ทำความรู้จัก ‘พลุตะไล’ จุดเพื่อศพ อาจเพิ่มอีกศพ

Loading

  “พลุตะไล” คืออะไร? เหตุใดต้องจุดในงานศพ มาทำความรู้จักก่อนจุด ก่อนขาย ก่อนเล่นดอกไม้ไฟ สิ่งที่ผู้ประกอบการ ผู้เล่นต้องรู้! ขอแสดงความเสียใจกับครอบครับสวัสดี ที่สูญเสีย “น้องมิ้นท์” หรือด.ญ.ณัฐชา สวัสดี อายุ 10 ปี นักเรียนชั้น ป.3 โรงเรียนอาจวิทยาคาร ต.ตะคุ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา ถูก “พลุตะไล” ที่จุดในงานเผาศพพุ่งตกลงมาใส่ศีรษะ และเสียชีวิตลงแล้วที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เมื่อคืนวันที่ 13 เม.ย. เวลา 19.45 น. ที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา   มาทำความรู้จัก “พลุตะไล” การเล่นดอกไม้ไฟ การเล่นดอกไม้ไฟ หรือพลุ มีมาตั้งแต่พุทธศักราช 2520 เป็นปีที่จังหวัดสุโขทัยเริ่มต้นฟื้นฟูประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ โดยความคิดริเริ่มของนายนิคม มูสิกะคามะ โดยพิจารณาจากหลักฐานสำคัญคือข้อความที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า “…เมืองสุโขทัยนี้มีสี่ปากประตูหลวง เทียรย่อมคนเสียดกัน เข้ามาดูท่านเผาเทียน ท่านเล่นไฟ เมืองสุโขทัยนี้มีดังจักแตก …” โดยการเล่นไฟ…

นักกฎหมายชี้ ขึ้นเครื่องบินทั้งที่รู้ว่าติดโควิด มีความผิดทั้งอาญาและแพ่ง

Loading

  นักกฎหมาย ชี้ กรณีหนุ่มสาวนั่งเครื่องบินกลับบ้านที่นครศรีธรรมราชทั้งที่รู้ว่าตัวเองติดโควิด-19 ถือว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ และยังเข้าข่ายผิดอาญาและแพ่งอีกด้วย ตำรวจตามจับได้ เมื่อวันที่ 14 เม.ย.64 ว่าที่พันตรี ดร.สมบัติ วงศ์กำแหง กรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีคู่รักชายหญิงรู้ตัวว่าติดโควิด-19 แล้วยังนั่งเครื่องบินจากกรุงเทพฯไปยังต่างจังหวัดภูมิลำเนาเป็นผลให้สายการบินต้องพักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งผลัดเวรเพื่อกักตัวดูอาการ ทำให้ต้องเสียแรงงานกับผู้โดยสารอื่นๆ ที่ต้องประสบปัญหาติดตามกันมา รู้ตัวว่าตัวเองติดเชื้อโควิด-19 แล้วยังเดินทางโดยเครื่องบิน ซึ่งมีผู้โดยสารจำนวนมากตามที่มีข่าวเสนอไปแล้วนั้น โดยปกปิดอาการป่วยของตนเอง จนเป็นเหตุให้ผู้โดยสารอื่นอาจติดเชื้อโควิด-19 ได้ นอกจากจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อแล้ว ในทางอาญาอาจถือได้ว่าเจตนาทำร้ายร่างกายผู้อื่น กระทำโดยรู้สำนึก โดยประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลว่าจะทำให้ผู้โดยสารอื่นติดเชื้อโรคโควิด-19 เพราะตนเองทราบดีอยู่แล้ว ติดเชื้อมาตั้งแต่ก่อนเดินทาง และตนเองสามารถแพร่เชื้อสู่ผู้โดยสารคนอื่นได้ และถ้าการติดเชื้อจนทำให้ผู้โดยสารอื่นป่วยรุนแรงถึงขั้นสาหัส หรือตาย โทษก็จะหนักขึ้นตามผลของการกระทำความผิดได้อีกด้วย ซึ่งคดีลักษณะนี้ ศาลในประเทศสหรัฐอเมริกา และเยอรมนี ได้เคยพิพากษาลงโทษทางอาญาแล้ว แม้ผู้โดยสารอื่นยังไม่ติดเชื้อก็เป็นความผิดอาญา ฐานพยายามทำร้ายร่างกายผู้อื่นด้วย   สำหรับสถานที่เกิดเหตุในคดีอาญา เมื่อผู้ต้องหากระทำความผิดต่อเนื่องกันในท้องที่ต่างๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ทุกท้องที่ แต่พนักงานสอบสวนท้องที่ใดจะเป็น “ผู้รับผิดชอบ” ในการสอบสวน และส่งสำนวนให้พนักงานอัยการ แบ่งเป็น 2 กรณี…

สรุปคำแนะนำและแนวทางปฏิบัติด้าน Password ล่าสุดจาก NIST

Loading

  บทความนี้ได้สรุปคำแนะนำและแนวทางปฏิบัติด้าน Password จากเอกสาร NIST Special Publication 800-63B Rev3 ของ สถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติสหรัฐฯ หรือ NIST ได้แก่ การสร้างรหัสผ่านใหม่ การพิสูจน์ตัวตนด้วยรหัสผ่าน และการจัดเก็บรหัสผ่าน รวมไปถึงสาเหตุว่าทำไม เพื่อให้องค์กรเข้าใจและนำไปประยุกต์ใช้กับการออกนโยบายด้านรหัสผ่านของตนเองได้ ดังนี้   คำแนะนำในการสร้างรหัสผ่านใหม่ การรักษาความมั่นคงปลอดภัยสำหรับรหัสผ่านเริ่มต้นด้วยการสร้างรหัสผ่านให้แข็งแกร่ง นี่ไม่ใช่แค่ความรับผิดชอบของผู้ใช้ฝ่ายเดียว แต่องค์กรจำเป็นต้องกำหนดนโยบายรหัสผ่านที่แข็งแกร่งเพียงพอ แล้วนำไปบังคับใช้กับผู้ใช้ด้วย โดยคำแนะนำในการสร้างรหัสผ่านใหม่มี 2 ข้อ คือ   1. ความยาวสำคัญกว่าความยาก แนวคิดสมัยก่อนเชื่อว่ายิ่งรหัสผ่านซับซ้อนเท่าไหร่ ยิ่งแข็งแกร่งมากเท่านั้น แต่ที่จริงแล้ว ปัจจัยสำคัญของความแข็งแกร่งของรหัสผ่านขึ้นกับความยาวมากกว่า เนื่องจากยิ่งรหัสผ่านยาว ยิ่งเดารหัสผ่านได้ยาก นอกจากนี้ จากการวิจัยเพิ่มเติมพบว่า การบังคับให้รหัสผ่านใหม่มีความยากกลับยิ่งทำให้ความมั่นคงปลอดภัยลดลง เนื่องจากผู้ใช้หลายคนมักเพิ่มความยากให้รหัสผ่านตัวเองแบบง่ายๆ เช่น เพิ่ม “1” ไว้ด้านหน้าหรือ “!” ไว้ตอนท้าย แม้ในทางทฤษฎีจะทำให้รหัสผ่านแข็งแกร่งยิ่งขึ้น แต่เมื่อเหล่าแฮ็กเกอร์ทราบรูปแบบตรงนี้แล้ว กลับเป็นการช่วยลดเวลาในการเดารหัสผ่านให้แฮ็กเกอร์แทน ที่น่าเป็นห่วงยิ่งกว่า คือ ยิ่งรหัสผ่านซับซ้อนเท่าไหร่…

เมื่อธนาคารแข่งขันออกบัตรเสมือน (VIRTUAL CARD)

Loading

    บัตรเสมือน (VIRTUAL CARD) ไม่ใช่บัตรพลาสติก แต่เป็นข้อมูลบัตรสำหรับซื้อสินค้าและบริการผ่านอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วยเลขที่บัตร 16 หลัก เดือนและปีที่หมดอายุบัตร ชื่อผู้ถือบัตร และรหัส CVV/CVC   บัตรเสมือนในไทยมี 3 รูปแบบหลัก เหมือนบัตรพลาสติก ได้แก่ บัตรเครดิต (Credit Card) ผูกกับบัญชีบัตรเครดิต, บัตรเดบิต (Debit Card) ผูกกับบัญชีออมทรัพย์หรือกระแสรายวัน และ บัตรเติมเงิน (Prepaid Card) ผูกกับบัญชีอี-วอลเล็ต   เดิมบัตรเสมือนมีไว้ใช้ซื้อสินค้าและบริการผ่านอินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องแสดงบัตรตัวจริงในการชำระเงิน ซึ่งจะต้องทำรายการผ่านอินเทอร์เน็ตแบงกิ้งเป็นหลัก วัตถุประสงค์เพื่อแยกข้อมูลระหว่างบัตรเสมือนกับบัตรตัวจริง ซึ่งใช้วงเงินเดียวกัน   บางคนอาจจะมองว่ายุ่งยาก แต่ก็มีข้อดีตรงที่สมมติว่าทำรายการผ่านบัตรไปแล้วเกิดถูกโจรกรรมข้อมูล หลังปฏิเสธรายการกับธนาคารแล้ว สามารถระงับและเปลี่ยนบัตรออนไลน์ได้ แต่ถ้าเป็นบัตรตัวจริง ต้องยกเลิกบัตรเดิม ขอออกบัตรใหม่   ส่วนข้อเสียก็คือ ไม่ใช่บัตรพลาสติก ไม่มีบัตรพลาสติก จึงไม่สามารถทำรายการผ่านเครื่อง EDC ได้เหมือนบัตรทั่วไป ไม่สามารถทำรายการผ่านเครื่องเอทีเอ็มได้…

เผยผลสำรวจผู้บริหารระดับสูงถึง 58% พบปัญหาความล้มเหลวในการสำรองข้อมูล สะท้อนถึงความท้าทายในการป้องกันข้อมูลสำคัญขององค์กร และเป็นข้อจำกัดในเปลี่ยนผ่านสู่โลกดิจิทัล

Loading

    จากรายงาน Veeam Data Protection Report ประจำปี 2021 พบว่าสถานการณ์ COVID-19 ส่งผลกระทบอย่างชัดเจนต่อการลงทุนเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่โลกสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) องค์กรทั่วโลกถึง 40% มองว่าความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจเป็นอุปสรรคสำคัญในอีก 12 เดือนข้างหน้า และหนึ่งในสามขององค์กรต่างชะลอหรือเลือกที่จะหยุดกระบวนการปรับเปลี่ยนดังกล่าวไว้ก่อนในช่วงปีที่ผ่านมา ความท้าทายในการป้องกันข้อมูลกำลังบั่นทอนความสามารถขององค์กรทั่วโลกในการเปลี่ยนถ่ายเข้าสู่โลกดิจิทัล (Digital Transformation, DX) อ้างอิงผลการสำรวจในรายงาน Veeam® Data Protection Report 2021 พบว่าองค์กรถึง 58% ไม่สามารถสำรองข้อมูลได้สำเร็จหรือปล่อยข้อมูลไว้โดยไม่ได้รับการป้องกัน รายงานการสำรวจนี้จัดทำขึ้นโดย Veeam Software ผู้นำด้านโซลูชั่นสำรองข้อมูลในรูปแบบการจัดการข้อมูลผ่านระบบคลาวด์ Cloud Data Management™ ซึ่งพบว่า หลังจากที่โลกต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 และสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ผันผวน ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรถึง 40% ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่านี่คืออุปสรรคครั้งใหญ่ในการเปลี่ยนผ่านสู่โลกดิจิทัลในช่วง 12 เดือนจากนี้ ระบบการป้องกันข้อมูลที่ไม่แข็งแกร่ง ผนวกกับความท้าทายเรื่องความอยู่รอดของธุรกิจ ได้กลายมาเป็นความกังวลที่แพร่ไปในหลายองค์กร จนถึงขั้นที่จำเป็นต้องเลือกที่จะชะลอกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลไว้ก่อน    …

ครม. อนุมัติระบบทะเบียนราษฎร์ดิจิทัล รองรับ New Normal

Loading

ครม. อนุมัติระบบทะเบียนราษฎร์ดิจิทัล โดยร่างกฎกระทรวงฯ ที่กล่าวมานั้นเป็นไปเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนให้ได้รับบริการงานทะเบียนราษฎร์ ที่สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย สอดคล้องกับการใช้ชีวิตวิถีใหม่ แบบ New normal โดยกระทรวงมหาดไทยได้พัฒนาระบบการพิสูจน์ยืนยันตัวตนทางดิจิทัล และพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน จัดเก็บข้อมูลและเรียกใช้งานผ่านระบบที่เรียกว่า Digital ID   ครม. อนุมัติระบบทะเบียนราษฎร์ดิจิทัล กับหลักการทำงานของระบบนี้       โดยประชาชนผู้ใช้บริการเมื่อดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นของกระทรวงมหาดไทย แล้วให้ไปลงทะเบียนที่สำนักงานทะเบียนอำเภอ สำนักงานเขต สำนักงานทะเบียนท้องถิ่น เพื่อเป็นการยืนยันตัวตนผ่านระบบตรวจสอบลายนิ้วมือ และจะได้รับรหัสผ่าน ก็จะสามารถใช้บริการทะเบียนราษฎร์ดิจิทัลได้ ซึ่งสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงฯ นี้ คือ กำหนดให้สำนักงานทะเบียนกลางจัดให้มีการบริการงานทะเบียนด้วยระบบดิจิทัล เพื่อให้ ประชาชนได้รับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล แล้วก็จะสามารถรับบริการผ่านระบบดิจิทัลได้ด้วยตัวเอง โดยการจัดเก็บค่าธรรมเนียมและการรับรองรายการทะเบียนที่เกิดจากการบริการจะเป็นไปตามที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลางกำหนดไว้ โดยระยะแรกจะยกเว้นค่าธรรมเนียมการแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทาง เป็นเวลา 1 ปี   ระบบทะเบียนราษฎร์ดิจิทัลในเบื้องต้นนั้นจะเปิดให้บริการนำร่อง 3 บริการ ได้แก่ 1. การตรวจข้อมูลส่วนบุคคลผ่านระบบฐานข้อมูลประชาชนและบริการภาครัฐ 2. การจองคิวรับบริการงานทะเบียนล่วงหน้า 3. การแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทาง   ซึ่งในระยะเวลาต่อไปจะมีการเปิดให้บริการงานทะเบียนในรูปแบบอื่น…