7 “ความเข้าใจผิด” เกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ซีไอโอควรรู้

Loading

เป็นที่รู้กันว่าช่องโหว่ที่เพิ่มขึ้นนำมาซึ่งค่าใช้จ่ายขององค์กรที่เพิ่มขึ้น ขณะที่เศรษฐกิจในส่วนดิจิทัลของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง จำนวนการโจมตีและค่าใช้จ่ายเพื่อแก้ปัญหาข้อมูลรั่วไหล (Data Breach) ก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน จากผลการศึกษาของ Ponemon Institute เผยว่า ผลกระทบทางการเงินในภูมิภาคนี้สูงถึง 2.62 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2562 ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 2.53 ล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 2561 ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นกำลังเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการก้าวสู่ ‘ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน’ ขององค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สามในห้าขององค์กรในภูมิภาคนี้ได้ชะลอแผนการลงทุนด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นเป้าหมายการโจมตีทางไซเบอร์ จากรายงานของ Deloitte Cyber Smart: รายงานศักยภาพธุรกิจในเอเชียแปซิฟิก ชี้ว่าภัยคุกคามทางไซเบอร์อาจส่งผลทำให้สูญเสีย GDP ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกถึง 145 พันล้านเหรียญสหรัฐฯในทศวรรษหน้า แม้จะมีการลงทุนเพิ่มขึ้นในโซลูชันด้านความปลอดภัย แต่กลุ่มผู้ไม่หวังดีนั้นมีทั้งทรัพยากร และเวลาเพื่อเจาะค้นหาช่องโหว่ขององค์กรได้ตลอดเวลา ยิ่งไปกว่านั้น แนวทางส่วนใหญ่ที่องค์กรใช้ในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ในวันนี้ ยังคงเป็นแนวรีแอคทีฟที่มุ่งเน้นการไล่ล่าภัยคุกคาม ดังนั้นองค์กรจึงต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดการออกแบบสถาปัตยกรรมความปลอดภัยที่ครอบคลุมโครงสร้างพื้นฐานหลัก แอปพลิเคชัน ผู้ใช้งาน และการดำเนินงาน (operation) องค์กรจำเป็นต้องแก้ความเข้าใจผิดด้านความปลอดภัยที่ไม่เอื้อการผสานความปลอดภัยทางไซเบอร์เข้ากับกลยุทธ์หลักทางธุรกิจ และนี่คือ 7 ความเข้าใจผิดที่ซีไอโอทุกคนควรรู้ ความเข้าใจผิด ข้อที่ 1 – คิดว่าถ้าเข้าใจแนวโน้มการโจมตี จะช่วยป้องกันระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ…

New Normal คืออะไร? สำคัญแค่ไหน? และจะส่งผลอะไรกับชีวิตเราบ้าง?

Loading

By :  littlepearl ช่วงนี้หลายคนคงได้ยินคำว่า New Normal ในข่าวกันมากขึ้น อาจจะสงสัยว่า เอ๊ะ ทำไมเดี๋ยวนี้คนพูดถึงคำนี้กันบ่อยจัง มันคืออะไร เกี่ยวข้องอะไรกับชีวิตฉันไหม ฉันต้องรู้จักมันรึเปล่า New Normal ถ้าแปลแบบตรงตัวเลยก็คือ New แปลว่าใหม่ Normal แปลว่าปกติ รวมกันแล้วแปลได้ความหมายว่า ความปกติแบบใหม่ หรือ ภาวะปกติแบบใหม่ ลองนึกง่าย ๆ ว่า อะไรที่เราทำในชีวิตประจำวันเป็นปกติบ้าง เช่น กินข้าว 3 มื้อ, อาบน้ำ 2 ครั้ง, ใส่ชุดว่ายน้ำไปเที่ยวทะเล, ใส่ชุดดำไปงานศพ ทั้งหมดนี้มันคือเรื่อง “ปกติ” ที่เราคุ้นตา ที่เราเคยชินกัน แต่ภาวะปกติแบบใหม่นี้ มันคือสิ่งที่เรามองว่า เมื่อก่อนไม่ใช่เรื่องปกติที่เขาทำกัน แต่พอมันเกิดเหตุการณ์ หรือปรากฎการณ์อะไรบางอย่างขึ้น สิ่งเหล่านั้นก็กลายเป็นเรื่องปกติไปโดยปริยาย ถ้ายกตัวอย่างที่เห็นกันชัด ๆ ในยุค Covid-19 นี้เลยก็คือ การใส่หน้ากากอนามัยออกจากบ้าน เมื่อก่อน เราจะหยิบหน้ากากอนามัยออกมาใส่ก็ต่อเมื่อเราป่วยเท่านั้น แต่เดี๋ยวนี้…

‘ดีอีเอส’ ถกเลื่อน ‘กฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล’

Loading

ดีอีเอส เร่งถกยืดบังคับใช้กฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล หลังพบ ‘โควิด’ ทำพิษ หลายบริษัทพ่วงเอสเอ็มอียังไม่พร้อมปรับใช้ ระบุไม่เกินสิ้นเดือนนี้ได้ข้อสรุปจะเลื่อนไปเป็นช่วงไหน “พุทธิพงษ์” ชี้จะต้องดำเนินการให้เหมาะสม ทั้งการออกกฎหมายลูก หรือระเบียบที่จำเป็น เพื่อให้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนำไปบังคับใช้ให้เกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวถึง ตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 มีประกาศใช้ใช้ไปเมื่อ 27 พ.ค. 2562 และจะมีผลบังคับใช้ในปลายเดือนนี้คือ 28 พ.ค. 2563 โดยกฎหมายบัญญัติให้มีการจัดตั้งสำนักคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และออกระเบียบและกฎหมายลูกในการปฏิบัติตามกฎหมายซึ่งทั้งหมดอยู่ระหว่างการดำเนินการ ตามบทบัญญัติของกฎหมายไม่สามารถเลื่อนการมีผลบังคับใช้ออกไปได้ แต่เมื่อพิจารณาถึงสถานการณ์ปัจจุบัน ประกอบกับการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ตนเห็นตรงกับหลายฝ่ายว่าควรหาช่องทางบรรเทาการบังคับใช้ด้วยการยืดระยะเวลาออกไปอย่างน้อย 1 ปี โดยได้รับฟังข้อเสนอจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) ที่เสนอให้ รัฐบาลตราพระราชกฤษฎีกายกเว้นการนำบทบัญญัติของพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมดหรือบางส่วนมาบังคับใช้ โดยตนได้นำเรื่องนี้เข้าหารือกับนายวิษณุเครืองามรองนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้และเหตุผลความจำเป็นในการออกพระราชกฤษฎีกา “เราพยายามจะให้ยืดระยะเวลาออกไป เพื่อให้ การบังคับใช้กฎหมายเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันเพราะถ้าหากรีบใช้อาจจะไม่เกิดประโยชน์กับทุกคน และความพร้อมทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชนที่ต้องปฏิบัติ เพราะในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ต้องยอมรับว่ามีหลายบริษัทรวมไปถึงเอสเอ็มอีเอง ปรับตัวเพราะให้เข้ากับกฎหมายไม่ทัน จึงก็ต้อง พิจารณาให้ดี” นายพุท ธิพงษ์ กล่าว…

กลุ่มต่อต้านรัฐบาลยกระดับตัวตนและการโฆษณาชวนเชื่อ

Loading

ที่มาภาพ: https://www.theguardian.com/world/2020/apr/17/far-right-coronavirus-protests-restrictions Written by Kim กลุ่มขวาจัดรวมทั้งกลุ่มต่อต้านรัฐบาลและพวกหัวรุนแรงสุดโต่งในสหรัฐฯ มีการเคลื่อนไหวและโฆษณาชวนเชื่อเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นับตั้งแต่ไวรัสโคโรนา (COVID-19) เริ่มแพร่ระบาดเมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยกลุ่มต่อต้านรัฐบาลปลุกปั่นให้ผู้สนับสนุนปฏิเสธมาตรการ “อยู่บ้าน (stay at home)” ซึ่งประกาศโดยมลรัฐต่าง ๆ และจัดชุมนุมในที่สาธารณะพร้อมอาวุธปืนอย่างเปิดเผย ทั้งนี้ การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาเป็นพาหะตัวนำ (vector) ที่สมบูรณ์แบบในการแพร่กระจายทฤษฎีสมคบคิดเกี่ยวกับการกดขี่เสรีภาพ (ส่วนบุคคล) ของรัฐบาล ขณะที่การสนับสนุนให้ประชาชน “ปลดปล่อย” มลรัฐของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ทำให้การออนไลน์ของกลุ่มขวาจัดสุดโต่งที่รียกร้องสงครามกลางเมือง (civil war) เพิ่มขึ้นอย่างมาก[1]           ในห้วงเวลาก่อนการแพร่ระบาดของไวรัส กลุ่มขวาจัด (far-right) และพวกหัวรุนแรงสุดโต่ง (violent extremist) ในสหรัฐฯค่อย ๆ เผยตัว เร่งปฏิกิริยาเศรษฐสังคม (socio-economic) และการเมืองท่ามกลางความแตกแยกของประชาชนในประเทศ ซึ่งถูกทำให้เลวร้ายมากขึ้นโดยสื่อสังคม (social media) ระหว่างการแพร่ระบาด กลุ่มเหล่านี้แสวงประโยชน์จากวิกฤติโดยหว่านแพร่ความไม่ไว้วางใจรัฐบาลและสถาบันต่าง ๆ เกี่ยวกับการลดจำนวนผู้ติดเชื้อ (flatten the curve) หรือชะลออัตราการติดเชื้อ…

ซัดกันคนละหมัด

Loading

โดย…ภุมรัตน ทักษาดิพงศ์ สงครามข่าวสารระหว่างจีนและสหรัฐยังดำเนินไปอย่างเผ็ดร้อน และยังไม่มีท่าทีว่าจะจบลงง่ายๆ หรือจบไม่ลง เพราะการที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะยอมรับอย่างหน้าชื่นตาบานว่า ตนเองเป็นผู้แพร่เชื้อไข้หวัดมรณะ “โควิด 19” นั้น คงเป็นไปไม่ได้ แม้ว่า เวลานี้จีนตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบเพราะกลายเป็น “จำเลย” ในสังคมโลก ซึ่งรู้กันอย่างเปิดเผยว่า ไวรัสโควิด 19 เกิดขึ้นที่เมืองอู่ฮั่น และสุดท้ายเผยแพร่ไปยังทั่วโลกในขณะนี้ ในขณะที่ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะสหรัฐและสหภาพยุโรปต่างชี้หน้ามาที่จีนว่าเป็นตัวการที่แพร่กระจายเชื้อโควิด 19 ไปทั่วโลก จีนยอมรับว่าจริงที่เชื้อนี้เกิดขึ้นที่จีนแต่เชื้อโรคร้ายที่ถูกตัดแต่งพันธุกรรมโดยมนุษย์ถูกแอบนำมาปล่อยในจีนเพื่อชะลอการเจริญเติบโตของจีน และกล่าวหาว่า สหรัฐนั่นแหละที่เป็นคนแอบเอาเชื้อนี้มาปล่อยในจีนจนระบาดไปทั่ว และเพื่อให้ดูมีน้ำหนักมากขึ้น จีนได้ฟ้องต่อศาลระหว่างประเทศว่า สหรัฐเป็นตัวการที่เอาเชื้อนี้มาปล่อยในจีน ส่วนผลจะออกมาอย่างไร คงใช้เวลาเป็นปี ในขณะเดียวกัน ผู้ว่าการรัฐหนึ่งในสหรัฐได้ฟ้องต่อศาลสูงสุดของสหรัฐกล่าวหาจีนว่า เป็นต้นตอทำให้คนอเมริกันตายและติดเชื้อโควิด 19 ซึ่งคงเป็นการฟ้องเพื่อหวังผลการเลือกตั้งในประเทศมากกว่า ส่วนศาลสูงสหรัฐจะพิจารณาคดีนี้อย่างไรเพราะจีนซึ่งเป็นจำเลยคงไม่มาชี้แจง ถ้ามาก็เท่ากับยอมรับอำนาจศาลของอเมริกา สุดท้าย ศาลก็คงพิจารณาฝ่ายเดียวว่าจีนผิด สังคมประชาธิปไตยแบบสหรัฐนี่ดีอย่างเพราะทุกอย่างต้องโปร่งใส คนอเมริกันและคนทั่วโลกเข้าถึงข้อมูลต่างๆ หลายที่หาจากที่อื่นไม่ได้ เมื่อกลางเดือนมีนาคม 2563 มีบทความในรูปวิดีโอชื่อ “ความจริงทั้งหมด” หัวข้อเรื่อง “คำร้องขอข้อมูลของฟอร์ด ดิทริค” เขียนโดย เกรซ ไบร์ด ได้จัดลำดับเหตุการณ์เด่นๆ ที่นำไปสู่บทสรุปที่ว่า เชื้อไวรัสโควิด 19 รั่วไหลออกมาจากห้องปฏิบัติการอาวุธชีวภาพของซี.ไอ.เอ. จนศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐ (ซีดีซี) ต้องปิดห้องปฏิบัติการและยุติโครงการดังกล่าว และกำลังสืบสวน…

การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา: ปัจจัยเสริมอุดมการณ์พวกสุดโต่ง

Loading

ที่มาภาพ: https://edition.cnn.com/2020/04/07/politics/national-security-warning-coronavirus-extremism/index.html National security officials warn of extremists exploiting coronavirus pandemic By David Shortell, CNN Updated 0032 GMT (0832 HKT) April 8, 2020 Written by Kim ผลร้ายที่ตามมาของการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) มีแนวโน้มเป็นปัจจัยส่งเสริมอุดมการณ์สุดโต่งทุกประเภท โดยกลุ่มสุดโต่งทางศาสนา (religious extremists) กลุ่มหัวรุนแรงฝ่ายซ้าย (radical left-wing groups) และพวกคนขาวผู้สูงส่ง (white supremacists) ต่างเห็นโอกาสที่จะเสริมพลังอุดมการณ์และเรื่องเล่าในการอธิบายแนวทางจัดการไวรัสโคโรนาของตน ขณะที่มาตรการสอดส่องตรวจตราประชาชนด้วยเทคโนโลยีสอดแนมก่อให้เกิดความรู้สึกถึงโลกที่ไม่พึงปราถนาซึ่งปกครองด้วยอำนาจเบ็ดเสร็จ ในอนาคตผู้ก่อการร้ายอาจฉวยใช้เทคโนโลยีจัดส่งสิ่งของ เช่น เครื่องบินไร้คนขับ (drone) เป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ในการก่อการร้ายต่อไป           การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เปิดโอกาสให้ผู้ก่อการร้ายและพวกหัวรุนแรงสุดโต่งเสริมสร้างความรุนแรงให้กับเรื่องเล่าของตน หลังการแพร่ระบาดจะนำไปสู่ความคับข้องใจครั้งใหม่ ซ้ำเติมความทุกข์ยากเดิมอย่างลึกซึ้งจากเรื่องเชื้อชาติ ศาสนาไปจนถึงเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ความไร้เสถียรภาพถูกทำให้ลุกเป็นไฟด้วยการกระจายข้อมูลบิดเบือน (disinformation) ที่ออกแบบมาเพื่อหว่านแพร่ความสับสนวุ่นวาย ขณะเดียวกันแสวงประโยชน์จากความแตกแยกและกระตุ้นให้เกิดการแบ่งขั้วเป็นฝักเป็นฝ่าย[1]           พวกสุดโต่งทางศาสนาพยายามสร้างภาพการแพร่ระบาดว่า…