อิสราเอลเตรียมระบบ AI จัดจราจร “โดรน” บนท้องฟ้า

Loading

  อีกไม่นาน หากมองขึ้นไปท้องฟ้าในหลายประเทศจะเต็มไปด้วยโดรน หรืออากาศยานไร้คนขับ หนึ่งในนั้นคือประเทศอิสราเอล ที่ขณะนี้เตรียมพร้อมระบบการจัดการจราจรทางอากาศให้กับโดรน ผ่านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ (Artificial Intelligence : AI) เพื่อไม่ให้บินชนกันกลางอากาศ ระบบการจัดการจราจรทางอากาศผ่านเอไอนี้ เจ้าหน้าที่ของอิสราเอลได้จัดการสาธิต โดยแต่ละบริษัทควบคุมโดรนของตนเองจากห้องควบคุมที่อยู่ห่างออกไปราว 50 กิโลเมตร โดรนแต่ละลำบินพร้อมกันแบบรักษาระยะห่างระหว่างกันไม่กี่เมตร แต่ละลำมีภารกิจต่างกัน อย่างเช่น การยกสิ่งของ ถ่ายคลิปวิดีโอ และจัดส่งสินค้าไปยังสถานีกระจายสินค้า คาดว่าจะมีการใช้งานได้จริงในปี 2023       ปฏิบัติการนี้ เริ่มจากต้นปี 2020 ที่อิสราเอลได้จัดตั้งคณะกรรมการอำนวยการของรัฐบาลเพื่อส่งเสริมเครือข่ายการทำงานของโดรนระดับชาติ ภายใต้ชื่อ “เอ็นเอเอเอ็มเอ อินนิชิเอทีฟ” (NAAMA Initiative) โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การนวัตกรรม สำนักนายกรัฐมนตรีอิสราเอล องค์การการบินพลเรือน กระทรวงคมนาคม บริษัทภาคเอกชน หลังจากที่ไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีบริษัทในอิสราเอลหลายแห่ง และมือสมัครเล่น เริ่มใช้งานโดรนกันมากขึ้น ทั้งเพื่อการถ่ายภาพ การตรวจสอบพืชผล และการตรวจดูอสังหาริมทรัพย์ โดยนับจากนี้จะเห็นการใช้โดรนในภารกิจต่างๆ เช่น ส่งอาหาร ยารักษาโรค…

Shell แจ้งเหตุข้อมูลรั่วไหล

Loading

  เกิดเหตุข้อมูลรั่วไหลขึ้นกับบริษัท Shell อย่างไรก็ดียังไม่พบหลักฐานถึงการบุกรุกภายใน เพียงแต่เป็นระบบ File Transfer ส่วนหนึ่งเท่านั้น Shell ได้มีการใช้งาน File Transfer Appliance ของ Accellion ซึ่งตรงจุดนี้เองที่คนร้ายเข้ามาและขโมยข้อมูลไปได้ บริษัทพบว่าคนร้ายสามารถเข้าถึงข้อมูลบางส่วนของผู้ถือหุ้น และบริษัทสาขา โดยปัจจุบัน Shell ได้แจ้งเรื่องต่อผู้มีอำนาจทางกฏหมายและส่งทีมสืบสวนเพื่อเก็บหลักฐาน อย่างไรก็ดียังไม่พบหลักฐานว่าคนร้ายจะเข้าถึงระบบภายในได้เพราะ File Transfer ถูกแบ่งโซนไว้ต่างหาก แม้จะยังไม่มีการเปิดเผยถึงกลุ่มคนร้ายเบื้องหลังเหตุการณ์นี้แต่ก็มีข้อสันนิษฐานว่ามีกลุ่มคนร้ายที่ใช้ Clop Ransomware ได้มุ่งใช้ช่องโหว่บน Accellion Appliance เพื่อโจมตีองค์กรหลายแห่งเมื่อปีก่อน จนผู้เชี่ยวชาญต้องออกเตือนให้องค์กรสำรวจ Appliance เก่าที่ใช้กันภายในด้วย ที่มา : https://www.bleepingcomputer.com/news/security/energy-giant-shell-discloses-data-breach-after-accellion-hack/   ——————————————————————————————————————————————————————— ที่มา : TechTalkThai     / วันที่เผยแพร่  23 มี.ค.2564 Link : https://www.techtalkthai.com/shell-reports-data-breach-about-file-transfer-appliance/

ผู้เชี่ยวชาญเตือนระวังช่องโหว่บน F5 กำลังถูกใช้โจมตีจริงแล้ว

Loading

        เมื่อสองสัปดาห์ก่อนเราได้เตือนการออกแพตช์ของช่องโหว่บน F5 ที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง วันนี้มีรายงานจากผู้เชี่ยวชาญจากทั้ง NCC Group และ Bad Packets แล้วว่าพบการสแกนหาช่องโหว่และมีกรณีที่ประสบความสำเร็จบ้างแล้ว ช่องโหว่ครั้งนั้นประกอบด้วย 4 รายการ (https://www.techtalkthai.com/f5-patches-4-critical-vulnerabilities-in-big-ip-iq-mar-2021/) โดยส่งผลกระทบกับทั้ง BIG-IP และ BIG-IQ ซึ่งทาง F5 เองได้เตือนให้ผู้ใช้งานอัปเดตทันที ต่อมาก็มีการเผยโค้ดสาธิตช่องโหว่จากนักวิจัย และต่อมาก็พัฒนาเป็นการพบการโจมตีบน Honeypot ปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญพบการใช้ช่องโหว่ CVE-2021-22986 ที่ช่วยให้คนร้ายที่ยังไม่พิสูจน์ตัวตนสามารถเข้ามาลอบรันคำสั่งได้ หากทำได้สำเร็จจะสามารถแทรกแซงระบบได้อย่างสมบูรณ์ ตลอดจนคืบคลานเข้าสู่ระบบเครือข่ายและลอบดักจับทราฟฟิคที่วิ่งผ่าน ในปีก่อนเคยมีช่องโหว่ร้ายแรงลักษณะนี้ใน F5 ที่ตกเป็นเป้าของกลุ่มคนร้ายมากมาย ทำให้ผู้เชี่ยวชาญต้องออกโรงเตือนอยู่หลายครั้ง ด้วยเหตุนี้เองเราจึงขอเตือนผู้เกี่ยวข้องให้เร่งอัปเดตอีกครั้งด้วยความหวังดีครับ ที่มา : https://www.bleepingcomputer.com/news/security/critical-f5-big-ip-vulnerability-now-targeted-in-ongoing-attacks/   ————————————————————————————————————————————————————————– ที่มา :  TechTalkThai    / วันที่เผยแพร่  22 มี.ค.2564 Link : https://www.techtalkthai.com/experts-warn-about-f5-cve-2021-22986-exploit-attempt/

ผู้ใช้ chrome เปลี่ยนไปใช้ duckduckgo หลัง Chrome เก็บข้อมูลส่วนตัวเพียบ

Loading

ผู้ใช้ Chrome เปลี่ยนไปใช้ duckduckgo แล้ว หลังทราบข้อมูลจากทาง App Store บน iOS14 ที่ออกแบบมาใหม่และเริ่มใช้ในช่วงมิถุนายนปี 2020 โดยแต่ละแอปบน App Store ต้องแสดงข้อมูลความเป็นส่วนตัวแบบละเอียด เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ iOS ได้รับความโปร่งใสและเข้าใจมากขึ้นว่าแอพอาจเก็บรวบรวมข้อมูลอะไรบ้างเกี่ยวกับเรา ผู้ใช้ chrome เปลี่ยนไปใช้ duckduckgo หลังผวา Chrome แอบสอดแนมเก็บข้อมูลเพียบ   หากเปิดข้อมูลแอป chrome บน App Store ปรากฎว่าเว็บเบราว์เซอร์ chrome ได้แอบเก็บข้อมูลไว้เยอะมากเมื่อเทียบกับเว็บเบราว์เซอร์อื่นๆ ตามดังภาพ นอกจากนี้หากลองดูส่วนอื่นของแอป Google นั้นก็มีการเข้าถึงและเก็บข้อมูลผู้ใช้หลายอย่างเช่นกัน เชื่อว่าผู้ใช้ที่ไม่อยากให้ Google แอบเก็บข้อมูลส่วนตัวนั้นไว้คงมีความกังวลไม่น้อย     ขณะที่ฝั่ง duckduckgo browser ซึ่งได้จัดทำเว็บเบราว์เซอร์นั้นกลับไม่มีส่วนไหนที่จะเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้เลย     ดังนั้นหากต้องการความเป็นส่วนตัว ไม่อยากให้ Google แอบสอดแนมตามเราละก็ลองใช้เว็บเบราว์เซอร์และเครื่องมือค้นหาจาก duckduckgo…

กรรมของศาลากลางจังหวัด! คนทำลายชาติ คนรักชาติ ต่างก็มุ่งเผาศาลากลางจังหวัด!!

Loading

  ศาลากลางจังหวัด ก็คือศูนย์บัญชาการปกครองของรัฐในจังหวัดนั้นๆ ซึ่งก็เป็นสถานที่ไม่น่าจะเป็นพิษภัยสร้างความเดือดร้อนให้ใคร แต่ที่ผ่านมา ศาลากลางจังหวัดกลับเป็นที่ถูกวางระเบิดและวางเพลิงเผาจนวายวอดไปหลายต่อหลายครั้ง และคนเผาก็มีทั้งฝ่ายคนทำลายชาติและคนรักชาติ อย่างเช่น   เมื่อเช้าวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๒๕ เวลา ๐๘.๔๕ น.ขณะที่ประชาชนเริ่มมาติดต่อกับทางราชการที่ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี ก็ได้เกิดระเบิดขึ้นเสียงดังฟ้าถล่มไปทั้งเมือง เศษอิฐเศษปูนของอาคารตึก ๒ ชั้นของศาลากลางปลิ่วว่อน จากนั้นก็เกิดไฟไหม้ขึ้นท่วมอาคารด้านปีกซ้าย ซึ่งชั้นบนเป็นห้องทำงานของผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าฯ และปลัดจังหวัด ส่วนชั้นล่างเป็นสำนักงานอัยการจังหวัดและประชาสงเคราะห์จังหวัด มีเสียงผู้คนที่ได้รับบาดเจ็บร้องกันโอดโอย   นายไสว ศิริมงคล ผู้ราชการจังหวัด ซึ่งมาทำงานก่อนเวลา ๘.๓๐ น.ทุกวันไม่เคยพลาด แต่ในวันนั้นนายอำเภอเมืองไปขอปรึกษาข้อราชการที่จวน จึงทำให้ออกมาช้า พอรถผู้ว่าเลี้ยวเข้าประตูศาลากลางเสียงระเบิดก็ดังขึ้น จึงรอดตายหวุดหวิด ส่วนนายเฉลิม พรหมเลิศ รองผู้ว่าฯ ซึ่งต่อมามีฉายาว่า “ป๋าเหลิม” ก็ถูก พล.อ.สิทธิ จิรโรจน์ รมต.มหาดไทย เรียกไปสัมมนาที่กรุงเทพฯ นายสมพงษ์ ศรียะพันธ์ ปลัดจังหวัด ผู้เป็นมือปราบ ผกค.ก็ป่วย นอนอยู่ที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด คนที่คาดว่าจะเป็นเป้าหมายจึงรอดหมดทุกคน มี…

ดีอีเอส เร่งเครื่อง 3 งานหลัก พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลฯ

Loading

  กระทรวงดิจิทัลฯ เร่งเครื่อง 3 งานหลักเตรียมรับการบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เต็มรูปแบบกลางปีนี้ ครอบคลุม การจัดทำกฎหมายลำดับรอง จัดทำแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และวางกรอบแผนแม่บทการดำเนินงานด้านการส่งเสริม และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มุ่งคุ้มครองเจ้าของข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ แนะประชาชนควรรู้ “สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล” ซึ่งตามกฎหมายนี้กำหนดไว้ 8 เรื่อง นายภุชพงค์ โนดไธสง รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า ปัจจุบันสำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ ทำหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) อยู่ระหว่างเร่งสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ก่อนจะมีการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้เต็มรูปแบบ ซึ่งกำหนดไว้วันที่ 1 มิถุนายน 2564 โดยกำลังจัดทำ 3 เรื่อง ได้แก่ กฎหมายลำดับรองภายใต้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมมูลฯ แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และแผนแม่บทการดำเนินงานด้านการส่งเสริม และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล   ทั้งนี้ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลฯ ได้กำหนดสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไว้ 8 เรื่อง คือ…