วิธีล็อกโปรไฟล์เฟซบุ๊ก ป้องกันคนไม่รู้จักส่องข้อมูลส่วนตัว
วิธีล็อกโปรไฟล์เฟซบุ๊ก ที่คุณอาจไม่เคยใช้้แต่มีประโยชน์มากในการป้องกันคนที่ไม่ได้เป็นเพื่อนหรือ คนไม่รู้จักมาแอบส่องข้อมูลส่วนตัว ด้วยวิธีง่าย ๆ ดังนี้
วิธีล็อกโปรไฟล์เฟซบุ๊ก ที่คุณอาจไม่เคยใช้้แต่มีประโยชน์มากในการป้องกันคนที่ไม่ได้เป็นเพื่อนหรือ คนไม่รู้จักมาแอบส่องข้อมูลส่วนตัว ด้วยวิธีง่าย ๆ ดังนี้
สดช.เคลื่อนยุทธศาสตร์ข้อมูลของประเทศไทย ภายใต้แนวคิด “รัฐบาลยุคดิจิทัล เคลื่อนไทยด้วยยุทธศาสตร์ข้อมูล” เดินหน้าพัฒนาระบบข้อมูลภาครัฐ ดึงเอกชนเชื่อมโยงดาต้ายึดหลักความปลอดภัยข้อมูล มุ่งตอบโจทย์ผู้ใช้งาน และการใช้ประโยชน์จากนโยบายภาครัฐ
OT และ IT Security กลายเป็นหนึ่งเดียวกันแล้วอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปัจจุบันมีความตึงเครียดทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ในทั่วทุกมุมโลกเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และแน่นอนว่าโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่มีระบบควบคุมอุตสาหกรรมแบบอัตโนมัติก็ตกเป็นเป้าหมายหลักในการบุกโจมตี เพื่อสกัดหรือทำให้ระบบการดำเนินงานต้องหยุดชะงักซึ่งจะสร้างความเสียหายและสร้างผลกระทบเป็นวงกว้างอย่างที่หลายคนไม่คาดคิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีที่มีการเลือกตั้งและสงครามที่มีความผันผวนสูง เมื่อช่วงปลายเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา หน่วยงานความปลอดภัยทางไซเบอร์และโครงสร้างพื้นฐาน หรือ CISA (Cybersecurity and Infrastructure Security Agency) ของสหรัฐได้เผยแพร่ข้อมูลที่ผู้เชี่ยวชาญออกมาเตือนเพื่อให้ผู้ใช้งานตระหนักถึงความเสี่ยงที่อาจจะขึ้นจากการเชื่อมต่ออุปกรณ์ ICS (Industrial Control Systems) ผ่านอินเทอร์เน็ตสาธารณะ โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้ออกมาให้คำแนะนำในเรื่องดังกล่าว ให้ผู้ใช้งานยกเลิกการเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบควบคุมอุตสาหกรรม ICS ทั้งหมดกับอินเทอร์เน็ตแบบสาธารณะ เพราะการเชื่อมต่ออุปกรณ์โดยตรงกับอินเทอร์เน็ตสาธารณะเป็นการเปิดช่องโหว่ให้เหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์เจาะระบบเพื่อเข้าโจมตีได้อย่างง่ายดาย การยกเลิกการเชื่อมต่อดังกล่าวนับเป็นขั้นตอนเชิงรุกเพื่อลดพื้นที่การโจมตี และสามารถลดความเสี่ยงต่อกิจกรรมทางไซเบอร์ที่ไม่ได้รับอนุญาตและที่เป็นอันตรายจากผู้ไม่ประสงค์ดีจากภายนอกได้อย่างทันที จากการตรวจสอบระบบโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า มีหลายพันรายการที่ดูเหมือนว่าจะถูกควบคุมด้วยโปรแกรมลอจิกคอลโทรลเลอร์ PLC (Programmable Logic Controller) ใช้สั่งการระบบเครื่องจักรและขั้นตอนการทำงานภายในโรงงานอุตสาหกรรมโดยหลายองค์กรมีการติดตั้งและตั้งค่าทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ไม่ถูกต้องทำให้เกิดความเสี่ยงถูกโจมตี นอกจากนี้ ยังมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตในหลากหลายฟังก์ชั่น ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์สำนักงานไปจนถึงระบบการผลิตที่เชื่อมต่อกับคลาวด์ ปัญหาหลักๆ จึงอยู่ที่อุปกรณ์และระบบที่ไม่ได้รับการทดสอบและไม่ได้รับการออกแบบมาให้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต แต่สุดท้ายก็ยังเลือกที่จะกำหนดค่าแบบนั้นอยู่ อาจจะเป็นเพราะว่าองค์กรหลายแห่ง ทีมงานฝ่ายผลิตดูแลระบบไม่ใช่ฝ่ายไอทีที่ตั้งค่าระบบให้จึงไม่ได้แนะนำเรื่องการเชื่อมต่ออุปกรณ์ผ่านอินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัย…
สกมช.เตรียม พร้อมยกระดับขีดความสามารถบุคลากร ผลักดันการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของไทย คาดปีหน้า AI จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) กล่าวว่า ในปี 2568 สกมช. มีแผนการดำเนินงานที่ท้าทายเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายที่สำคัญ ในการขยายความร่วมมือระดับนานาชาติเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มีแนวโน้มซับซ้อนและทวีความรุนแรงมากขึ้น รวมถึงการระมัดระวังการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อใช้ในการตรวจจับและป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว รวมทั้งยังมีภัยที่แฝงเข้ามาในลักษณะ AI ด้วย นอกจากนี้ สกมช.จะเร่งแผนงานด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในอนาคต พร้อมส่งเสริมการเรียนรู้และความตระหนักรู้ในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้กับประชาชนทุกช่วงวัยให้สามารถใช้ชีวิตบนโลกดิจิทัลได้อย่างปลอดภัย ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา สกมช. ได้ทำงานอย่างมุ่งมั่นและตั้งใจในการสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่เข้มแข็งและปลอดภัย ภายใต้การขับเคลื่อนนโยบายและแผนปฏิบัติการว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (พ.ศ. 2565 – 2570) เพื่อสร้างขีดความสามารถในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ (บุคลากร องค์ความรู้ และเทคโนโลยี) การบูรณาการความร่วมมือเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือทางไซเบอร์ รวมถึงสร้างบริการภาครัฐ และโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศให้มีความมั่นคงปลอดภัย เขา กล่าวว่า สกมช.ยังได้จัดทำกฎหมายลำดับรองภายใต้ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์…
ฟีดข้อมูลภัยคุกคามถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มาในหลากหลายรูปแบบผ่านการอัพเดทตัวบ่งชี้ช่องโหว่ (Indicators Of Compromise หรือ IOC) แบบแบบเรียลไทม์ เช่น IP และ URL ปลอมที่เป็นอันตราย
สดช.เคลื่อนยุทธศาสตร์ข้อมูลของประเทศไทย ภายใต้แนวคิด “รัฐบาลยุคดิจิทัล เคลื่อนไทยด้วยยุทธศาสตร์ข้อมูล” เดินหน้าพัฒนาระบบข้อมูลภาครัฐ ดึงเอกชนเชื่อมโยงดาต้ายึดหลักความปลอดภัยข้อมูล มุ่งตอบโจทย์ผู้ใช้งาน และการใช้ประโยชน์จากนโยบายภาครัฐ
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว