ออกคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรและด้วยวาจา … เจ้าหน้าที่ตามคำสั่งใด ? ต้องรับผิด !

Loading

ตัวอย่างคำวินิจฉัยที่น่าสนใจ : เผยแพร่เพื่อประโยชน์ทางวิชาการเท่านั้น นางสาวฐิติพร ป่านไหม พนักงานคดีปกครองชํานาญการ กลุ่มเผยแพร่ขอมูลทางวิชาการและวารสาร สํานักวิจัยและวิชาการ สํานักงานศาลปกครอง ในทางปฏิบัติของการจัดทำภารกิจของหน่วยงานทางปกครอง ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำบริการสาธารณะหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคนั้น หน่วยงานทางปกครองจะมีการมอบหมายหรือแต่งตั้งให้เจ้าหน้าที่คนหนึ่งคนใดเป็นผู้ควบคุมดูแลหรือดำเนินการเพื่อให้ภารกิจดังกล่าวบรรลุผลสำเร็จ ซึ่งโดยทั่วไปหน่วยงานทางปกครองหรือผู้มีอำนาจเลือกที่จะใช้รูปแบบการออกคำสั่งเป็นหนังสือหรือเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้เกิดความชัดเจน แต่ในบางกรณีหน่วยงานทางปกครองหรือผู้มีอำนาจอาจเลือกที่จะใช้รูปแบบการออกคำสั่งด้วยวาจามอบหมายให้เจ้าหน้าที่คนหนึ่งคนใดปฏิบัติหน้าที่ ถ้ากิจการงานที่มอบหมายนั้นเป็นเรื่องเร่งด่วนหรือมีความจำเป็น โดยกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องนั้นไม่ได้กำหนดรูปแบบไว้โดยเฉพาะเจาะจงว่าจะต้องออกคำสั่งโดยทำเป็นหนังสือหรือเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งกรณีเช่นนี้ หน่วยงานทางปกครองย่อมสามารถที่จะออกคำสั่งทางปกครองโดยถือปฏิบัติตามรูปแบบที่พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 กำหนดไว้ กล่าวคือ การออกคำสั่งทางปกครองอาจทำเป็นหนังสือหรือด้วยวาจาหรือโดยการสื่อความหมายในรูปแบบอื่นก็ได้ แต่ต้องมีข้อความหรือความหมายที่ชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้ (มาตรา 34) และในกรณีที่คำสั่งทางปกครองเป็นคำสั่งด้วยวาจา ถ้าผู้รับคำสั่งร้องขอและการร้องขอได้กระทำโดยมีเหตุอันสมควรภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีคำสั่ง เจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งต้องยืนยันคำสั่งนั้นเป็นหนังสือ (มาตรา 35) และคำสั่งทางปกครองนั้นย่อมมีผลตราบเท่าที่ยังไม่มีการเพิกถอนหรือสิ้นผลลงโดยเงื่อนเวลาหรือโดยเหตุอื่น (มาตรา 42 วรรคสอง) อย่างไรก็ดี ในเรื่องนี้อาจเกิดประเด็นปัญหาว่า ถ้าแต่เดิมผู้มีอำนาจได้ออกคำสั่งมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว แต่ต่อมาผู้มีอำนาจได้ออกคำสั่งด้วยวาจาเปลี่ยนแปลงให้เจ้าหน้าที่อื่นทำหน้าที่แทน โดยไม่ได้ยกเลิกคำสั่งเดิมที่เป็นลายลักษณ์อักษร และเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายตามคำสั่งซึ่งเป็นลายลักษณ์อักษรไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว หากมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่หน่วยงานทางปกครอง เจ้าหน้าที่คนดังกล่าวจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายหรือไม่ คดีปกครองที่นำมาเป็นอุทาหรณ์ในคอลัมน์กฎหมายใกล้ตัวฉบับนี้ เป็นกรณีที่หน่วยงานทางปกครองมีคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ได้รับคำสั่งแต่งตั้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้เป็นผู้ควบคุมงานและกรรมการตรวจการจ้างชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการกระทำละเมิด ทั้งที่ความเสียหายเกิดขึ้นภายหลังจากที่ผู้มีอำนาจได้มอบหมายงานด้วยวาจาให้เจ้าหน้าที่อื่นเป็นผู้รับผิดชอบแทน ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้มีว่า เทศบาลตำบลเสาไห้ (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3) ได้มีคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรแต่งตั้งให้ผู้ฟ้องคดีซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นช่างโยธาเป็นผู้ควบคุมงานและกรรมการตรวจการจ้างงานก่อสร้างปรับปรุงและตกแต่งอาคารที่ทำการ ต่อมา ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 โดยนายกเทศมนตรีได้มีคำสั่งด้วยวาจาให้ปลัดเทศบาลตำบลเสาไห้…

วิทยาการข้อมูล (Data Science) จะพัฒนากองทัพไทยได้อย่างไร

Loading

  อาจารย์ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง ผู้อำนวยการหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตและวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การวิเคราะห์ธุรกิจและวิทยาการข้อมูล: Business Analytics and Data Science)คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หลายสัปดาห์ก่อนคณาจารย์ด้านทางคณิตศาสตร์ สถิติศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมศาสตร์แห่งโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า หรือ โรงเรียนนายร้อย จปร. จำนวน 4 ท่านได้กรุณามานัดพบกับผมที่ร้านอาหารในห้างสรรพสินค้าในกรุงเทพ เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนและการวิจัยด้านวิทยาการข้อมูล (Data Science) และข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และผมได้ไปช่วยสอนซึ่งอันที่จริงเป็นการไปแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้กับคณาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถสูงมากจำนวน 10 กว่าท่านที่เขาชะโงก จังหวัดนครนายก ผมมีความดีใจว่า คณาจารย์เหล่านี้มีความมุ่งหมายที่จะปรับปรุงหลักสูตรของโรงเรียนนายร้อย จปร. ให้มีการเรียนการสอนด้านวิทยาการข้อมูล โดยเฉพาะการเรียนการสอนทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนนายร้อย จปร. ซึ่งเป็นสาขาวิชาเอก ทำให้ผมทราบว่า โรงเรียนนายร้อยมีสอนถึงแปดสาขาวิชาเอกคือ 1. วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร 2. วิศวกรรมโยธา 3. วิศวกรรมแผนที่ 4. วิศวกรรมอุตสาหการ 5.วิศวกรรมเครื่องกล 6. สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา 7. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ 8.…