สังคมโลก : สิ่งตอบแทน

Loading

  ผลสำรวจความคิดเห็นสาธารณะล่าสุด ในสหรัฐอเมริกา พบว่า ชาวอเมริกันส่วนใหญ่ที่ตอบคำถาม ต้องการเห็นชาวอัฟกันที่เคยทำงานช่วยเหลือทหารกองทัพสหรัฐ และพันธมิตรนาโต ในสงครามอัฟกานิสถาน ได้รับอนุญาตให้ตั้งรกราก เริ่มชีวิตใหม่ในดินแดนอเมริกา มีเพียง 9% ของชาวอเมริกัน ที่คัดค้าน โพลสำรวจโดยสำนักข่าวเอพี-ศูนย์วิจัยกิจการสาธารณะ เอ็นโออาร์ซี พบว่า 72% ของชาวอเมริกัน ต้องการให้รัฐบาลสหรัฐอนุมัติสถานะผู้ลี้ภัย แก่ชาวอัฟกันที่เคยเป็นล่ามแปลภาษา หรือ ทำงานอื่น ๆ ช่วยเหลือทหารสหรัฐในอัฟกานิสถาน รวมทั้งสมาชิกในครอบครัว หากกลุ่มคนเหล่านี้ผ่านการตรวจสอบด้านความมั่นคง     ส่วนผลสำรวจคณะเจ้าหน้าที่สหรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการรับผู้ลี้ภัยและผู้อพยพ อดีตทหารผ่านศึกสงครามอัฟกานิสถาน และทีมงานอพยพชาวอัฟกันออกนอกประเทศ หลังกลุ่มตาลีบันบุกยึดกรุงคาบูล เมื่อวันที่ 15 ส.ค.ที่ผ่านมา พบว่า กลุ่มคนเหล่านี้มองว่าเป็น “หน้าที่” และ “ความจำเป็น” ของทางการสหรัฐ ในการช่วยเหลือชาวอัฟกัน ที่เคยช่วยเหลือทหารสหรัฐ ในช่วง 20 ปีของการทำสงครามกับกลุ่มตาลีบันและกลุ่มติดอาวุธอื่น ๆ รวมถึง กลุ่มไอเอส ชาวอัฟกันเหล่านี้มีความเสี่ยงต่อชีวิตสูงมาก เนื่องจากแต่ละคนถูกกลุ่มตาลีบันหมายหัวไว้หมด ในช่วงก่อนที่จะกลับมายึดครองอัฟกานิสถานเกือบทั้งประเทศ  …

ไม่ได้ไปต่อ เทคโนโลยีจดจำใบหน้า ไม่ผ่านกฎหมายความเป็นส่วนตัว

Loading

  เทคโนโลยีการจดจำใบหน้านั้นมีประโยชน์อย่างมาก ซึ่งก่อนหน้านี้ ในประเทศจีนได้นำเทคโนโลยีดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในหลาย ๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็น การบังคับใช้กฎหมาย ใครไม่ข้ามทางม้าลาย ใบสั่งส่งถึงบ้าน หรือบ้วนน้ำลายหรือทิ้งขยะในที่สาธารณะก็ต้องจ่ายเช่นกัน พร้อมกันนี้ ในแง่ของการสร้างเศรษฐกิจดิจิทัล จีนใช้ระบบสแกนใบหน้าเพื่อจ่ายค่าเดินทางด้วยรถไฟฟ้า ทำให้คนจีนไม่ต้องควักเงิน บัตร หรืออะไรต่างออกมาจ่ายเงิน เพียงแค่เดินผ่านไประบบจะทำการหักเงินในบัญชีอัตโนมัติ ทั้งนี้ ในปัจจุบันเทคโนโลยีการจดจำใบหน้ากำลังได้รับความนิยมทั่วโลก แม้จะมีการต่อต้านจากกลุ่มสิทธิมนุษยชนและรัฐบาลทั่วโลก แต่บริษัทใหญ่ ๆ อย่างเช่น Amazon และ Clearview ยังคงพัฒนาเทคโนโลยีและพยายามขายเทคโนโลยีดังกล่าวให้กับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย แต่เรื่องนี้กำลังถูกยุติในฝั่งยุโรป โดยรัฐสภายุโรป (EP) MEPs ได้เรียกร้องอย่างเป็นทางการให้แบนการใช้เทคโนโลยีการจดใบหน้าในพื้นที่สาธารณะ เพราะเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน นอกจากนี้ MEPs รู้สึกว่าเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถนำไปสู่การเลือกปฏิบัติระหว่างชนกลุ่มน้อย ผู้หญิง ผู้สูงอายุ และสมาของกลุ่ม LGBT เพราะมีความเป็นไปได้ว่าโปรแกรมเมอร์ที่เขียนอัลกอริทึ่มของระบบ อาจใส่อคติลงไป ทำให้ Ai อาจมีอคติเช่นกันครับ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน และมีปัญหาให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง หากเรื่องนี้ถูกบังคับใช้เมื่อใด ประเทศที่อยู่สมาชิกประเทศยุโรปจะต้องไม่มีการใช้ Facial Recognition ในที่สาธารณะทั้งหมด รวมถึงประเทศที่มีการใช้กฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เช่น…

‘สกมช.’ จับมือ ‘เทรนด์ไมโคร’ ปั้นนักรบไซเบอร์อุดช่องโหว่ขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญ

Loading

  เมื่อมีการใช้งานออนไลน์มากขึ้น ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ได้ง่ายผ่านอุปกรณ์ของตนเอง จึงกลายเป็นการเพิ่มโอกาสให้แฮกเกอร์สามารถเข้าถึงข้อมูล หรือ สร้างภัยหลอกลวงต่างๆ ถึงผู้คนได้ง่าย ดังนั้นคนทุกกลุ่มจึงจำเป็นต้องมีความรู้เท่าทันภัยดังกล่าวเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) จึงถูกตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย มาตรการแนวทางการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ สำหรับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในการป้องกันรับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ทว่า ปัญหาที่สำนักงานและประเทศไทยกำลังเผชิญคือบุคลากรที่จะเข้ามารับมือกับภัยคุกคามไซเบอร์นั้นไม่เพียงพอ   ***ไทยขาดบุคลากรป้องกันภัยไซเบอร์หลักแสนคน ‘พล.อ.ปรัชญา เฉลิมวัฒน์’ เลขาธิการคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ กล่าวว่า เหตุผลที่บุคลากรไซเบอร์ขาดแคลนเป็นเพราะบุคคลเหล่านี้จำเป็นต้องมีความรู้เทคนิครอบด้าน ดังนั้น กว่าจะสร้างบุคคลากรที่ทำงานด้านนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพต้องใช้เวลานานและต้องมีการวางแผนระยะยาวในการสร้างบุคลากรเพื่อมาสนับสนุนการทำงานด้านนี้ของประเทศได้ ขณะที่ สกมช.เป็นสำนักงานที่มีอัตราโครงสร้างพนักงาน 480 คน แต่เนื่องจากการขาดแคลนงบประมาณและการสนับสนุนด้านบุคลากร ทำให้ในปัจจุบันบุคลากรของ สกมช.มีเพียง 40 คนโดยประมาณ บวกกับลูกจ้างอีกประมาณ 20 คน ทำให้สำนักงานประสบปัญหาด้านการดำเนินงาน สกมช.จึงพยายามแสวงหาความร่วมมือจากพันธมิตรต่างๆ ที่จะให้ความร่วมมือกับหน่วยงานในการพัฒนาบุคลากรในทุกมิติ อย่างไรก็ตาม การโจมตีทางไซเบอร์มีการขยายตัวมากขึ้นในช่วงนี้ ส่วนหนึ่งมาจากสถานการณ์โรคระบาดที่ส่งผลให้การใช้งานระบบดิจิทัลมากขึ้น ทำให้มีผู้ไม่ประสงค์ดีมองเห็นโอกาสในการคุกคามความปลอดภัยตามช่องทางเหล่านี้กันมากขึ้น ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่ด้านซิเคียวริตี หรือความมั่นคงปลอดภัยตามหน่วยงานภาคส่วนต่างๆ กันอย่างรัดกุมมากยิ่งขึ้น จึงทำให้ต้องเร่งเสริมสร้างความรู้และยกระดับทักษะด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้แก่บุคลากรของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างเข้มข้น เพื่อให้มีกระบวนการทำงานที่ตระหนักถึงความมั่นคงปลอดภัยเป็นสำคัญ และมีแนวทางและกระบวนการในการรับมือกับภัยคุกคามได้อย่างเท่าทันต่อเหตุการณ์ สำนักงานจึงได้มีการหารือกับบริษัท เทรนด์ไมโคร ประเทศไทย ในฐานะองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในระดับโลก…

ไมโครซอฟท์รายงานภัยไซเบอร์ปี 2021 การโจมตีส่วนมากมาจากรัสเซีย, Ransomware โจมตีกลุ่มค้าปลีกหนักสุด

Loading

  ไมโครซอฟท์ออกรายงานการป้องกันภัยไซเบอร์ประจำปี 2021 ซึ่งครอบคลุมเหตุการณ์ช่วงกลางปี 2020 จนถึงกลางปี 2021 ที่ผ่านมา แสดงถึงระดับภัยที่สูงขึ้นในปีที่ผ่านมา ระบบเศรษฐกิจของกลุ่มคนร้ายในโลกไซเบอร์มีระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในตัวเอง   การโจมตีรูปแบบต่างๆ มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย เช่น ค่าเจาะระบบ 250 ดอลลาร์ (8,000 บาท), ค่าใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่ 66 ดอลลาร์ (2,000 บาท), ค่ารหัสผ่านที่ถูกเจาะ 0.97 ดอลลาร์ (30 บาท) ต่อ 1,000 รายการ, ค่าส่งเมลหลอกลวงแบบเจาะจง (spearphishing) ครั้งละ 100 – 1,000 ดอลลาร์ (3,400 – 34,000 บาท) รายงานพบว่ากลุ่มแฮกเกอร์ระดับรัฐ (nation state actor) มาจากฝั่งรัสเซียสูงสุด โดยนับจากปริมาณการโจมตี รองลงมาได้แก่ เกาหลีเหนือ, อิหร่าน, จีน, เกาหลีใต้, ตุรกี…

โซลูชั่นไร้รหัสผ่าน (Passwordless Solutions) vs ความปลอดภัยที่ปรับตัวตามสถาการณ์ (Adaptive Security)

Loading

  โซลูชั่นไร้รหัสผ่าน (Passwordless Solutions) vs ความปลอดภัยที่ปรับตัวตามสถานการณ์ (Adaptive Security) : อะไรคือการป้องกันที่ดีที่สุดจากการโจมตีทางไซเบอร์ในช่วง Covid-19   Pawel Bulat, ผู้จัดการแผนกความปลอดภัยทางไซเบอร์ บริษัท Comarch การระบาดของโรค Covid-19 ได้สร้างความท้าทายใหม่ๆต่อธุรกิจ ความท้าทายส่วนใหญ่ได้เร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของธุรกิจต่างๆ อย่างไรก็ตามอาชญากรรมทางไซเบอร์ (cyber criminal) สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆได้เร็วกว่าองค์กรขนาดใหญ่ ดังนั้นความปลอดภัยทางไซเบอร์ (cybersecurity) จึงกลายเป็นเรื่องหลักที่น่ากังวล มัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware), การหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ตเพื่อขอข้อมูลที่สำคัญจากเหยื่อ (Phishing), มัลแวร์ (Malware) และการบิดเบือนข้อมูล (Disinformation) เป็นเครื่องมือทั่วไปที่อาชญากรรมทางไซเบอร์ใช้ในช่วงที่เกิดโรคระบาด ในปีที่แล้วจำนวนการละเมิดข้อมูลและการบุกรุกระเบียนข้อมูล รวมถึงมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) มีจำนวนสูงที่สุดตั้งแต่เคยมีมา มีการรายงานจาก ZDNet ว่า “ในปี 2020 เพียงปีเดียว มีการบุกรุกระเบียนข้อมูลมากกว่าในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา” ขณะเดียวกันจำนวนการโจมตีของมัลแวร์เรียกค่าไถ่ได้เพิ่มสูงขึ้นเกือบ 60%   ต้นทุนที่แท้จริงของจุดอ่อนของความปลอดภัยทางไซเบอร์ ตัวเลขเหล่านี้ได้เปลี่ยนเป็นการสูญเสียเงินจำนวนมาก…

บทเรียนจากสองตุลา

Loading

  วันที่ 6 ตุลา 19 เวียนมาครบอีกครั้งหนึ่ง สัปดาห์ต่อไปก็จะครบรอบเหคุการณ์ 14 ตุลา 16   ผู้อ่านหลายคนเกิดไม่ทันเหตุการณ์สองตุลาที่ว่า ส่วนใหญ่ได้อ่าน ได้ฟัง จากหนังสือและจากพ่อแม่ญาติพี้น้อง บางคนมองอย่างเสียดายว่า จากเหตุการณ์ที่เต็มไปด้วยความสุขกลับจบลงด้วยเหตุการณ์ที่เต็มไปด้วยความเศร้า จาก 14 ตุลา 16 สู่ 6 ตุลา 19 เพียงสามปีที่ผ่านไป ทำไมผลที่ออกมากลับพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ   แม้เป็นอดีตที่ผ่านไปแล้ว ซึ่งไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้ แต่อดีตก็เป็นบทเรียนที่เราควรศึกษาไว้ โดยวางใจที่ตรงกลาง ไม่เอาจิตไปผูกพันกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง 40 ปีที่ผ่านมา คนที่เกี่ยวข้องได้ตายไปแล้วหลายคน จากวัยหนุ่มวัยสาว วัยกลางคน วัยชรา ที่ให้เวลาทบทวนตนเอง ทบทวนเหตุการณ์ผ่านมุมมองหลายด้าน มองทั้งเราและเขา แล้วหาบทสรุป แต่จะไม่มีบทสรุปอะไรที่ถูกใจเราเลย ถ้าใช้อารมณ์ ความเชื่อของตนแต่ฝ่ายเดียวเป็นสิ่งตัดสิน   ถ้าเราเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง มองแต่มุมมองของตนเอง ตุลาคมแต่ละปีก็จะยังคงเป็นตุลาคมที่เต็มไปด้วยวาทะความโกรธแค้น ความเกลียดชัง ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น จากกลุ่มคนสองฝ่ายที่ส่งมอบมรดกความเกลียดชัง ความโกหกหลอกลวง ให้กับลูกหลานของตนต่อไป…