สรุป 5 แนวโน้มด้าน Cybersecurity ในปี 2020

Loading

เมื่อวานนี้ทางทีมงาน TechTalkThai ได้มีโอกาสเข้าสัมภาษณ์ อ.ปริญญา หอมเอนก จาก ACIS Professional Center ซึ่งได้พูดถึงแนวโน้มด้าน Cybersecurity 5 ข้อที่น่าจับตาในปีหน้า ทางเราจึงไม่รอช้าวันนี้ขอมาสรุปกันให้ได้อ่านกันครับ 1.Fraud with a Deepfake : The Dark side of AI (ML/Deep Learning) Deepfake เป็นการใช้เทคโนโลยี AI เพื่อสร้าง Content ปลอมขึ้นซึ่งแปลงได้ทั้งแต่ ภาพ เสียง หรือวีดีโอ โดยเมื่อเดือนที่ผ่านมามีรายงานของแอปพลิเคชันที่ชื่อว่า ZAO ของจีนที่สามารถสร้าง Deepfake ที่สามารถตัดต่อให้ใบหน้าของเราเข้าไปแทนคนในวีดีโอของจริงได้อย่างแนบเนียนให้เรากลายเป็นดาราคนไหนก็ได้ นั่นหมายถึงเทคโนโลยีนี้กำลังออกสู่ตลาดจริงๆ ที่ไม่ว่าใครก็สร้างวีดีโอปลอมได้ง่ายและแนบเนียน ลองคิดดูว่าถ้าเป็นผู้นำประเทศที่มีอำนาจขึ้นมาหล่ะ….จะโกลาหลกันแค่ไหน และคนทั่วไปจะแยกแยะได้อย่างไร 2.Beyond Fake news : It’s news based-on True Story ข่าวสารหรือ Content ที่…

กลุ่มรัฐอิสลามจะทำอย่างไรต่อไป หลังขาดผู้นำ

Loading

ภายใต้การนำของอาบู บาการ์ อัล-บักห์ดาดี กลุ่มรัฐอิสลาม (Islamic State–IS) ที่นิยมใช้ความรุนแรงแบบสุดโต่ง ได้พัฒนาจากกลุ่มก่อความไม่สงบ กลายเป็นกลุ่มติดอาวุธที่น่าหวาดกลัวและยากที่จะกำราบมากที่สุดในโลก ไอเอส ได้ขยายอิทธิพลข้ามทวีปจากแอฟริกาไปจนถึงออสเตรเลีย แต่หลังจากการเสียชีวิตของหัวหน้ากลุ่ม ไอเอส จะเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ อย่างไร รีบหาผู้สืบทอดตำแหน่ง ผู้นำไอเอสคนอื่น ๆ คงคิดไว้นานแล้วว่า วันนี้จะมาถึง ทางกลุ่มคงต้องการแสดงให้เห็นถึงพลังของตัวเอง และส่งสัญญาณต่อบรรดาสาวกว่า “ไอเอสยังอยู่” แม้ว่า เสียศูนย์ไปบ้างจากการสูญเสียผู้นำคนสำคัญ คณะกรรมการชูรา ซึ่งประกอบด้วยผู้นำอาวุโสที่เป็นผู้ชายทั้งหมด คงพิจารณาบุคคลที่เหมาะสมจำนวนหนึ่งไว้แล้ว คุณสมบัติแรกที่ผู้นำกลุ่มไอเอสจะต้องมีก็คือ การภักดีต่อไอเอสอย่างไร้ข้อสงสัย มีความสามารถในการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ที่ผ่านการพิสูจน์แล้ว มีประวัติทางด้านศาสนาที่สมบูรณ์แบบ มีประสบการณ์ในการสู้รบมาบ้าง และบางทีอาจจะเป็นที่เลื่องลือในการสั่งลงโทษที่โหดเหี้ยมด้วย ไอเอสเกิดจากการรวมตัวกันที่แปลกประหลาดระหว่างนักรบญิฮาดที่สุดโต่ง กับอดีตสมาชิกกองทัพและหน่วยข่าวกรองที่รู้จักกันในชื่อ บาทิสต์ส (Baathists) ของนายซัดดัม ฮุสเซน อดีตผู้นำอิรัก บาทิสต์สรับผิดชอบเรื่องการจัดหาอาวุธ วัตถุระเบิด สนับสนุนงานด้านข่าวกรองและการวางแผน เพราะไม่มีใครรู้จักอิรักดีไปกว่าพวกเขา ขณะที่บรรดานักรบญิฮาดจะก่อเหตุที่บ้าคลั่งและจัดหาอาสาสมัครมือระเบิดฆ่าตัวตาย ผู้ที่สืบทอดตำแหน่งต่อจากบักห์ดาดี น่าจะเป็นคนที่มีสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับทั้งสองข้างของสมการนี้ ไอเอสน่าจะรู้สึกเจ็บปวดกับการสูญเสียบักห์ดาดีไปสักพักหนึ่ง ตอนที่นักรบญิฮาดทั่วโลกประกาศสวามิภักดิ์ต่อไอเอส ก็ถือว่าพวกเขาสวามิภักดิ์ต่อบักห์ดาดีด้วย และเรียกเขาว่า “กาหลิบอิบราฮิม” (Caliph Ibrahim)…

สงครามโดรน : สงครามเก่ากำลังจากไป สงครามใหม่มาถึงแล้ว!

Loading

“ผู้ควบคุม [โดรน] สามารถระบุเป้าหมาย เฝ้ามอง และทันใดนั้นโจมตีจากระยะหลายพันไมล์ที่ห่างไกลออกไป โดยไม่จำเป็นต้องเอาทหารเข้าไปในพื้นที่อันตรายแต่อย่างใด” Lawrence Freedman (2017) คอลัมน์ ยุทธบทความ ผู้เขียน สุรชาติ บำรุงสุข   เมื่อศตวรรษที่ 21 เริ่มต้นขึ้นนั้น โลกได้เห็นอุปกรณ์ทางทหารชุดหนึ่งที่นักการทหารหลายคนได้ให้ความสนใจอย่างมาก คือการปรากฏตัวของ “อากาศยานไร้คนขับ” หรือเรียกว่า “อากาศยานไร้นักบิน” (Unmanned Aerial Vehicles หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า UAVs) ซึ่งปัจจุบันถูกเรียกว่า “โดรน” (Drones) และอุปกรณ์ทางทหารนี้กำลังกลายเป็นอาวุธสำคัญของศตวรรษปัจจุบัน และอาจจะเป็นอาวุธที่จะมีส่วนต่อการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าสงครามในอนาคต พัฒนาการ โดรนอาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่ และมีการใช้โดรนมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 แล้ว แต่เป็นเพียงการใช้เพื่อการเป็นเป้าซ้อมยิงของนักบิน และด้วยเงื่อนไขทางเทคโนโลยี โดรนจึงยังไม่สามารถพัฒนาให้มีขีดความสามารถในการรบได้ แต่แนวคิดที่จะสร้างโดรนให้ทำการรบได้ (combat drone) เกิดขึ้นในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ด้วยข้อจำกัดของการพัฒนาทางเทคโนโลยี แนวคิดนี้จึงปรากฏอยู่ในบทความของประดิษฐกรรมทางวิทยาศาสตร์ สำหรับโดรนทางทหารสมัยใหม่เป็นผลมาจากการคิดของฟอสเตอร์ (John S. Foster) ที่เป็นวิศวกรนิวเคลียร์ฟิสิกส์ชาวอเมริกันในช่วงต้นทศวรรษที่ 1970 ที่เชื่อว่าเครื่องบินจำลองน่าจะนำมาใช้ประโยชน์ในทางทหารได้…

“ระวัง! เป็น ‘ชาวเน็ต’ แบบนี้ เสี่ยงโดนฟ้องนะรู้ไหม?”

Loading

“ชาวเน็ตด่ายับ ชาวเน็ตรุมจวก ชาวเน็ตแห่แชร์ฯลฯ สารพัดการกระทำที่ชาวเน็ตทำ แล้วชาวเน็ตคือใครกันแน่? ตอบเลยว่าชาวเน็ตอาจเป็นคุณนั่นแหละค่ะ ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ใช้ชีวิตบนสังคมออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ก, LINE, อินสตาแกรม, ทวิตเตอร์ หรือพื้นที่ออนไลน์อื่น ๆ คุณก็เป็นชาวเน็ตไปครึ่งหนึ่งแล้วนะ ยิ่งสมัยนี้พอโซเชียลมีเดียบูมขึ้นเรื่อย ๆ ใคร ๆ ก็เข้าถึงได้ ทุกคนเล่นเป็นกันหมด โซเชียลเลยกลายเป็นโลกเสมือนขึ้นมาอีกใบ ที่ส่งเสริมให้ชาวเน็ตมีอิทธิพลมากเข้าไปอีก ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการสร้างตัวตนออนไลน์ขึ้นมาทำให้เรากลายเป็นอีกร่างหนึ่งได้โดยไม่รู้ตัว ดังที่เห็นกันตามข่าวดัง ๆ เมื่อไม่กี่วันมานี้ ไหนจะเรื่องเด็กติดเกมส์คลั่ง หนุ่มแว่นหัวร้อน รวมถึงคลิปต่าง ๆ ตามไทม์ไลน์ที่เต็มไปด้วยคอมเมนต์หยาบคาย คุณรู้หรือไม่ว่าการกระทำเหล่านี้มีความสุ่มเสี่ยงจะผิดกฎหมายนะคะ มันก็เหมือนในสังคมจริงนั่นแหละค่ะ ในเมื่อมีคนดีก็ย่อมมีคนไม่ดีปะปนอยู่ด้วยเป็นธรรมดา ส่วนบรรดาชาวเน็ตที่ไม่น่ารักมีแบบไหนบ้างห้องแนะแนวรวบรวมมาไว้แล้ว! ล่าแม่มด ชาวเน็ตตัวดีชอบตามไล่ลาหา ‘ผู้ต้องสงสัย’ ในประเด็นต่าง ๆ มารับผิดชอบเรื่องราว แต่กลายเป็นว่าชาวเน็ตเหล่านี้ไปลากใครก็ไม่รู้มาเกี่ยวข้องแบบงง ๆ คนนั้นก็เลยกลายเป็น ‘แพะรับบาป’ แบบไม่รู้อิโหน่อิเหน่ เรื่องนี้เกิดจากชาวเน็ตที่ขาดสติ คิดว่าตนเองเป็นผู้พิทักษ์ความถูกต้อง ตั้งศาลเตี้ยขึ้นมาตัดสินอะไรต่อมิอะไรด้วยตัวเอง แต่นั่นกลายเป็นละเมิดความเป็นส่วนตัวคนอื่นไปซะอย่างนั้น แบบนี้ถือว่าผิดกฎหมายนะคะ ลามปาม เมื่อการล่าแม่มดคนเดียวมันไม่เพียงพอ ชาวเน็ตก็จะเริ่มไปสู่โซเชียลมีเดียของญาติโกโหติกาของคนนั้นอีกด้วย ไม่ว่าจะแชร์…

เมื่อ Smart Phone คือ ปัญหาของสิทธิพลเมืองที่ต้องระวัง…

Loading

ในโลกที่ทุกสิ่งทันสมัยมากขึ้นด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และอุปกรณ์ต่าง ๆ อาทิ Smart Phone กลายเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวก แต่ในความสะดวกกับมาพร้อมกับปัญหาของล่วงล้ำสิทธิอย่างคาดไม่ถึง… เมื่อ Smart Phone ล่วงล้ำพื้นที่ส่วนตัว? นวัตกรรม และเทคโนโลยีอันทันสมัยได้สร้างความเปลี่ยนแปลงในชีวิตประจำวัน แต่ในทางกลับกัน เครื่องมือที่ทันสมัย และมอบความสะดวกสบาย กับช่องทางให้เกิดอาชญากรรมรูปแบบใหม่ และเกิดคำถามมากมายถึงความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่อาจเข้ามาละเมิดสิทธิพลเมือง เช่น สิทธิในความเป็นส่วนตัว ได้เช่นกัน เรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นหลังจากที่โลกได้ก้าวไปสู่ยุคที่เราเรียกว่า “ยุคดิจิทัล” ที่แทบจะทุกคนใช้สมาร์ทโฟนเป็นเหมือนอวัยวะที่ 33 ของร่างกาย เพียงแต่หลายคนยังไม่ตระหนักถึงภัยคุกคามที่ตามมาเน่ืองจากไม่เชื่อว่าจะเป็นเช่นดังในหนัง “สายลับ” ได้จริง หากคุณนึกภาพไม่ออกผู้เขียนแนะนำให้ลองกลับไปหาหนังเรื่อง สโนว์เดน (Snowden) หรือ แฉกระฉ่อนโลก (CitizenFour) ดู เพราะมันคือหนังที่สร้างขึ้นจากกรณีของ เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน (Edward Snowden) อดีตเจ้าหน้าที่ฝ่ายคอมพิวเตอร์ของ ซีไอเอ (CIA) ที่ออกมาเปิดเผยถึงโครงการลับสุดยอดที่ใช้ชื่อรหัสว่า “พริซึม” (prism) หรือการสอดแนมด้วยเทคโนโลยีที่ให้สภาความมั่นคงแห่งชาติ (NSA) สำนักงานข่าวกรองกลาง (CIA) และสำนักงานสอบสวนกลางแห่งสหรัฐฯ (FBI) สามารถเข้าไปจารกรรม…

เผยผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตกว่า 40% ใน เอเชีย-แปซิฟิก มี Cyber risk สูง

Loading

ความจริงที่น่าตกตะลึง!! ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตใน เอเชีย-แปซิฟิก มีพฤติกรรมทางไซเบอร์เสี่ยงสูง (Cyber risk) ผลสำรวจพบว่า 40% เต็มใจเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว… ผลสำรวจชี้ชัด Cyber risk ใน APAC สูง  เมื่อไม่นานมานี้ได้มีเปิดเผยผลสำรวจ Global Privacy Report 2018 ที่ทาง แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ได้สำรวจผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific หรือ APAC) พบว่า 39.2% เต็มใจที่จะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวเพื่อให้ได้ความปลอดภัยเพิ่มเติม เช่น การตรวจสอบ หรือสอดส่องความปลอดภัยออนไลน์ แต่ยังมีกว่า 40% ที่ยอมเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว โดยกว่า 22% สารภาพว่าแชร์ข้อมูลโซเชียลมีเดียเพื่อเล่นควิซต่างๆ ขณะที่ 18.9% ยอมรับว่ายอมสละความเป็นส่วนตัวเพื่อรับสินค้า และบริการฟรี เช่น ซอฟต์แวร์หรือของขวัญอื่น ๆ นอกจากนี้ในรายงานฉบับดังกล่าวยังเปิดเผยอีกว่า 55.5% ของผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอยู่ในช่วงอายุ 16-24 ปี และ 25-34 ปี และมีความคิดว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะมีความเป็นส่วนตัวครบถ้วนสมบูรณ์ในโลกดิจิทัลสมัยใหม่ และเชื่อว่าข้อมูลส่วนตัว เช่น ที่อยู่ วันเกิด…