สังคมโลก : ครึ่งศตวรรษ

Loading

ขณะที่ไมโครซอฟท์ ซึ่งก่อตั้งขึ้นด้วยวิสัยทัศน์ของการให้มีคอมพิวเตอร์ในบ้านทุกหลังและสำนักงานทุกแห่ง เฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปี ในวันที่ 4 เม.ย. นี้ บริษัทก็กำลังมองหาหนทางเพิ่มความสำเร็จ ด้วยการเป็นผู้นำในด้านปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว“จากมุมมองของการเล่าเรื่อง ไมโครซอฟท์เป็นบริษัทที่น่าเบื่อ และเป็นหุ้นที่น่าเบื่อ ทั้งที่บริษัทมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด 2.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 99 ล้านล้านบาท) ซึ่งถือว่าสูงมาก” นายเจเรมี โกลด์แมน นักวิเคราะห์ของอีมาร์เกเตอร์ กล่าว

หุ่นยนต์ผึ้งจิ๋วที่สุดในโลก ใช้แม่เหล็กควบคุม ช่วยค้นหา-กู้ภัย

Loading

รายงานการวิจัยของทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ (UC Berkeley) ในรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร Science Advances เปิดเผยว่า นักวิจัยประสบความสำเร็จในการพัฒนาหุ่นยนต์ไร้สายขนาดเล็กที่สุดในโลกและได้รับแรงบันดาลใจจากผึ้งบัมเบิลบีหุ่นยนต์ตัวนี้มีแม่เหล็ก 2 ตัวทำหน้าที่เป็นใบพัด โดยอาศัยสนามแม่เหล็กภายนอกเพื่อสร้างแรงยกและควบคุมการบินอย่างแม่นยำผ่านการปรับความเข้มของสนามแม่เหล็ก

ไต้หวันรับมือหนัก “จีน” แทรกซึม-สอดแนม-จารกรรม สร้างภัยคุกคามจากศัตรูภายใน

Loading

การใช้สายลับเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในหลายแห่งของโลก ทว่าไต้หวันกำลังเผชิญการสอดแนมกับจารกรรมมากเป็นพิเศษ ในห้วงที่จีนแผ่นดินใหญ่ต้องการจะผนวกไต้หวัน โดยมีข้อสังเกตว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีคนถูกจับกุมข้อหาเป็นสายลับให้จีนมากขึ้นเรื่อยๆ แม้แต่ทหารที่ทำงานในทำเนียบประธานาธิบดีไต้หวันและเกี่ยวข้องกับข่าวกรอง โดยจีนใช้ทั้งองค์กรอาชญากรรรม องค์กรศาสนา และพื้นที่ออนไลน์ในจารกรรมข้อมูลไต้หวัน

ทรัมป์เขย่าการค้าโลก การเมืองเรื่องเศรษฐกิจ

Loading

แถลงการณ์ของกระทรวงพาณิชย์จีน ยังประณามสหรัฐ “ยังไม่เลิกใช้มาตรการข่มเหงรังแกฝ่ายเดียว” กับนานาประเทศ รัฐบาลปักกิ่งขอเรียกร้องให้รัฐบาลวอชิงตัน ยกเลิกมาตรการดังกล่าว “ทันที” เพื่อรักษาการพัฒนาและเติบโตของเศรษฐกิจโลก ซึ่งเป็นความร่วมมือในระดับพหุภาคี การที่สหรัฐอ้างว่า “เสียเปรียบมานาน” หรือขาดดุลทางการค้ามานาน “ไม่สมเหตุสมผล” และขอให้มีการเจรจา

‘ข้อมูลพลิกฟื้นผืนป่า’ กุญแจสู่การฟื้นฟูระบบนิเวศบราซิล”

Loading

    ระบบนิเวศของบราซิลกําลังเผชิญกับภัยคุกคามที่ไม่เคยมีมาก่อน จากข้อมูลของ MapBiomas ระบุว่า 11-25% ของพืชพื้นเมืองที่เหลืออยู่ของประเทศ จํานวน 60-135 ล้านเฮกตาร์ กําลังประสบกับความเสื่อมโทรมในระดับหนึ่ง การตอบสนองของรัฐบาลยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น เปิดตัวในเดือนพฤศจิกายน 2024 แผนระดับชาติใหม่สําหรับการฟื้นฟูพืชพันธุ์พื้นเมือง (Planaveg) ตั้งเป้าหมายที่จะฟื้นฟูพืช 12 ล้านเฮกตาร์ภายในปี 2030 นี่เป็นเป้าหมายเดียวกับที่บราซิลมุ่งมั่นในการมีส่วนร่วมที่กําหนดในระดับประเทศภายใต้ข้อตกลงปารีส ซึ่งยืนยันอีกครั้งในระหว่างการประชุมสภาพภูมิอากาศบากู (COP29) ความมุ่งมั่นนี้จะรวมอยู่ในส่วนหนึ่งของกรอบความหลากหลายทางชีวภาพระดับโลกของคุนหมิง-มอนทรีออล เป้าหมายที่ 2 ฟื้นฟู 30% ของระบบนิเวศที่เสื่อมโทรมทั้งหมด การเฉยเมยจะมีผลกระทบ นอกเหนือจากการล้มเหลวในการปฏิบัติตามพันธสัญญาระหว่างประเทศแล้ว บราซิลจะเป็นอันตรายต่อการอนุรักษ์ระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพที่เป็นเอกลักษณ์ และรูปแบบสภาพอากาศทั่วโลก นอกจากนี้ยังจะจํากัดศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอน ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่สําคัญในช่วงวิกฤตสภาพภูมิอากาศ อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนจะช่วยให้บราซิลเป็นผู้นําในวาระการฟื้นฟูระบบนิเวศ   กุญแจข้อมูลเพื่อการฟื้นฟูที่ประสบความสําเร็จ การมีส่วนร่วมนี้ช่วยให้หอดูดาวสามารถวัดผลกระทบของความคิดริเริ่มระดับภูมิภาคได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลเป็นปัจจุบันและถูกต้อง เป็นสิ่งสําคัญที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด องค์กรภาคประชาสังคม ธุรกิจ สถาบันการเงิน หน่วยงานระดับท้องถิ่น และสถาบันการศึกษา ที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมการฟื้นฟูจะรายงานข้อมูลของพวกเขา     หอดูดาวรวบรวมและรวมข้อมูลนี้ด้วยความพยายามน้อยที่สุดจากผู้ใช้ ชุดข้อมูลที่ได้จะช่วยพัฒนาการวิเคราะห์ทางสถิติที่สนับสนุนการตัดสินใจในระดับต่างๆ หอดูดาวได้จัดทําแผนที่ความพยายามในการบูรณะซึ่งครอบคลุมพื้นที่…

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทวาย กับความเสี่ยงของพื้นที่ข้างเคียง

Loading

    โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทวาย กับความเสี่ยงของพื้นที่ข้างเคียง ดร.ปริญญา พุทธาภิบาล ที่ปรึกษารองอธิการบดีฝ่ายวิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล และผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีศาสตร์ เปิดเผยว่า ฝุ่นควันจากแผ่นดินไหวในประเทศเมียนมาช่วงปลายเดือนมีนาคม 2568 ยังไม่ทันจางหายไป ข่าวเก่าเมื่อหลายสัปดาห์ก่อน เรื่องข้อตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศรัสเซียและเมียนมาในการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เขตเศรฐกิจพิเศษรัฐทวายประเทศเมียนมาก็กลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง เพราะ ทวาย ซึ่งอยู่ฝั่งตะวันตกของเทือกเขาตะนาวศรี มีพื้นที่ติดต่อชายแดนไทยตลอดแนวยาวจังหวัดกาญจนบุรีถึงจังหวัดระนอง มีสารพัดคำถาม สารพัดความกังวลใจ เกี่ยวกับความปลอดภัยและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความปรกติสุขของผู้คนในพื้นที่และปริมณฑล ก่อนที่จะวิเคราะห์เกี่ยวกับโครงการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ทวาย ผมขอเชิญชวนทุกท่านดูข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้และการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ บนโลกใบนี้สักเล็กน้อยก่อน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แห่งแรกของโลกสร้างขึ้นในทศวรรษ 1950 ในปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ทั่วโลกรวม 440 แห่ง ตั้งอยู่ใน 52 ประเทศ โดยสามารถผลิตไฟฟ้าได้รวมคิดเป็นร้อยละ 9 ของพลังงานไฟฟ้าที่ใช้อยู่ทั่วโลก ห้าประเทศที่ผลิตไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ได้มากที่สุดตามลำดับคือ สหรัฐอเมริกา จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย และเกาหลีใต้ รูปที่ 1 ธรณีพิบัติภัยแผ่นดินไหวกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ กรณีศึกษาในประเทศญี่ปุ่น ปี 1995 แผ่นดินไหวที่เมืองโกเบ-โอซากา (Kobe-Osaka earthquake) โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 3 แห่งของบริษัท…