ความท้าทายในการกำกับดูแลแพลตฟอร์มดิจิทัล

Loading

  การเติบโตของแพลตฟอร์มดิจิทัลช่วงสิบปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองโลกอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน จนทำให้เกิดข้อกังวลขึ้นมาว่า กลไกการกำกับดูแลการแข่งขันและการคุ้มครองผู้บริโภคที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาจไม่เพียงพอเสียแล้ว   แพลตฟอร์มเหล่านี้ส่งเสริมให้เกิดการมีปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกในสังคมและข้ามสังคมที่แตกต่างไปจากในอดีต ทั้งยังส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกรรมทั้งที่เป็นธุรกรรมส่วนบุคคล ธุรกรรมเชิงพาณิชย์ ธุรกรรมการเงิน ตลอดจนถึงธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานภาครัฐ   แพลตฟอร์มดิจิทัลเหล่านี้ไม่เพียงแต่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับอุตสาหกรรมของตนเท่านั้น แต่ยังกลายเป็นผู้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และเป็นผู้กำหนดมาตรฐานของโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญทางในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกันอีกด้วย   แพลตฟอร์มดิจิทัลมีคุณลักษณะเฉพาะหลายประการ เช่น การได้ประโยชน์จากผลของการมีเครือข่ายเพื่อการเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้ต่างๆ ทำให้การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลสามารถเกิดขึ้นได้ทันที ผู้ใช้แพลตฟอร์มสามารถกำหนดเนื้อหาที่จะนำเสนอได้เอง   อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นคืออาจมีการนำเข้าข้อมูลเท็จ การใช้คำพูดที่แสดงความเกลียดชัง และการควบคุมประเด็นการถกเถียงที่เกิดขึ้นบนแพลตฟอร์มให้เป็นไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งจนกลายเป็นการชักนำความเห็นได้   สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นของการมีกลไกเพื่อควบคุมเนื้อหาและการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพ   ในด้านการค้า แพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลกระทบต่อภาคค้าปลีกแบบดั้งเดิมอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เนื่องจากแพลตฟอร์มเหล่านี้สามารถนำเสนอความสะดวกสบายให้กับผู้บริโภคที่ธุรกิจแบบเดิมทำไม่ได้   นอกจากนี้แล้ว แพลตฟอร์มยังสามารถในการรวบรวมข้อมูลของผู้บริโภคแล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้ทำการตลาดเฉพาะบุคคล จนทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลไปในทางที่ละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภค และการใช้เพื่อสร้างแต้มต่อในการแข่งขันในตลาด จนอาจนำไปสู่การมีอำนาจเหนือตลาดได้   อีกประเด็นที่มักทำให้เกิดความกังวลคือ การดำเนินงานของแพลตฟอร์มอาจเป็นการขัดขวางการแข่งขัน (Anti-Competitive Practices) ซึ่งมักนำไปสู่การตรวจสอบอำนาจทางการตลาดของแพลตฟอร์มที่มีส่วนแบ่งตลาดสูง     เหมือนที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และอีกหลายประเทศ หน่วยงานในประเทศเหล่านี้ได้ตรวจสอบผลกระทบของการครอบงำจากแพลตฟอร์ม (Platform Dominance)…

ฟีเจอร์ใหม่ “Whoscall” เช็กได้ ว่ามีข้อมูลเราหลุดรั่วหรือไม่!

Loading

    Whoscall เปิดอัปเดตฟีเจอร์ใหม่ พร้อมวิธีใช้งาน “ID Security” ตรวจสอบได้ ว่ามีข้อมูลเราหลุดรั่วถึงมิจฉาชีพหรือไม่!   Whoscall แอปพลิเคชันสัญชาติไต้หวัน ที่สามารถแจ้งเตือนพร้อมระบุหมายเลขโทรศัพท์ที่เราไม่รู้จัก ซึ่งอาจเป็นเบอร์ของมิจฉาชีพ และยังช่วยกรองสายที่น่าสงสัยด้วยระบบ AI ได้ด้วย โดยแอปฯ นี้ เริ่มเป็นที่นิยมกว้างขวางในไทย นับตั้งแต่การระบาดของแก๊งคอลเซ็นเตอร์   ล่าสุด แอปฯ Whoscall อัปเดตการทำงานให้เหนือชั้นขึ้น ด้วยการเปิดฟีเจอร์ใหม่ ที่ช่วยเราตรวจสอบได้ว่า มีเบอร์โทรศัพท์ของเราหลุดรั่วไปอยู่ในมืออาชญากรออนไลน์หรือไม่!     การใช้งานฟีเจอร์ดังกล่าว ในหน้าแรก ให้เข้าไปที่แถบ ID Security จากนั้นให้พิมพ์หมายเลขโทรศัพท์ของเรา เมื่อพิมพ์เข้าไปแล้ว ระบบจะตรวจสอบให้ หากไม่มีข้อมูลเราหลุดรั่ว ระบบจะขึ้นไซเรนสีเขียวพร้อมเครื่องหมายติ๊กถูก พร้อมระบุว่า ไม่มีข้อมูลของเราไม่หลุดรั่ว   แต่หากพบ ระบบจะระบุว่า ข้อมูลของเรารั่วไหลไปกี่แห่ง กี่ประเภท และรั่วไหลไปยังแพลตฟอร์มใดบ้าง   ซึ่งเราสามารถเปิดให้แอปฯ แจ้งเตือนได้โดยอัตโนมัติ หากตรวจสอบพบข้อมูลของเรารั่วไหล   นอกจากนี้…

“หมวกใบสุดท้าย” อับราฮัม ลินคอล์น ในคืนถูกลอบสังหาร ที่ถูกเก็บเป็นความลับถึง 26 ปี

Loading

อับราฮัม ลินคอล์น ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คนที่ 16 ผู้ประกาศเลิกทาสในสหรัฐฯ มีเอกลักษณ์ที่หลายคนจดจำคือ การสวมใส่ “หมวกทรงสูง” แทบจะทุกโอกาส หลายคนจึงเรียกหมวกทรงนี้ว่า หมวกลินคอล์น รวมทั้งวาระสุดท้ายที่ “โรงละครฟอร์ด” ใน ค.ศ. 1865 สถานที่ที่ลินคอล์นถูกลอบสังหาร เขาก็ยังปรากฏตัวโดยสวมหมวกทรงสูง

เรียนรู้เหตุแผ่นดินไหวไต้หวัน ทำไมสูญเสียน้อยกว่าที่คาด

Loading

เมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหว สื่อต่าง ๆ มักจะให้ความสนใจในเรื่องของความเสียหาย และซากอาคารที่เอนล้มจนแทบจะพังถล่มลงมา แต่จากเหตุแผ่นดินไหวรุนแรง 7.2 ที่นอกชายฝั่งเมืองฮวาเหลียนของไต้หวัน อาคารที่พังถล่มที่ดูน่ากลัวที่เห็นผ่านสื่อ เป็นเพียงแค่ส่วนน้อยของอาคารที่ตั้งตระหง่านอยู่ทั่วไต้หวันเท่านั้น โดยพื้นที่ส่วนใหญ่กลับเข้าสู่ภาวะปกติเกือบทั้งหมดแล้ว อีกทั้งจำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้ก็มีเพียง 10 ราย ซึ่งนับเป็นความสูญเสียต่อชีวิตที่น้อยมาก

‘เอไอ’ เปลี่ยนโลก ระบบราชการก้าวตามให้ทัน

Loading

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ไม่ได้คุกคามเฉพาะด้านเศรษฐกิจและธุรกิจ แต่จะมีบทบาทไปทุกภาคส่วนของสังคม รวมถึงภาครัฐที่จำเป็นจะต้องปรับตัวให้ทันตามเทคโนโลยีทั้งในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน การกำกับดูแลเทคโนโลยีที่จะมีผลต่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้ขับเคลื่อนนโยบายเอไอ รวมถึงการเจรจากับบริษัทข้ามชาติ เพื่อให้เกิดการลงทุนปัญญาประดิษฐ์ และเป็นอีกหนึ่งนโยบายที่รัฐบาลชุดปัจจุบันจะให้ความสำคัญ

เรือชนสะพานบัลติมอร์: สหรัฐฯ มีแผนจะกู้สะพาน “คีย์ บริดจ์” อย่างไร

Loading

เหตุเรือขนส่งสินค้า “ต้าหลี่” ชนเข้ากับสะพานฟรานซิส สก็อตต์ คีย์ ในเมืองบัลติมอร์ รัฐแมรีแลนด์ ของสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 27 มี.ค. ที่ผ่านมา จนถล่มและกลายเป็นวิกฤตทางการขนส่งระหว่างประเทศ รวมถึงหายนะสำคัญครั้งหนึ่งของสหรัฐฯ ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต 6 ราย