เตรียมตัวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมสอดส่อง (surveillance industrial complex)

Loading

ที่มาภาพ: https://yourstory.com/2019/01/top-6-trends-surveillance-industry-2019 Written by Kim หลายประเทศทั่วโลกใช้เทคโนโลยีแบบใหม่ที่สามารถเฝ้าดูและสอดส่อง (surveillance) ความเคลื่อนไหวของประชาชน เพื่อที่จะควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) แม้ประชาชนจำนวนหนึ่งเต็มใจแลกความเป็นส่วนตัวกับความมั่นคงปลอดภัย แต่เทคโนโลยีที่รัฐบาลนำมาใช้เป็นการชั่วคราวอาจมีบทบาทอย่างถาวรต่อการใช้ชีวิตประจำวันในอนาคตอันใกล้ ขณะนี้มีความกังวลเกี่ยวกับวิธีการที่รัฐบาลรวบรวม จัดเก็บและใช้ประโยชน์จากข้อมูลส่วนบุคคลที่สะสมไว้ คาดกันว่าโลกในยุคหลัง COVID-19 บริษัทเทคโนโลยีเอกชนและประเทศต่าง ๆ จะให้ความสำคัญเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนน้อยลงและหันไปมุ่งเน้นเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับการรวบรวมข้อมูล เพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งและฝ่ายตรงข้ามตามลำดับ[1]           ปัจจุบัน เกาหลีใต้ อิสราเอลและสิงคโปร์ใช้ข้อมูลตำแหน่งที่อยู่ คลิปวิดีโอกล้องวงจรปิดและข้อมูลบัตรเครติตในการเฝ้าดูความเคลื่อนไหวของประชาชน โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการติดตามร่องรอยของไวรัสโคโรนา แม้ประชาชนส่วนหนึ่งเต็มใจแลกความเป็นส่วนตัวกับความมั่นคงปลอดภัย แต่เทคโนโลยีที่รัฐเสนอใช้ชั่วคราวจะมีบทบาทสำคัญต่อชีวิตประจำวันต่อไปและทำให้เกิดปมอุตสาหกรรมสอดส่อง (surveillance industrial complex) ที่เกี่ยวดองกับปมอุตสาหกรรมทหาร (military–industrial complex)[2] โดยบริษัทเทคโนโลยีเอกชนออกแบบและจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์สอดแนมที่ทันสมัยที่สุดแก่รัฐบาล องค์การและบุคคล (เอกชน) ซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกันจนแยกไม่ออก           จุดสิ้นสุดของความสัมพันธ์แบบนี้อาจเป็นการสืบทอดตัวเองไปเรื่อย ๆ ซึ่งเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก หลายคนอาจโต้แย้งว่าฉากทัศน์แบบนี้เกี่ยวข้องกับอนาคตค่อนข้างน้อยและเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตประจำวันในหลายภาคส่วนของโลก เพียงแค่พกพาโทรศัพท์อัจฉริยะ (smartphone) ผู้คนก็แพร่กระจายข้อมูลส่วนบุคคลที่สามารถระบุตัวตนได้ (personally identifiable information) โดยสมัครใจ เช่นเดียวกับข้อมูลที่รวบรวมจากสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์อื่น ๆ ก็เข้าถึงได้อย่างง่ายดาย โดยการบุกรุกด้วยเครื่องมือเจาะระบบและมัลแวร์ อนึ่ง แนวคิดเรื่องอินเตอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (Internet of Things – IoT) และพัฒนาการของ…

ซาอุดีอาระเบีย : เมื่อเศรษฐีน้ำมันเผชิญปัญหารุมเร้าทั้งเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศ

Loading

จากเคยเป็นประเทศปลอดภาษี ตอนนี้ซาอุดีอาระเบียประกาศขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มสามเท่าจาก 5% เป็น 15% และยกเลิกเงินช่วยเหลือประชาชนรายเดือนตั้งแต่เดือนหน้าเป็นต้นไป นโยบายนี้เป็นผลมาจากราคาน้ำมันตลาดโลกที่ลดลงจนต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของราคาเมื่อปีที่แล้ว ทำให้รายได้ของรัฐบาลหดหายไป 22% และโครงการใหญ่ ๆ ทั้งหลายต้องหยุดชะงัก ซาอุดิ อรัมโค ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติของซาอุดีอาระเบียมีผลกำไรลดลง 25% ในไตรมาสแรกของปี สาเหตุหลักก็คือราคาน้ำมันดิบที่ดิ่งลง “มาตรการเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นในการคุมค่าใช้จ่ายและพยายามให้ราคาน้ำมันคงที่” ไมเคิล สตีเฟนส์ นักวิเคราะห์ด้านอ่าวอาหรับกล่าว เขาบอกด้วยว่า สภาพเศรษฐกิจของประเทศกำลังย่ำแย่และต้องใช้เวลาอีกสักพักกว่าจะกลับมาเป็นปกติ โรคโควิด-19 กำลังสร้างความปั่นป่วนให้เศรษฐกิจซาอุดีอาระเบีย ซึ่งพึ่งพาแรงงานทักษะต่ำหลายล้านคนจากเอเชีย โดยมากแรงงานเหล่านี้อาศัยในสถานที่แออัดและสกปรก ขณะเดียวกัน เจ้าชายโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน ซึ่งยังได้รับความนิยมในประเทศอย่างมาก ก็ยังถูกชาติตะวันตกตีตัวออกห่างหลังมีข้อสงสัยว่าพระองค์พัวพันกับคดีสังหารจามาล คาชูจกิ นักข่าวซาอุฯ ในปี 2018 นับจากนั้นมาความมั่นใจในการเข้ามาลงทุนของต่างชาติก็ลดถอยลง และยังไม่ฟื้นตัวจนถึงบัดนี้ นอกจากนี้ สงครามกับเยเมนที่ยืดเยื้อมากว่า 5 ปี ก็ทำให้ซาอุฯ แทบหมดหน้าตักโดยที่ไม่ได้ประโยชน์อะไร และยังมีวิกฤตการทูตกับกาตาร์ที่ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่าง 6 ประเทศในกลุ่มประเทศความร่วมมือแห่งอาหรับสั่นคลอน ปัญหารอบด้านแบบนี้ ซาอุฯ กำลังเจอวิกฤตหนักหรือไม่ พลังฟื้นตัวจากภายใน หากมองภาพรวม สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกพังไปตาม…

หมัดเด็ดจากจีน

Loading

โดย…ภุมรัตน ทักษาดิพงศ์ สงครามข่าวสารในยกต้นๆ เกี่ยวกับไวรัสโควิด 19 ที่ผ่านมานั้น สหรัฐเป็นฝ่ายรุกโดยกล่าวหาว่าจีนเป็นต้นตอการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอู่ฮั่น หรือไวรัสโควิด 19 ที่เกิดจากเมืองอู่ฮั่นซึ่งเป็นที่รับรู้กันทั่วโลก จีนยอมรับว่า เชื้อร้ายนี้เริ่มต้นระบาดที่เมืองอู่ฮั่นจริง แต่กล่าวหาว่า เป็นฝีมือของสหรัฐซึ่งคิดค้นไวรัสตัวนี้ที่สถานีวิจัยในอเมริกา และถูกนำมาปล่อยในเมืองอู่ฮั่นของจีนโดยโครงการนี้เป็นของ ซี.ไอ.เอ. ซ้ำยังมีเปิดเผยหมายเลขจดทะเบียนโครงการกับกรมการค้า เพื่อดูให้น่าเชื่อถืออีกด้วย เพื่อให้ดูน่าสมจริงยิ่งขึ้น ทางการจีนได้ฟ้องร้องต่อศาลระหว่างประเทศ กล่าวว่า สหรัฐได้นำเชื้อนี้มาปล่อยในจีนผ่านนักกีฬาทหารอเมริกันที่มาร่วมแข่งกีฬาทหารโลกที่เมืองอู่ฮั่น จะเรียกว่าเป็นการฟ้องเพื่อ “แก้เกี้ยว” ก็คงได้ ทางด้านสหรัฐที่เวลานี้กลายเป็นประเทศที่มีคนติดเชื้อมากที่สุดในโลก และคนตายเป็นอันดับหนึ่งหรืออันดับต้นๆ ของโลก ประธานาธิบดีทรัมป์ และนายปอมเปโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ ออกมาประสานเสียงให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน กล่าวหาว่า เชื้อไวรัสเกิดจากห้องทดลองในเมืองอู่ฮั่น ต่อมา ซี.เอ็น.เอ็น. ได้รายงานว่า ประชาคมข่าวกรองสหรัฐ ยืนยันว่าเชื้อไวรัสโคโรน่าตัวนี้ น่าจะเกิดจากตลาดค้าสัตว์ป่ามากกว่าเกิดจากการทดลองในห้องแล็บเมืองอู่ฮั่น และยังไม่มีข้อมูลการแพร่ระบาดของไวรัสตลาดค้าสัตว์ป่าสู่คน เรื่องนี้ต้องเชื่อหน่วยข่าวกรองทั้งห้าซึ่งเป็นมืออาชีพ ส่วนฝ่ายการเมือง ในที่นี้คือประธานาธิบดีและรัฐมนตรีต่างประเทศ เป็นผู้ใช้ข่าว ข้อมูลจากหน่วยข่าวกรองสหรัฐน่าเชื่อถือได้มากกว่าเพราะหน่วยข่าวกรองต้องให้แต่ความจริง ส่วนฝ่ายการเมืองซึ่งใช้ข้อมูลนั้น จะเอาไปใช้อย่างไร โกหกบิดเบือนหลอกลวงอย่างใดเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง ฝ่ายการเมืองต้องรับผิดชอบเอง สุดท้าย อยู่ที่ประชาชนจะเชื่อฝ่ายไหนมากกว่า จากที่ไวรัสตัวนี้ที่เชื่อกันว่าเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ได้ถูกจีนและสหรัฐนำมาใช้ประโยชน์ทางการเมือง จีนซึ่งตกเป็น “จำเลยโลก” ได้แก้ตัว และโต้กลับโดยเปิดเผยข้อมูลที่ดูน่าเชื่อถือว่าสหรัฐเป็นคนที่เพาะพันธ์ตัดต่อให้รุนแรงและรักษายากขึ้นและแอบนำมาปล่อยที่เมืองอู่ฮั่น เพื่อบ่อนทำลายจีน ทำให้โครงการพัฒนาต่างๆ ของจีนล่าช้าเพราะรัฐบาลปักกิ่งต้องมาใส่ใจในการแก้ปัญหาโรคร้าย จีนได้ระบุถึงหน่วยงานอเมริกันที่รับผิดชอบโครงการนี้ ทำกันเมื่อไร สถานที่ของโครงการตั้งอยู่ที่ไหนฯลฯ อเมริกันรู้เรื่องนี้มาตั้งแต่กลางปี…

Guerilla Projection : ศิลปะแห่งการประท้วง จากสถานทูตแอฟริกาใต้ถึงหน้าวัดปทุมฯ

Loading

เช้าวันที่ 11 พฤษภาคม 2563 สื่อหลายสำนักรายงานว่า เมื่อคืนวันที่ 10 พฤษภาคม ปรากฏข้อความปริศนา #ตามหาความจริง ถูกฉายด้วยลำแสงโปรเจ็กเตอร์บนผนังหรืออาคารสถานที่สำคัญหลากหลายจุด ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สลายการชุมนุมพฤษภา 2553 ทั้ง วัดปทุมวนาราม สยามพารากอน กระทรวงกลาโหม ซอยรางน้ำ และอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยไม่ปรากฏว่าการกระทำครั้งนี้เป็นของกลุ่มใด แม้จะทราบโดยข้อความและสถานที่ว่าเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ ครบ 10 ปีของการสลายการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมเพื่อประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 การฉายภาพหรือข้อความด้วยลำแสงของโปรเจ็กเตอร์เป็นทั้งการใช้งานในการสื่อสารทั่วไป หรืองานศิลปะ และในขณะเดียวกันเทคโนโลยีนี้ก็ถูกหยิบจับมาใช้สื่อสารในเชิงศิลปะการประท้วงแบบกองโจรโดยใช้การฉายโปรเจ็กเตอร์ หรือที่เรียกว่า ‘Guerilla Projection’ โดยที่ไม่อาจล่วงรู้ได้มาก่อนว่าจะเกิดขึ้นที่ใด เมื่อไร และบางครั้งก็ไม่อาจรู้ได้ว่าใครเป็นผู้ทำ ศิลปะการประท้วงแบบกองโจรโดยใช้การฉายโปรเจ็กเตอร์ หรือ ‘Guerilla Projection’ นี้ ในหนังสือเรื่อง Augmented Reality Art: From an Emerging Technology to a Novel Creative Medium เรียบเรียงโดย Vladimir Geroimenko ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า แม้จะไม่ทราบว่าผู้ใดหรือศิลปินคนใดเป็นผู้หยิบยืมนำมาใช้ในเชิงการประท้วงเป็นครั้งแรก แต่ผู้ที่ถือเป็นผู้นำและได้รับการจดจำในการใช้โปรเจ็กเตอร์มาเป็นสื่อศิลปะในการประท้วงทางการเมืองก็คือ คริสซตอฟ โวดิซโก (Krzysztof Wodiczko) ศิลปินชาวโปแลนด์ ผลงานอันโด่งดังของคริสซตอฟ โวดิซโกที่ถูกหยิบมาเล่าซ้ำแล้วซ้ำอีกก็คือ การฉายภาพมือของโรนัลด์ เรแกน ที่เห็นเฉพาะมือในเสื้อเชิ้ตสีขาวมีคัฟฟ์ลิงค์ติดอยู่บนอาคาร AT&T Long Lines ในนครนิวยอร์ก ในช่วงสี่วันก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดี ในปี 1984 และแน่นอนว่าโรนัลด์ เรแกน คว้าชัยชนะการเลือกตั้งในครั้งนั้นไป หรือผลงานในปี 1985 เมื่อเขาฉายโปรเจ็กเตอร์รูปสวัสดิกะบนอาคารของสถานทูตแอฟริกาใต้ ในกรุงลอนดอน เพื่อประท้วงการต่อต้านแบ่งแยกสีผิวในแอฟริกาใต้ ซึ่งแม้จะปรากฏให้เห็นไม่เกิน 2 ชั่วโมงก่อนที่ตำรวจจะมาถึง แต่ภาพข่าวนั้นก็แพร่กระจายไปทั่วโลก ในวันที่ยังไม่มีสิ่งที่เรียกว่าโซเชียลมีเดีย ผลงาน Guerilla Projection ที่น่าสนใจที่ผ่านมา นอกจาก #ตามหาความจริง ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ เมื่อไม่กี่วันมานี้ ในอดีตมีการนำเอาศิลปะการประท้วงแบบกองโจรโดยใช้การฉายโปรเจ็กเตอร์มาใช้และเป็นที่จดจำ น่าสนใจหลายชิ้นด้วยกัน เช่นตัวอย่างต่อไปนี้ การประท้วงพลังงานนิวเคลียร์ของกรีนพีซ ในปี 1989 กลุ่มกรีนพีซประท้วงเรื่องอันตรายของพลังงานนิวเคลียร์โดยฉายข้อความ “We Have Nuclear Weapons on Board” (เรามีอาวุธนิวเคลียร์อยู่บนเรือ) ลงบนเรือ ARK ROYAL ในขณะที่เทียบท่าที่เมืองฮัมบวร์ก  99% การประท้วงยึดวอลล์สตรีท การประท้วงยึดวอลล์สตรีทในปี 2011 โดยชูประเด็น 99% ซึ่งหมายถึงประชาชนส่วนใหญ่คือคน 99% ที่ถูกขูดรีดเอารัดเอาเปรียบจากคน 1% ของสังคม โดยในการประท้วงครั้งนี้มีการฉายสัญลักษณ์สไตล์แบทแมน (Batman Signal) เป็นภาพตัวเลข 99% ขึ้นไปบนตึกสูง 32 ชั้น Verizon Building ที่อยู่ตรงข้ามสะพานบรูคลิน เป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์การประท้วง Citizen Safety Law ประท้วงกฎหมายลงโทษการชุมนุมในสเปน ในปี 2015 สเปนออกกฎหมายที่ชื่อ  Citizen Safety Law หรือในอีกชื่อหนึ่งคือ The Gag Law ซึ่งนอกจากจะจำกัดสิทธิในการประท้วงตามกฎหมายแล้ว ยังมีบทลงโทษสำหรับผู้ที่ออกมาประท้วงอีกด้วย โดยการประท้วงหน้ารัฐสภาอาจมีโทษปรับสูงถึง 30,000 ยูโร จึงเกิดความเคลื่อนไหวที่ชื่อ  ‘NoSomosDelito’ (เราไม่ใช่อาชญากร) นำเอาเทคโนโลยีโฮโลแกรมฉายภาพผู้ประท้วงกว่า 2,000 คนเดินผ่านหน้ารัฐสภาในกรุงมาดริด ซึ่งแน่นอนว่าไม่ถูกจับเพราะผู้ประท้วงเหล่านั้นเป็นภาพโฮโลแกรม Resist Trumpism Everywhere ประท้วงการมาเยือนอังกฤษของทรัมป์ การมาเยือนอังกฤษของประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ในปี 2018 ได้รับการต้อนรับอย่างเจ็บแสบจากกลุ่มที่เรียกว่า Bluman ด้วยการฉายโปรเจ็กเตอร์ด้วยคำว่า ‘Resist Trumpism Everywhere’ ไปทั่วเมือง ตั้งแต่ซุ้มประตู Houses of Parliament and Marble Arch สถานที่สำคัญอื่นๆ อย่าง Cable…

7 “ความเข้าใจผิด” เกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ซีไอโอควรรู้

Loading

เป็นที่รู้กันว่าช่องโหว่ที่เพิ่มขึ้นนำมาซึ่งค่าใช้จ่ายขององค์กรที่เพิ่มขึ้น ขณะที่เศรษฐกิจในส่วนดิจิทัลของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง จำนวนการโจมตีและค่าใช้จ่ายเพื่อแก้ปัญหาข้อมูลรั่วไหล (Data Breach) ก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน จากผลการศึกษาของ Ponemon Institute เผยว่า ผลกระทบทางการเงินในภูมิภาคนี้สูงถึง 2.62 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2562 ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 2.53 ล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 2561 ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นกำลังเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการก้าวสู่ ‘ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน’ ขององค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สามในห้าขององค์กรในภูมิภาคนี้ได้ชะลอแผนการลงทุนด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นเป้าหมายการโจมตีทางไซเบอร์ จากรายงานของ Deloitte Cyber Smart: รายงานศักยภาพธุรกิจในเอเชียแปซิฟิก ชี้ว่าภัยคุกคามทางไซเบอร์อาจส่งผลทำให้สูญเสีย GDP ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกถึง 145 พันล้านเหรียญสหรัฐฯในทศวรรษหน้า แม้จะมีการลงทุนเพิ่มขึ้นในโซลูชันด้านความปลอดภัย แต่กลุ่มผู้ไม่หวังดีนั้นมีทั้งทรัพยากร และเวลาเพื่อเจาะค้นหาช่องโหว่ขององค์กรได้ตลอดเวลา ยิ่งไปกว่านั้น แนวทางส่วนใหญ่ที่องค์กรใช้ในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ในวันนี้ ยังคงเป็นแนวรีแอคทีฟที่มุ่งเน้นการไล่ล่าภัยคุกคาม ดังนั้นองค์กรจึงต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดการออกแบบสถาปัตยกรรมความปลอดภัยที่ครอบคลุมโครงสร้างพื้นฐานหลัก แอปพลิเคชัน ผู้ใช้งาน และการดำเนินงาน (operation) องค์กรจำเป็นต้องแก้ความเข้าใจผิดด้านความปลอดภัยที่ไม่เอื้อการผสานความปลอดภัยทางไซเบอร์เข้ากับกลยุทธ์หลักทางธุรกิจ และนี่คือ 7 ความเข้าใจผิดที่ซีไอโอทุกคนควรรู้ ความเข้าใจผิด ข้อที่ 1 – คิดว่าถ้าเข้าใจแนวโน้มการโจมตี จะช่วยป้องกันระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ…

New Normal คืออะไร? สำคัญแค่ไหน? และจะส่งผลอะไรกับชีวิตเราบ้าง?

Loading

By :  littlepearl ช่วงนี้หลายคนคงได้ยินคำว่า New Normal ในข่าวกันมากขึ้น อาจจะสงสัยว่า เอ๊ะ ทำไมเดี๋ยวนี้คนพูดถึงคำนี้กันบ่อยจัง มันคืออะไร เกี่ยวข้องอะไรกับชีวิตฉันไหม ฉันต้องรู้จักมันรึเปล่า New Normal ถ้าแปลแบบตรงตัวเลยก็คือ New แปลว่าใหม่ Normal แปลว่าปกติ รวมกันแล้วแปลได้ความหมายว่า ความปกติแบบใหม่ หรือ ภาวะปกติแบบใหม่ ลองนึกง่าย ๆ ว่า อะไรที่เราทำในชีวิตประจำวันเป็นปกติบ้าง เช่น กินข้าว 3 มื้อ, อาบน้ำ 2 ครั้ง, ใส่ชุดว่ายน้ำไปเที่ยวทะเล, ใส่ชุดดำไปงานศพ ทั้งหมดนี้มันคือเรื่อง “ปกติ” ที่เราคุ้นตา ที่เราเคยชินกัน แต่ภาวะปกติแบบใหม่นี้ มันคือสิ่งที่เรามองว่า เมื่อก่อนไม่ใช่เรื่องปกติที่เขาทำกัน แต่พอมันเกิดเหตุการณ์ หรือปรากฎการณ์อะไรบางอย่างขึ้น สิ่งเหล่านั้นก็กลายเป็นเรื่องปกติไปโดยปริยาย ถ้ายกตัวอย่างที่เห็นกันชัด ๆ ในยุค Covid-19 นี้เลยก็คือ การใส่หน้ากากอนามัยออกจากบ้าน เมื่อก่อน เราจะหยิบหน้ากากอนามัยออกมาใส่ก็ต่อเมื่อเราป่วยเท่านั้น แต่เดี๋ยวนี้…