แนะขั้นตอนสร้างเกราะป้องกันภัยไซเบอร์ ลดความเสี่ยงองค์กรโดนโจมตีต้องทำอย่างไร?

Loading

    ประเทศไทยถือเป็นประเทศอันดับต้น ๆ ที่เป็นเป้าหมายการถูกโจมตีทางด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ จากเหล่าแฮ็กเกอร์ ทั้งการแฮ็กข้อมูลขององค์กร และข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อเรียกค่าไถ่ การถูกฟิชชิง และมัลแวร์ เป็นต้น   อย่างล่าสุด ข้อมูลจาก  แคสเปอร์สกี้ เผยว่า ฟิชชิงการเงินคุกคามธุรกิจอาเซียนอย่างหนัก และไทยครองที่ 1 ถูกโจมตี พุ่งสูงมากกว่า 1.4 แสนครั้ง การป้องกันภัยไซเบอร์ ต้องทำอย่างไร?  ทาง แคสเปอร์สกี้ มีคำแนะนำสำหรับองค์กรและธุรกิจทุกขนาดเพื่อปกป้ององค์กรจากภัยไซเบอร์ เริ่มที่   กระบวนการและแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด (Process and Best Practices)   1.อัปเดตซอฟต์แวร์บนอุปกรณ์ทั้งหมดอยู่เสมอ เพื่อป้องกันผู้โจมตีจากการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่และแทรกซึมเข้าสู่เครือข่ายขององค์กร 2. ติดตั้งแพตช์ที่พร้อมใช้งานสำหรับโซลูชัน VPN เชิงพาณิชย์โดยทันที เพื่อให้พนักงานที่ทำงานระยะไกลเข้าถึงได้และทำหน้าที่เป็นเกตเวย์ในเครือข่าย 3.สำรองข้อมูลเป็นประจำ และตรวจสอบว่าสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วเมื่อจำเป็นหรือในกรณีฉุกเฉิน 4.หลีกเลี่ยงการดาวน์โหลดและติดตั้งซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์หรือซอฟต์แวร์จากแหล่งที่ไม่รู้จัก หรือไม่ผ่านการตรวจสอบ 5. ห้ามเปิดเผยบริการเดสก์ท็อป/การจัดการระยะไกล (เช่น RDP, MSSQL เป็นต้น) ให้กับเครือข่ายสาธารณะ ควรใช้รหัสผ่านที่แข็งแกร่ง ใช้…

โชว์ระบบ AI เตือนไฟไหม้ รถ EV ให้เวลาหนี ก่อนแบตระเบิด

Loading

ทีมนักวิจัยจากสถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติ (NIST) สหรัฐอเมริกา ได้พัฒนาระบบ AI สุดล้ำเตือนไฟไหม้ สามารถทำหน้าที่เป็นเสมือนยามเฝ้าระวัง เตือนภัยล่วงหน้าก่อนเกิดเหตุไฟไหม้แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ซึ่งอาจช่วยป้องกันหายนะจากแบตเตอรี่ที่เสียหายได้ทันท่วงที

‘ไทย’ ได้ประโยชน์แค่ไหน จากต่างชาติลงทุน ‘ดาต้าเซ็นเตอร์’

Loading

  สัปดาห์ที่ผ่านมาผมเขียนถึงโอกาสประเทศไทย ที่จะเป็น ศูนย์กลางดาต้าเซ็นเตอร์ในภูมิภาคอาเซียน แม้จากข้อมูลต่าง ๆ จะชี้ว่า เรายังตามหลังประเทศเพื่อนบ้านพอควร แต่เราก็มีโอกาสในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ และการเข้ามาตั้งดาต้าเซ็นเตอร์ในประเทศ ก็เป็นไปตามแนวโน้มปริมาณการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและเอไอที่เพิ่มขึ้น   การลงทุนดาต้าเซ็นเตอร์ มีองค์ประกอบสำคัญที่ต้องพิจารณาหลายด้าน เริ่มจากโครงสร้างพื้นฐานและการก่อสร้าง ซึ่งต้องเลือกทำเลที่ปลอดภัยและมีระบบสาธารณูปโภคพร้อม ตามด้วยการลงทุนในเซิร์ฟเวอร์และอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่เป็นหัวใจสำคัญที่สุด และน่าจะเป็นค่าใช้จ่ายสูงสุด รวมถึงค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่จำเป็นต้องต่ออายุเป็นประจำ ส่วนด้านการดำเนินงาน มีค่าใช้จ่ายหลัก คือ ค่าพลังงานไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์และระบบทำความเย็น และสุดท้ายคือค่าเชื่อมต่อเครือข่ายที่ต้องมีความเร็วและเสถียรสูง   ในปัจจุบันดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดใหญ่ จะมีเซิร์ฟเวอร์เป็นหลักพันหรือหมื่นเครื่อง และมีค่าใช้ในการลงทุนจัดหาอุปกรณ์เหล่านี้มาเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้เทคโนโลยีเอไอกำลังสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้กับอุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ โดยมีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2030 ดาต้าเซ็นเตอร์จะใช้ไฟฟ้าถึง 8% ของการใช้พลังงานทั้งหมดในสหรัฐอเมริกา และต้องการการลงทุนด้านสาธารณูปโภคกว่า 50,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อรองรับการประมวลผลเอไอในดาต้าเซ็นเตอร์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล   ความท้าทายหลักมาจากการที่ระบบเอไอที่ต้องการกำลังการประมวลผลสูงมาก ทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft ต้องลงทุนมากกว่า 100,000 ล้านดอลลาร์ในการเช่า ดาต้าเซ็นเตอร์ระยะยาวและทำให้อุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ของบางเมืองในสหรัฐอเมริกาต้องใช้ไฟฟ้าถึง 60% ของการใช้พลังงานทั้งเมือง   เราจึงเห็นการแข่งขันด้านดาต้าเซ็นเตอร์สำหรับเอไอกันใน 3 ระดับ คือ ระดับบริษัทเทคโนโลยีที่แข่งกันพัฒนาดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง…

‘ซิสโก้’ คิกออฟ ‘Wi-Fi 7’ เปิดมิติใหม่เทคโนโลยีเชื่อมต่อไร้สาย

Loading

    ซิสโก้ เปิดตัวนวัตกรรมเครือข่ายไร้สายอัจฉริยะ ปลอดภัย และเชื่อถือได้ ด้วย อุปกรณ์กระจายสัญญาณ Wi-Fi 7 อัจฉริยะ และการใช้งานแบบสมัครสมาชิกรวมศูนย์ (Unified subscription) ที่สามารถสร้างพื้นที่อัจฉริยะได้ทันทีหลังติดตั้ง นวัตกรรมเหล่านี้ช่วยให้ลูกค้าสามารถแก้ไขความท้าทายด้านการเชื่อมต่อ ความปลอดภัย และการรับประกันคุณภาพ พร้อมทั้งให้รากฐานที่ยืดหยุ่นเพื่อรองรับสถานที่ทำงานในอนาคต   เทคโนโลยีไร้สายได้เปลี่ยนโฉมโลก ตั้งแต่วิธีการและสถานที่ทำงาน ไปจนถึงวิธีการที่ผู้คนช้อปปิ้งและเรียนรู้ ปัจจุบันนวัตกรรมไร้สายแทบจะทำให้ไม่มีเส้นแบ่งระหว่างพื้นที่กายภาพและดิจิทัล ช่วยให้องค์กรสามารถทรานส์ฟอร์มพื้นที่ทำงานและสร้างประสบการณ์ดิจิทัลใหม่ๆ ในยุค AI   ขณะที่ Wi-Fi 7 ยกระดับการอัพเกรดประสิทธิภาพที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นผู้ค้าปลีกที่ต้องการปฏิรูปประสบการณ์การช้อปปิ้ง ผู้ผลิตที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานด้วยระบบการติดตาม asset แบบแม่นยำ หรือโรงพยาบาลที่ต้องการยกระดับการดูแลผู้ป่วย ทั้งหมดนี้ต่างต้องการมากกว่าแค่การเชื่อมต่อ ทุกคนต้องการแพลตฟอร์มอัจฉริยะ ปลอดภัย และเชื่อถือได้   จีทู พาเทล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์ของซิสโก้ กล่าวว่า ทุกสิ่งที่ซิสโก้ทำในปัจจุบันผสมผสานระหว่างพฤติกรรมมนุษย์กับเซ็นเซอร์ กล้อง หรือหน้าจอ ประสบการณ์ทางกายภาพในโลกดิจิทัลที่กำลังขยายตัว และ Wi-Fi คือศูนย์กลางของทั้งหมดนี้   ด้วยอุปกรณ์กระจายสัญญาณ…

มารู้จัก “โอเรชนิค (Oreshnik)” ขีปนาวุธรุ่นใหม่ที่รัสเซียยิงใส่ยูเครนเป็นครั้งแรก

Loading

    ในตอนแรกไม่ค่อยมีใครรู้เกี่ยวกับโอเรชนิค (Oreshnik) ขีปนาวุธที่โจมตีเมืองดนีโปรของยูเครนในช่วงเช้าตรู่ของวันที่ 21 พ.ย. ที่ผ่านมา หรือไม่รู้แม้กระทั่งว่ามันคือขีปนาวุธชนิดใด   พาเวล อัคเซนอฟ ผู้เชี่ยวชาญด้านการทหารจากสำนักข่าวบีบีซี แผนกภาษารัสเซีย กำลังตรวจสอบหลักฐานเกี่ยวกับขีปนาวุธดังกล่าว พร้อมกับสัญญาณอะไรที่ทำให้ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินของรัสเซียพยายามจะส่งไปยังยูเครนและชาติตะวันตก จากการการตัดสินใจใช้ขีปนาวุธดังกล่าว   ประธานาธิบดีปูตินกล่าวว่า การโจมตีเมืองดนีโปรทางตะวันออกของยูเครนเกิดขึ้นโดยใช้ “ขีปนาวุธพิสัยกลางแบบใหม่” ที่มีชื่อรหัสว่า “โอเรชนิค”   ยูเครน แม้ว่าจะโต้แย้งเรื่องนี้ โดยบอกว่าน่าจะเป็นขีปนาวุธ Ked (Cedar) แต่ก็ยังมีความเป็นไปได้ไม่มากที่อาวุธชนิดนี้จะเป็นได้   การยิงขีปนาวุธในระยะไกลดังกล่าวไม่สามารถมองข้ามไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคที่มีหน่วยข่าวกรองหลายแห่งติดตามอย่างใกล้ชิด   ขีปนาวุธดังกล่าวสามารถตรวจจับได้ชัดเจนในระหว่างทำการบิน โดยเฉพาะเปลวไฟที่ลุกไหม้ซึ่งไหลออกมาจากเครื่องยนต์จรวด ซึ่งสามารถมองเห็นได้ด้วยดาวเทียมและเครื่องบินลาดตระเวน   โดยหลักฐานสามารถเรียนรู้ได้มากมายจากไอเสียของขีปนาวุธ ซึ่งมักพบเห็นได้ในระหว่างการทดสอบหรือการฝึกซ้อม และคุณลักษณะของขีปนาวุธต่างๆ ก็เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว   ด้วยการศึกษาข้อมูลการยิงจากขีปนาวุธใหม่ นักวิเคราะห์สามารถอนุมานได้มากขึ้น   แม้ว่าหน่วยข่าวกรองของชาติตะวันตกไม่ได้เผยแพร่ผลสรุปการตรวจสอบดังกล่าว แต่พวกเขาน่าจะมีความคิดที่ถูกต้องเกี่ยวกับประเภทของขีปนาวุธ   นักวิจารณ์ในสื่อกระแสหลักและสื่อสังคมออนไลน์ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญต่างคิดทฤษฎีของตนเองโดยอิงจากเบาะแสอื่น ๆ ด้วย  …

“ออคัส”เพิ่มแนวพัฒนา“ไฮเปอร์โซนิก”

Loading

ผ่านมา 3 ปีเต็ม พร้อมย่างก้าวสู่ปีที่ 4 แล้ว… สำหรับ “กลุ่มกติกาสัญญาความมั่นคงไตรภาคีระหว่างออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา” หรือที่เรียกชื่อย่อจนฮิตติดปากว่า “ออคัส (AUKUS)” ซึ่งเป็นการนำอักษรตัวย่อชื่อประเทศที่เป็นภาษาอังกฤษของชาติสมาชิก มาเป็นชื่อกลุ่ม คือ   “A” หมายถึง ออสเตรเลีย (Australia) “UK” หมายถึง สหราชอาณาจักร (United Kingdom) และ “US” หมายถึง สหรัฐอเมริกา (United States of America)   กลุ่มกติกา “ออคัส” นี้ ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2021 (พ.ศ. 2564) นับถึงวันนี้ก็ครบ 3 ปีกว่าแล้ว   แรกเริ่มเดิมทีภายใต้กติกา “ออคัส” ก็จะเป็นข้อตกลงที่ทั้งสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร ช่วยเหลือออสเตรเลีย ในการพัฒนาและใช้งาน “เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์”…