สาเหตุการประกาศใช้กฎหมายควบคุมโดรนในญี่ปุ่น ซึ่งบังคับใช้เมื่อ 10 ธันวาคม 2558

Loading

เมื่อวันศุกร์ที่ 24  เมษายน 2558  ชายวัย 40 ปี เข้ามามอบตัวเองที่สถานีตำรวจในเมืองโอะบะมะ จังหวัด ฟุกุอิ พร้อมกับวัตถุพยาน คือ ทรายและอุปกรณ์ควบคุมโดรน เพื่อเป็นหลักฐาน  โดยแจ้งว่า ตนเป็นผู้ที่ควบคุมโดรน (โดยควบคุมโดรนจากระยะไกลได้ถึง 1.2 กิโลเมตร)  ให้ลงจอดบนดาดฟ้าอาคารทำเนียบนายกรัฐมนตรีในกรุงโตเกียว เมื่อวันพุธที่ 22 เมษายน 2558 ญี่ปุ่นเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัย และ เตรียมออกกฎหมายควบคุม โดรน ASTV ผู้จัดการออนไลน์.   เมษายน  28, 2558.  http://bit.ly/1byvUxo สืบเนื่องจากกรณีเมื่อวันศุกร์ที่ 24  เมษายน 2558  ชายวัย 40 ปี ควบคุมโดรนพร้อมถุงบรรจุทราย ให้ลงจอดบนดาดฟ้าทำเนียบนายกรัฐมนตรีในกรุงโตเกียว ด้วยมีเจตนากระทำการดังกล่าวเพื่อต่อต้านนิวเคลียร์ โดยทรายที่บรรจุถุงติดไปกับโดรน เป็นทรายจากจังหวัดฟุกุชิมะ ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิ ที่ได้รับความเสียหายหนักจากเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิเมื่อปี 2554     เหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นสั่งเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยสถานที่ราชการต่างๆ  รวมทั้งเตรียมออกกฎหมายควบคุมการใช้เครื่องบินบังคับ หรือ โดรน   เนื่องจากมีการใช้โดรนเพื่อถ่ายภาพและวีดิโออย่างแพร่หลายในญี่ปุ่น แต่กลับยังไม่มีกฎหมายควบคุมเกี่ยวกับการใช้อากาศยานที่บินต่ำกว่าความสูง 250เมตร กฎหมายควบคุมโดรนในญี่ปุ่น เริ่ม 10 ธันวาคม 2558 NHK WORLD;  ASTV ผู้จัดการออนไลน์  ;Blognone; สปอตเจแปน; ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2558   กฎหมายการบินพลเรือนที่ควบคุมการใช้โดรนและอากาศยานไร้คนขับประเภทอื่นๆ  ฉบับแก้ไข   เริ่มมีผลบังคับใช้ ระเบียบชุดใหม่นี้ กำหนดว่า ผู้ควบคุมอากาศยานไร้คนขับต้องได้รับอนุมัติจากรัฐบาล…

ระเบียบควบคุมการใช้อากาศยานไร้คนขับเริ่มมีผลบังคับใช้ในญี่ปุ่น

Loading

  กฎหมายการบินพลเรือนที่ควบคุมการใช้โดรนและอากาศยานไร้คนขับประเภทอื่นๆ ฉบับแก้ไขเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม ระเบียบชุดใหม่นี้กำหนดว่าผู้ควบคุมอากาศยานไร้คนขับต้องได้รับอนุมัติจากรัฐบาล ก่อนที่จะส่งอากาศยานขึ้นบินในพื้นที่ที่กำหนดว่าเป็นพื้นที่ที่มีผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่น ที่จัดงาน และใกล้ท่าอากาศยาน นอกจากนี้ผู้ควบคุมยังต้องได้รับอนุญาตก่อนที่จะส่งอากาศยานขึ้นบินในยามวิกาล หรือบินออกนอกทัศนวิสัยของผู้ควบคุม ทั้งยังต้องรายงานจุดประสงค์การส่งอากาศยานไร้คนขับขึ้นบิน เส้นทางการบิน และหมายเลขการผลิตของตัวเครื่อง ผู้ควบคุมยังต้องมีชั่วโมงบินการควบคุมอากาศยานอย่างน้อย 10 ชั่วโมง กฎระเบียบชุดใหม่กำหนดเพดานค่าปรับในการควบคุมอากาศยานไร้คนขับโดยไม่ได้รับอนุญาตไว้ที่ 500,000 เยน หรือราว 150,000 บาท ที่มา : NHK WORLD News วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม เวลา 19:13 Link : http://www3.nhk.or.jp/nhkworld/th/news/201512102045_th_04/

ซีไอเอระงับความไว้วางใจของอดีตผู้อำนวยการไว้ชั่วคราว

Loading

          วอชิงตัน (ซีเอ็นเอ็น) – หน่วยข่าวกรองกลางสหรัฐฯ หรือ ซีไอเอ ได้ระงับความไว้วางใจของอดีตผู้อำนวยการ จอห์น ดุท์ช ไว้ชั่วคราว เพราะเขาเก็บไฟล์ลับบนคอมพิวเตอร์ที่บ้านที่ไม่ปลอดภัย           ผู้อำนวยการซีไอเอ จอห์น ทีเนท เพิกถอนการรับความไว้วางใจของ ดุท์ช หลังจากการตรวจสอบภายในหน่วยงานระบุว่า ดุท์ช เก็บสิ่งที่เป็นความลับต่างๆ ไว้บนคอมพิวเตอร์ของรัฐที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งได้ถูกนำไปใช้งานที่บ้านของเขา การลงโทษในอดีตครั้งแรกนั้นได้ดำเนินการต่ออดีตข้าราชการระดับสูงของ ดุท์ช           ดุท์ช ได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการซีไอเอตั้งแต่พฤษภาคมจนถึงธันวาคมปี 2539 และในช่วง 38 ปีของการทำงานให้กับรัฐของดุท์ช เขายังเคยทำหน้าที่เป็นเลขานุการของนายวิลเลียม เพอร์รี่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม           นายเดวิด ลิฟวี โฆษกสภาความมั่นคงแห่งชาติกล่าวว่า ทำเนียบขาวสนับสนุนการควบคุม แม้ว่าประธานาธิบดีคลินตัน “จะรู้สึกว่านายจอห์น ดุท์ช ได้ทำหน้าที่รับใช้ประเทศด้วยความชื่นชมมาเป็นเวลาหลายปี”           ดุท์ช ปัจจุบันเป็นอาจารย์ที่ สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ ที่บรรยายเกี่ยวกับปัญหาความมั่นคงของชาติ           เขาออกแถลงการณ์วันศุกร์ว่าเขายอมรับ “ความรับผิดชอบ” สำหรับความผิดพลาดของเขาและ “ไม่เคยคิดว่าข้อมูลนั้นมีความเสี่ยง หรือมีเจตนาที่จะละเมิดระเบียบการรักษาความปลอดภัย…

ข้อสังเกตด้าน รปภ.ต่อพื้นที่ที่เกิดเหตุร้ายในกรุงปารีส ปี 2558

Loading

พื้นที่กรุงปารีสและบริเวณชานกรุงแบ่งออกเป็น 20 เขต ถึงแม้แต่ละเขตมีสภาพทั่วไปที่ต่างกัน แต่ต่างเป็นแหล่งประวัติศาสตร์และสถานที่ท่องเที่ยวระดับโลก

อาวุธเคมี

Loading

      เท่าที่พบข้อมูลการใช้สารเคมีในการสู้รบมีขึ้นประมาณ พ.ศ.114 ได้มีการเผาสารกำมะถันรมฝ่ายศัตรูในการรบระหว่างกลุ่มนครรัฐกรีกในคาบสมุทรเพโลปอนเนส (Peloponnesian War)  การนำสารรเคมีมาใช้ในการสู้รบที่ชัดเจนที่สุดคือ ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ( พ.ศ. 2457-2461)ได้นำก๊าซน้ำตาคลอรีน (Chlorine) สารฟอสจีน (Phosgene) สารคลอโรพิคริน (Chloropicrin) มาใช้ แต่ปรากฎหลักฐานชัดเจนคือ กรณีทหารจากแคนาดาบาดเจ็บจากมาสตาร์ดก๊าซ (Mustard Gas) ต่อเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2482 – 2488)  เยอรมันใช้กรดไซยานิก (Cyanic Acid) สังหารหมู่ชาวยิว และมีหลักฐานว่ากองทัพเยอรมันสะสมสารพิษทำลายระบบประสาทจำนวนมาก ได้แก่ ทาบุน (Tabun) และซารีน (Sarin) ในสงครามระหว่างสามทศวรรษหลังนี้ อ้างว่า พบหลักฐานการใช้มาสตาร์ดก๊าซในสงครามระหว่างอิรัก-อิหร่าน  และล่าสุดเมื่อ พ.ศ.2556 นี้ มีการกล่าวโทษว่า รัฐบาลซีเรียใช้ก๊าซซารีนสังหารฝ่ายตรงข้ามและประชาชน      สำหรับการก่อการร้าย กรณีที่รุนแรงที่สุดที่เกิดขึ้น คือ กรณีกลุ่มลัทธิโอม ชินริเคียว (Aum Shinrikyo) ปล่อยก๊าซซารีนในขบวนรถไฟใต้ดินของกรุงโตเกียว…