีทางอากาศไปยัง 1,500 เป้าหมายในกาซา ทางการปาเลสไตน์บอกว่า ที่กาซา มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 243 ราย รวมถึงผู้หญิงและเด็กมากกว่า 100 ราย ขณะที่อิสราเอลบอกว่าสังหารสมาชิกกลุ่มติดอาวุธไปอย่างน้อย 225 ราย ด้านอิสราเอลบอกว่ามีผู้เสียชีวิตในประเทศ 12 ราย เป็นเด็ก 2 ราย   รายละเอียดของการหยุดยิง   การหยุดยิงเป็นเพียงการประกาศจากสองฝ่ายว่าจะหยุดสู้รบ อาจจะอย่างไม่มีกำหนด หรือแค่ช่วงหนึ่ง     หากดูจากประวัติศาสตร์การเผชิญหน้าระหว่างอิสราเอลและฮามาสที่ก็เคยบรรลุข้อตกลงหยุดยิงมาแล้ว มีความเป็นไปได้ที่ทั้งสองฝ่ายจะกลับมาสู้รบกันอีกครั้ง ในครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายบรรลุข้อตกลงเมื่อเวลา 02.00 น. เวลาท้องถิ่นเมื่อวันที่ 21 พ.ค. แต่ก่อนจะถึงกำหนดเวลาดังกล่าว มีรายงานว่าต่างฝ่ายก็โหมโจมตีกันและกัน   เงื่อนไขข้อตกลง   มีการเปิดเผยรายละเอียดข้อตกลงหยุดยิงต่อสาธารณะน้อยมาก โดยผู้มีส่วนร่วมในการเจรจาประกอบไปด้วยชาติมหาอำนาจในภูมิภาคนั้นอย่างอียิปต์และกาตาร์ รวมถึงสหรัฐฯ และสหประชาชาติ ด้วย…