อุทธรณ์คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของโรงพยาบาลอาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด เกี่ยวกับข้อมูลการรักษาพยาบาล

Loading

ผู้อุทธรณ์ : นาง ก. หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบ : โรงพยาบาลอาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด อุทธรณ์เรื่องนี้ได้ความว่า นาง ก. ผู้อุทธรณ์ มีหนังสือลงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๖ถึงผู้อำนวยการโรงพยาบาลอาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด และหนังสือลงวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ถึงนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ขอข้อมูลการรักษาพยาบาลของนายพนัส ธรรมเกตุ ซึ่งเป็นคู่สมรสที่ถึงแก่ความตาย เพื่อประกอบการขอรับค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันชีวิตโรงพยาบาลอาจสามารถเสนอความเห็นต่อนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ดว่า ไม่อาจเปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้แก่ผู้อุทธรณ์ได้เพราะต้องรับผิดตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๕๐ และต่อมานายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ดมีบันทึกท้ายคำขอผู้อุทธรณ์ฉบับลงวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ เห็นชอบด้วยกับความเห็นของโรงพยาบาลอาจสามารถที่ปฏิเสธการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารแก่ผู้อุทธรณ์ผู้อุทธรณ์มีหนังสือ (ไม่ได้ระบุวันที่) เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ถึงคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ อุทธรณ์คำสั่งของโรงพยาบาลอาจสามารถที่ไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารดังกล่าวคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาขาสังคม การบริหารราชการแผ่นดินและการบังคับใช้กฎหมายพิจารณาคำอุทธรณ์ คำชี้แจงของผู้อุทธรณ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอาจสามารถเหตุผลที่โรงพยาบาลอาจสามารถไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร และเอกสารที่เกี่ยวข้องแล้ว ข้อเท็จจริงสรุปความได้ว่า ผู้อุทธรณ์เป็นภรรยาของนาย ข. ซึ่งได้ทำสัญญาประกันชีวิตไว้กับบริษัทไทยประกันชีวิต จำกัด โดยกรมธรรม์ระบุให้ผู้อุทธรณ์เป็นผู้รับประโยชน์ เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๕นาย ข. ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลอาจสามารถซึ่งตรวจพบว่าเป็นโรคมะเร็งและเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอาจสามารถกับโรงพยาบาลศรีนครินทร์อยู่ระยะหนึ่ง ต่อมานาย ข.กลับไปรักษาตนเองที่บ้าน และเสียชีวิตในวันที่ ๒๗…

อุทธรณ์คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงาน

Loading

ผู้อุทธรณ์ : นาย ก. หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบ : บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (บมจ. อสมท) อุทธรณ์เรื่องนี้ได้ความว่า นาย ก. ผู้อุทธรณ์ ตำแหน่งผู้เรียบเรียงข่าวอาวุโส ฝ่ายข่าวในประเทศ ๑ สำนักข่าวในประเทศ สายงานสำนักข่าวไทย ได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการในตำแหน่งหัวหน้ากองบรรณาธิการข่าวการเมือง ฝ่ายข่าวในประเทศเป็นเวลา ๖ เดือน ต่อมาผู้บังคับบัญชาได้ประเมินผลการปฏิบัติงานและมีคำสั่งเลื่อนขึ้นให้ดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญ ผู้อุทธรณ์จึงได้ร้องเรียนขอความเป็นธรรมในการประเมินความเหมาะสมในการปฏิบัติงานในตำแหน่งหัวหน้ากองบรรณาธิการข่าวการเมือง ฝ่ายข่าวในประเทศต่อคณะกรรมการ บมจ. อสมท คณะกรรมการฯ จึงมีมติให้กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ตรวจสอบ ผู้อุทธรณ์จึงมีหนังสือลงวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๕๖ และวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๖ ถึงประธานกรรมการกำกับดูแลกิจการ บมจ. อสมท ขอข้อมูลข่าวสารพร้อมรับรองสำเนา จำนวน ๓ รายการ ดังนี้ ๑. หนังสือการประเมินผลการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัด (KPIS) และแบบบันทึกข้อตกลงการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้อุทธรณ์ที่นาย ข. ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สำนักข่าวในประเทศ…

อุทธรณ์คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต ๑ เกี่ยวกับหนังสือร้องเรียน

Loading

ผู้อุทธรณ์ : นาง ก. หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต ๑ อุทธรณ์เรื่องนี้ได้ความว่า นาง ก. ผู้อุทธรณ์ตำแหน่ง ครูชำนาญการ มีหนังสือลงวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๖ ถึงคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง ขอข้อมูลหนังสือร้องเรียนของนาย ข. ซึ่งร้องเรียนกล่าวโทษผู้อุทธรณ์ ทำให้ผู้อุทธรณ์ได้รับความเสียหาย เพื่อนำไปต่อสู้ในประเด็นข้อกล่าวหา และไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนต่อไปสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต ๑ มีหนังสือที่ ศธ ๐๔๐๔๗/๔๖ ลงวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๖ ถึงผู้อุทธรณ์ ปฏิเสธการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารโดยให้เหตุผลว่า ข้อมูลข่าวสารดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณายังไม่แล้วเสร็จ การเปิดเผยอาจทำให้การบังคับใช้กฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพหรือไม่อาจสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้ ตามมาตรา ๑๕ (๒)แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ผู้อุทธรณ์มีหนังสือลงวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๖ อุทธรณ์คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารดังกล่าวคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาขาสังคม การบริหารราชการแผ่นดินและการบังคับใช้กฎหมายได้พิจารณาคำอุทธรณ์ ประกอบกับข้อมูลข่าวสารที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต ๑ จัดส่งมา และเอกสารที่เกี่ยวข้องแล้ว ข้อเท็จจริงได้ความว่า นาย ข. รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต…

อุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้านของกองอำนวยการตลาดนัด กรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับเอกสารการเช่าช่วง

Loading

ผู้อุทธรณ์ : นาย ก. หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบ : กองอำนวยการตลาดนัด กรุงเทพมหานคร อุทธรณ์เรื่องนี้ได้ความว่า กองอำนวยการตลาดนัด กรุงเทพมหานคร มีหนังสือ ที่ กท ๑๒๐๐/กนก. ๑๔๘ ลงวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๖ ถึงบริษัท ไฮ ทราฟฟิค มีเดีย จำกัด แจ้งว่ามีบุคคลอ้างว่าเป็นผู้ค้าในโครงการจตุจักร กรีนได้มีหนังสือขอคัดสำเนาเอกสารการให้เอกชนเช่าช่วงพื้นที่มูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ที่ทำขึ้นระหว่างกรุงเทพมหานครกับบริษัท ไฮ ทราฟฟิค มีเดียจำกัด โดยอ้างว่ากระทบถึงประโยชน์ได้เสียของตน บริษัท ไฮ ทราฟฟิค มีเดีย จำกัด โดยนาย ก.กรรมการผู้จัดการ ผู้อุทธรณ์มีหนังสือลงวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๖ ถึงผู้อำนวยการตลาดนัดกรุงเทพมหานคร คัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่า เอกสารสัญญาเช่าช่วงไม่ใช่เอกสารที่เกี่ยวข้องกับสัญญาเช่าและสัญญาบริการที่ทางบริษัททำกับผู้เช่า และเอกสารดังกล่าวมีรายละเอียดตัวเลขที่ทางบริษัทได้เสนอค่าตอบแทนการให้สิทธิ์ใช้พื้นที่บริเวณลานจอดรถให้กับกองอำนวยการตลาดนัด กรุงเทพมหานคร จึงไม่ควรเปิดเผยค่าตอบแทนให้บุคคลภายนอกทราบกองอำนวยการตลาดนัด กรุงเทพมหานคร มีหนังสือ ที่ กท ๑๒๐๐/กนก. ๒๓๒…

การก่อวินาศกรรมเพื่อสร้างสภาวะกดดันทางสังคม

Loading

การนำทุกวิถีทางในการก่อวินาศกรรมมาดำเนินการ โดยมิได้มุ่งสร้างความเสียหายต่อเป้าหมายเฉพาะที่เพียงอย่างเดียว แต่ยังมุ่งที่จะสร้างความเสียหายในด้านอื่นไปพร้อมด้วย ทั้งยังส่งผลกระทบระยะยาวในอนาคตต่อประชาชนและรัฐบาลนั้นอีกด้วย ตัวอย่างได้แก่ การพยายามลอบวางระเบิดกำมันตภาพรังสีในสหรัฐฯ ของสมาชิกกลุ่มก่อการร้าย อัล เควดาเมื่อปี 2545 หากการกระทำดังกล่าวประสบความสำเร็จ นอกจากจะสร้างความเสียหายแล้ว ยังสามารถความหวาดระแวงให้กับประชาชนที่จะต้องดำรงชีวิตอยู่ในบริเวณที่เคยเกิดการระเบิดของกำมันตภาพรังสีและบริเวณใกล้เคียงอีกด้วย และหากพื้นที่เกิดเหตุนั้นเป็นเขตธุรกิจที่สำคัญของประเทศ ก็จะยิ่งส่งผลกระทบต่อประเทศนั้นยิ่งขึ้นไปอีก เพราะการต้องย้ายเขตธุรกิจใหม่นั้น นอกจากจะต้องสูญเสียงบประมาณแล้ว การสร้างความเคยชินและความเชื่อถือในสถานที่ใหม่ก็จำเป็นต้องใช้ระยะเวลา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนสร้างความเสียหายทั้งสิ้น ถึงแม้รัฐบาลจะพยายามฟื้นฟูหรือปรับปรุงพื้นที่เกิดเหตุเหล่านั้น แต่การปรับสภาพจิตใจและยุติความหวาดระแวงในหมู่ประชาชนต้องใช้เวลานานและอาจไม่ได้ผล ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้ต้องสูญเสียงบประมาณจำนวนมหาศาล อันจะเป็นผลกระทบกระเทือนต่อฐานะของรัฐบาลในระยะยาวอย่างแน่นอน เป็นต้น