ใครสร้างภาพ? VS ใครพยายามแก้ปัญหา?

Loading

Written by Kim ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับจีนเสื่อมทรามลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัสโคโรนา (COVID-19) ซึ่งเปลี่ยนพื้นฐานทางภูมิศาสตร์การเมือง เศรษฐกิจและสังคมอย่างชัดเจน นักการทูตจีนได้เผยแพร่ทฤษฎีสมคบคิด (conspiracy theories) ข่าวลือเท็จและข้อมูลบิดเบือน (disinformation) โดยเจตนากล่าวหาสหรัฐฯว่าเป็นผู้รับผิดชอบการแพร่กระจายของไวรัสโคโรนา เครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อของจีนทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อควบคุมการเล่าเรื่อง เบี่ยงเบนการกล่าวโทษเรื่องไวรัส ขณะที่พยายามสร้างภาพให้จีนเป็นวีรบุรุษผู้กอบกู้ช่วยเหลือประเทศอื่นที่ประสบปัญหา โดยกำหนดกรอบการตอบสนอง COVID-19 ในฐานะตัวแบบรัฐอำนาจนิยมซึ่งตรงกันข้ามกับประชาธิปไตยแบบตะวันตกที่ล้มเหลวในการสกัดการแพร่กระจายของไวรัส[1]           รัฐบาลจีนประกาศเมื่อ 17 มีนาคม 2020 ว่าจะขับผู้สื่อข่าวชาวอเมริกันทั้งหมดที่ทำงานให้กับ The New York Times, The Washington Post,  และ The Wall Street Journal กระทรวงการต่างประเทศโดยกรมสารนิเทศได้ออกคำสั่งให้ผู้สื่อข่าวของหนังสือพิมพ์ทั้ง 3 ฉบับคืนใบรับรองการทำงานภายใน 10 วัน และพวกเขาก็ไม่สามารถทำงานในเขตปกครองพิเศษฮ่องกงและมาเก๊าด้วย[2] การขับไล่นักข่าวชาวอเมริกันจากประเทศจีนไม่เพียงเป็นการคิดสั้น แต่ยังเป็นอันตราย การขาดความโปร่งใสเกี่ยวกับปัญหาไวรัสโคโรนาจะทำให้สถานการณ์ในจีนแย่ลง ตลอดทั่วทั้งเอเชียตะวันออกและที่อื่น ๆ หลายเดือนที่ผ่านมา พรรคคอมมิวนิสต์จีน (CCP) พยายามทำให้ความรุนแรงของ COVID-19 ดูสำคัญน้อยลง และยับยั้งข่าวสารเชิงลบเกี่ยวกับการแพร่กระจายของไวรัสและความตาย           เจ้าหน้าที่ในรัฐบาลสหรัฐฯรวมทั้งประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ  ไมค์ ปอมเปโอ เรียกไวรัสโคโรนาว่า “ไวรัสจีน” และ “ไวรัสอู่ฮั่น” ตามลำดับ ขณะที่องค์การอนามัยโลกอ้อนวอนผู้นำโลกให้งดเว้นการเชื่อมโยงเชื้อโรคดังกล่าวกับประเทศหรือกลุ่มชาติพันธุ์ เพราะเกรงว่าจะทำให้อาชญากรรมของความเกลียดชังเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลกและเกิดการต่อต้านชาวเอเชีย ขณะเดียวกันนักการทูตจีนได้เผยแพร่ทฤษฎีสมคบคิด…

รัฐบาลควรแจ้งจุดเสี่ยงต่อโควิด-19 เพื่อลดเฟคนิวส์ ลดความตื่นตระหนกของประชาชน

Loading

ความวุ่นวายในสัปดาห์นี้สำหรับวิกฤตการระบาดโควิด-19 ในประเทศไทยก็คือ เมื่อกระทรวงสาธารณสุข ออกมาแถลงประจำวันต่อความคืบหน้าของสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย แล้วไม่ยอมระบุจุดที่มีการติดเชื้อว่าเกิดขึ้นที่ไหน ยกตัวอย่างเมื่อวันที่ 12 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งพบผู้ป่วยเพิ่ม 6 ราย มี 2 รายเป็นเจ้าหน้าที่ในสนามบินสุวรรณภูมิ ในขณะที่อีก 4 รายไม่ระบุพิกัด (คนหนึ่งบอกแต่เพียงว่าเป็นชายชาวสิงคโปร์ เจ้าของร้านอาหารในกรุงเทพฯ) ซึ่งหลังจากนั้น ในโซเชียลมีเดียก็ว่อนไปด้วยข้อมูลข่าวสารการปิดอาคาร สำนักงาน ห้างร้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตึก All Season ธนาคาร TMB สาขาราชปรารภ หรือประกาศจาก SCG มาบตาพุด และอื่นๆ อีกมากมาย (ซึ่งบางประกาศไม่ได้ระบุโดยตรงว่าพนักงานหรือบุคคลในนั้นติดเชื้อ) ทั้งที่เป็นประกาศอย่างเป็นทางการจากภาคเอกชน ไม่ว่าจะเป็นอาคารสถานที่หรือบริษัทนั้นๆ และข่าวจากบุคคลทั่วไป เช่นเดียวกันกับในวันที่ 12 มีนาคม ที่กระทรวงสาธารณสุขแถลงความคืบหน้าสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยว่ามีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 11 ราย จากการตรวจสอบพบว่า มีการดื่มเหล้าแก้วเดียวกัน สูบบุหรี่มวนเดียวกัน และพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งก่อนหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขจะแถลง ก็มีข่าวว่อนในโซเชียลมีเดียแล้วว่า กลุ่มคนที่ติดเชื้อเหล้านั้น ติดเชื้อมาจากการไปเที่ยวร้านเหล้าที่ทองหล่อ หลังจากการแถลงของกระทรวงสาธารณสุข…

5 เคล็ดลับในการซ่อนตัวตน ในการใช้งานอินเทอร์เน็ตให้ได้มากที่สุด

Loading

แน่นอนว่าพวกเราต่างพยายามที่จะทำให้ตัวเองไม่เป็นจุดสนใจหรือโดนสืบความเคลื่อนไหว แต่มีน้อยรายมากที่เชี่ยวชาญจนกระทั่งแทบหลบเรดาร์การตรวจจับจากทุกฝ่ายได้โดยสิ้นเชิง ซึ่งทาง TechNotification.com ได้รวบรวมวิธีการที่จะทำให้คุณสร้างความไร้ตัวตนระหว่างการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตให้ได้มากที่สุด ซึ่งไม่ใช่วิธีที่ต้องลงทุนอะไรใหม่ แต่เป็นการปรับปรุงจากสิ่งที่พวกเรามีอยู่แล้ว โดยจะเน้นวิธีที่ได้ประสิทธิภาพดีที่สุดอย่างการใช้วีพีเอ็น 01 การติดตั้งวีพีเอ็น ขั้นตอนแรกสุดของการรักษาความเป็นนิรนามบนโลกออนไลน์ของคุณก็คือ การติดตั้งระบบวีพีเอ็น (VPN) เนื่องจากมีบทบาทสำคัญในการซ่อนที่อยู่ไอพีที่แท้จริง และเข้ารหัสข้อมูลของคุณไปพร้อมกัน เพียงแค่ติดตั้งเครือข่ายภายในบนเซิร์ฟเวอร์ ตัววีพีเอ็นก็จะซ่อนที่อยู่ของคุณ ทำให้แฮ็กเกอร์สืบตามตัวหรือจับตากิจกรรมบนโลกออนไลน์ได้ยากกว่าเดิม ที่สำคัญที่สุดคือ วีพีเอ็นจะเข้ารหัสข้อมูลทุกอย่างที่มีการสื่อสารของคุณ จึงปลอดภัยแม้แฮ็กเกอร์เข้าถึงการเชื่อมต่อก็ตาม 02 การติดตั้งวีพีเอ็นบนระบบปฏิบัติการ หลายครั้งมากที่เราพบความผิดพลาดของผู้ใช้ที่เลือกติดตั้งวีพีเอ็นบนบราวเซอร์ตัวเองเพียงอย่างเดียว แทนที่จะติดตั้งกับระบบปฏิบัติการทั้งระบบ แม้จะยอมรับว่าความปลอดภัยของข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของการรับส่งข้อมูลออนไลน์ แต่การติดตั้งวีพีเอ็นบนบราวเซอร์ก็หมายความว่าคุณจะได้รับประโยชน์จากการปกป้องความเป็นส่วนตัวเฉพาะสิ่งที่ทำผ่านเว็บบราวเซอร์เท่านั้น ทั้งๆ ที่วีพีเอ็นควรจะสามารถปกป้องครอบคลุมทั้งระบบที่ใช้งาน โดยเฉพาะบนแพลตฟอร์มโอเอสด้วย 03 ใช้ที่อยู่ไอพีส่วนตัว ที่ล็อกไว้ตายตัว เวลาเลือกใช้บริการวีพีเอ็นนั้น แนะนำให้เลือกแบบที่ใช้ที่อยู่ไอพีแบบตายตัวที่อุทิศสำหรับเราคนเดียวมากกว่าที่อยู่ไอพีที่ใช้ร่วมกับคนอื่น เพื่อให้ได้ประโยชน์ในการเป็นนิรนามมากที่สุด เพราะเป็นที่อยู่ไอพีที่คุณคนเดียวใช้งาน สิ่งที่แตกต่างจากที่อยู่ไอพีแบบ Shared คือ แบบ Dedicated จะไม่ถูกใช้งานร่วมกับผู้ใช้วีพีเอ็นรายอื่น ทำให้คุณได้ประโยชน์ทั้งความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวมากกว่า แต่นั่นหมายความว่าราคาค่าบริการก็จะแพงกว่าปกติด้วย 04 ตรวจสอบว่าไฟร์วอลล์และสวิตช์ปิดระบบ (Kill Switch) พร้อมใช้งานเสมอ กิจกรรมบนโลกออนไลน์ของคุณ หรือมาตรการด้านความปลอดภัยจะไร้ค่าทันทีถ้าการเชื่อมต่อแบบไพรเวทของคุณถูกปิดการทำงานไม่ว่าด้วยสาเหตุใดก็ตาม อันที่จริง ปัญหาการเชื่อมต่อนั้นมักเกิดขึ้นเสมอกับการเชื่อมต่อผ่านวีพีเอ็น ดังนั้นการเชื่อมต่อของคุณจำเป็นต้องมีสวิตช์ปิดระบบทันทีที่สามารถสั่งปิดเพื่อป้องกันข้อมูลจริงรั่วไหลออกไปโดยไม่ได้เข้ารหัสตามปกติ Kill Switch…

เรียก ‘ค่าไถ่ไซเบอร์’ ด้วย ‘อีเมล’

Loading

3 มีนาคม 2563 | โดย นักรบ เนียมนามธรรม | คอลัมน์ THINKSECURE เปิดเบื้องหลัง เมื่อองค์กรใหญ่รายหนึ่งถูกจู่โจมด้วยวิธีการส่ง “อีเมลหลอกลวง” ที่ซับซ้อน (Spear-phishing) จนทำให้เกิดผลกระทบกับการผลิตและกำไรของบริษัทในเวลาต่อมา การจู่โจมด้วยแรนซัมแวร์เริ่มกลับมาแพร่หลายอีกครั้ง เชื่อหรือไม่ว่า แม้องค์กรจะวางระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ดีอย่างไร ระบบนั้นก็จะถูกเจาะเข้ามาได้ หากองค์กรไม่ได้ให้ความสำคัญกับการให้ความรู้บุคลากรที่ทำงานในองค์กร ไม่นานมานี้หน่วยงานด้านความมั่นคงทางด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ และโครงสร้างทางด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ได้แจ้งเตือนไปยังหน่วยงานสำคัญๆ ทางด้านสาธารณูปโภคเกี่ยวกับการเรียกค่าไถ่ทางไซเบอร์ หรือแรนซัมแวร์ตัวใหม่ที่อาจก่ออันตรายให้กับองค์กร การแนะนำนี้เกิดขึ้นหลังจากที่บริษัททางด้านพลังงานธรรมชาติถูกจู่โจมด้วยวิธีการส่งอีเมลหลอกลวงที่ซับซ้อน (Spear-phishing) ซึ่งได้แนบแรนซัมแวร์ หรือก็คือมัลแวร์เรียกค่าไถ่โดยการเข้ารหัสไฟล์ข้อมูล ไปยังระบบเครือข่ายภายในของบริษัท และเข้ารหัสข้อมูลสำคัญๆ รวมถึงทำให้เซิร์ฟเวอร์หลายๆ ตัวไม่สามารถที่จะทำงานได้เป็นเวลาเกือบสองวันเลยทีเดียว  การจู่โจมด้วยแรนซัมแวร์นี้ได้เริ่มกลับมาแพร่หลายอีกครั้งพร้อมด้วยการยกระดับความถี่ในการโจมตี รวมถึงขยายผลการจู่โจมให้ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ หน่วยงานดังกล่าวพบว่า การจู่โจมนั้นไม่ได้กระทบกับระบบควบคุม (PLCs) และเหยื่อที่โดนจู่โจมยังสามารถควบคุมระบบปฏิบัติการได้อยู่ แต่ผลจากเหตุการณ์นี้ก็ทำให้ทางบริษัทพิจารณาว่าสมควรที่จะปิดระบบ จนทำให้เกิดผลกระทบกับการผลิตและกำไรของบริษัทในเวลาต่อมา ซึ่งผลกระทบนั้นกระทบเฉพาะกับระบบที่เป็น Windows-based Systems และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ตั้งอยู่ ณ สถานที่ที่ถูกโจมตีเท่านั้น และทางบริษัทสามารถที่จะฟื้นฟูการโจมตีครั้งนี้ด้วยการเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ถูกโจมตีออก และใส่การตั้งค่าเข้าไปใหม่ อย่างไรก็ดีการแจ้งเตือนยังไม่ได้ระบุรายละเอียดมากนัก และนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการใช้ลิงก์หลอกลวงส่งมาพร้อมกับแรนซัมแวร์ ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้ได้มีการเปิดเผยว่า ในเดือน…

บทเรียน 4 ประการ สำหรับการประท้วงยุคโซเชียลฯ

Loading

ผู้ชุมนุมต่อต้านร่างกฎหมายส่งตัวนักโทษข้ามแดน เมื่อ 9 มิ.ย. 2019 ที่ฮ่องกง (ที่มา: แฟ้มภาพ/HKFP/Apple Daily) บทความในวอชิงตันโพสต์เมื่อพฤศจิกายน 62 โดยนักวิจัยด้านการประท้วงหลายคนระบุถึงบทบาทของโซเชียลมีเดียที่มีต่อการชุมนุมทั้งในแง่ที่เป็นคุณและเป็นโทษ รวมถึงข้อชี้แนะ 4 ประการว่าควรจะทำอย่างไรเพื่อให้การเรียกร้องสำเร็จ ศึกษาจากบทเรียนการประท้วงร่วมสมัยจากหลายประเทศ โดยบทความในวอชิงตันโพสต์ระบุถึงยุคสมัยที่มีการประท้วงอย่างสันติในหลายประเทศเพื่อเรียกร้องให้ผู้นำพ้นจากตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นในโบลิเวีย, ชิลี, เลบานอน, เอกวาดอร์, อาร์เจนตินา, ฮ่องกง, อิรัก หรืออังกฤษ ที่ตามมาหลังจากการประท้วงในซูดานและแอลจีเรียที่ทำให้เกิดการโค่นล้มอำนาจเผด็จการลงได้ วอชิงตันโพสต์มองว่าโซเชียลมีเดียมีส่วนในการทำให้เกิดกระแสการประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก เพราะโซเชียลมีเดียทำให้เกิดการจั้ดตั้งประสานงาน อย่างไรก็ตามมันก็ทำให้การประท้วงคลี่คลายได้ยากขึ้น ในขณะที่การประท้วงยกระดับมากขึ้นทั่วโลก ก็มีปัญหาท้าทายในหลายเรื่องที่ทำให้การประท้วงคลี่คลายได้ยากและทำให้ประสบความสำเร็จเพียงแค่ได้ข้อตกลงระยะสั้นๆ โดยเฉพาะกับการประท้วงที่ไม่มีผู้นำและไม่มีการจัดตั้ง วอชิงตันโพสต์นำเสนอถึง 4 สาเหตุที่ทำให้เกิดอุปสรรคนี้ ประการแรก การปล่อยให้มี “ปีกที่ใช้ความรุนแรง” จะส่งกระทบต่อขบวน แม้ว่าจะเป็นการขบวนการประท้วงส่วนใหญ่เป็นไปอย่างสันติ วอชิงตันโพสต์ระบุว่า “ปีกที่ใช้ความรุนแรง” อาจจะกลายเป็นอุปสรรคขัดขวางขบวนการเสียเองได้ โดยถึงแม้ว่าจะมีงานวิจัยบางส่วนที่ระบุว่ากลุ่มที่ใช้ความรุนแรงและต่อสู้บนท้องถนนด้วยระเบิดเพลิงหรือขว้างปาหินจะเป็นกลุ่มที่สามารถเรียกร้องความสนใจและสร้างความกดดันชนชั้นนำให้ต้องทำการยุติวิกฤตได้ตราบใดที่การประท้วงเป็นไปอย่างมีการจัดตั้งที่ดี แต่ก็มีงานวิจัยอื่นๆ ที่ระบุว่าปีกหัวรุนแรงเหล่านี้จะทำให้ขบวนการมีโอกาสสำเร็จทั้งในระยะสั้นและระยะยาวน้อยกว่า ส่วนหนึ่งเพราะพวกเขาจะทำให้คนไม่กล้าเข้าร่วมหรือสนับสนุน อีกส่วนหนึ่งเพราะพวกเขาจะทำให้ฝ่ายตรงข้ามมีโอกาสยอมตามข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมได้น้อยกว่า วอชิงตันโพสต์ระบุว่าขบวนการประท้วงส่วนใหญ่จะช่วงชิงพื้นที่ชัยชนะได้มากจากการส่งอิทธิพลทางทัศนคติและนโยบายโดยไม่ต้องใช้ความรุนแรง พวกเขาทำการจัดตั้งประสานงานอย่างระมัดระวังและวางแผนการต่อสู้ไปในระยะยาว ขบวนการอื่นๆ ที่สามารถชนะได้แม้ว่าจะมีพวกปีกรุนแรงอยู่พวกเขาทำได้เพราะยังทำให้มวลชนจำนวนมากยังคงเข้าร่วมขบวนได้และเบนความสนใจออกไปจากการใช้ความรุนแรง ประการที่สอง เทคโนโลยีและโซเชียลมีเดียไม่ได้ให้พลังแก่ผู้ชุมนุมอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังให้พลังกับฝ่ายตรงข้ามด้วย…

‘ข้อมูลในโลกออนไลน์’ อย่าเชื่อเพราะเพื่อนแชร์มา

Loading

ยุคสังคมออนไลน์ เพียงปลายนิ้วสัมผัสหน้าจอก็สามารถส่งต่อข้อมูล ข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว สำคัญสุดคือ หากไม่แน่ใจยิ่งไม่ควรแชร์ เพราะการแชร์ข้อมูลที่ผิดพลาดออกไป อาจทำให้ขาดความน่าเชื่อถือ หรือถึงขั้นสร้างความตื่นตระหนก วุ่นวาย และแตกแยกในสังคมก็เป็นได้ วันศุกร์ที่ผ่านมาศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำพิพากษาตัดสินคดียุบพรรคการเมือง ทันทีที่ผู้คนทราบคำพิพากษาของศาลฯ เราก็ได้เห็นข้อความต่างๆ ว่อนไปทั่วสังคมออนไลน์เต็มไปหมด ทั้งบนเฟซบุ๊ค ไลน์ ทวิตเตอร์ และอินสตาแกรม โดยมากเป็นข้อความสั้นๆ จับประเด็นต่างๆ มาสรุปตามความเห็นส่วนตัว บางคนก็บรรจงตัดต่อภาพแล้วก็ใส่ข้อความต่างๆ กันไป ผู้คนก็จะส่งต่อไปตามทัศนคติของตัวเอง ผู้คนส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ความเข้าใจด้านกฎหมาย หลายคนไม่ทราบว่า เขาฟ้องร้องด้วยข้อหาอะไร ผิดมาตราไหน ที่สำคัญสุดคนส่วนใหญ่ไม่ฟังคำพิพากษาของศาล หรือไม่เคยแม้แต่อ่านสรุปคำพิพากษาของศาลที่ออกมาเป็นทางการ แต่เลือกที่จะเชื่อข่าวสารที่แชร์มา ไม่แสวงหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ถูกต้อง จึงเห็นได้ว่า หลายคนเริ่มเชื่อข้อมูลที่ไม่ถูกต้องว่าเป็นเรื่องจริง เพราะอ่านข้อมูลเหล่านั้นแชร์ต่อๆ กันมาหลายครั้ง เหมือนที่ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ บอกไว้ว่า “หากท่านโกหกเรื่องใหญ่มากพอ, โกหกบ่อยครั้งเพียงพอ, เรื่องนั้นจะถูกเชื่อ” เช่นกันในสถานการณ์ของไวรัสโควิด-19 เราได้พบทั้งข่าวจริงและข่าวลวง ที่มีตั้งแต่การเจอผู้ป่วยตามที่ต่างๆ บ้างก็ส่งข่าวให้กระทบกับห้าง ร้านค้า พนักงานบริษัท บ้างก็แชร์ข่าวเรื่องสุขภาพ วิธีการรักษา โดยไม่มีที่มาที่ไป ไม่มีการอ้างอิงข้อมูล บางคนอาจแชร์ข่าวสารความหวังดี โดยไม่ทราบว่าข้อมูลที่ได้รับต่อมาไม่ถูกต้อง บางคนจงใจสร้างข้อมูลเท็จด้วยความคึกคะนอง ตัดต่อภาพ ตัดต่อข้อความทำให้ดูเหมือนจริง แล้วส่งต่อกันไป ดังนั้น ยิ่งเทคโนโลยีเอไอก้าวหน้ามากขึ้นเพียงใด ผู้ที่เล่นสื่อออนไลน์จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีวิจารณญาณการแยกแยะข้อมูลยิ่งขึ้น อย่าเพิ่งเชื่อเพราะแชร์กันมา มิฉะนั้น จะทำให้สังคมเกิดความวุ่นวาย…