GDPR คืออะไร สำคัญอย่างไร? ทำไมจึงต้องเข้าใจ GDPR?

Loading

โดย…นคร เสรีรักษ์ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้ก่อตั้ง PrivacyThailand กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ความสนใจหรือความตระหนักรู้เรื่องความเป็นส่วนตัวและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในประเทศไทยนับว่ามีอยู่ค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะในโลกปัจจุบันที่คนไทยนิยมใช้โซเชียลมีเดียกันจนติดอันดับต้นๆ ของโลก เราโพสต์เราแชร์ข้อมูลส่วนตัวบนโลกออนไลน์โดยไม่เคยตระหนักถึงความสำคัญของความเป็นส่วนตัว ที่น่าห่วงกว่าการไม่เห็นคุณค่าในพื้นที่ส่วนตัว คือการมองไม่ตระหนักถึงอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดจากการโจรกรรมข้อมูลของเราไปใช้ประโยชน์ในทางไม่ชอบ จนพูดกันว่าความเป็นส่วนตัวตายไปแล้วจากโลกดิจิทัลวันนี้ ระยะหลังๆ นี้ เริ่มมีการพูดถึงข้อมูลส่วนบุคคลกันมากขึ้น โดยเฉพาะในแวดวงผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับข้อมูล การติดต่อสื่อสาร และธุรกิจที่มีฐานข้อมูลส่วนบุคคลขนาดใหญ่ นั่นคือความกังวลต่อ GDPR ซึ่งเป็นข้อบังคับของสหภาพยุโรปเกี่ยวกับการเก็บและการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ที่กลัวกันมากก็เพราะบทลงโทษของผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ GDPR จะถูกปรับสูงถึง 20 ล้านยูโร ที่สำคัญคือจะมีผลบังคับใช้ในเดือนพฤษภาคม 2561 ที่กำลังจะมาถึง จริงๆ แล้ว เรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในระดับนานาชาติไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะมีพัฒนาการมากมายทั้งในระดับกฎหมายต่างประเทศในนานาประเทศและกฎหมายหรือข้อตกลงระหว่างประเทศในหลายเวที เช่น การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แนวทางขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ข้อตกลงของรัฐสภาแห่งยุโรป ข้อบังคับสหภาพยุโรป (European Union Directive 95/46/EC) แนวทางของสหประชาชาติ และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามแนวทางของ APEC การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามข้อบังคับ EU การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตาม EU Directive 95/46…

ข่าวสารที่คลาดเคลื่อนทางสื่อสังคมออนไลน์ กรณีสารเคมีรั่วที่โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน

Loading

  กรณีเหตุสารเคมีรั่วที่โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะทดแทน เมื่อ 6 พ.ค.61 จากการตรวจสอบสำนักข่าวออนไลน์ที่รายงานข่าวดังกล่าว พบเว็บไซต์ที่ลงข้อความคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง พบว่า สำนักข่าวอย่างน้อย 2 สำนัก ได้รายงานข่าวสารที่คลาดเคลื่อน ระบุข้อความ “สารเคมีรั่วไหล บริเวณก่อสร้างโรงไฟฟ้าทดแทน 4-7 กฟผ.แม่เมาะ พบเป็นไซยาไนต์…” สำนักข่าวได้อ้างการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ในพื้นที่ตั้งของโรงไฟฟ้าดังกล่าว ซึ่งได้รับข้อมูลจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ของโรงไฟฟ้า กฟผ.แม่เมาะว่า สารที่รั่วไหลออกมา คือ ก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนต์ ซึ่งเป็นยาพิษ… ข่าวสารที่คลาดเคลื่อนถูกแชร์ออกไปเป็นจำนวนมากในสื่อสังคมออนไลน์ รวมทั้งภาพถ่ายสถานที่เกิดเหตุ ซึ่งคาดว่าได้มาจากกล้องโทรศัพท์มือถือของผู้ปฏิบัติงานที่พกพาเข้าไปในพื้นที่ สร้างความตื่นตระหนกแก่ประชาชน และเป็นการบ่อนทำลายความน่าเชื่อถือของหน่วยงานที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ อย่างไรก็ดี การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. แม่เมาะได้ออกมาได้ชี้แจงรายละเอียดผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ (Facebook) ในวันเดียวกัน พร้อมทั้งเชิญสื่อมวลชนเข้าตรวจสอบจุดเกิดเหตุ เพื่อยืนยันให้ประชาชนได้รับทราบข้อเท็จจริง โดยยืนยันไม่ใช่สารไซยาไนต์ ทำให้ลดกระแสความวิตกกังวลของประชาชน และได้ปฏิบัติการตามแผนฉุกเฉินควบคุมสถานการณ์สารรั่วในบริเวณพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าทดแทนได้ทัน มีการประกาศให้คนงานออกไปยังจุดรวมพลเพื่อความปลอดภัย ไม่มีผู้บาดเจ็บ หรือได้รับอันตรายจากการสูดกลิ่นและควัน เจ้าหน้าที่ได้เข้าตรวจสอบ ดำเนินการแก้ไขเบื้องต้นจนควบคุมการรั่วไหลได้อย่างเรียบร้อย   นายประทีป พันธ์ยก หมวดความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน กฟผ.แม่เมาะ กล่าวว่า สารเคมีที่รั่วไหลเป็นกรดไฮโดรคลอลิค (HCL)…

ไทยเตรียมใช้ ‘ดิจิทัล ไอดี’ ปลายปี 61 หนุนใช้กับโครงการสวัสดิการแห่งรัฐ จ่ายผ่านอีมันนี่ อุดช่องฉวยโอกาสทุจริต

Loading

ข่าวเกี่ยวกับการทุจริตเงินสงเคราะห์ครอบครัวผู้มีรายได้น้อยและผู้ไร้ที่พึ่ง จนทำให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ตัดสินใจให้จ่ายเงินผ่านรูปแบบการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของผู้รับบริการหรือระบบอีเพย์เมนต์ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 2561 เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ แต่ในบางทัศนะกลับมองว่า มาตรการใหม่นี้ช่วยแก้ปัญหาการทุจริตแค่เฉพาะหน้าหรืออาจไม่ได้เลย ดังเช่นกรณีทุจริตกองทุนเงินเสมาพัฒนาคุณภาพชีวิต ที่มีการนำบัญชีธนาคารของเครือญาติเข้ามารับประโยชน์แทน กรณีเหล่านี้จึงกลายเป็นช่องโหว่ที่ต้องช่วยกันขบคิดหาวิธีรับมือ แน่นอนว่า จำเป็นต้องปรับระบบสวัสดิการให้สอดคล้องและพร้อมรับมือกับโลกสมัยใหม่ที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ‘สุทธิพงษ์ กนกากร’ สมาชิกคณะทำงานด้านเทคนิค National Digital ID อธิบายให้เห็นภาพเป็นฉาก ๆ ในเรื่องการวางระบบป้องกันทุจริตในโครงการเกี่ยวข้องกับสวัสดิการแห่งรัฐ ในเวทีสัมมนา เรื่อง ปรับทิศทางเศรษฐกิจไทยให้พร้อมสู่ยุคแห่งความปั่นป่วนทางเทคโนโลยี ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ จัดโดย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เขาบอกว่า ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่สามารถนำมาปรับใช้กับระบบสวัสดิการแห่งรัฐ 3 รูปแบบ คือ 1. บล็อกเชน (Blockchain) คือ เครือข่ายการเก็บข้อมูลรูปแบบหนึ่ง โดยสามารถป้องกันการปลอมแปลงข้อมูลและทำให้รู้แม้กระทั่งว่า ใครเขียนข้อมูลอะไรลงไปบ้าง 2.ดิจิทัล ไอดี (Digital ID) คือ ระบบที่ช่วยพิสูจน์ตัวตน 3.เงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) คือ การทำธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งจะมีหรือไม่มีบัญชีธนาคารเลยก็ได้ โดยการนำเทคโนโลยีทั้ง 3 รูปแบบ มาใช้กับระบบสวัสดิการแห่งรัฐนั้น สุทธิพงษ์ อธิบายว่า ส่วนใหญ่ขั้นตอนการคัดกรองผู้มีสิทธิรับประโยชน์…

คลอดแล้ว กม.คุมบิตคอยน์ เก็บอัตราภาษี 15%

Loading

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 14 พ.ค. นี้ ซึ่งกฎหมายดังกล่าวมีทั้งสิ้น 100 มาตรา โดยเหตุผลที่ประกาศใช้ดังกล่าวระบุว่า ปัจจุบันได้มีการนำคริปโตเคอเรนซี และโทเคนดิจิทัล มาใช้เป็นเครื่องมือในการระดมทุนผ่านการเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชน เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน รวมถึงนำมาซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนในศูนย์ซื้อขายคริปโตเคอเรนซี และโทเคนดิจิทัล แต่ยังไม่มีกฎหมายที่กำกับ หรือควบคุมการดำเนินการดังกล่าวในประเทศไทย ซึ่งทำให้มีการประกอบธุรกิจ หรือการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ที่อาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงิน ระบบเศรษฐกิจของประเทศ และเกิดผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง  ดังนั้น เพื่อกำหนดให้มีการกำกับและควบคุมการประกอบธุรกิจและการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล และเพื่อรองรับการนำเทคโนโลยีมาทำให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคมอย่างยั่งยืน อันจะเป็นการสนับสนุน และอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบธุรกิจที่มีศักยภาพมีเครื่องมือในการระดมทุนที่หลากหลาย รวมทั้งประชาชน และผู้ที่เกี่ยวข้อง มีข้อมูลที่ชัดเจนเพียงพอเพื่อใช้ในการตัดสินใจ เกิดความโปร่งใสในการดำเนินการ และป้องกันมิให้มีการนำสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่มีแหล่งที่มาที่ชัดเจนไปใช้ประโยชน์ หรือกระทำการใดในลักษณะที่เป็นการหลอกลวงประชาชน หรือที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชญากรรม โดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้ ทั้งนี้ ในบทเฉพาะกาล มาตรา 100 ได้กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้ประกอบธุรกิจอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับและเป็นธุรกิจที่ต้องขออนุญาตตามพระราชกำหนดนี้ หากจะดำเนินกิจการต่อไป ให้ยื่นคำขออนุญาตตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกำหนดนี้ ภายใน 90 วันนับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้มีผลใช้บังคับ และเมื่อได้ยื่นคำขออนุญาตแล้ว ให้ดำเนินกิจการต่อไปได้จนกว่าจะมีคำสั่งไม่อนุญาต ขณะเดียวกัน…