เปิดประวัติ “แก๊งยามากุจิ” แก๊งยากูซ่าอันดับ 1 ของประเทศญี่ปุ่น

Loading

  รู้จัก “แก๊งยามากุจิ” องค์กรยากูซ่าเบอร์ 1 ของญี่ปุ่นที่มีประวัติยาวนานกว่า 100 ปี มีผู้สืบทอดมาแล้วถึง 6 รุ่น!   จากกรณีคดีฆ่าหั่นศพชายชาวญี่ปุ่นแล้วนำศพไปทิ้งอำพรางตามที่ต่าง ๆ ในย่านบางบัวทอง จ.นนทบุรี จนเด็ก 10 ขวบไปเจอชิ้นส่วนเข้าที่สนามเด็กเล่น ล่าสุดมีรายงานว่า ผู้ก่อเหตุซึ่งเป็นชาวญี่ปุ่น รวมถึงผู้เสียชีวิต ต่างเป็นสมาชิกของ “แก๊งยามากุจิ” องค์กรยากูซ่าอันดับ 1 ของประเทศญี่ปุ่น   แก๊งยามากุจิเป็นหนึ่งในองค์กรอาชญากรรมที่ร่ำรวยที่สุดในโลก มีรายได้หลายพันล้านดอลลาร์ต่อปีจากการขู่กรรโชก การพนัน อุตสาหกรรมทางเพศ การค้าอาวุธ การค้ายาเสพติด อสังหาริมทรัพย์ และโครงการรับสินบนจากการก่อสร้าง   AFP/YOSHIKAZU TSUNO ยามาบิชิ ตราสัญลักษณ์ของแก๊งยามากุจิ แก๊งยากูซาใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น   นั่นทำให้แก๊งยากูซ่ากลุ่มนี้มีอิทธิพลและขนาดใหญ่ที่สุดในแดนอาทิตย์อุทัย รวมถึงยังมีประวัติค่อนข้างเก่าแก่ เพราะอยู่มาแล้วนานกว่า 100 ปี และมีผู้นำสืบทอดมาถึง 6 รุ่น   แก๊งยามากุจิ หรือยามากุจิกุมิ (山口組)…

เลขา สกมช. ตั้งข้อสังเกตุ หลอกลวงผ่านโซเชียล ทำไมแพลตฟอร์มไม่ช่วยป้องกัน ?

Loading

  SHORT CUT •  เลขา สกมช. ตั้งข้อสงสัย ทำไมแพลตฟอร์มโซเชียล ยอมให้โฆษณาหลอกลวงผ่านการตรวจสอบทั้งที่ในต่างประเทศแพลตฟอร์มเดียวกันกลับมีกฎเกณฑ์ที่ดีกว่า •  ออสเตรเลียเคยฟ้องร้องเป็นตัวอย่างแล้ว ทั้งจากภาครัฐและคนดังที่ถูกแอบอ้าง •  ต่างประเทศมองว่าการที่แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์อนุญาตให้โฆษณาหลอกลวงผ่านการตรวจสอบ เท่ากับว่า แพลตฟอร์มมีส่วนรู้เห็นมาหลอกประชาชน   เลขา สกมช. ตั้งข้อสังเกตุ การหลอกลวงผ่านโซเชียล ทั้งเพจปลอมและการหลอกลงทุน ทำไมแพลตฟอร์มไม่ช่วยป้องกันก่อนเกิดเหตุ ?   พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ตั้งข้อสังเกตุกับผู้สื่อข่าวหลังการแถลงข่าวการลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ยกระดับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางไซเบอร์ และให้ความรู้แก่ประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อภัยออนไลน์ ระหว่าง สกมช. และ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) ถึงกรณีการป้องกันและปราบปรามภัยไซเบอร์จากการหลอกลวงกันทางโซเชียลมีเดีย   พลอากาศตรี อมร ตั้งข้อสังเกตุว่า การป้องกันและปรายปรามการหลอกลวงปัจจุบันทำได้ช้า ใช้เวลาเกือบ 2 สัปดาห์ในการดำเนินการจากฝั่งแพลตฟอร์ม ซึ่งการหลอกลวงเหล่านี้ ทั้งการโฆษณาหลอกลงทุนผ่านสื่อสังคมออนไลน์โดยการใช้รูปคนดัง , การตั้งเพจปลอมที่มีชื่อเหมือนหน่วยงานราชการ เช่น…

กูรู แนะ เทคนิค กันภัย ‘ฟิชชิง’ จู่โจมองค์กร

Loading

  ปัจจุบัน อาชญากรไซเบอร์มักหลอกล่อให้ผู้ใช้งานวางใจและขโมยข้อมูลที่มีความสำคัญอย่างมากเพื่อวัตถุประสงค์ที่ชั่วร้าย เช่นเดียวกับในประเทศไทยที่ได้เห็นว่า การหลอกลวงทางโทรศัพท์กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว   การโจมตีแบบ “ฟิชชิง (Phishing)” กลายเป็นภัยร้ายในยุคดิจิทัล…   บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวในรายงาน “CyberArk Identity Security” โดย “ไซเบอร์อาร์ก” ผู้ให้บริการด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ชั้นนำว่า มัลแวร์ที่ขับเคลื่อนด้วย AI เป็นความเสี่ยงลำดับอันดับต้นๆ ที่พบในองค์กรในปี 2566   ลิ้ม เทค วี รองประธานประจำภูมิภาคอาเซียน ไซเบอร์อาร์ก เผยว่า ประเด็นหนึ่งที่กังวลก็คือ มีการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ในแชทบอทเพื่อโจมตีแบบฟิชชิง รวมถึงในปีนี้องค์กรเกือบทั้งหมด หรือกว่า 99.9% อาจพบกับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล   สาเหตุสำคัญเป็นผลมาจากการนำเทคโนโลยีคลาวด์มาใช้มากขึ้น ปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ และการลดค่าใช้จ่ายเนื่องมาจากเศรษฐกิจที่ถดถอย   สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นนับว่าเป็นเรื่องที่น่ากังวล องค์กรจึงต้องรีบดำเนินการก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป โดยเฉพาะเรื่องของการวางกลยุทธ์ เทคนิค และขั้นตอนที่สามารถใช้งานได้จริง ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างเกราะป้องกันฟิชชิงที่มีประสิทธิภาพสูงสุด   สำหรับ “วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการฟิชชิงแบบทั่วไป” ทีมรักษาความปลอดภัยไม่สามารถพึ่งพาแค่กลยุทธ์เดียวได้ ด้วยผู้โจมตีสามารถหาวิธีหลบหลีก ดังนั้นจึงต้อง “ใช้แนวทางแบบเป็น…

นักเรียนไม่มีทะเบียนราษฎร ไม่มีสัญชาติไทย ทำอย่างไรจะได้เรียนหนังสือ?

Loading

นักเรียนไม่มีทะเบียนราษฎร ไม่มีสัญชาติไทย ทำอย่างไรจะได้เรียนหนังสือ? สพฐ. แจงแนวปฎิบัติรับนักเรียน รับเด็กต่างด้าวเข้าเรียน ให้มีการศึกษา ตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ไม่เก็บค่าใช้จ่าย ย้ำเด็กทุกคนที่อาศัยในประเทศไทยมีสิทธิ “โอกาสศึกษา” เข้าเรียนเสมอภาค

ไอเดียเจ๋ง! ศรีปทุม ทำระบบตรวจวุฒิปลอม แก้ปัญหาคนไม่เรียน เอาไปใช้สมัครงาน

Loading

ม.ศรีปทุม ปั้นระบบตรวจสอบวุฒิการศึกษาออนไลน์ หรือ “Digital Transcript” ช่วยเช็กประวัติผู้สมัครงานว่าเรียนจริงหรือไม่ หมดปัญหารอเอกสารยืนยันวุฒิจากมหาวิทยาลัยนาน

เปิด 6 วิธีรอดจาก ‘แก๊งคอลเซ็นเตอร์’ ที่ใช้ AI ปลอมเสียง

Loading

ปัจจุบันเหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์เริ่มพัฒนาการโคลนเสียงมนุษย์โดยใช้ AI เพื่อหลอกล่อและฉ้อโกงทางการเงินกับเหยื่อโดยการทำให้คิดว่ากำลังพูดคุยกับคนที่รู้จักทางโทรศัพท์ ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นการพูดคุยกับคอมพิวเตอร์