ดาบสองคม! ผู้เชี่ยวชาญชี้ “ข้อดี – ข้อเสีย” เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์

Loading

ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชี้ว่า โลกกำลังเข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ซึ่งขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ ที่สามารถประมวลผลข้อมูลมหาศาลจากอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจำนวนมาก ได้ในเวลาสั้นๆ ที่การประชุม MIGC หรือ Milken Institute Global Conference ที่นครลอส แองเจลลีส เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีได้พูดคุยหารือเกี่ยวกับประโยชน์และอันตรายของเทคโนโลยีหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ คุณ Tom Siebel ประธานและซีอีโอของบริษัทพัฒนาซอฟท์แวร์ C3 IoT ชี้ว่า ข้อมูลที่ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI สามารถดึงจากอุปกรณ์ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือนั้น ล้วนเต็มไปด้วยข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลทางเศรษฐกิจ และข้อมูลการแพทย์ ซึ่งล้วนมีความสำคัญ และเสี่ยงที่จะถูกนำไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม ผู้เชี่ยวชาญยังระบุด้วยว่า เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์อาจทำให้คนตกงานมากขึ้นในอนาคต ยกตัวอย่าง รถยนต์ควบคุมตัวเองอัตโนมัติอาจทำให้คนขับรถแท็กซี่ตกงาน หรือคนงานตามโรงงานต่างๆ ที่อาจถูกหุ่นยนต์เข้ามาแทนที่ นอกจากนั้น บริษัทหรือห้างร้านต่างๆ ก็อาจต้องปิดตัวลงจากการขยายตัวของบริษัทเทคโนโลยีออนไลน์ เช่น การที่ร้านค้าของเล่นรายใหญ่ Toy ‘R’ Us ต้องปิดกิจการทั่วอเมริกา เพราะลูกค้าหันไปซื้อของเล่นทางออนไลน์จากร้านอีคอมเมิร์ช อย่าง Amazon มากขึ้น…

‘สายลับต่างชาติ’ นิยมแฝงตัวเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยสหรัฐฯ

Loading

ภายในรั้วมหาวิทยาลัยทั่วสหรัฐฯ คงไม่มีใครคาดคิดว่าจะเป็นสถานที่เเรกที่นักสอดแนมจะแฝงตัวเข้าไปปนเปกับนักศึกษา เเต่ แดน โกลด์เดน (Dan Golden) ผู้สื่อข่าวสายสอบสวน กล่าวว่าคุณจะแปลกใจ เพราะมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ เต็มไปด้วยนักสอดแนมหรือสายลับ โกลด์เดน กล่าวว่า ในมหาวิทยาลัยของสหรัฐฯ มีนักศึกษาเเละศาสตราจารย์ชาวต่างชาติจำนวนมากมาย บางคนมาหาข้อมูลให้แก่ประเทศของตน ไม่ว่าจะเป็นความลับทางวิทยาศาสตร์หรือมาสร้างเเหล่งข่าว โกลด์เดน พูดถึงตัวอย่างการสอดแนมในรั้วมหาวิทยาลัยในหนังสือที่เขาเขียน เรื่อง“สปาย สคูลส์” (“Spy Schools”) เขากล่าวว่ามหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ เป็นแหล่งดึงดูดนักสอดแนม เพราะมีการเเลกเปลี่ยนทางความคิดและวัฒนธรรมกันอย่างอิสระ ชาร์ลี แม็คกอลนิกัล (Charlie Mcgonigal) เจ้าหน้าที่พิเศษที่ดูแลฝ่ายต่อต้านข่าวกรองของสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติสหรัฐฯ หรือ เอฟบีไอ กล่าวว่า นี่เป็นปัญหาใหญ่มากเ พราะในสหรัฐฯ สถาบันการศึกษาเปิดกว้าง มีการศึกษาวิจัยและการพัฒนามากมายที่บรรดารัฐบาลต่างชาติต้องการได้ข้อมูลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ และจะส่งนักศึกษาของตนเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัยอเมริกันเพื่อจุดประสงค์นี้โดยเฉพาะ ส่วนชาวอเมริกันที่ไปเรียนในต่างประเทศก็มักตกเป็นเหยื่อของรัฐบาลต่างชาติที่ต้องการใช้เป็นนักสอดแนม ในปี พ.ศ. 2557 เอฟบีไอได้สนับสนุนเงินในการสร้างภาพยนตร์เรื่องหนึ่งที่อิงเนื้อหาจากเรื่องจริง เกี่ยวกับนาย เกลน ชริฟเฟอร์ (Glenn Shriver) นักศึกษาชาวอเมริกันที่รัฐบาลจีนว่าจ้างให้เป็นนักสอดแนมแก่จีน เเม็คกานิกัลกล่าวว่า นักศึกษาถูกใช้โดยรัฐบาลต่างชาติให้เป็นสายลับ เเละสั่งให้ไปสมัครทำงานในรัฐบาลสหรัฐฯ หรือในภาคเอกชนที่ต้องการได้ข้อมูลไปใช้ประโยชน์ อเล็กซ์ แวน…

ความสำคัญของ Big Data

Loading

โดย ณรงค์ศักดิ์ ปลอดมีชัย กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุนบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด ในโลกปัจจุบันนี้เป็นโลกที่เต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสารต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลขนาดใหญ่หรือเล็ก โดยเฉพาะข้อมูลขนาดใหญ่หรือที่เราเรียกกันว่า Big Data เช่น ข้อมูลในอินเทอร์เน็ตที่มีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นทุกปี ในปี 2017 มีการประมาณว่าจำนวนเว็บไซต์ในอินเทอร์เน็ตมีขนาดกว่า 1,766 ล้านเว็บไซต์ โดยเพิ่มจากในปี 2016 จำนวน 1,045 ล้านเว็บไซต์ คิดเป็นอัตราการเติบโตกว่า 69% นอกจากนี้จำนวนผู้ใช้ Social Media มีจำนวนผู้ใช้บริการกว่า 3,196 ล้านคน เพิ่มขึ้นกว่า 7% โดยใน Facebook, Twitter, Instagram เฉลี่ยมีการกด like หรือ tweet ขึ้นมากกว่าล้านครั้งในแต่ละนาที ในโลกของการลงทุนก็เช่นกัน มีการให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องของ Big Data และการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าว โดยเฉพาะกองทุนเฮดจ์ฟันด์ (Hedge Fund) เช่น กองทุน Renaissance Technologies, DE…

ย้อนประวัติศาสตร์อาวุธเคมี

Loading

ข่าวการใช้อาวุธเคมีโจมตีพลเรือนผู้บริสุทธิ์ในเมืองดูมาของซีเรีย รวมทั้งข่าวการใช้สารทำลายระบบประสาทหวังลอบสังหารอดีตสายลับรัสเซียในอังกฤษ ทำให้เรื่องอาวุธเคมีกลายเป็นประเด็นที่โลกให้ความสนใจอีกครั้ง บีบีซีขอย้อนรอยประวัติศาสตร์การใช้อาวุธเคมีซึ่งเริ่มมีการใช้กันอย่างแพร่หลายในโลกเมื่อกว่า 100 ปีที่แล้ว นายฮามิช เดอ เบรต์ตอง-กอร์ดอง อดีตทหารอังกฤษ และเจ้าหน้าที่หน่วยอาวุธเคมี ชีวภาพ และนิวเคลียร์องค์การนาโต เล่าว่า อาวุธเคมีชนิดแรกของโลกคือ คลอรีน (Chlorine) เป็นสารทําลายระบบทางเดินหายใจ (Choking agent) แม้ในตอนแรกมันจะถูกพัฒนาขึ้นเพื่อทำให้เหยื่อพิการมากกว่าทำให้เสียชีวิต แต่ที่ผ่านมาอาวุธชนิดนี้ก็คร่าชีวิตผู้คนไปจำนวนมาก สารคลอรีนถูกใช้ครั้งแรกในสงครามเมืองอีเพรส์ครั้งที่ 2 ในเบลเยียม เมื่อปี 1915 และสร้างความหายนะครั้งใหญ่หลวง เพราะตอนนั้นยังไม่เคยมีการใช้สารคลอรีนเป็นอาวุธทางการทหารมาก่อน แม้จะเป็นสารเคมีพื้นฐานก็ตาม ต่อมาก็มีการใช้แก๊สมัสตาร์ด ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้ระคายเคืองผิวหนังและเกิดแผลพุพอง (Blister agents) จากนั้นกองทัพนาซีเยอรมนีได้พัฒนาสารทำลายระบบประสาท (Nerve agents) ขึ้น โดยเป็นสารสังเคราะห์จากกรดฟอสฟอริก ซึ่งเป็นสารกำจัดศัตรูพืช และพบว่าสารทาบุน และโซมาน สามารถฆ่าคนได้มีประสิทธิภาพ สารทำลายระบบประสาทถูกใช้อย่างแพร่หลายในสงครามอิหร่าน-อิรัก เมื่อปี 1984-1988 ซึ่งเหตุโจมตีเมืองฮาลับยาในอิรัก เมื่อวันที่ 16 มี.ค.1988 ยังติดอยู่ในความทรงจำของผู้คนจำนวนมาก เพราะมีผู้เสียชีวิตมากถึง 5,000 คนในเหตุโจมตีวันนั้น ปัจจุบันอาวุธเคมีกลายเป็นข่าวครึกโครมอีกครั้ง…