มาถึงจุดนี้ได้อย่างไร? ผู้นำเอธิโอเปียประกาศสงครามกับภูมิภาคไทเกรย์

Loading

นายกรัฐมนตรี อาบีย์ อาห์เหม็ด แห่งเอธิโอเปีย ประกาศสงครามกับภูมิภาค ไทเกรย์ ทางตอนเหนือของประเทศ จนเกิดการต่อสู้อย่างรุนแรงกับกลุ่ม TPLF ที่ปกครองดินแดนแห่งนี้อยู่ ชนวนของสงครามครั้งนี้เริ่มขึ้นมานานหลายปี และค่อยๆ สะสมมาเรื่อยๆ จนถึงขีดสุดเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา และลุกลามกลายเป็นหนึ่งในวิกฤติครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศ การต่อสู้ในภูมิภาคไทเกรย์อาจบานปลาย ทำให้ความขัดแย้งลุกลามไปทั่วประเทศ และอาจสร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่วภูมิภาคแหลมแอฟริกา ทหารจากภูมิภาคอัมฮารา ถูกส่งเข้าไปเผชิญหน้ากับกลุ่มกำลังของ TPLF เมื่อ 9 พ.ย. 2563 กลายเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความตกตะลึงไปทั่วโลก เมื่อนายกรัฐมนตรี อาบีย์ อาห์เหม็ด ซึ่งเพิ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพไปเมื่อปีที่แล้ว ประกาศสงครามกับภูมิภาคไทเกรย์ ดินแดนกึ่งปกครองตนเองในภาคเหนือของประเทศ อย่างไม่มีใครคาดคิด เมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2563 สงครามครั้งนี้มีชนวนเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม ‘แนวหน้าปลดปล่อยประชาชนไทเกรย์’ (TPLF) ซึ่งปกครองไทเกรย์ และเคยเป็นสมาชิกสำคัญของพรรคร่วมรัฐบาลเอธิโอเปียมานานหลายทศวรรษ กับรัฐบาลของนายกฯ อาบีย์ ที่คุกรุ่นตลอดหลายปีที่ผ่านมา ก่อนจะปะทุขึ้นเมื่อไทเกรย์ขัดคำสั่งรัฐบาลกลางและจัดการเลือกตั้งท้องถิ่น นายกรัฐมนตรี อาบีย์ สั่งให้กองทัพออกปฏิบัติการโจมตีในภูมิภาคไทเกรย์ หลังจากเกิดเหตุโจมตีที่ฐานทัพแห่งหนึ่ง ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บมากมาย รวมทั้งทรัพย์สินของกองทัพได้รับความเสียหาย โดยเขาโทษว่าเป็นฝีมือของกลุ่ม TPLF เอธิโอเปียมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร…

ประเมินภัยคุกคามบ้านเกิด: ส่องแนวโน้มอันตรายของประเทศ

Loading

ที่มาภาพ: https://www.crisisgroup.org/united-states/too-much-lose-steering-us-away-election-related-violence Written by Kim กระทรวงความมั่นคงแห่งบ้านเกิด (Department of Homeland Security – DHS) สหรัฐฯ เปิดเผยรายงานการประเมินภัยคุกคามบ้านเกิดฉบับปฐมฤกษ์เมื่อต้นตุลาคม 2020 โดยเน้นย้ำว่า รัสเซียและจีนกำลังใช้เครื่องมือทางไซเบอร์และสื่อสังคม (social media) ทำลายความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ ขณะที่ตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ (non-state actor) เช่น กลุ่มคนขาวผู้สูงส่ง (white supremacists) และ neo-Nazis รวมทั้งพวกขวาจัดอื่น ๆ เป็นภัยคุกคามบ้านเกิด DHS ประเมินด้วยว่า กลุ่มรัฐอิสลาม (ISIS) และ al-Qaeda ยังคงมุ่งหมายที่จะโจมตีสหรัฐฯในดินแดนบ้านเกิด แต่ความสามารถในการปฏิบัติการของกลุ่มดังกล่าวลดลงอย่างมาก[1]           เมื่อ 6 ตุลาคม 2020 DHS ได้เปิดตัวรายงานประเมินภัยคุกคคามบ้านเกิด (Homeland Threat Assessment – HTA)[2] เป็นครั้งแรกรวม 7 ด้าน ได้แก่ ไซเบอร์ อิทธิพลจากต่างประเทศ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การก่อการร้าย องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ การอพยพเข้าเมืองผิดกฎหมายและภัยพิบัติธรรมชาติ สาระสำคัญส่วนใหญ่เป็นการตรวจสอบภัยคุกคามบนพื้นฐานข้อเท็จจริงและไม่เข้าข้างฝ่ายใด…

ความผิดปกติของข่าวสาร (information disorder) ขณะที่การเมืองไม่ปกติ

Loading

ที่มาภาพ: https://medium.com/@dr.vossdaniel/5-tips-to-look-after-your-mental-health-during-the-time-of-covid19-4febe2cf2753 Written by Kim ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเรามักได้ยินคำว่า “ข่าวปลอม” หรือ “สื่อปลอม” อยู่เสมอ ข่าวปลอมเป็นปรากฏการณ์ที่ได้ยินมากในยุคการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต แต่อันที่จริงเนื้อหาที่แสดงความคิดเห็นชวนให้เชื่อจนเกินข้อเท็จจริง เกิดขึ้นมาก่อนยุคอินเทอร์เน็ตเฟื่องฟู โดยมีคำเรียกสื่อประเภทนี้ว่า สื่อเหลือง (เพราะแต่ก่อน หนังสือพิมพ์แนวใส่สีตีไข่นิยมใช้สีเหลืองสีพิมพ์)[1] ขณะเดียวกันก็อาจได้ยินคำว่า ข้อมูลเท็จ (False information) ข้อมูลที่ผิด (Misinformation) และข้อมูลบิดเบือน (Disinformation) ทั้งหมดนี้หมายถึงข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง (incorrect)[2]           คำสัญญาของยุคดิจิทัลสนับสนุนให้เราเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะเป็นไปในทางบวกเมื่อเราอยู่ในชุมชนที่มีการเชื่อมต่อสูงสุด เราสามารถหาข้อมูลที่จำเป็นโดยการคลิกหรือปัดหน้าจอ ความเชื่อดังกล่าวเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เมื่อเรายอมรับว่าระบบนิเวศน์ข้อมูลของเราตกอยู่ในอันตรายของมลพิษซึ่งแบ่งแยกเรามากกว่าการเชื่อมต่อกัน Clare Wardle แห่ง First Draft ได้เขียนบทความเกี่ยวกับความไม่ปกติของข่าวสาร (ข้อมูล) ซึ่งถูกปรับใช้เป็นอาวุธ (weaponisation) มากขึ้น หลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯในปี 2016 โดยจัดแบ่งข้อมูลข่าวสารออกเป็น 3 ประเภท[3]           ข้อมูลที่ผิด (misinformation) คือ ข่าวสารที่ปลอมขึ้นมาหรือเนื้อหาเป็นเท็จ (False information) แต่บุคคลที่เผยแพร่ (agent) เชื่อว่าเป็นจริง ข้อมูลประเภทนี้มักถูกเผยแพร่โดยไม่ตั้งใจ (inadvertent) เช่น เราอ่านข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตหรือในไลน์ระบุว่า ชอคโกแลตทำให้คนเราฉลาดขึ้น (น่าขัน) แต่ก็ตัดสินใจแชร์ (ข้อมูลผิด) โดยไม่รู้ว่าเป็นข้อมูลผิด แสดงว่าเราได้แชร์ข้อมูลที่ผิดไปแล้ว ข้อมูลที่ผิดขับเคลื่อนโดยปัจจัยทางจิตวิทยาสังคม บนสังคมออนไลน์ผู้คนแสดงอัตลักษณ์เพราะต้องการรู้สึกเชื่อมต่อกับเผ่า (tribe) พวกของตน           ข้อมูลบิดเบือน (dis-information) คือ ข่าวสารที่มีเนื้อหาเป็นเท็จ  ถูกบิดเบือนและคนที่เผยแพร่ก็รู้ว่าไม่เป็นจริง มีเจตนาโกหก (ออกแบบมาโดยมีเจตนาร้าย) เป้าหมายคือ…

Telegram คืออะไร ปลอดภัยแค่ไหน มีอะไรเด่น

Loading

ในปัจจุบันมีแอปพลิเคชันส่งข้อความให้เลือกใช้หลายแอป ไม่ว่าจะเป็นแอปยอดฮิตในไทยอย่าง LINE แอปสากลอย่าง WhatsApp หรือแอปสายจีนอย่าง WeChat และอีกแอปหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้ใครก็คือ Telegram Telegram คืออะไร Telegram เป็นแอปพลิเคชันส่งข้อความที่ก่อตั้งโดยสองพี่น้องชาวรัสเซีย ชื่อ Pavel Durov และ Nikolai Durov ในปี 2013 ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ให้กำเนิด “VK” เครือข่ายสังคมออนไลน์สัญชาติรัสเซียมาแล้ว ด้านโมเดลธุรกิจ Telegram เป็นแอปพลิเคชันที่สามารถใช้งานได้ฟรี 100 เปอร์เซ็นต์โดยไม่มีทางเลือกให้ต้องจ่ายค่าบริการใดๆ ทั้งสิ้น โดยมี Pavel เป็นผู้สนับสนุนเงินทุนจำนวนมหาศาล Telegram ให้ข้อมูลว่าเงินจำนวนนี้ยังเพียงพอ แต่หากประสบปัญหาในอนาคตก็อาจเพิ่มทางเลือกแบบเสียเงินเข้ามา อย่างไรก็ตาม Telegram จะไม่พุ่งเป้าที่การแสวงผลกำไร เมื่อเดือนเมษายน 2563 Telegram มีผู้ใช้ต่อเดือนอยู่ที่ 400 ล้านคน มีผู้ใช้ใหม่อย่างต่ำ 1.5 ล้านคนต่อวัน และมีสติ๊กเกอร์ให้ใช้งานกว่า 2 แสนชุด Telegram ปลอดภัยแค่ไหน Telegram โฆษณาตัวเองว่ามีความปลอดภัยกว่าแอปพลิเคชันกระแสหลักอย่าง…

คิมบีบน้ำตาจระเข้ จัดพาเหรดโชว์โคตรมิสไซล์ ส่งข้อความถึงสหรัฐฯ-เกาหลีใต้

Loading

สัญญาณแห่งความหวัง หรือภัยคุกคาม เกาหลีเหนือจัดงานฉลองวันครบรอบ 75 ปี การก่อตั้งพรรคแรงงาน ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลของประเทศ เมื่อวันเสาร์ที่ 10 ต.ค. 2563 แต่การจัดงานครั้งนี้ มีหลายสิ่งหลายอย่างที่แตกต่างไปจากครั้งก่อนๆ เช่น พิธีถูกจัดขึ้นในช่วงเช้ามืดอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน หรือประชาชนทั่วไปที่มาร่วมงานมีจำนวนไม่มากเท่าเมื่อก่อนที่จะมากันหนาแน่นกว่านี้ ด้าน คิม จอง-อึน ผู้นำสูงสุดแห่งเกาหลีเหนือ หลีกเลี่ยงการใช้คำพูดรุนแรงเรื่อง ยุติการระงับการทดลองขีปนาวุธพิสัยไกลและอาวุธนิวเคลียร์ตามข้อตกลงที่ทำไว้กับสหรัฐฯ ที่เขาพูดและแสดงออกตลอดช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา ขณะที่กล่าวคำพูดเชิงเป็นมิตรกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างเกาหลีใต้ว่า ต้องการให้เกาหลีทั้งสองจับมือกันอีกครั้ง หลังจากวิกฤติโควิดผ่านพ้นไปแล้ว สุนทรพจน์ของ คิม จอง-อึน เหมือนเป็นสัญญาณที่ดีว่า เกาหลีเหนือต้องการผูกมิตร แต่ทว่า ขบวนพาเหรดของกองทัพที่จัดแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ภายในงาน กลับส่งสัญญาณที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงออกมา โดยเกาหลีเหนือเปิดตัวทั้ง ทหารพร้อมปืนจู่โจมรุ่นใหม่ ระบบป้องกันอากาศยาน, ระบบยิงจรวดหลายลำกล้อง (MLRS) รุ่นใหม่, รถหุ้มเกราะ และขีปนาวุธชนิดยิงจากเรือดำน้ำชื่อ ‘ปุกกุกซอง 4เอ’ แต่ที่ได้รับความสนใจมากที่สุดคือ ขีปนาวุธข้ามทวีป (ICBM) ขนาดยักษ์รุ่นใหม่ ที่มีการเปิดเผยชื่อในภายหลังว่า ‘ฮวาราง-16’ ซึ่งถูกมองว่าเป็นการส่งข้อความโดยตรงถึงสหรัฐฯ ในขณะที่ทั้งสองฝ่าย ยังไม่สามารถฝ่าทางตันในการเจรจาปลดอาวุธนิวเคลียร์ในคาบสมุทรเกาหลีใต้…

จินตนาการกล่าวหาว่าเป็น IO ของกองทัพ อคติไม่กล่าวถึงขบวนการล้มเจ้าบนโลกไซเบอร์

Loading

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชา Business Analytics and Intelligence และ Actuarial Science and Risk Management คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ อนุกรรมาธิการติดตามการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข วุฒิสภา ผมทราบดีว่ามีขบวนการล้มเจ้าบนโลกออนไลน์ ใช้เงินทุน มีนายทุนและดำเนินการอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ใช้การตลาดดิจิทัล และใช้ความรู้ด้านวิทยาการข้อมูล (Data Science) และการตลาดดิจิทัล จำนวนมากมายมีทั้งที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยชั้นนำของไทย จบการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก หรือนักรบไซเบอร์ตัวเล็กตัวน้อยที่เป็นตัวอวตารอยู่มากมาย ตลอดจนมีการสร้างเนื้อหาโดยนักเขียนและสื่อมวลชนชั้นนำ และอินโฟกราฟิกต่าง ๆ ตลอดจนมีวอร์รูมที่ประชุมกันทุกเช้า และทำ social listening อย่างเข้มข้น https://mgronline.com/daily/detail/9630000064482 ที่ดำเนินการอย่างได้ผล จนขบวนการล้มเจ้าขยายตัวและสังคมไทยเกิดความแตกแยกอย่างรุนแรงแบ่งออกเป็นสองฝ่ายคือฝ่ายกษัตริย์นิยม (Royalist) และปฏิกษัตริย์นิยม (Anti-royalist) อย่างที่ไม่เคยแตกแยกรุนแรงเช่นนี้มาก่อนเลย ขบวนการดังกล่าว เล่นหลายหน้าในเวลาเดียวกัน หน้าแรก ทำธุรกิจ โดยเป็น social listening tools ที่เก่งที่สุดของภาษาไทย ที่ต้องใช้ความรู้ด้านการวิเคราะห์เครือข่ายสังคม (Social…