เตือนแคปหน้าจอ E-Boarding Pass ขึ้นเครื่องบินไม่ได้

Loading

  เตือนแคปหน้าจอ E-Boarding Pass ขึ้นเครื่องบินไม่ได้ โดย ท่าอากาศยานไทย (AOT) ประชาสัมพันธ์เอกสารการเดินทางที่ถูกต้องที่ใช้แสดงตนขึ้นเครื่องบินสำหรับเที่ยวบินภายในประเทศ โดยเน้นย้ำว่าผู้โดยสารที่มีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป “ไม่สามารถ” ใช้สูติบัตรเป็นเอกสารแสดงตน นอกจากบัตรแสดงตนข้างต้น ผู้โดยสารยังต้องแสดง Boarding Pass ซึ่ง “ไม่สามารถใช้ภาพถ่าย Boarding Pass หรือ ภาพถ่าย E-Boarding Pass รวมถึงรูปถ่ายจากหน้าจอโทรศัพท์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น” ซึ่งกระทำโดยผู้โดยสาร เพื่อใช้แสดงตนก่อนขึ้นเครื่องบินได้ เตือนแคปหน้าจอ E-Boarding Pass ขึ้นเครื่องบินไม่ได้ ถ้าแคปแล้วต้องทำอย่างไร ? ถ้าแคปแล้วจริงๆ ให้ลองแสดงแสดง Boarding Pass ที่สายการบินออกให้จากเคาน์เตอร์เช็กอิน หรือจากตู้เช็คอินอัตโนมัติ สามารถพิมพ์ Boarding Pass ใหม่ได้ หรือ E-Boarding Pass จาก Application หรือ E-mail ของสายการบิน และเอกสารแสดงตน…

12 แอปที่ไม่ควรติดตั้งบน Windows10 และควรลบออกไป

Loading

12 แอปที่ไม่ควรติดตั้งบน Windows10 และควรที่จะลบออกไป หากคุณกำลังลังเลว่าจะทำการ uninstall แอปตัวไหนออกจากเครื่องดี เพราะไม่มีประโยชน์ ที่นอกเหนือจากแอปที่ไม่ค่อยได้ใช้แล้ว มาดูกันว่ามีแอปไหนที่ไม่ควรติดตั้งเพิ่ม และหากเครื่องเรามีแอปนั้นแอปไหนควรลบออกจะดีกว่า ซึ่งแต่ละแอปนั้นจะมีเหตุผลในการไม่ควรติดตั้งและควรลบออกอยู่   วิธีดูรายชื่อแอปทั้งหมดบน Windows10   กด Windows+i แล้วเลือกที่ Apps >> เลือกรายการซ้ายที่ Apps & features คุณจะเห็นรายชื่อแอปทั้งหมดบนคอม Windows10 ของคุณ     12 แอปที่ไม่ควรติดตั้งบน Windows10 และควรลบแอปนั้นออกไป ได้แก่     Quicktime เพราะไม่มีเวอร์ชั่นใหม่มาสนับสนุนบน Windows มาตั้งแต่ปี 2016 แล้ว CCleaner เพราะ Avast จับได้ว่า แอปอัปเดตโดยไม่ขออนุญาต รีสตาร์ทตัวเอง ซอฟต์แวร์เองก็แพร่กระจายมัลแวร์โดยที่เจ้าของเครื่องไม่รู้ตัว หากจะทำความสะอาด Windows ก็ใช้ Disk Cleanup…

PDPA BEGINS : เพื่อความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย

Loading

  ความเป็นส่วนตัว (Privacy) ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์มาอย่างยาวนาน ในอดีตการเรียกร้องความเป็นส่วนตัวจะมุ่งเน้นไปที่ความเป็นส่วนตัวทางกายภาพ (Physical Privacy) หมายถึงสิทธิอันชอบธรรมในการอยู่อย่างสันโดดและปลอดภัยจากการรบกวนจากบุคคลภายนอก เช่น บุคคลอื่น องค์กร หรือแม้กระทั่งหน่วยงานจากภาครัฐ แต่เมื่อเข้าสู่ยุคแห่งการสื่อสารข้อมูลระหว่างกันผ่านทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ข้อมูลส่วนบุคคลจึงหลั่งไหลเข้าไปอยู่บนระบบมากขึ้น ทำให้เกิดความต้องการความส่วนตัวด้านสารสนเทศ (Information Privacy) และรวมไปถึงความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Privacy) เจ้าของข้อมูล (Data Subject) จะต้องมีสิทธิและเสรีภาพอย่างเต็มที่ต่อข้อมูลของตนที่จะให้บุคคลอื่นหรือองค์กรต่าง ๆ นำข้อมูลไปใช้ตามความยินยอม (Consent) ที่อนุญาตเท่านั้น เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัว ผลประโยชน์ และปกป้องความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับตนเอง ซึ่ง พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Act – PDPA) ที่จะมีผลบังคับใช้ในกลางปี 2564 นี้ จะเป็นเครื่องมือที่จะทำให้ปัจเจกบุคคลมั่นใจได้ว่า ข้อมูลของตนที่อนุญาตให้องค์กรนำไปใช้มีการบริหารจัดการอย่างเหมาะสมและมีระบบการป้องกันข้อมูลที่น่าเชื่อถือและปลอดภัย การที่องค์กรจัดเก็บและนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้โดยไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิของเจ้าของข้อมูล และองค์กรจะกลายเป็นผู้กระทำความผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญาตามบทลงโทษของกฎหมาย ดังนั้นก่อนที่ พ.ร.บ. จะมีผลบังคับใช้อย่างจริงจัง องค์กรต่าง ๆ…

ระวังมัลแวร์ใหม่บน Android เตือน System Update การอัปเดตระบบ อาจขโมยข้อมูลมือถือคุณได้

Loading

  ระวังมัลแวร์ใหม่บน Android เตือน System Update หรือ ” การอัปเดตระบบ ” ซึ่งหากหลงกลเชื่อกดอัปเดต มัลแวร์นี้สามารถขโมยข้อมูลข้อความ รูปภาพและสิ่งอื่น ๆ ภายในโทรศัพท์มือถือขอคุณได้ นักวิจัยจาก Zimperium zLabs บริษัทด้านรักษาความปลอดภัยบนโทรศัพท์มือถือ เผยพบมัลแวร์ตัวใหม่สามารถบันทึกการโทรประวัติเบราว์เซอร์และควบคุมอุปกรณ์ Android เต็มรูปแบบ   ระวังมัลแวร์ใหม่บน Android เตือน System Update จะโดนขโมยข้อมูลได้ นักวิจัยระบุว่าเป็นมัลแวร์ “ขั้นสูง” สามารถควบคุมโทรศัพท์ Android ของคุณได้อย่างเต็มที่ หลังจากควบคุมได้แล้ว แฮกเกอร์จะสามารถบันทึกเสียงโทรศัพท์ ดูประวัติเบราว์เซอร์ เข้าถึงข้อความ Whatsapp และอื่น ๆ อีกมากมาย ในบล็อกของนักวิจัยอธิบายว่าแฮกเกอร์สามารถดำเนินการคำสั่งจากระยะไกลและสามารถดำเนินการที่เป็นอันตรายประเภทต่างๆได้ เมื่อพวกเขาเข้าควบคุมระบบ มาพร้อมกับ Android app ปลอมในชื่อว่า “System update ” ที่ติดตั้งจาก store ภายนอกที่ไม่ใช่ Google…

แคสเปอร์สกี้เผย SMB อาเซียนถูกฟิชชิ่งโจมตีอ่วม 3 ล้านครั้งใน 1 ปี

Loading

  แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) โชว์สถิติสุดทึ่ง พบฟิชชิ่งพยายามโจมตี SMB ในอาเซียนเกือบ 3 ล้านครั้งในเวลา 1 ปี หลอกล่อผู้ใช้สุดฤทธิ์ด้วยหัวข้อฮิต เช่น เรื่องโควิด-19 การประชุมออนไลน์ และเซอร์วิสขององค์กร นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของแคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า แม้ธุรกิจ SMB จะเป็นรากฐานของเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ แต่ก็เป็นเป้าหมายที่โจมตีได้ง่ายเช่นกัน อาชญากรไซเบอร์รู้ดีว่าเจ้าของกิจการมุ่งมั่นอยู่แต่กับเรื่องการดูแลธุรกิจและเงินหมุนเวียนให้พอ มากกว่าที่จะสนใจเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์ “อย่างน้อยๆ ก็ช่วงนี้ ดังนั้นวิธีที่เล็ดลอดเข้ามาโจมตีได้ที่ง่ายที่สุดคือการใช้วิศวกรรมเชิงสังคม (Social engineering) เช่น ฟิชชิ่ง ยิ่งช่วงนี้ที่มีคำฮิตที่ได้รับความสนใจแน่นอน เรื่องที่สอดคล้องต่อความกังวลเรื่องโควิด-19 ยิ่งเรื่องการฉีดวัคซีนด้วยแล้วยิ่งง่าย เราคาดว่าการคุกคามประเภทนี้จะพบเห็นได้มากขึ้น เพื่อใช้ขโมยเงินและข้อมูลของกลุ่มธุรกิจ SMB ที่อ่อนแอบอบช้ำช่วงนี้” แคสเปอร์สกี้เปิดโปงกลโกงของขบวนการฟิชชิ่งที่มีเป้าหมายธุรกิจเล็กและกลาง (หรือ SMB) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ว่าแม้กลุ่มธุรกิจนี้จะยังคงบอบช้ำจากแรงกระทบที่เกิดจากการแพร่ระบาดที่ยังดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่องอยู่ โดยเทคโนโลยี Anti-Phishing ของแคสเปอร์สกี้สามารถบล็อกความพยายามที่จะเข้าโจมตีธุรกิจ SMB ผ่าน URL ปลอมในภูมิภาคนี้เมื่อปีที่ผ่านมาถึง 2,890,825…

ไอทีแอบเข้าไปลบบัญชี Microsoft Office 365 ของลูกค้าเกือบหมด แค้นใจถูกตำหนิจนโดนไล่ออก

Loading

  เป็นเรื่องที่น่าสนใจอีกเคสหนึ่งในประเทศสหรัฐฯหลังเจ้าหน้าที่เข้าจับกุมไอทีรายหนึ่งที่ลอบเข้าไปลบบัญชี Microsoft Office 365 จนเกือบหมด เหตุแค้นไม่พอใจเพราะลูกค้าฟ้องบริษัทจนถูกไล่ออก เรื่องมีอยู่ว่า Deepanshu Kher ทำงานเป็น IT Consultant ในบริษัทที่ปรึกษาแห่งหนึ่ง ซึ่งมอบหมายให้เขาไปช่วยลูกค้าแห่งหนึ่งใน Carlbad (แคลิฟอเนีย) ย้ายระบบไปยังบริการ Microsoft Office 365 ในมกราคมปี 2018 ต่อมาอาจมีปัญหาบางอย่างทำให้ลูกค้าไม่พอใจและแจ้งต่อบริษัทต้นสังกัด ทำให้ตัวเขาถูกให้ออกในเดือนพฤษภาคม 2018 จน Kher ต้องแพ็กกระเป๋าบินกลับบ้านที่อินเดียพร้อมกับความคับแค้นใจอย่างยิ่ง ต่อมาในวันที่ 8 สิงหาคมปี 2018 นั้นเอง เขาได้ตัดสินใจล้างแค้นลูกค้าด้วยการแฮ็กเข้าไปลบบัญชี Microsoft Office 365 จำนวน 1,200 จากทั้งหมด 1,500 บัญชี บริษัทถึงกับต้องหยุดชะงักการดำเนินงานทันทีกว่า 2 วัน แถมยังไม่สามารถแจ้งลูกค้าหรือผู้ติดต่อได้ด้วยเพราะระบบอันตรธานหายไปทั้ง อีเมล รายชื่อติดต่อ ปฏิทินนัดต่างๆ วีดีโอ เอกสาร และข้อมูลใน Teams ซึ่งกว่าบริษัทจัดการแก้ไขปัญหาได้เสร็จก็กินเวลาไปกว่า…