สกมช.ร่ายแผนงานป้องภัยไซเบอร์ ระบุปี’68 ถูกท้าทายจากภัยด้าน AI

Loading

  สกมช.เตรียม พร้อมยกระดับขีดความสามารถบุคลากร ผลักดันการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของไทย คาดปีหน้า AI จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น   พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) กล่าวว่า ในปี 2568 สกมช. มีแผนการดำเนินงานที่ท้าทายเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายที่สำคัญ ในการขยายความร่วมมือระดับนานาชาติเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มีแนวโน้มซับซ้อนและทวีความรุนแรงมากขึ้น   รวมถึงการระมัดระวังการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อใช้ในการตรวจจับและป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว รวมทั้งยังมีภัยที่แฝงเข้ามาในลักษณะ AI ด้วย นอกจากนี้ สกมช.จะเร่งแผนงานด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในอนาคต พร้อมส่งเสริมการเรียนรู้และความตระหนักรู้ในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้กับประชาชนทุกช่วงวัยให้สามารถใช้ชีวิตบนโลกดิจิทัลได้อย่างปลอดภัย   ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา สกมช. ได้ทำงานอย่างมุ่งมั่นและตั้งใจในการสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่เข้มแข็งและปลอดภัย ภายใต้การขับเคลื่อนนโยบายและแผนปฏิบัติการว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (พ.ศ. 2565 – 2570) เพื่อสร้างขีดความสามารถในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ (บุคลากร องค์ความรู้ และเทคโนโลยี) การบูรณาการความร่วมมือเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือทางไซเบอร์ รวมถึงสร้างบริการภาครัฐ และโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศให้มีความมั่นคงปลอดภัย   เขา กล่าวว่า สกมช.ยังได้จัดทำกฎหมายลำดับรองภายใต้ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์…

‘Threat Intelligence’ หน่วยข่าวกรอง ช่วยรับมือภัยคุกคาม

Loading

ฟีดข้อมูลภัยคุกคามถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มาในหลากหลายรูปแบบผ่านการอัพเดทตัวบ่งชี้ช่องโหว่ (Indicators Of Compromise หรือ IOC) แบบแบบเรียลไทม์ เช่น IP และ URL ปลอมที่เป็นอันตราย

บอร์ดดีอีไฟเขียวร่างยุทธศาสตร์ ‘ข้อมูลชาติ’ เชื่อมข้อมูลรัฐผ่าน ‘คลาวด์’

Loading

สดช.เคลื่อนยุทธศาสตร์ข้อมูลของประเทศไทย ภายใต้แนวคิด “รัฐบาลยุคดิจิทัล เคลื่อนไทยด้วยยุทธศาสตร์ข้อมูล” เดินหน้าพัฒนาระบบข้อมูลภาครัฐ ดึงเอกชนเชื่อมโยงดาต้ายึดหลักความปลอดภัยข้อมูล มุ่งตอบโจทย์ผู้ใช้งาน และการใช้ประโยชน์จากนโยบายภาครัฐ

เมื่อเสียง AI เหมือนมนุษย์เกินไปจนน่าขนลุก ล่าสุด ตัดสินใจระงับใช้งานไป

Loading

เมื่อเสียง AI เหมือนมนุษย์เกินไปจนน่าขนลุก หลังทำเสียง สการ์เลตต์ โจแฮนสัน จนเจ้าตัวไม่สบายใจ ล่าสุดตัดสินใจระงับใช้งานไป

รวมวิธีเช็กเบอร์มิจฉาชีพ 2567 เบอร์ไหนห้ามรับ เช็กง่าย ๆ ได้ที่นี่

Loading

เช็กมิจฉาชีพยังไง? ปัญหามิจฉาชีพติดต่อมายังเบอร์โทรศัพท์ของเรา เพื่อต้องการล้วงข้อมูลส่วนตัว หรือหลอกโอนเงินด้วยวิธีต่างๆ ยังคงเป็นสิ่งที่ทำให้หลายคนกังวลใจในการรับสายเบอร์แปลก ทว่าในปัจจุบันก็ยังพอมีช่องทางง่ายๆ ในการเช็กเบอร์มิจฉาชีพ 2567 ผ่านออนไลน์ที่ทุกคนสามารถทำตามได้ง่ายๆ ในเบื้องต้น เพื่อเป็นการช่วยคัดกรอง “เบอร์โทรที่ไม่ควรรับ” ซึ่งอาจมีแนวโน้มที่จะเป็นเบอร์ของเครือข่าย Call Center ของแก๊งมิจฉาชีพ บทความนี้ ไทยรัฐออนไลน์นำ 5 วิธีเช็กเบอร์มิจฉาชีพแบบง่ายๆ มาฝากกัน

ไทยเป็นเหยื่อคอลเซ็นเตอร์เกือบ 79 ล้านครั้งมากสุดในเอเชีย

Loading

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เผยสถานการณ์ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยมีประเด็นที่ต้องจับตาและให้ความสำคัญอย่างมาก หนึ่งในนั้นคือปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ซึ่งพบว่าปี 66 คนไทยถูกหลอกลวงจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์มากที่สุดในเอเชียเกือบ 79 ล้านครั้ง ตามมาด้วยการตกเป็นเหยื่อล่วงละเมิดทางเพศ และความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุของผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ