เมื่อสงครามเป็นไฮบริด เครื่องมือผสม-วิถีผสาน

Loading

โดย… สุรชาติ บำรุงสุข คอลัมน์ ยุทธบทความ “วิธีการทางทหารจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อถูกใช้ผสมผสานกับวิธีการที่ไม่ใช่ทางทหาร ไม่ว่าจะเป็นการใช้มาตรการทางการเมือง เศรษฐกิจ ข้อมูลข่าวสาร ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม และอื่นๆ… [ในกรณีนี้] เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารจะมีบทบาทที่สำคัญอย่างมาก ผลที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ การปะทะของหน่วยหลักทางทหารในแนวหน้าจะค่อยๆ กลายเป็นอดีต” Lawrence Freedman นักยุทธศาสตร์ชาวอังกฤษ ในแต่ละช่วงเวลาของโลก จะเห็นได้ว่าแบบแผนของสงคราม (pattern of war) มีความแตกต่างกันออกไป แบบแผนเช่นนี้เป็นผลผลิตของปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการพัฒนาทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ตัวอย่างเช่น เมื่อโลกอยู่ในยุคอาณานิคมของศตวรรษที่ 19 การสงครามของโลกก็มีแบบแผนเป็น “สงครามอาณานิคม” (Colonial Warfare) หรือเมื่อโลกมีความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม ผนวกเข้ากับพัฒนาการของเทคโนโลยีทหารแล้ว เราจะเห็นการกำเนิดของ “สงครามเบ็ดเสร็จ” (Total Warfare) ในศตวรรษที่ 20 และเมื่อเทคโนโลยีนิวเคลียร์มีพัฒนาการอย่างมากในยุคสงครามเย็น สงครามที่เกิดขึ้นไม่สามารถทำการรบใหญ่ได้ ทำให้สงครามที่เกิดขึ้นมีลักษณะเป็น “สงครามจำกัด” (Limited Warfare) และเมื่อโลกในยุคปัจจุบันได้ก้าวสู่การปฏิวัติสารสนเทศ การสงครามของโลกก็มีทิศทางล้อไปกับการปฏิวัติดังกล่าว และทำให้เห็นถึงการมาของสงครามชุดใหม่ที่มีแบบแผนเป็น “สงครามข่าวสาร”…

เร็วหรือช้าไป…เมื่อไทยมี พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคลฯ

Loading

โดย… ชวน หวังสุนทรชัย ความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับผู้อ่านสำคัญมากน้อยแค่ไหน? สารคดีเรื่อง The Great Hack ที่ตีแผ่กรณี Facebook ทำข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหลให้บริษัท Cambridge Analytica น่าจะทำให้เราต้องหันมาสนใจประเด็นนี้กันอย่างจริงจัง กรณี Facebook ปล่อยข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล ส่งผลให้ Facebook ถูกคณะกรรมาธิการการค้าสหรัฐ (Federal Trade Commission) สั่งปรับเป็นจำนวนเงินกว่า 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 155,000 ล้านบาท รวมถึงหน่วยงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศอิตาลี ก็ได้ออกคำสั่งปรับ Facebook เป็นจำนวนเงิน 1 ล้านยูโร หรือ 34 ล้านบาท เห็นได้ว่าประเทศตะวันตก ให้ความสำคัญกับข้อมูลส่วนบุคคลและบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้น สำหรับประเทศไทย ในแง่ของกฎหมายเราอาจช้าและก้าวไม่ทันสากลเพราะที่ผ่านมาใช้เวลารวมกว่า 20 ปี เพื่อร่างกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จนสุดท้ายได้กฎหมายออกมาในปีนี้ และจะมีผลบังคับใช้ในปีหน้า (พ.ศ.2563) แต่ในรายละเอียดพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ก็ยังไม่มีความชัดเจนมากนักสำหรับผู้ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ภายใต้การคุ้มครองของกฎหมายนี้ ทุกคนมีสิทธิในการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลของตัวเอง…